ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
01 เม.ย.2006, 6:16 am |
  |
การทำสมาธิ
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดป่าสุนันทวนาราม
ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
นั่งหลับตา ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง
ให้ดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง นั่งให้สบายๆ พอดีพองาม
หายใจให้สบายๆ กำหนดรู้ลมเข้า ลมออก โดยสม่ำเสมอ ให้ติดต่อกัน
ในเวลานั้น ไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องทำอะไร
การกำหนดรู้ลมเข้าลมออก เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่างอื่นในโลกไม่สำคัญ
หน้าที่ของเรามีแค่นี้ ให้เอาใจใส่ทำให้ดีที่สุด
อาตาปี สัมปชาโน สติมา มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม กำหนดๆ ๆ
ต่อไปจิตก็จะสงบ ลมก็จะละเอียดเข้าๆ น้อยเข้าๆ จิตก็เบา กายก็เบา
เป็นกายที่ควร แก่การงาน เป็นจิตที่ควรแก่การงาน ให้ปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆ
การนั่งสมาธิ ให้ทำเป็นปกติ นั่งสงบก็นั่ง นั่งไม่สงบก็นั่ง
ไม่สงบไม่เป็นไร นั่งให้เป็นศีล สงบกาย สงบวาจา นั่งอดนั่งทนก็แล้วกัน
ให้อยู่ในท่านั่งก็แล้วกัน สงบหรือไม่สงบก็ไม่เป็นไรคือให้ได้นั่งนั่นแหละ
พยายามรักษาใจ อดทนเข้าไว้
อยากทำหรือไม่อยากทำก็ต้องทำ
การปฏิบัติต้องฝืนนะ
การปฏิบัติคือการฝืน คือการทวนกระแส
ระวังอย่าทุกข์ใจกับจิตที่ไม่สงบนะ
ไม่สงบก็ให้รับรู้ไว้
สงบเอา ไม่สงบไม่เอา ไม่ได้นะ
อยากแต่สงบ ไม่อยากไม่สงบไม่ได้
ดีใจเพราะสงบ เสียใจเพราะไม่สงบก็ไม่ถูก
เรื่องจิตมันเป็นอย่างนี้มาตลอด ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว
จิตของเราต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ควรเป็นอย่างนั้น
เราบังคับมันไม่ได้หรอก
เรามีหน้าที่เพียงแต่กำหนดรู้ว่าสงบหรือไม่สงบเท่านั้น
มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
....................................................................
คัดลอกบางตอนมาจาก...หนังสือพลิกนิดเดียว
http://www.dhammajak.net/book/gavesako02/
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=20103 |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
แก้ไขล่าสุดโดย admin เมื่อ 01 เม.ย.2009, 8:23 pm, ทั้งหมด 6 ครั้ง |
|
    |
 |
แม่ทัพน้อย เพชรบูรณ์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
01 เม.ย.2006, 6:18 am |
  |
ขอบคุณท่านที่ให้คำชี้แนะ ขอน้อมไปปฏิบัติ |
|
|
|
|
 |
กัลยรัตน์ กุศลปฏิการ
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 26 มี.ค. 2007
ตอบ: 22
ที่อยู่ (จังหวัด): นครราชสีมา
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2007, 7:53 pm |
  |
 |
|
_________________ ทุกคนเกิดมาย่อมมีกรรมเป็นของตัวเอง |
|
  |
 |
นายฉัตรชัย1
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ย. 2007, 5:25 pm |
  |
นัสการครับ.อ่านแล้วจะนำคำสอนไปปฏิบัติอย่างรักษาจิตครับ. |
|
|
|
|
 |
นายฉัตรชัย1
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ย. 2007, 5:27 pm |
  |
คิดดี พูดดี กระทำดี สาธุ  |
|
|
|
|
 |
samphan
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 29 ก.ย. 2007
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
02 ต.ค.2007, 4:28 pm |
  |
ผมนั่งสมาธิเป็นประจำและนั่งประมาณ 1 ชั่วโมง ทำโดยการกำหนดลมหายใจ+พุทโธ แรกๆ ก็รู้สึกปล่อยวาง และสบาย แต่พอนั่งไประยะหนึ่ง ประมาณครึ่งชั่วโมงจะมีอาการคอแข็ง ตัวแข็งและเหมือนมีก้อนอะไรที่ศรีษะและจะปวดคอ/ไหล่มาก (เคยได้ยินอาจารย์บางท่านบอกว่า ต้องอดทนต่อความเจ็บปวด แต่ผมทนแล้วทนอีกก็ไม่ไปไหน) ไม่หายปวดเลย จึงต้องเลิกทำ ช่วยชื้ทางให้หน่อยครับ ทำอย่างไรดี |
