ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
I am
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 เม.ย.2006, 9:36 am |
  |
ความชั่วมีหลายด้านหลายทาง
แต่มันก็อยู่ในตัวของเรานี่แหละ
เกิดจากตัวของเรา มีที่ตัวของเรา
ปรากฏขึ้นที่ตัวของเรานี่เอง
เช่น เราทำชั่วโดยการลักขโมย ฉ้อโกงหรือคิดอิจฉาริษยา ประหัตประหารคนโน้น อยากฆ่าอยากตีคนนี้ นี่เป็นความชั่ว
คนที่ไม่รู้จักความชั่ว เมื่อได้ประหัตประหารคนอื่น สำคัญว่าเป็นของดี ถือว่าตนมีอำนาจอิทธิพลเหนือคนหรือเหนือสัตว์อื่นๆ อันนี้เรียกว่าไม่รู้จักของดีของชั่ว ผู้นั้นยากที่จะละความชั่วได้ เพราะเห็นของชั่วกลับเป็นของดี
การละทิฏฐิมานะก็เข้าใจว่าเป็นของเลว ไม่อยากยอมให้ใคร
มานะ คือ ความแข็งกระด้าง
ทิฏฐิ คือ ความดื้อรั้น ไม่ยอมคนอื่น
ถ้ายอมก็กลัวจะเสียรัดเสียเปรียบ อันนี้เป็นความเข้าใจผิดเพราะ มีโมหะอวิชชาอยู่ ผู้ที่ละมานะทิฏฐิ โดยไม่เห็นว่าการละเช่นนั้น เป็นการน้อยหน้าต่ำตาหรือโง่เง่าเต่าตุ่นอะไร ผู้นั้นมีความเห็นถูกต้องไม่หลง
เพราะการละทิฏฐิมานะเราไม่ต้องอาศัยคนอื่น
ไม่มุ่งถึงคนอื่น
เรามุ่งในตัวของเราเอง
มานะ อาสวะและกิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นที่ตัวของเรา
มันทำให้เดือดร้อนวุ่นวาย
เราไม่ได้ละเพื่อคนอื่น
เราละเพื่อตัวของเราคนเดียว
เพราะความเดือดร้อนเกิดขึ้นที่ตัวของเราต่างหาก เราเห็นโทษแล้วจึงละ คนอื่นจะชมว่าดีหรือชั่วก็เรื่องของเขาต่างหาก เขาจะว่าเราโง่เง่าเต่าตุ่นไม่มีปัญญาสามารถนั่นก็เรื่องของเขาต่างหาก ส่วนเราเห็นโทษแล้วว่ามันไหม้เผาผลาญอยู่ในใจของเรา เราจึงละของเราเอง ผู้เห็นอย่างนี้จึงจะละได้และไม่ต้องรอให้คนอื่นละหมดแล้วเราจึงค่อยละ
เรื่องกิเลสคือความชั่วทั้งปวงท่านผู้ดีทั้งหลายท่านทิ้งแล้วจึงค่อยหนีจากโลกอันนี้ คล้ายๆกับว่าของชั่วเลวทรามต่างๆ ท่านผู้ดีวิเศษ ผู้เป็นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเห็นโทษเห็นเป็นของสกปรกน่าเกลียด เห็นเป็นของเลวทรามจึงสละปล่อยทิ้งทั้งหมด แล้วจึงค่อยหนีจากโลกนี้
แต่เราปุถุชนคนหนานี่ซิ กิเลสหุ้มห่อปัญญา กลับเห็นเป็นของดิบของดี พากันแย่งชิงกันทุกหนทุกแห่งเพื่อเอาของเหล่านี้ การแย่งชิงของชั่วจึงเป็นเหตุให้เดือดร้อนวุ่นวายคนทั้งหลายในโลกจึงเป็นทุกข์
ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเห็นเป็นของไม่ดี ละทิ้งหมดปล่อยวางหมด ท่านอยู่ที่ไหนก็สุขสบาย จะเป็นหมู่คณะหรืออยู่คนเดียวก็เป็นสุขสบาย ไม่มีการกระทบกระเทือน
: เพียรละความชั่ว วัดหินหมากเป้ง พ.ศ. ๒๕๑๕
: หลวงปู่เทศก์ เทศรังสี |
|
|
|
|
 |
ต้นหญ้า
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 เม.ย.2006, 1:02 pm |
  |
ผู้ปรารถนาความสุขและความเจริญ ผู้ไม่ปรารถนาความทุกข์ความเสื่อมเสียทั้งหลาย ก็คือการกระทำความดี และการละการกระทำความชั่วทั้งหลาย ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้เป็น ๔ ลักษณะด้วยกัน คือ ๑. ให้สร้างคุณงามความดี บุญกุศลที่ยังไม่มีในตัวเราให้เกิดขึ้นมา ๒. ให้รักษาคุณงามความดี บุญกุศลที่มีอยู่ในตัวของเราแล้วไม่ให้เสื่อมหายไป ๓. ให้ละการกระทำบาป การกระทำความชั่ว ความเลวทรามทั้งหลาย ที่มีอยู่ในใจให้ลดน้อยถอยลงไป จนหมดสิ้นไป ๔. ป้องกันไม่ให้บาปกรรมความชั่วที่ได้ละแล้ว ให้ฟื้นคืนกลับเข้ามาสู่จิตใจอีก
สาธุค่ะท่าน I am
สวัสดีค่ะทุกท่าน คุณบัวใต้ คุณข้าน้อย คุณลูกโป่ง |
|
|
|
|
 |
ข้าน้อย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 เม.ย.2006, 3:00 pm |
  |
โมทนาธรรมครับท่าน i am สวัสดีครับทุกท่าน |
|
|
|
|
 |
I am
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 เม.ย.2006, 3:31 pm |
  |
สวัสดีครับ คุณต้นหญ้า ขอโมทนาด้วยครับ สาธุ..
สวัสดีครับ คุณข้าน้อย.. |
|
|
|
|
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
27 เม.ย.2006, 2:15 pm |
  |
อนุโมทนาบุญค่ะ...คุณ I am คุณต้นหญ้า
ธรรมะสวัสดีค่ะญาติธรรมทุกท่าน คุณบัวใต้ คุณข้าน้อย
 |
|
|
|
   |
 |
๛ Nirvana ๛
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403
|
ตอบเมื่อ:
27 เม.ย.2006, 10:25 pm |
  |
อนุโมทนาบุญทุกๆท่านครับ  |
|
_________________ ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน |
|
     |
 |
|