Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
สาธุกถา...สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 1:35 am
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
.............................................................................................
สาธุกถา
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุ สวณํ โลณตํ ยถา
คนดีต้องรักษาความดีของตนไว้ให้ดี เหมือนเกลือเค็มรักษาความเค็มของมันไว้ได้ฉะนั้น คนดีนั้นมีดี 2 อย่าง คือ ดีนอก 1 ดีใน 1
ดีนอกนั้น คือดีด้วยของข้างนอก เช่น มีตึกบ้าน ที่ดิน ไร่นา เรือกสวน เรือ รถ เกวียน ทรัพย์สิน เงินทอง เพชรพลอย ช้าง ม้า โค กระบือ และแพะ แกะ สุกร ไก่ เป็นต้น หรือได้พึ่งมารดา บิดา เจ้านายช่วยอุปการะสนับสนุน และมีญาติมิตรสหายที่เป็นคนดี ช่วยอุปถัมภ์บำรุง รวมเป็น 2 คือสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ 1 มีวิญญาณ 1 เหล่านี้ เรียกว่า ดีนอก คนที่บริสุทธิ์ด้วยดีนอกเหล่านี้ ก็เรียกว่าดีอย่างหนึ่ง
ดีในนั้น คือดีด้วยส่วนข้างใน เช่นมีวิชาความรู้ศิลปศาสตร์ต่างๆ และประพฤติตัวดีพร้อมทั้งกายวาจา ทั้งอัธยาศัยใจคอสุภาพเรียบร้อย สมกับหน้าที่ของตัว รวมเป็น 2 คือ วิชาความรู้ 1 จรรยาความประพฤติ 1 เหล่านี้เรียกว่าดีใน คนบริบูรณ์ด้วยดีในเหล่านี้ ก็เรียกว่าดีอย่างหนึ่ง
ดีนอกกับดีในนั้น ถ้าจะเทียบน้ำหนักกันเข้า ดีในดีกว่าดีนอก คือว่า ถ้าตึกบ้านพัง ไฟไหม้เสีย ก็หมดดี ที่ดินไร่นาเรือกสวน ถ้ายากจนลง ขายหรือให้ไปเสียหมด ก็หมดดี รถเกวียนเก่าชำรุดหักพังเสีย ก็หมดดี ทรัพย์สินเงินทองเพชรพลอยใช้หมดไปหรือถูกขโมยลักไปเสีย ก็หมดดี ช้างม้าโคกระบือ และแพะแกะสุกรไก่ล้มตายไปเสีย ก็หมดดี มารดาบิดาเจ้านายผู้เป็นที่พึ่งช่วยอุปการะอุดหนุน และญาติมิตรสหายที่รักใคร่ช่วยอุปถัมภ์ ล่วงลับแตกดับตายไปเสียก่อนก็หมดดี อาศัยดีนอกประกอบก็ดีได้จริง เช่นลิงเอาเครื่องประดับเงินทองเพชรพลอยแต่งเข้าก็ดูน่าเอ็นดู ถ้าเอาเครื่องประดับออกเสียแล้ว ก็ลิงนั้นเองไม่น่าเอ็นดู เพราะไม่มีดีใน
ส่วนดีในนั้นไม่หมดสิ้นไปเหมือนดีนอก เช่นวิชาความรู้และศิลปศาสตร์ ซึ่งได้ศึกษาฝึกหัดให้ช่ำชองจนวิชาและศิลปศาสตร์นั้นๆ เป็นคุณสมบัติเป็นขึ้นในตัวแล้ว ก็ติดตัวไปจนตาย ไม่สูญหายไปไหน จะไปที่ใดๆ ก็ติดตัวไปด้วยทุกแห่ง ช่วยให้ประกอบการงานเลี้ยงชีพ และให้ทำกิจการสำเร็จตามกำลังชองวิชาศิลปนั้นๆ ทำให้เป็นสง่ากล้าหาญและเกิดความนิยมนับถือของประชุมชน ได้พึ่งอาศัยดีในไปจนตาย ไม่หมดเปลืองสิ้นสูญหายไปเหมือนดีนอก
