ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
รู้น้อย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 มิ.ย.2006, 3:21 pm |
  |
ในปฏิจจสมุปบาทที่มีอาการ 12 อยากทราบว่าอาการใด เป็นโลภะ อาการใดเป็นโมหะ อาการใด้เป็นโทสะ |
|
|
|
|
 |
ข้าน้อย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 มิ.ย.2006, 11:38 pm |
  |
อวิชชา...สังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนาคือ @โมหะ.@อาการหลงไม่รู้ในอริยสัจสี่ ไตรลักษณ์ ขันธ์ 5
ตัณหา...อุปทาน..ภพ ชาติ....คือ.............................................................@โลภ@ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ยึดมั่น ตัวตน
ชรา มรณะ .............................คือ..............................................................@โทสะ@
ไม่ได้ตามใจปราถนา โศกเศร้า ร้อนรน รำพัน |
|
|
|
|
 |
แพร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2006, 9:55 am |
  |
เรียนคุณข้าน้อย ขออ่านเต็มๆ มีไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ |
|
|
|
|
 |
๛ Nirvana ๛
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2006, 11:58 am |
  |
ปฏิจฺจสมุปฺบาท
กระบวนธรรมของจิต ในการเกิดขึ้น และดับไปแห่งทุกข์
เป็นปรมัตถธรรมอันแสดงกระบวนการของจิต ในการเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ และการดับไปแห่งกองทุกข์ ว่าเกิดมาแต่เหตุอันใด มาเป็นปัจจัยกันอย่างใด และแสดงความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยนั้นๆอันเป็นปัจจัยแก่กันและกัน สืบต่อกันจนเกิดขึ้นเป็นวงจรต่อเนื่องของความทุกข์ที่เผาลนสรรพสัตว์มาตลอดกาลนาน, ดังนั้นเมื่อเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งก็จักมีคุณอนันต์ เป็นสัมมาญาณอันช่วยให้การปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะเมื่อรู้เท่าทันและเข้าใจถึงเหตุได้อย่างแจ่มแจ้ง ก็สามารถดับทุกข์ที่เหตุนั้นได้โดยตรงและถูกต้องอย่างปรมัตถ์ อันย่อมบังเกิดผลขึ้นตามหลักอิทัปปัจจยตาอันดำเนินอยู่ในปฏิจจสมุปบาท คือเมื่อเหตุดับ ผลอันคือความทุกข์ก็ต้องดับไปด้วย ไม่สามารถก่อตัวเป็นความทุกข์ชนิดอุปาทานทุกข์อันเผาลนจิตและกายขึ้นมาได้
ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ที่พระองค์ท่านทรงตรัสไว้เมื่อตอนตรัสรู้ว่าธรรมอันยากและลึกซึ้งมีเพียง ๒ คือ ปฏิจจสมุปบาท และ นิพพาน ปฏิจจสมุปบาทเป็นกระบวนธรรมที่เปิดเผยกระบวนธรรมของจิตอันแสนละเอียดอ่อนลึกซึ้งของมวลมนุษย์ทั้งปวงในการเกิดขึ้นแห่งทุกข์, คุณประโยชน์มิใช่อยู่ที่การจดจําวงจรที่เป็นเหตุปัจจัยได้ จักต้องพิจารณา(โยนิโสมนสิการ)ให้เห็นด้วยปัญญาจักขุอันคือปัญญา(สัมมาญาณ)เท่านั้น เพื่อให้เข้าใจถึงสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของกระบวนการทํางานของจิตอันต้องเป็นไปเช่นนี้เองเป็นธรรมดา จึงยังผลให้เกิดความทุกข์หรือก็คืออุปาทานทุกข์ขึ้นนั่นเอง จึงจักเกิดประโยชน์อันสูงสุดขึ้นได้ จึงมิใช่การเห็นเข้าใจโดยการน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์ หรือท่องจำอย่างคล่องแคล่วแต่ฝ่ายเดียว, แต่ต้องเป็นการเห็นที่หมายถึงประกอบด้วยปัญญา ที่ประกอบด้วยเหตุผลเท่านั้น