Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากทราบเกี่ยวกับญาณ 8 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
นิด
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 17 มิ.ย.2006, 4:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับญาณ 8 อย่างละเอียดคะ
 
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 17 มิ.ย.2006, 4:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ฌาน แปลว่า จิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน มีการเพ่งกสิณ หรือการกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นต้น
ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หรือเป็นข้าศึกของฌาน คือ ธรรมที่คอยขัดขวางไม่ให้ฌานจิตเกิดขึ้น เรียกว่า นิวรณ์

นิวรณ์ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. กามฉันทนิวรณ์
คือ ความติดใจในกามคุณอารมณ์ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และ การสัมผัสถูกต้อง ที่น่าอภิรมณ์ เมื่อใดที่ไปเพลิดเพลิน ติดใจในสิ่งเหล่านี้แล้ว จิตก็จะไม่สามารถเข้าถึงฌานได้
๒. พยาปาทนิวรณ์
คือ ความมุ่งปองร้ายผู้อื่น เปรียบเหมือนน้ำ ที่เดือดพล่าน ถ้าจิตครุ่นคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ ฌานจิตก็จะเกิดไม่ได้ จึงต้องใช้ปีติข่ม ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อฌานจิตนี้
๓. ถีนมิทธนิวรณ์
คือ ความหดหู่ ความท้อถอย ไม่ใส่ใจ เป็นอันดีต่ออารมณ์ที่เพ่งนั้น เปรียบเหมือนน้ำ ที่มีจอก มีแหนปิดบังอยู่ ถ้าจิตใจเกิดความท้อถอย ไม่ใส่ใจต่ออารมณ์ ที่กำลังเพ่งอยู่ ฌานย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ต้องใช้วิตกข่ม ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ ต่อฌานนี้
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำ ที่ถูกลมพัดกระเพื่อมอยู่เสมอ ถ้าจิตใจยังนึกคิด ในเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ จิตก็จะไม่สามารถที่จะเข้าถึงฌานได้ ต้องใช้สุขข่มอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์
คือ ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ เปรียบเหมือนน้ำที่ขุ่น เป็นตม หรือน้ำที่ตั้งไว้ในที่มืด ถ้าเกิดลังเล ไม่แน่ใจอยู่ตราบใด ก็จะเป็นเหต ุให้เข้าถึงฌานไม่ได้ตราบนั้น ต้องใช้วิจารข่ม ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้เสีย

เมื่อได้ข่มนิวรณ์ ที่เป็นปฏิปักษ์ธรรม ที่ขัดขวาง มิให้เกิดฌานได้เมื่อใด ฌานจิต จึงจะเกิดขึ้นได้เมื่อนั้น ถ้านิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ ยังคงมีอยู่ประการใด ประการหนึ่งเพียงประการเดียว ฌานจิตก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เหตุนี้ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จึงสำคัญยิ่ง ที่เป็นปัจจัยให้เกิดฌานจิต ดังนั้นจึงเรียกธรรม ๕ ประการนี้ว่า เป็น องค์ฌาน เพราะเป็นองค์สำคัญที่ทำให้เกิดฌานจิต กล่าวคือ

องค์ฌาน มี ๕ ประการ
วิตก ทำหน้าที่ ข่มถีนมิทธนิวรณ์
วิจาร " ข่มวิจิกิจฉานิวรณ์
ปีติ " ข่มพยาปาทนิวรณ์
สุข " ข่มอุทธัจจนิวรณ์
เอกัคคตา " ข่มกามฉันทนิวรณ์

การข่มนิวรณ์ด้วยองค์ของฌานทั้ง ๕ มีดังนี้
๑. วิตก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เริ่มแรกทำฌานต้องมีสิ่งสำหรับเพ่ง เป็นต้นว่า ใช้ดินมาทำกสิน แล้วยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ คือการเพ่งดวงกสิณ โดยไม่ให้จิตใจ ไปนึกคิดเรื่องราวต่าง ๆ ถ้าจิตนึกคิดเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ จิตก็จะตกไปจากการเพ่งดวงกสิณ ต้องยกจิตขึ้นสู่การเพ่งใหม่ จิตจะต้องเพ่งอยู่กับดวงกสิณตลอดเวลา เมื่อจิตเกิดความท้อถอย ความง่วง (ถีนมิทธะ) ก็จะเข้าครอบงำจิตใจได้ (วิตกเจตสิก ข่มถีนมิทธเจตสิก)