|
|
|
  |
 |
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73
|
ตอบเมื่อ:
29 มิ.ย.2008, 3:22 am |
  |
เคยดูวิธีฝึกสมาธิที่หลวงพ่อจรัญสอน ท่านบอกว่าให้ทนต่อเวทนา อย่างเช่นปวดแล้วก็ให้ว่าปวดหนอ ๆ แต่ว่าอย่าถึงกับเอาความรู้สึกนั้นไปปักนะคะ มันก็จะปวดอยู่อย่างนั้น ให้แค่ภาวนาว่าปวดหนอ ๆ กำหนดให้ได้อ่ะค่ะ แล้วมันก็จะผ่านไปได้ จะไม่ปวดค่ะ มีคนที่เค้าทนต่อเวทนาได้เค้าบอกเค้าทำแบบนี้ กำหนดแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ได้ยินก็กำหนดได้ยินหนอ เสียงหนอ อะไรอย่างนี้อ่ะค่ะ แต่ส่วนตัวยังไม่เคยได้ถึงขั้นนั้นเลยค่ะ. อยากนั่งนานๆ เหมือนกันแต่ทำไม่ค่อยจะได้...รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ |
|
_________________ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา |
|
  |
 |
wvichakorn
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 13 มิ.ย. 2008
ตอบ: 17
ที่อยู่ (จังหวัด): สระบุรี
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2008, 2:01 pm |
  |
ท่านชลันธร สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม(ถ้ำชี) ท่านเมตตาสอนว่า เมื่อรู้ว่าปวดขา ก็ให้รู้ว่าปวด แต่อย่าไปคิดเรื่องจะหายปวดเมื่อไหร่ ท่านอาจารย์ว่านั่งนิ่ง ๆ ต่อไป ให้กลับมาดูที่ลมหายใจ หรือกำหนดไว้ที่ทรวงอกค่ะ วันแรก ๆ อาจนั่งๆไม่ได้นาน อย่ากังวลค่ะ ทำทุกวันเวลาที่อยู่นั่งนิ่ง ๆ จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เองโดยเราไม่รู้ตัวค่ะ
ขออนุโมทนาให้ปฏิบัติธรรมได้ตามที่ตั้งใจค่ะ |
|
|
|
     |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 11:12 pm |
  |
ธรรมะสวัสดี อยากเล่าว่าเคยไปฝึกสมาธิกับพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ที่บ้านไรวา จ.ชลบุรี เจ้าของสถานที่ เขานิมนต์ท่านไปสอนธรรมะและวิปัสสนา เจอครั้งแรก ก็รู้สึกนิยมชมชอบท่านขึ้นมาทันทีเลย เพราะท่านเป็นชาวญี่ปุ่นแท้ๆ แต่กลับพูดไทยได้ (แม้ว่าจะไม่ค่อยชัด) อ่านหนังสือไทยออก ที่น่ายกย่องที่สุดก็คือ ท่านรู้เรื่องพุทธประวัติ ดีกว่าพวกเราชาวไทยพุทธเสียอีก และสอนธรรมะเข้าใจง่ายกว่าพระสงฆ์ของไทยเสียอีก ท่านยกตัวอย่างหรือเปรียบเทียบอะไร ก็เข้าใจง่าย ทราบมาว่า ท่านบวชมา 30 กว่าปีแล้ว ประมาณ 31-32 ปี
นี่ ก็จองที่ไว้อีกปีนี้ ช่วงเดือนธันวาคม ท่านจะไปที่บ้านไรวาอีก การไปวิปัสสนากรรมฐานของข้าพเจ้า เหมือนการได้ไปพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ได้ยึดติดว่าต้องเป็นพระอาจารย์ท่านนั้น ท่านนี้ สอน แต่ไปเพราะชอบสถานที่ด้วย และเพราะเราเลือกที่จะไปด้วย อีกทั้งเวลาที่เราเลือกตรงกันด้วย เรียกว่าขึ้นอยู่กับปัจจัย ได้ รึเปล่า
ก็เล่าสู่กันฟัง ตามประสาสหายธรรมเท่านั้น ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ ที่ท่านนำมาลง ให้สหายธรรมได้อ่าน ได้เรียนรู้กัน อนุโมทนาบุญ  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 1:39 am |
  |
ในระหว่างการเจริญจิตภาวนา
"สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งปวง" คือครู คือเครื่องมือในการพิจารณา
ความรู้ที่ได้จากการพิจารณา มีเพียง 3 ข้อนี้เท่านั้น
1. รูปรูป
2. รู้นาม
3. รู้ไตรลักษณ์ แห่งรูปและนามทั้งปวง
รู้มากหรือน้อยกว่านี้ แปลว่าทำขาด หรือเกิน
แปลว่าออกนอกทาง เถลไถล
แต่เมื่อเถลไถล ก็เอาเถลไถลนี้แหละมาไว้ใน "สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งปวง"
ตามดู ตามรู้ "สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งปวง" อย่างอุเบกขา
ก็จะกลับเข้าทางได้ |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
|