คือ เห็นเข้าใจในการเกิด-ดับของเหตุปัจจัยต่างๆ อันเป็นไปตามสภาวธรรมชาติอันก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นอย่างแจ่มแจ้ง อันจักยังผลให้เข้าใจในหลักอิทัปปัจจยตา อริยสัจอันมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เข้าใจพระไตรลักษณ์ สติปัฎฐาน ๔ ได้อย่างถูกต้องถ่องแท้ เพราะเป็นผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมแล้วสมดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม" ตลอดจนใช้แก้ปัญหาต่างๆที่ก่อให้เกิดความทุกข์ได้อย่างมหาศาลเกินความคาดคิด ตั้งแต่จางคลายจากทุกข์ตามฐานะอันควรแห่งตน ไปจนถึงการดับสนิทไปแห่งทุกข์อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของมวลมนุษย์ชาติ |
|
_________________ ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน |
|
     |
 |
๛ Nirvana ๛
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2006, 11:59 am |
  |
๑. อวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลสเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
อวิชชา ความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม ร่วมด้วยอาสวะกิเลสที่สั่งสม จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันจึงเกิด สังขาร ขึ้น
๒. สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
สังขาร การกระทําทางกาย,วาจา,ใจ(คิด) ตามที่ได้เคยสั่งสม,อบรม,ประพฤติ,ปฏิบัติไว้แต่อดีต เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
๓. วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนาม-รูป
วิญญาณ กระบวนการรับรู้ของชีวิตในสังขารที่เกิดขึ้นนั้น เป็นปัจจัย จึงมี นาม-รูป
๔. นาม-รูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
นาม-รูป ทำให้รูปนามหรือขันธ์๕ที่มีอยู่แล้ว แต่นอนเนื่อง ครบองค์ประกอบของการทำงานตามหน้าที่ตน เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
๕. สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
สฬายตนะ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ เข้าทำงานตามหน้าที่แห่งตน เนื่องเพราะนาม-รูปครบองค์ตื่นตัวแล้ว เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
๖. ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
ผัสสะ การประจวบกันของสฬายตนะ(อายตนะภายใน) & สังขาร(อายตนะภายนอก) & วิญญาณ ทั้ง๓ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
๗. สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เวทนา การเสวยอารมณ์หรือความรู้สึกรับรู้ที่เกิดจากการผัสสะ อันมี สุขเวทนา, ทุกขเวทนา, อทุกขมสุข เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
๘. ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
ตัณหา กามตัณหาในรูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส, ภวตัณหา-ความอยาก, วิภวตัณหา-ความไม่อยาก เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
๙. อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
อุปาทาน ความยึดมั่น,ความถือมั่นในกิเลสหรือความพึงพอใจในตน,ของตนเป็นหลักสูงสุด เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
๑๐. ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
ภพ สภาวะ,บทบาทที่ตกลงใจเลือกแสดงออก ตามอิทธิพลของการได้รับการตอบสนองเยี่ยงไรจากอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
๑๑. ชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา-มรณะ พร้อมทั้ง อาสวะกิเลส
ชาติ อันคือ ความเกิด จึงหมายถึง การเริ่มเกิดขึ้นของกองทุกข์หรืออุปาทานทุกข์ ตามภพหรือสภาวะ,บทบาทที่ตกลงใจเลือกนั้น เป็นปัจจัยจึงมี ชรา-มรณะพร้อมทั้งอาสวะกิเลส
ชรา-มรณะ พร้อมทั้ง อาสวะกิเลส เมื่อมีการเกิด(ชาติ)ขึ้น ก็ย่อมมีการตั้งอยู่อย่างแปรปรวน(ชรา) แล้วดับไป(มรณะ)เป็นธรรมดา ดังนี้
ชรา - ความเสื่อม ความแปรปรวน จึงหมายถึง ความแปรปรวนอย่างวนเวียนอยู่ในกองทุกข์ อันคือการเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นและเป็นไปอย่างวนเวียนเร่าร้อนเผาลนอย่างต่อเนื่อง
มรณะ - การดับ การตาย จึงหมายถึง การดับไปของทุกข์นั้นๆ อันพรั่งพร้อมกับการเกิดขึ้นของอาสวะกิเลส - อันคือสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือกิเลส ที่เกิดขึ้นแต่อยู่ในสภาพนอนเนื่องแอบหมักหมมหรือสร้างรอยแผลเป็นอยู่ในจิตหรือความจำ อันจักยังผลให้เกิดเป็นทุกข์ในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน กล่าวคือ
อาสวะกิเลส - กิเลสที่ตกตะกอนนอนก้น นอนเนื่องอยู่ในจิต อันเมื่อผุดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ หรือเจตนาขึ้น หรือเกิดแต่การกระตุ้นเร้าของการกระทบผัสสะก็ตามที ก็จะเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาอีกครั้งดังเหตุปัจจัยแรก ดังนี้
๑. อวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลสเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
จึงหนุนเนื่องขับดันวงจรของความทุกข์ให้ดำเนินเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ต่อไปในภายภาคหน้า จึงก่อให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์ หรือสังสารวัฏไม่รู้จักจบสิ้น
อาสวะกิเลส
อาสวะกิเลส เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นเองโดยธรรม(ธรรมชาติ) จะไม่ให้เกิด ไม่ให้มีก็ไม่ได้ เพราะเป็นสัญญาความจำชนิดหนึ่งจึงทำงานโดยธรรมของชีวิต อันเป็นขันธ์หนึ่งใน ๕ ของชีวิต(ขันธ์ ๕) เพียงแต่เป็นสัญญาที่เจือกิเลส ชนิดที่นอนเนื่อง ซึมซาบย้อมจิต หรือก็คือความจำ(สัญญา)ที่แฝงหรือประกอบด้วยกิเลส พระองค์ท่านจำแนกออกเป็น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
โสกะ - ทำให้เกิดกิเลสสิ่งขุ่นมัวที่นอนเนื่องหมักหมมอยู่ในจิต อันเกิดจาก ความโศก, ความเศร้าใจ, ความแห้งใจ จากความทุกข์กระทบ เช่น ความเสื่อม ความสูญเสีย เช่น เสื่อมทรัพย์ เสื่อมยศ เสื่อมลาภ เสื่อมญาติ เสื่อมสุข เสื่อมสรรเสริญ ฯลฯ อันยังให้เกิดองค์ธรรมสังขารต่างๆนาๆ(การกระทำต่างๆทั้งทางกาย วาจา และใจ)ในภายหน้าที่จะก่อให้เป็นทุกข์ขึ้นอีก
ปริเทวะ - ทำให้เกิดกิเลสสิ่งขุ่นมัวที่นอนเนื่องหมักหมมอยู่ในจิต อันเกิดจากความจำได้ในทั้งสุขและทุกข์แต่อดีต จึงมีความครํ่าครวญ รํ่าไร รําพัน อาลัย คํานึงถึง คิดถึง คือการโหยหาในสุข ในสิ่งที่ชอบ ในสิ่งที่รัก ในเพศสัมผัส ในรสชาดอาหาร ในความสุข สนุกแต่ในอดีต ฯลฯ. หรือการครํ่าครวญในทุกข์ คือพิรี้พิไร ครํ่าครวญ บ่นถึงทุกข์ สิ่งที่ไม่ชอบ ที่เกลียด อันได้เคยเกิด เคยมี เคยเป็นทุกข์แต่ในอดีต, ปริเทวะจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสุขก็คือทุกข์อย่างละเอียด อันยังให้เกิดสังขารปรุงแต่งต่างๆนาๆที่เป็นสังขารกิเลสอันก่อทุกข์ในภายหน้า