๒. วิจาร คือการประคองจิตให้มั่นคงอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง เมื่อวิตกยกจิต ขึ้นสู่อารมณ์ที่เพ่งแล้ว วิจารก็ประคองจิต ไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง เหมือนการถลาไปในอากาศของนก (วิตกเหมือนการกระพือปีกของนก) ดังนั้น ผู้ปฏิบัติควรทำจิตใจ ให้ตั้งมั่น ไม่ให้เกิดความลังเลสงสัยเกิดขึ้นในจิตใจ ว่าการเพ่งเช่นนี้จะได้ฌานจริงหรือ ถ้าเกิดลังเลใจ (วิจิกิจฉา) จิตก็จะตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง

๓. ปีติ คือความปลาบปลื้มใจ อิ่มเอิบใจในการเพ่งอารมณ์ เมื่อได้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ต้องประคองจิตให้มั่น โดยปราศจากการท้อถอย และลังเลใจ ความปลาบปลื้ม อิ่มเอิบใจย่อมเกิดขึ้น ขณะที่จิตมีปีติ ปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจอยู่นั้น ก็จะไม่มีความพยาบาท มุ่งร้าย หรือขุ่นเคืองใจ เข้ามาแทรกแซงไม่
ปีติ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจ มี ๕ ประการ คือ
๑) ขุททกาปีติ ปลาบปลื้มใจ เล็กน้อย พอรู้สึกขนลุก
๒) ขณิกาปีติ " ชั่วขณะ เกิดขึ้นบ่อยๆ
๓) โอกกันติกาปีติ " ถึงกับตัวโยกตัวโคลง
๔) อุพเพงคาปีติ " จนตัวลอย
๕) ผรณาปีติ " จนอิ่มเอิบซาบซ่านไปทั่วกายและใจ

ปีติ ที่เป็นองค์ฌาน ที่สามารถข่มพยาบาทนิวรณ์ได้นั้น ต้องถึงผรณาปีติ ส่วนปีติอีก ๔ ไม่นับว่าเป็นองค์ฌาน เพราะยังเป็นของหยาบ และมีกำลังน้อยอยู่

๔. สุข ในองค์ฌาน หมายถึง ความสุขใจ หรือโสมนัสเวทนา เมื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แล้ว ประคองให้จิตตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์ จนปีติเกิดเช่นนี้แล้ว สุขก็ย่อมเกิดตามมา ความสุข ก็คือความสงบ ที่ปราศจากความฟุ้งซ่าน รำคาญใจนั่นเอง

๕. เอกัคคตา คือจิตที่มีสมาธิแน่วแน่ ในอารมณ์เดียว คือจะแน่วแน่อยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เอกัคคตามี ๓ ระดับ คือ
๑) ขณิกสมาธิ หรือบริกรรมสมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ได้ชั่วขณะ หรือเป็นสมาธิ ขณะบริกรรม ว่าปฐวี ๆ เป็นต้น
๒) อุปจารสมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใกล้จะได้ฌาน
๓) อัปปนาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่น หรือแนบแน่น อยู่ในอารมณ์ที่กำหนด ไม่ซัดส่ายไปไหน กิเลสไม่สามารถรบกวนได้ และอัปปนาสมาธิ ก็คือ ฌานจิต ที่เป็นอัปปนา เกิดขึ้นแล้ว

การข่มนิวรณ์ ด้วยอำนาจแห่งองค์ฌานนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เป็นการประหาณ ไว้ได้นานตราบเท่าที่ ฌานยังไม่เสื่อม เปรียบประดุจหินทับหญ้า ถ้าไม่ยกหินออก หญ้าก็งอกขึ้นไม่ได้ฉันใด ถ้าฌานยังไม่เสื่อมนิวรณ์ ก็ไม่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ฉันนั้น หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นิวรณ์กำเริบขึ้นได้เมื่อใด ฌานก็จะเสื่อมไปได้เมื่อนั้น

ตามนัยแห่งพระอภิธรรม จำแนกประเภทของฌานไว้ ๕ ฌาน เรียกชื่อว่า ฌานปัญจกนัย ฌานทั้ง ๕ นี้ได้แก่
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๔ " - วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ " - - ปีติ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ " - - - สุข เอกัคคตา
ปัญจมฌาน มีองค์ฌาน ๒ " - - - อุเบกขา เอกัคคตา
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน

แก้ไขล่าสุดโดย ๛ Nirvana ๛ เมื่อ 17 มิ.ย.2006, 5:03 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 17 มิ.ย.2006, 4:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐาน จนได้รูปฌานชั้นที่ ๕ แล้ว หากปรารถนาที่จะเจริญฌานสมาบัติ ให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็จะต้อง เจริญอรูปฌานอีก ๔ ชั้นแต่ละชั้นมีลักษณะ ดังนี้

อรูปฌานชั้นที่ ๑ ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะเพ่งอากาศ ที่ว่างเปล่าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอารมณ์ ในการเจริญกรรมฐาน อารมณ์เช่นนี้เรียกว่า กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ

อรูปฌานชั้นที่ ๒ ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมนำเอาฌานจิต ที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน

อรูปฌานชั้นที่ ๓ ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาน เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญ วิญญานัญจายตนฌาน บ่อยๆ จนชำนาญ ก็จะรู้สึกขึ้นมาว่าอากาศ อันไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี หรือ วิญญาณ คือตัวรู้ รู้ว่า อากาศนั้น ไม่มี
ที่สิ้นสุดก็ดี จริงๆแล้วก็คือความไม่มีอากาสานัญจายตนฌาน ที่เป็นอารมณ์ ของวิญญาณัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติ จึงน้อมเอาสภาพที่ไม่มี อากาสานัญจายตนฌานเช่นนี้ มาเป็นอารมณ์ ในการเจริญกรรมฐานเรียกว่า นัตถิภาวบัญญัติ

อรูปฌานชั้นที่ ๔ ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมเอาความสงบอันประณีตละเอียดอ่อนของฌานจิต ที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน

http://www.buddhism-online.org/
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2006, 5:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ญาณ ๘ หรือ วิชชา ๘

๑ วิปัสสนาญาณ หรือญาณที่มีปัญญาญาณอย่างถูกต้อง อันเป็นสภาวะจริง ไม่ใช่แค่ภาษาอย่างเดียว และเป็นการรู้ยิ่งของจิต รู้จิตจริงๆ เกิดความเชื่อมั่นว่าทำได้

๒ มโนมยิทธิ หรือจิตเก่งกล้า มีอิทธิ มีความเก่งในการที่จะทำให้จิตหลุดพ้น

๓ อิทธิวิธี หรือการมีวิธีมากขึ้น มีกรรมวิธีแนบเนียนขึ้น ทำได้เก่งขึ้น

๔ โสตทิพย์ หรือความสามารถรู้ลึกซึ้ง คือสามารถรู้ “นาม” จากเพียงการสัมผัส “รูป” สามารถรู้ความละเอียดจากการสัมผัสความหยาบ ซึ่งแตกต่างจากโสตทิพย์ที่คนทั่วไปเข้าใจโดยผิวเผิน

๕ เจโตปริยญาณ หรือญาณที่รอบรู้ลึกซึ้งเข้าไปอีกมากยิ่งขึ้น จนเข้าใจถึงฐานของ ราคะมูล โทสะมูล โมหะมูล อันเป็นการรู้พิเศษชนิดที่เป็นจิตที่ลึก มีอำนาจสามารถแยกแยะอย่างซับซ้อนเข้าไปถึงขั้นลึกสุด ละเอียดสุดของจิต

๖ บุพเพนิวาสานุสติ หรือการใช้สติทบทวนดูของเก่าของใหม่ ดูกิเลสจริง ดูความเคยความเป็นมาแล้วจริงๆ แล้วเทียบกับความหลุดพ้นที่เราเป็นได้ในขณะนี้ เพื่อนำมาปรับปรุงตนเองอีก

๗ จุตูปปาตญาณ หรือการรู้แจ้งแทงทะลุเรื่องการเกิด-ดับ อย่างสิ้นสงสัย อย่างเห็นแจ้งในวัฏ
ฏสงสาร

๘ อาสวักขยญาณ คือการรู้จิตวิญญาณแท้รู้กิเลสจริง ลึกละเอียดสุขุม ประณีต จนถึงสภาพแห่งอาสวะ อนุสัย ที่สามารถดับประหารได้อย่างแท้จริง สิ้นสูญเหลือแต่จิตที่สะอาดบริสุทธิ์อย่างที่สุด
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2006, 5:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ญาณ ๘ หรือ วิชชา๘
วิชชา ๘
[๑๔]
[ วิชชา ๘ คือ วิปัสสนาญาน มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิญญาณ ทิพโสตญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ ]