อนึ่ง ดีนอกนั้น ถ้าจะไปที่ไหนๆ จะเอาติดตัวไปด้วยทั้งหมดก็ไม่ได้ บางอย่างก็เอาไปได้ บางอย่างก็เอาไปไม่ได้ แม้ที่เอาไปได้ เช่นทรัพย์สินเงินทองถ้ามีมาก ก็เอาไปไม่หมด ส่วนที่เอาไปได้ ก็ยังต้องหวาดเกรงต่อภัยอันตราย ถ้ารักษาไม่ดี ก็มีภัยขึ้นได้จริงๆ บางทีถึงกับต้องเสียชีวิต ส่วนดีในอยู่ในตัว ไม่มีโจรผู้ร้ายแย่งชิงวิ่งราวลักปล้นเอาไปได้ กลับช่วยคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายให้ด้วย เพราะอาศัยดีใน คือสติปัญญาสามารถ และวิชาศิลปศาสตร์นั้นๆ
(มีต่อ 1)
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 2:01 am
อีกอย่างหนึ่ง ดีนอก เวลานำเอาไปไหนๆ ด้วยก็ลำบากทุกข์ยาก เพราะต้องหอบหิ้วแบกหามป้องกันรักษา บางทีก็หลงลืมหายหกตกหล่น ส่วนดีใน ติดอยู่ในตัว ไม่ต้องกลัวลืมและไม่ต้องลำบากหอบหิ้ว เป็นต้น อีกประการหนึ่ง ดีในเป็นเหตุทำ ดีนอก ที่ยังไม่มีให้มีขึ้น ที่มีอยู่แล้วให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น และพิทักษ์รักษาดีนอก ไว้ให้ตั้งอยู่ได้ยืนยาวนาน ถ้าดีในไม่มี แม้ดีนอกมีอยู่พร้อมบริบูรณ์ ก็ไม่อาจรักษาไว้ไม่ให้สาบสูญหมดสิ้นไป หากว่าดีนอกจะไม่มีเลย ผู้มีดีในอาจอุตสาหะพยายามแสวงหาจัดทำดีนอกให้มีมากสมบูรณ์จนเต็มสามารถของตน ถ้าอุตสาหะทำให้บริบูรณ์ทั้งดีนอกและดีใน ก็เป็นส่วนดีวิเศษอย่างยอดยิ่ง
อีกนัยหนึ่ง กล่าวแต่เฉพาะดีใน ซึ่งเสร็จอยู่ในตัว ไม่เกี่ยวกับ ช้างม้า ไร่นาเรือกสวน เป็นต้น ยังแบ่งได้เป็น 2 คือ กายวาจาดี เป็นดีนอก 1 ใจดี เป็นดีใน 1 ทั้งสองอย่างนี้ถ้าเทียบน้ำหนักกันเข้า ดีนอกสู้ดีในไม่ได้ คือคนมีกิริยาสุภาพเรียบร้อยน่าดูน่าชม กล่าววาจาไพเราะอ่อนหวานจับใจ นี่เป็นส่วนดีนอก แต่ขาดดีใน คือใจไม่ดี เหี้ยมโหดดุร้าย เต็มไปด้วยอาฆาตพยาบาทปราศจากเมตตากรุณา ไม่มีความซื่อสัตย์ ตรงกับสุภาษิตว่า
หน้าเนื้อใจเสือ
ถ้าเป็นเช่นนั้น คนที่มาใกล้ชิดพบเห็นเข้า ยังไม่รู้ถึงอัธยาศัยใจคอ ก็จะพอใจรักใคร่นิยมนับถือ