ทุกข์ - ทำให้เกิดกิเลสสิ่งขุ่นมัวที่นอนเนื่องหมักหมมอยู่ในจิต อันเกิดมาจาก ความทุกข์อันเกิดมาแต่กาย เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เกิดแต่กายสัมผัส เช่นความป่วยไข้ ความเจ็บปวด ความกลัว ความกังวลในความเจ็บ ป่วยไข้ต่างๆนาๆ กลัวความแก่อันเกิดแต่กาย กลัวความตาย อันยังให้เกิดสังขารปรุงแต่งต่างๆนาๆที่จะก่อให้เป็นทุกข์ในภายหน้า
โทมนัส - ทำให้เกิดกิเลสสิ่งขุ่นมัวที่นอนเนื่องหมักหมมอยู่ในจิต อันเกิดมาจาก ความทุกข์ใจอันเกิดมาแต่ความไม่สําราญทางจิต, ทุกข์อันเกิดแต่ใจ, เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เกิดแต่ใจ(มโนสัมผัส) ความไม่ได้ตามปรารถนา ความคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่าน อันยังให้เกิดสังขารปรุงแต่งต่างๆนาๆที่จะก่อให้เป็นทุกข์ในภายหน้า
อุปายาส - ทำให้เกิดกิเลสสิ่งขุ่นมัวที่นอนเนื่องหมักหมมอยู่ในจิต อันเกิดมาจาก ความขุ่นข้อง, ความคับแค้น, ความขัดเคืองใจ, อาฆาตพยาบาท, ความกลัว, ความไม่ได้ดังใจ อันเป็นกิเลสสิ่งขุ่นมัวที่หมักหมมไว้(อาสวะกิเลส) อันยังให้เกิดองค์ธรรมสังขารปรุงแต่งต่างๆนาๆที่จะก่อให้เป็นทุกข์ในภายหน้า
อาสวะกิเลสอันจักต้องเกิดร่วมด้วยกับชรา-มรณะทุกครั้งทุกทีอันเป็นไปตามธรรมหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันยิ่งใหญ่ของชีวิต เป็นผลข้างเคียงอันต้องพึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เพราะเป็นความจําของชีวิต(สัญญา)อย่างหนึ่งนั่นเอง จึงเป็นปัจจัยให้เกิดแรงหนุนเนื่องขับดันให้วงจรปฏิจจสมุปบาทหรือวงจรของทุกข์ดําเนินต่อเนื่องไปอันยังให้ เกิด อวิชชาขึ้นใหม่อีก จึงเป็นปัจจัยให้เกิด.... --->....สังขาร..... --->.....เป็นไปตามวงจรปฏิจสมุปบาทอย่างต่อเนื่อง อย่างไม่รู้จักจบสิ้น, จึงเป็นแรงหนุนเนื่องให้วงจรของทุกข์เกิดการหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องเป็นภวจักรหรือวงจรแห่งสังสารวัฏ อันคือการเวียนว่ายตายเกิดในภพในชาติตั้งแต่อดีตชาติจวบจนปัจจุบันชาตินี้ และจะยังคงหมุนเวียนสืบเนื่องต่อไปอีกเช่นนี้ต่อไปในภายภาคหน้า
เหล่านี้คืออาสวะกิเลส คือกิเลสหมักหมมที่นอนเนื่อง ซึมซ่าน ย้อมจิต ซึ่งต้องเกิดร่วมมาด้วยกับชรา-มรณะทุกครั้งทุกทีไปโดยธรรมชาติ ซึ่งจักเป็นเหตุปัจจัยให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะความจำแต่อดีตที่แฝงกิเลส ไปเป็นปัจจัยที่ กระตุ้น เร่งเร้า เป็นรากเหง้า หรือเชื้อทุกข์ หนุนเนื่องขับดันให้ดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับ อวิชชา จึงยังให้เกิดหรือมี สังขาร คิด,พูด,กระทำ ตามที่ได้เคยสั่งสม อบรมไว้ขึ้นใหม่อีกต่อไปเรื่อยๆ --->......