วิปัสสนาญาณ
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ รู้ชัดว่า กายของเรานี้ได้แก่ รูปและวิญญาณ รูปนั้นประกอบด้วยมหาภูต ๔ [ ดิน น้ำ ลม ไฟ ] เกิดจากมารดาบิดา เติบโตด้วยอาหาร แต่รูปนี้ไม่เที่ยง ต้องเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ส่วนวิญญาณนั้นก็อาศัยอยู่ เนื่องอยู่ในกายนี้ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เจียระไนดีแล้ว มีด้ายสีต่าง ๆ ร้อยอยู่ภายใน ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๐

มโนมยิทธิญาณ
[๑๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง หรือชักดาบออกจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๐ - ๓๒๑

อิทธิวิธญาณ
[๑๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี และบรรล อิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เปรียบเหมือนช่างหม้อ หรือช่างงา หรือช่างทองผู้ฉลาด เมื่อต้องการภาชนะ หรือเครื่องงา หรือทองรูปพรรณอย่างใด ก็ย่อมทำสำเร็จได้ ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๑ - ๓๒๒

ทิพพโสตญาณ
[๑๗] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อทิพยโสตธาตุ สามารถได้ยินทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งไกลและใกล้ เกินโสตของมนุษย์ เปรียบเหมือนคนที่ได้ยินเสียงกลอง เสียงตะโพน ฯลฯ แต่ไกล ๆ ก็รู้ได้ว่านั่น เป็นเสียงกลอง เสียงตะโพน ฯลฯ ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์. ์
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๒

เจโตปริยญาณ
[๑๘] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อเจโตปริยญาณ สามารถกำหนดรู้ใจของสัตว์หรือบุคคลอื่นด้วยใจ เช่น จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น เปรียบเหมือน หญิงชาย ที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องกระจกดูเงาหน้าของตน ถ้าหน้ามีไฝ ก็รู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็รู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๒ - ๓๒๓

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
[๑๙] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ... จนกระทั่งตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ว่าในภพโน้นเราเป็นอย่างนั้น ๆ เมื่อสิ้นอายุแล้ว จุติจากภพโน้นไปเกิดในภพนั้น เป็นอย่างนั้น ๆ จนสิ้นอายุ จึงจุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ เปรียบเหมือนคนที่ะลึกได้ว่า ได้จากบ้านตนไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น ได้ทำอย่างนั้น ๆ แล้วได้จากบ้านนั้นไปยังบ้านโน้น ได้ทำอย่างนั้น ๆ แล้วกลับจากบ้านนั้น มาสู่บ้านของตนตามเดิม ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๓ - ๓๒๔

จุตูปปาตญาณ
[๒๐] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ รู้ชัดว่าหมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม ผู้ที่ประกอบอกุศลกรรมด้วย มิจฉาทิฏฐิ ตายแล้วย่อมไปสู่ทุคติ นรก ส่วนผู้ที่ประกอบกุศลกรรมด้วยสัมมาทิฏฐิ ตายแล้วย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เปรียบเหมือนคนที่ยืนอยู่บนปราสาทตั้งอยู่ ณ ทาง ๓ แพร่งกลางพระนคร ย่อมมองเห็นหมู่ชนเบื้องล่าง รู้ได้ว่าคนเหล่านั้นกำลังไปไหนทางไหนอย่างไร ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๔ - ๓๒๕

อาสวักขยญาณ
[๒๑] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง มีญาณรู้ชัดว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เปรียบเหมือนคนที่ยืนอยู่บนขอบสระที่มีน้ำใสสะอาด ย่อมเห็นสิ่งต่าง ๆ ใต้น้ำในสระนั้นได้ชัดเจน ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ท่านเกวัฏฏ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เรารู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้รู้.
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๖
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
ญาณ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2006, 7:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิด พิมพ์ว่า:
อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับญาณ 8 อย่างละเอียดคะ


นิพพิทาญาณ

นิพพิทาญาณ เป็นญาณที่ ๘ แห่งโสฬสญาณ เป็นญาณที่ ๕ แห่งวิปัสสนาญาณ ๙ และอยู่ใน
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งเป็นวิสุทธิมัคค ลำดับที่ ๖ แห่งวิสุทธิ ๗