แต่คงคบหาสมาคมกันไปไม่ได้นานเท่าไร พอรู้อัธยาศัยใจคอเข้า ก็จะกลับเกลียดชัง เบื่อหน่ายเสื่อมคลายหายความนิยมรักใคร่ ดีนอก สู้ดีในไม่ได้อย่างนี้ ถ้ากายแม้จะไม่ดีไม่เรียบร้อยหยาบคายและวาจาไม่ไพเราะอ่อนหวาน นอกไม่ดี แต่ในดี ไม่มีใจอาฆาตพยาบาทมีเมตตากรุณาซื่อสัตย์ สุจริต ตรงกับสุภาษิตว่า หน้าเนื้อใจเสือเช่นนี้ คนที่พบเห็นเข้าทีแรก มักเกลียดชังไม่ชอบ ไม่อยากคบ ถ้าพบเห็นกันนานๆ เข้า จนรู้จักอัธยาศัยใจคอภายใน ความดีในคือใจดี สามารถเอิบอาบมาปิดกั้นไม่ให้ดีนอกคือกายวาจาเสียได้ ทำให้คนที่รู้ถึงใจนั้น นิยมนับถือ เคารพรักใคร่วางใจอย่างสนิทสนม เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าดีใน สำคัญมากกว่าดีนอก
คนที่จะเป็นคนดี ต้องให้ดีติดอยู่ในตัว นั่นแหละสำคัญมาก
อีกประการหนึ่ง คนใดมีรูปร่างกายหมดจดงดงามผิวพรรณผุดผ่อง นี้ก็เรียกว่าดีนอก ใครเห็นเข้าชวนในใจให้เกิดความนิยมชมชอบไม่เกลียดชัง นี้เป็นกำไรของคนนั้นที่ได้เปล่าๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย ดีกว่าที่เขาเห็นแล้วเกลียดชังไม่ชอบ ถ้าคนนั้นมีดีใน คือ อัธยาศัยใจคอดีเป็นต้นดังกล่าวแล้ว ก็ยิ่งเป็นหลักสำคัญช่วยพยุงดีนอกเข้าอีก ทำให้คนนิยมนับถือมั่นคงยืดยาว มีแต่เขาเมตตากรุณา ไม่มีข้าศึกศัตรูก็ทำให้คนนั้นไม่ว่าอยู่ที่ไหนไปที่ไหน ได้ความร่มเย็นเป็นสุขทุกทิวาราตรี แต่ถ้าคนนั้นไม่มีดีใน มีแต่ดีนอกเท่านั้น ดีนอกก็ไม่อาจคุ้มตัวได้ ต้องเสื่อมคลายจากความนิยมยินดีรักใคร่ของประชาชน มิใช่แต่เท่านั้น เขาจะเกลียดชังไม่อยากพบเห็นหรือเป็นข้าศึกศัตรู ไม่อยากให้คนนั้นเข้ามาสู่สถานบ้านเรือนของเขาเสียหายด้วย ข้อนี้ส่อให้เห็นชัดว่า ดีในเป็นหลักสำคัญมากยิ่งกว่าดีนอกดังพรรณนามา
(มีต่อ 2)
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 2:21 am
เมื่อประชาชนทราบความจริงอย่างนี้แล้ว คนมีรูปร่างไม่หมดจดงดงามก็อย่าเสียใจ เกิดมาอย่างใดก็ต้องเป็นไปอย่างนั้น เลือกเอาตามชอบใจไม่ได้ ต้องเป็นไปตลอดชาติ แม้จะพยายามแก้ไข ก็ได้บ้างเล็กน้อย เช่น การประดับตกแต่งเป็นต้น แต่มีข้อมั่นใจได้อย่างแน่นอนว่า ถ้าอุตสาหะพยายามฝึกหัดอบรมดีใน ให้มีบริบูรณ์เต็มที่ได้ ก็ต้องเป็นที่นิยมนับถือพอใจรักใคร่เมตตากรุณา หาความรังเกียจเกลียดชังรูปร่างภายนอกเป็นอย่างแน่แท้ทีเดียว
ส่วนคนมีรูปร่างหมดจดงดงามเล่า ก็อย่าประมาทมัวเมา ควรเอาใจใส่ทำนุบำรุงดีในให้สมบูรณ์บริบูรณ์
ถ้ายังขาดดีในก็จงปลอบใจของตนว่า เป็นบุญของเราที่ได้ดีนอกไว้เป็นสมบัติส่วนหนึ่ง ซึ่งได้เปรียบกว่าคนที่ไม่มีดีนอก เราจะอุตสาหะพยายามบำเพ็ญดีในซึ่งเป็นสมบัติอีกส่วนหนึ่งให้มีขึ้นให้จงได้
แต่นั้นก็จงหมั่นพากเพียรร่ำไป จนกว่าดีในจะมีบริบูรณ์ขึ้นได้เต็มความประสงค์ ก็จะได้สมบูรณ์พูนสุข ห่างไกลจากทุกข์ เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นจนสุดวาสนาบารมีของตัว
ข้อนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ดีในดีกว่าดีนอก มากยิ่งนักหนา ตามเค้าความที่พรรณนามาฉะนี้
อีกประการหนึ่ง ดีในคือวิชาและจรรยานั้น วิชารวมทั้งศิลปศาสตร์ด้วย ถ้าเทียบกับจรรยา น้ำหนักก็อยู่ที่จรรยา คือคนมีวิชาความรู้ดี และศิลปศาสตร์ชำนิชำนาญ แต่มีจรรยาความประพฤติตัวไม่ดีพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ ก็ต้องเข้าในสุภาษิตว่า
ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด
ชนเช่นนี้ อันคนดีย่อมไม่ต้องการคบหาสมาคม ผู้นั้นต้องล่มจมตั้งตัวไม่ได้ แม้ไม่มีวิชาแต่มีจรรยาความประพฤติตัวดีเรียบร้อยพร้อมทั้งกายวาจาจิต ซื่อสัตย์สุจริตมั่นคง ก็ยังมีคนจำนงปรารถนาคบหาสมาคมไว้วางใจได้สนิท เอาเป็นมิตรสหาย
อย่างต่ำวานให้เฝ้าบ้านหรือทรัพย์สินก็ไว้ใจได้ ข้อนี้วชี้ให้เห็นว่า วิชาเป็นเหมือนดีนอกสู้ดีในคือ จรรยาความประพฤติดีไม่ได้ เพื่อเตือนใจคนมีวิชาดีแล้ว ทะนงตัวประพฤติชั่วเสียหายทางจรรยา ควรที่สาธุชนจะตั้งใจทำวิชากับจรรยาให้สามัคคีกลมเกลียวกัน อย่าให้แตกสามัคคี คือวิชาไปทางหนึ่ง จรรยาไปทางหนึ่ง จะได้พึ่งคุณ 2 อย่างนี้เป็นหลักตั้งตัวให้มั่น บากบั่นให้บรรลุความงามความเจริญถึงที่สุด ให้เต็มความสามารถของตนไปจนตลอดชาติ
ขอจงขวนขวายบำเพ็ยดีในให้มีขึ้นเป็นหลักมั่น บากบั่นแสวงหาสะสมดีนอกที่ยังไม่มีให้มีขึ้น ที่มีอยู่แล้วแต่ยังบกพร่อง ต้องเพิ่มเติมให้บริบูรณ์เต็มที่ เมื่อเต็มที่แล้วจงทำนุบำรุงรักษาไว้ให้มั่นคงอย่าประมาทลุ่มหลงปล่อยปละละเลยจืดจาง จงเอาอย่างเกลือเค็ม จะเป็นก้อนเล็กใหญ่ตกหล่นอยู่ที่ไหนๆ ก็รักษาความเค็มของมันไว้ได้เป็นอย่างดีไม่จืดจาง ตั้งแต่มีเกลือปรากฏมาในโลกจนบัดนี้ และยังจะมีต่อไปอีกในเบื้องหน้า ถ้าทำได้อย่างที่พรรณนามานี้ ก็จะมีความเจริญด้วยลาภยศสรรเสริญ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติบริวาร เกษมสำราญร่มเย็นเป็นสุขทุกทิวาราตรี โดยนัยดังพรรณนามานี้ฯ
>>>>> จบ >>>>>
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403
ตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2006, 7:16 am
_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th