เป็นวงจรใหม่ของทุกข์ เป็นแรงหนุนให้หมุนเวียนต่อเนื่อง ถ้าพิจารณาโดยละเอียดโดยการย้อนระลึก ดังเช่น ลองสังเกตุหรือย้อนระลึกดูอดีต เมื่อเกิดอารมณ์โกรธขึ้นอย่างรุนแรง จะเห็นว่า สักระยะหนึ่งความโกรธก็จะค่อยๆดับไป แต่ในช่วงแรกนั้นอารมณ์ยังขุ่นมัว กรุ่นๆ หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาญใจกินเวลาอีกนาน (ยังมีอาการออกมาใหัรู้เพราะทุกข์ยังไม่ดับสนิทคือยังเกิดทุกข์อุปาทานขันธ์๕ปรุงแต่งต่างๆนาๆ ที่ เกิดๆ ดับๆ ในชรา(การเปลี่ยนแปลง,การแปรปรวน) กล่าวคือยังเกิดความคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องนั้นเป็นช่วงๆหรือตลอดเวลา จนเวลาผ่านไปจนทุกข์นั้นได้ดับแล้ว(มรณะ) จิตราบเรียบไม่เป็นทุกข์ไม่ครุ่นคิดคำนึงถึงทุกข์นั้นอีกแล้ว, แต่เมื่อมีใครพูดถึงคือเข้าทางอายตนะ(หู) หรือเกิดสังขารคิดคือนึกคิดตามที่สั่งสมหรือตามประสบการณ์ในเรื่องทุกข์ดังกล่าวผุดขึ้นมา ความทุกข์เรื่องนั้นเกิดขึ้นใหม่ได้อีกทันที เหตุเนื่องเพราะอาสวะกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตอันคือเหล่า โสกะ-หดหู่ใจ เสียใจ, ปริเทวะ-คร่ำครวญ โหยหา อาลัย, ทุกข์-ทุกข์ทางกาย, โทมนัส- ทุกข์ใจ ทุกข์อันเกิดแก่ใจ, อุปายาส - ขุ่นข้อง คับแค้นใจ เมื่อถูกกระตุ้นเร้าหรือเจตนาขึ้นมาก็ตามที เมื่อเกิดขึ้นหรือผุดขึ้นแล้วก็จะเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันร่วมกับอวิชชา คือ เกิดการทำงานขึ้นทันที เกิดการดําเนินไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์อีกครั้ง, อาสวะกิเลสเป็นกิเลสที่ละเอียดมากแทบไม่รู้ตัวว่ามีอยู่ กำจัดได้ยากต้องใช้อาสวักขยญาณอันเป็นญาณหรือปัญญาญาณหรือความรู้ความเข้าใจ(ญาณ)ที่เกิดในขั้นสุดท้ายเท่านั้น ที่จักกำจัดอาสวะกิเลสเป็นการสิ้นไปอย่างถาวร เหลือเป็นเพียงสัญญา(ความจำ)
ข้อสังเกตุจากปฏิจจสมุปบาทนี้ จะพบความจริงว่าทุกครั้งทุกทีที่มีทุกข์และสุขทางโลกๆเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปอยู่ตลอดเวลานั้น จะมีอาสวะกิเลสเกิดขึ้นร่วมด้วยทุกครั้งทุกทีไป หมายความว่าในทุกขณะจิตของปุถุชนที่ล้วนยังมีทุกข์และสุขเกิดๆดับๆอยู่ อาสวะกิเลสก็มีแต่สั่งสม หมักดอง นอนเนื่อง ซึมซ่าน ย้อมจิตเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา และในแนวทางปฏิจจสมุปบาทท่านจัดชรา-มรณะและอาสวะกิเลสว่าเป็น สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ คือเป็นแหล่งพลังสำคัญในการกระตุ้นหรือขับเคลื่อนวงจรการเกิดขึ้นของทุกข์ให้เคลื่อนหมุนเป็นวงจรไปตลอดกาลนาน (อ่านรายละเอียดของอาสวะกิเลสเพิ่มเติมภายหลังได้ที่นี่อาสวะกิเลส และสัญญา)อ่านทั้งหมดที่นี่ http://www.nkgen.com |
|
_________________ ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน |
|
     |
 |
๛ Nirvana ๛
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2006, 12:33 pm |
  |
ถึงคุณ ข้าน้อย ลองพิจารณาพุทธพจน์นี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(ตา) และรูป เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ และเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา) เป็นสุขบ้าง(สุขเวทนา) เป็นทุกข์บ้าง(ทุกขเวทนา) มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง(อทุกขมสุขเวทนา) (อันต้องเป็นไปเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาตามสภาวธรรม)
เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ (นิสัยอันนอนเนื่องหรือแอบแฝงด้วยความโลภ,ความอยาก)
อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่(รำพันว่า)ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลง(โมหะเพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง)พร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ (นิสัยอันนอนเนื่องด้วยความขุ่นเคือง,ขัดข้อง,คับแค้นใจ)
อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น(เกิดขึ้น) ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ (นิสัยอันนอนเนื่องด้วยความไม่รู้)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา, ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาบรรเทา, ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา, (และ)ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู, กลิ่น-จมูก, รส-ลิ้น, สัมผัส-กาย, ธรรมารมณ์(คิดนึก)-ใจ
(ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)
รวมแล้ว โลภะ โทสะ โมหะ เกิด เพราะความยึดมั่นในเวทนา นั้นๆ |
|
_________________ ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน |
|
     |
 |
ข้าน้นอย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2006, 1:52 pm |
  |
สาธุ สาธุ สาธุ ครับคุณจักรพันธ์ แสดงกล่าวไว้ละเอียดดีมากๆๆครับ
ขอยกตัวอย่างให้คุณแพรเห็นชัดๆครับ เช่นนักเรียนไปดูผลสอบเอนทรานซ์แล้วไม่พบว่าตนเองสอบได้
ประกาศรายชื่อผู้สอบ[นามรูป]............กระทบตา[อายตนะ]..........ความรับรู้ทางตา[วิญญาณ]..............สอบเอนทรานซ์ตก[นามรูปอย่างที่เป็นทุกข์].............อายตนะ[ตายังจับอยู่ที่ประกาศ].................ผัสสะ[รับรู้ว่าสอบตก].............เวทนา[ไม่สบายใจ]..............ตัณหา[ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น]................อุปทาน[ทำไมต้องเป็นตัวเราสอบตก]...............เป็นลมล้มพับลง
เมื่อแยกตามเหตุและผล หรือสังเขป 4 คือ
1.อดีตเหตุ......คือ อวิชชา สังขาร
2.ปัจจุบันเหตุ.....คือ วิญญาณ นามรูป สฬาตนะ ผัสสะ เวทนา
3.ปัจจุบันเหตุ.....คือ ตัณหา อุปทาน ภพ
4.อนาคตผล.....คือ ชาติ ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ |
|
|
|
|
 |
แพร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2006, 2:46 pm |
  |
ขอขอบพระคุณทั้งสองท่านค่ะ คุณข้าน้อย คุณจักรพนธ์
โมทนาในธรรมทานค่ะ ถ้ามีความสงสัยจะขอรบกวนอีกนะค่ะ
ขออนุญาติ สำเนาไว้อ่านค่ะ |
|
|
|
|
 |
*.*
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2006, 8:17 pm |
  |
อาการ ๒๐ แห่งปฏิจจสมุปปาท คือ
อดีตเหตุ ๕,
ปัจจุบันผล ๕,
ปัจจุบัน เหตุ ๕
และอนาคตผล ๕
มีความหมายว่า อาการ ๒๐ นั้นได้แก่ สภาพความเป็นไปของปฏิจจสมุปปาท นั่นเอง จึงจำแนกไปตามเหตุตามผลแห่งกาลทั้ง ๓ จึงจัดได้เป็น ๔ พวก ๆ ละ ๕ รวมเป็นอาการ ๒๐ คือ
๑. อดีตเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้ปรากฏ
๒. ปัจจุบันผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา
๓. ปัจจุบันเหตุ ๕ ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน ภพ อวิชชา และสังขาร ธรรม ๕ ประการนี้เป็นปัจจัยให้ปรากฏ
๔. อนาคตผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา
อาการที่เป็นไปในกาลเวลาที่ล่วงไปแล้วซึ่งเรียกว่า อดีตเหตุนั้นมี ๕ ประการ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ(คือกัมมภพ)ที่นับ ตัณหา อุปาทาน ภพ รวมเข้ากับอวิชชา สังขารด้วยนั้น ก็เพราะว่า ธรรม ๕ ประการนี้เกี่ยวเนื่องกัน ไม่เว้นจากกันไปได้เลย กล่าวคือ
เมื่อมีอวิชชา สังขาร เกิดขึ้นแล้ว ที่จะไม่มีตัณหา อุปาทาน กัมมภพ เกิดรวมด้วยนั้นเป็นไม่มี ในทำนองเดียวกัน ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ ปรากฏเกิดขึ้นในขณะใด ขณะนั้นย่อมจะต้องมี อวิชชา สังขาร เกิดร่วม ด้วยเสมอไป รวมความว่า เพราะในอดีต มีอวิชชาอยู่ จึงได้กระทำกรรม อันเป็น เหตุให้ได้รับผลในปัจจุบัน ผลที่ได้รับในปัจจุบันนี้ก็ได้แก่วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนารวม ๕ ประการ ไม่นับ ชาติ ชรา มรณะ รวมเข้าด้วยก็เพราะเหตุว่า ชาติ ชรา มรณะ เป็นแต่เพียงอาการของ วิญญาณ นามรูป เท่านั้นเอง ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ จึงไม่นับรวมเข้าด้วย รวมความว่า เพราะในอดีตกาลได้ก่อเหตุขึ้นไว้ จึงมาได้รับผล เป็นรูปเป็นนามในปัจจุบันนี้
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา อันเป็นผลในปัจจุบันนี้นี่เอง เป็นตัวการที่ก่อให้มี ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ อวิชชา และสังขารขึ้นอีก เพราะว่า ได้ก่อเหตุโดยกระทำกรรมขึ้นอีกดังนี้ จึงเรียกว่า ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ อวิชชา สังขาร รวม ๕ ประการนี้เป็นปัจจุบันเหตุ เมื่อได้ก่อให้เกิดปัจจุบันเหตุเช่นนี้แล้ว ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะได้รับผลต่อไปในอนาคต ผลที่จะได้รับต่อไปในภายหน้านั้นจึง ได้ชื่อว่า อนาคตผล เมื่อรู้ผลปัจจุบัน และละเหตุปัจจุบันได้โดยสิ้นเชิงแล้ว ผลในอนาคตก็ไม่มี เมื่อนั้นจึงเรียกว่า สิ้นเหตุสิ้นปัจจัย พ้นจากอาการ ๒๐ แห่งปฏิจจสมุปปาทธรรม นี้ได้ |
|
|
|
|
 |
สงสัย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
15 มิ.ย.2006, 8:45 pm |
  |
งั้นขอถามต่อว่า วิญญาณทำให้เกิดนามรูป ช่วยยกตัวอย่าง จักษุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณ เกิดแล้ว ว่านามรูปเกิดต่ออย่างไร เพื่อจะได้เข้าใจ |
|
|
|
|
 |
*.*
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 มิ.ย.2006, 8:19 am |
  |
ในการเห็น จักขุวิญญาณขึ้นทำหน้าที่เห็นทางตา เมื่อเห็นครั้งหนึ่ง ก็จะเกิดเจตสิก(นาม)และรูปเกิดร่วมด้วย คือ
ถ้าเราเห็นสิ่งที่ถูกตาต้องใจ เจตสิกก็คือนามก็จะปรุงแต่งให้ ชอบ อยากได้ อยากนำมา เชยชม
และเกิดการเปลี่ยนแปลงให้เกิดรูปทางร่างกาย เช่น ยิ้มแย้ม แจ่มใส
ทำนองเดียวกัน
ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ถูกใจ เจตสิกก็คือนามก็จะปรุงแต่งให้ ไม่ชอบ โกรธ เกลียด
และเกิดการเปลี่ยนแปลงให้เกิดรูปทางร่างกาย เช่น หน้าบึ่ง หน้าแดง เป็นต้น
บางคนอาจจะแสดงออกมาทางวาจาด้วยก็ได้ |
|
|
|
|
 |
อ่าง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 มิ.ย.2006, 11:53 am |
  |
คุณแม่ชีศัลสนีย์ แห่งเสถียรธรรมสถาน ท่านสอนเรื่องนี้โดยเฉพาะ ท่านได้รับการถ่ายทอดจากท่านพุทธทาส ท่านอธิบายถึงสุญญตาได้เลยค่ะ |
|
|
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
|