เมื่อเห็นรูปนามเป็นภัยและเป็นโทษด้วยประการต่าง ๆ ทั้งพิจารณาเห็นซ้ำเห็นซากอยู่อย่างนี้ ก็ยิ่งเห็นภัย เห็นโทษชัดขึ้น ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดความเบื่อหน่ายต่อรูปนามทั้งปวง การเบื่อหน่ายต่อรูปนาม มีชื่อว่า นิพพิทาญาณ นี้เป็นการเบื่อหน่ายอันเกิดจากปัญญาที่เห็นแจ้งถึงภัยและโทษ ของสังขารรูปนามทั้งปวง มิใช่เบื่อหน่ายในอารมณ์อันไม่เป็นที่น่ารักที่น่าชื่นชมยินดี หรืออารมณ์ที่ไม่ชอบใจ อันเนื่องด้วยโทสะ เพราะความเบื่อหน่ายอันเนื่องจากโทสะนั้นเป็นการเลือกเบื่อหน่าย สิ่งใดที่ไม่ชอบก็เบื่อหน่าย แต่สิ่งใดที่ยังชอบอยู่ก็ไม่เบื่อหน่าย เวลาอิ่มก็เบื่อหน่าย แต่เวลาหิวก็ไม่เบื่อหน่าย เช่นนี้เป็นต้น แต่ว่าการเบื่อหน่ายด้วยปัญญา เป็นการเบื่อหน่ายต่อสิ่งทั้งปวง ไม่ใช่เลือกเบื่อบ้างไม่เบื่อบ้าง เหมือนอย่างเนื่องด้วยโทสะ นิพพิทาญาณนี้เบื่อหน่ายต่อสังขารรูปนามในทุก ๆ ภูมิ ไม่ใช่เลือกเบื่อหน่ายเฉพาะอบายภูมิ แต่ภูมิในสวรรค์ไม่เบื่อหน่าย ที่เบื่อหน่ายสังขารรูปนามในทุก ๆ ภูมิ ก็เพราะสังขารรูปนามไม่ว่าจะอยู่ในภูมิไหน ก็เป็นภัย เป็นโทษทั้งนั้น เมื่อเบื่อหน่ายในรูปนาม จึงปลงใจขะมักเขม้นในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นเครื่องนำออกจากสังสารทุกข์ มุ่งไปสู่สันติสุข คือพระนิพพาน นิพพิทาญาณ ปัญญาที่เบื่อหน่ายต่อสังขารรูปนามนี้ สามารถละ อภิรติสัญญา สัญญาที่เพลิดเพลินเสียได้ อนึ่ง ภยญาณ ปัญญาที่เห็นสังขารรูปนามว่าเป็นภัย อาทีนวญาณ ปัญญาที่เห็นสังขารรูปนามว่าเป็นโทษ และ นิพพิทาญาณ ปัญญาที่เห็นสังขารรูปนามว่าเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย รวม ๓ ญาณนี้ เป็นสภาพเดียวกัน เป็นอรรถอันเดียวกัน คือ
เป็นภัย ก็เพราะไม่ดี ชั่ว มีโทษ ควรเบื่อหน่าย เป็นโทษ ก็เพราะไม่ดี ชั่ว มีภัย ควรเบื่อหน่าย
ที่เบื่อหน่าย ก็เพราะไม่ดี ชั่ว มีภัย มีโทษ ดังมีบาลีว่า

ยาจ ภย ตุปฏฺฐานปญฺญา ยญฺจ อาทีนวญาณํ ยาจ นิพฺพิทา อิเม ธมฺมา เอกตฺถา พยญฺชนเมวนามํ

ภยญาณที่ได้เห็นเป็นภัยก็ดี อาทีนวญาณที่ได้เห็นเป็นโทษก็ดี นิพพิทาญาณที่เบื่อหน่ายก็ดี รวม ๓ ประการนี้ เป็นสภาพเดียวกัน เป็นอรรถเดียวกัน ต่างกันแต่ชื่อพยัญชนะเท่านั้น

นิพพิทาญาณ หน้า ๑๑๑

http://oldaphidham.mcu.ac.th/html/book/prariset9.html
 
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ย.2007, 1:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ญาณ8...

1.ทิพจักขุญาณ
2.บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
3.อตีตังสญาณ
4.ปัจจุปันนังสญาณ
5.อนาคตังสญาณ
6.จุตูปปาตญาณ
7.เจโตรปริยญาณ
8.ยถากัมมุตาญาณ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 12:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เริ่มมึนค่ะ เจริญในธรรมทุกท่าน สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง