Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ฤๅศาสนาคู่กับสงคราม ? (พระไพศาล วิสาโล)
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
admin
บัวทอง
เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
ตอบเมื่อ: 19 มี.ค.2006, 10:52 am
ฤๅศาสนาคู่กับสงคราม ?
โดย พระไพศาล วิสาโล
ในสำนึกของคนทั่วไปศาสนากับสงครามเป็นสิ่งตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง เพราะศาสนานั้นสอนสันติภาพและถือว่าชีวิตเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงศาสนากับสงครามมีความเกี่ยวพันกันอย่างมากจนไม่อาจแยกออกเป็นขั้วตรงข้ามอย่างที่เข้าใจกัน
มองในแง่ประวัติศาสตร์ มนุษยชาติได้เผชิญกับสงครามศาสนามานับไม่ถ้วน มิใช่แค่สงครามครูเสดเมื่อพันปีที่แล้วเท่านั้น ในทุกมุมโลกมีการต่อสู้ระหว่างชนต่างศาสนาหรือต่างนิกายมาโดยตลอดจนกระทั่งปัจจุบัน สงครามระหว่างบุชกับบิน ลาเดน แม้มิได้ประกาศเป็นสงครามศาสนา แต่ทั้งสองฝ่ายก็ล้วนมีพระเจ้าเป็นแรงดลใจหรืออ้างว่าพระเจ้าอยู่ข้างตนทั้งสิ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันสัญลักษณ์ทางศาสนาได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสงคราม เช่น การปักรูปเคารพทางศาสนาบนธงศึก การพกพาไม้กางเขน พระเครื่อง หรือข้อความจากคัมภีร์อัลกุรอ่านติดตัวเมื่อเข้าสมรภูมิ ตลอดจนการทำพิธีทางศาสนาและสวดมนต์ก่อนออกศึก บางครั้งก็เปล่งพระนามของพระเจ้าหรือนักบุญขณะประจัญบาน ในยุคกลางของยุโรป ก่อนที่จะปะทะกัน ทหารอังกฤษจะตะโกนประกาศนามนักบุญจอร์จ ขณะที่ทหารฝรั่งเศสประกาศนามนักบุญเดอนีส์ ซึ่งต่างเป็นนักบุญในศาสนาเดียวกัน
บทบาทของศาสนาในสนามรบได้กลายเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งในฐานะสิ่งให้ความชอบธรรมแก่การทำสงคราม และในฐานะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจปัดเป่าภยันตรายและเป็นที่พึ่งทางใจได้ ในยามนี้ใครที่พูดถึงบัญญัติทางศาสนาที่ห้ามฆ่าหรือยกคำสอนของศาสดาที่ให้มนุษย์มีเมตตาต่อกัน นอกจากเขาจะถูกประณามหรือคัดค้านจากผู้นำทางศาสนาแล้ว ยังอาจถูกลงโทษถึงชีวิต
อย่างไรก็ตาม ศาสนากับสงครามและความรุนแรงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและยาวนานกว่านั้น เมื่อมองย้อนหลังไปยังจุดกำเนิดของศาสนาในยุคแรกๆ ของมนุษย์ เราจะพบข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งซึ่งนำศาสนาไปสู่การประหัตประหารครั้งแล้วครั้งเล่า ข้อเท็จจริงนั้นก็คือการบูชายัญมนุษย์ หลักฐานทางโบราณคดีในรอบหลายปีที่ผ่านมายืนยันว่า ในอดีตการบูชายัญมนุษย์ได้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมต่างๆ ของมนุษย์ทุกมุมโลก ตั้งแต่ระดับชนเผ่าที่อยู่ป่าไปจนถึงระดับอาณาจักรที่มีอารยธรรมสูง เช่น มายา หรือแอซเต็ค
ศาสนาโบราณไม่ว่าของชาวกรีก ฮีบรู และฮินดู ล้วนมีเรื่องราวเกี่ยวกับการบูชายัญมนุษย์ ในมหากาพย์อีเลียดได้พูดถึงการบูชายัญชาวทรอยในพิธีศพของนักรบกรีก มีเทพปกรณัมกรีกจำนวนมากที่กล่าวถึงการบูชายัญมนุษย์เพื่อบวงสรวงเทพเจ้า ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่ามีหลายตอนที่กล่าวถึงการบูชายัญมนุษย์เพื่อสักการะพระเจ้า ในศาสนาฮินดู การบูชายัญมนุษย์มีปรากฏในคัมภีร์พระเวท นอกจากนั้นการบูชายัญโดยให้ภรรยาโดดเข้าไปในกองเพลิงในพิธีศพของสามียังดำเนินมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยที่ปัจจุบันการจับหญิงพรหมจรรย์มาสังเวยเจ้าแม่กาลีก็ยังมีอยู่ในอินเดีย เทวสถานบางแห่งในเขมรและลาว เช่น ปราสาทวัดภู ยังมีแท่นหินที่เชื่อว่าใช้ในพิธีบูชายัญมนุษย์
ในหลายวัฒนธรรม ความจำเป็นต้องหามนุษย์มาบูชายัญถวายเทพเจ้า เป็นแรงผลักดันให้ต้องรบพุ่งทำสงครามกัน ตัวอย่างที่เด่นชัดคือชาวแอซเต็ค มีหลักฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ว่าได้มีการบูชายัญมนุษย์นับหมื่นคนในพิธีเปิดมหาวิหารทีน็อคทิทลาน ชาวแอซเต็คเชื่อว่าการบูชายัญมนุษย์จะทำให้จักรวาลดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติ หากไม่มีเลือดมนุษย์ ดวงอาทิตย์จะแห้งผากและโลกจะมืดมิด แต่จะหามนุษย์จำนวนนับหมื่นมาบูชายัญได้อย่างไร คำตอบคือทำสงครามแย่งชิงเชลยศึกมาถวายเทพเจ้า จวบจนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยังมีผู้พบเห็นชาวดาโฮเมในแอฟริกาทำสงครามเพื่อหามนุษย์มาบูชายัญ
คำถามที่น่าคิดก็คือ ประเพณีบูชายัญมนุษย์เพื่อเทพเจ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร
ประเด็นนี้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจเชื่อมโยงกับประเพณีสละชีวิตมนุษย์ให้แก่สัตว์ที่ดุร้าย ในเทพปกรณัมของกรีกมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการสละมนุษย์ให้เป็นอาหารแก่สัตว์ร้ายเพื่อคนที่เหลือจะได้อยู่อย่างปลอดภัย เรื่องทำนองนี้มีอยู่ในนิทานทั่วโลก แต่นอกจากนิทานแล้ว
ยังมีบันทึกมากมายที่สอดคล้องกัน เช่น ในอินเดียชนเผ่าคนท์ (Kondh) จะนำคนที่จับมาได้ (หรือเลี้ยงดูให้โตเพื่อการนี้) มาสังหารเพื่อมอบให้เป็นอาหารแก่เทพทุรคา (ซึ่งขี่เสือ) เพื่อให้หมู่บ้านมีอาหารอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งไม่มีเสือและงูมารังควาน
น่าสังเกตว่าในศาสนาดั้งเดิมของมนุษย์ยุคบุพกาลนั้น สัตว์ที่ดุร้ายจะเป็นที่เคารพบูชา เช่น สถานที่บางแห่งในอียิปต์โบราณมีการสักการะสิงโต ส่วนเสือจากัวร์ได้รับการบูชาในอเมริกากลางและใต้ ชาวฮาวายโบราณบูชาปลาฉลาม สัตว์ร้ายเหล่านี้จะได้รับเครื่องเซ่นอยู่เป็นนิจ และบางครั้งเครื่องเซ่นก็เป็นมนุษย์ มิชชันนารีชาวโปรตุเกสกล่าวถึงพิธีเซ่นสรวงปลาฉลามที่ปากแม่น้ำฮูกลีของอินเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเล่าว่าทั้งหญิงและชายจำนวนหนึ่งเดินลงน้ำเพื่อเป็นอาหารของเทพปลาฉลามอย่างสมัครใจ
จากที่กล่าวมาข้างต้น เป็นไปได้หรือไม่ที่ศาสนาของมนุษย์แต่ดั้งเดิมนั้นเกิดจากความกลัวสัตว์ร้ายในป่า มนุษย์ในเวลานั้นยังไม่มีความรู้และเทคโนโลยีพอที่จะป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายที่มีพละกำลังเหนือกว่ามนุษย์มาก รอบตัวของมนุษย์เต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิด ด้วยความกลัวจึงมีการเซ่นสรวงสัตว์ร้ายเหล่านี้ โดยการหาอาหารมาให้เพื่อมันจะได้ไม่มารบกวนมนุษย์ อาหารเหล่านี้เดิมอาจเป็นซากสัตว์ที่หามาได้ แต่ในยามที่สัตว์หายาก ก็จำต้องใช้มนุษย์มาเป็นเครื่องเซ่นแทน โดยอาจเป็นเชลยต่างเผ่าหรือคนที่ถูกชุมชนปฏิเสธ
ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งก็คือ มนุษย์ในสมัยที่ยังไม่มีเทคนิคและเครื่องมือล่าสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพนั้น อาหารส่วนหนึ่งได้มาจากซากสัตว์ที่สัตว์ร้ายเหล่านั้นเหลือทิ้งเอาไว้ (บางครั้งอาจต้องแย่งชิงเอาด้วยซ้ำ) ดังนั้นจึงอยู่ในสถานะที่ต้องพึ่งพาสัตว์ร้ายเหล่านั้นด้วย ในบางสถานการณ์อาจจำเป็นต้องเอาอาหารมาให้สัตว์เหล่านั้นกินเพื่อมันจะได้ไม่หนีไปถิ่นอื่น จากจุดนี้เองจึงพัฒนาไปสู่ประเพณีบูชายัญด้วยสัตว์หรือมนุษย์ในเวลาต่อมา
จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ เทพเจ้ายุคแรกๆ ที่มนุษย์บูชานั้น มักได้แก่เทพที่เป็นสัตว์ร้าย เช่น เสือจากัวร์ได้รับการนับถือว่าเป็นเทพชั้นสูงของเผ่ามายา (การสังหารมนุษย์ในพิธีบูชายัญจะใช้ของมีคมรูปร่างคล้ายกรงเล็บจากัวร์) กล่าวอีกนัยหนึ่งสัตว์ร้ายได้รับการยกสถานะเป็นเทพ และแม้ในเวลาต่อมาเทพจะวิวัฒน์ไปทางมนุษย์มากขึ้น แต่ก็ยังมีลักษณะดุร้าย มีพละกำลังมาก และที่ขาดไม่ได้คือนิยมกินเนื้อ
แต่ศาสนาไม่ได้ยุติเพียงเท่านั้น เมื่อมนุษย์เจริญในทางสติปัญญามากขึ้น สิ่งสูงสุดอันเป็นที่เคารพสักการะก็ได้วิวัฒน์พัฒนาตามขึ้นไปด้วย จากเทพเจ้าที่ดุร้ายก็เปลี่ยนมาเป็นเทพที่มีกิเลสอย่างมนุษย์ (ดังเทพเจ้าของกรีก) และพัฒนามาเป็นพระเจ้าที่เปี่ยมด้วยเมตตา ในขณะที่บางศาสนา (เช่นพุทธศาสนา) เทพที่มีกิเลสทั้งหลายก็เปลี่ยนมาเทพที่ทรงคุณธรรม มีหน้าที่พิทักษ์คนดี (เช่นพระอินทร์) และเปลี่ยนจากผู้ที่อยู่เหนือมนุษย์ มาเป็นเพื่อนร่วมวัฏสงสาร โดยหน้าที่ของมนุษย์ก็คือไปพ้นจากวัฏสงสาร และเป็นอิสระจากการพึ่งพาใดๆ
แม้ว่าศาสนาจะพัฒนาไปมากแล้ว แต่รากเหง้าความเป็นมาที่ผูกพันกับความรุนแรงและสงคราม ก็เป็นความจริงอย่างหนึ่งของศาสนาที่ไม่อาจปฏิเสธได้
ใช่หรือไม่ว่ารากเหง้าความเป็นมาดังกล่าวสะท้อนถึงธรรมชาติพื้นฐานบางอย่างของมนุษย์ ได้แก่ ความกลัว ความโกรธ ความหลง และความเห็นแก่ตัว ธรรมชาติเหล่านี้เองที่ยังมีอิทธิพลต่อมนุษย์และวิธีการนับถือศาสนาในปัจจุบัน จริงอยู่เรายังมีธรรมชาติส่วนที่ดีงามด้วย
แต่ถ้าศาสนา (หรือการนับถือศาสนาของเรา) ยังไม่สามารถพัฒนาธรรมชาติส่วนนี้ได้ สงครามและความรุนแรงในนามของศาสนาหรือโดยศาสนิกย่อมไม่มีวันยุติ
นั่นหมายความว่า การบูชายัญมนุษย์เพื่อพระเจ้าของตัวยังคงดำเนินต่อไปไม่ต่างจากยุคดึกดำบรรพ์ เป็นแต่ว่าอาวุธที่ใช้สังเวยเพื่อนมนุษย์เท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป
..............................................................
หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ มองอย่างพุทธ โดย พระไพศาล วิสาโล
วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10235
_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
แก้ไขล่าสุดโดย admin เมื่อ 31 ส.ค. 2006, 6:10 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
สายลม
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
ตอบเมื่อ: 22 มี.ค.2006, 6:39 pm
สาธุด้วยครับ (ไม่ได้โพสเอง)
_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th