ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
สักกะ
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 05 ก.ค. 2004
ตอบ: 15
|
ตอบเมื่อ:
05 ก.ค.2004, 1:00 pm |
  |
อยากทราบความแตกต่างระหว่างการเพ่งจิตกับการดูจิตว่าต่างกันอย่างไร จะทราบได้อย่างไรว่าขณะนี้เพ่งจิตหรือดูจิตครับ ขอบคุณครับ |
|
_________________ อีกคนหนึ่งซึ่งกำลังแสวงหาทางพ้นทุกข์ |
|
  |
 |
spider
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2004
ตอบ: 16
|
ตอบเมื่อ:
05 ก.ค.2004, 4:58 pm |
  |
อืม สงสัยเหมือนกัน แนะนำหน่อย  |
|
|
|
  |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2004, 12:17 am |
  |
การเพ่งจิตต่างจากการดูจิต ด้วยเหตุเพราะว่า การเพ่งจิตก็เพื่อให้จิตรวมตัวเป็นเอกและเพื่อให้เห็นการเกิดดับของจิต เมื่อฝึกจนชำนาญจนกายและจิตรวมเป็นหนึ่งเดียว ก็สามารถจะบังคับจิตของตนให้นิ่งและจะนำจิตไปตั้งไว้ที่ใด จิตก็จะอยู่ที่นั่น
ส่วนการดูจิต เมื่อผู้ปฏิบัติรู้จักจิต และจับจิตได้แล้ว ควรตรวจดูว่ายังมีกิเลสหรือไม่ ผ่องใสและเป็นอิสระแท้จริงหรือไม่
ตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์ จะวางใจตนเองมิได้เลยว่า เมื่อปฏิบัติแล้ว จิตของตนจะสะอาด ผ่องใส ปราศจากกิเลสตลอด เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เราต้องหมั่นพิจารณาดูจิตของตนอยู่เสมอ
ขอธรรมะคุ้มครองคุรุผู้ประเสริฐ คุรุผู้เมตตาธรรมทุกท่าน
ขอธรรมะคุ้มครองสรรพสัตว์ทุกชีวิตในโลกมายามนุษย์นี้ด้วยเถิดหนา สวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา  |
|
|
|
   |
 |
Satami
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2004, 7:32 am |
  |
ถ้าเข้าใจในสติ สัมปชัญญะ ก็เข้าใจเอง ไปเจริญสติ สัมปชัญญะซะให้ดี แล้วจะได้ไม่ต้องสงสัย ย้อนถามตัวเองว่าเวลามีสัมปชัญญะหนะรู้อะไร |
|
|
|
|
 |
สักกะ
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 05 ก.ค. 2004
ตอบ: 15
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2004, 10:19 am |
  |
คือว่าผมก็พยายามฝึกดูกายดูจิตอยู่ครับ เคยอ่านคำสอนของพระอาจารย์ปราโมทย์ท่านให้ดูจิตผู้รู้ ไม่ให้เพ่งจิต จึงอยากทราบความแตกต่างหนะครับ เพราะผมเข้าใจว่าการดูมันก็ต้องมีความตั้งใจที่จะดู แต่กลัวว่าถ้าตั้งใจมากไปมันจะกลายเป็นการเพ่งหรือปล่าวครับ  |
|
|
|
  |
 |
หมาขี้เรื้อน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2004, 11:03 am |
  |
|
|
 |
สักกะ
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 05 ก.ค. 2004
ตอบ: 15
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2004, 1:10 pm |
  |
ขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณาแนะนำครับ
ผมอ่านคำตอบของทุกท่านและของอาจารย์สุรวัฒน์แล้ว ทำให้เข้าใจมากขึ้นและจะนำไปปฏิบัติดูครับ  |
|
|
|
  |
 |
สุรวัฒน์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2004, 2:16 pm |
  |
ยังไงก็อยากให้คุณสักกะหาโอกาสไปกราบหลวงพ่อปราโมทย์ด้วยครับ
เพราะจะได้ทราบว่าที่ดูจิตอยู่ยังเป็นการเพ่งหรือไม่
เพราะการอ่านจากข้อเขียนนั้นมีโอกาสเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ครับ
 |
|
|
|
|
 |
สักกะ
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 05 ก.ค. 2004
ตอบ: 15
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2004, 2:37 pm |
  |
เรียนอ.สุรวัฒน์
ผมตั้งใจว่าจะไปกราบท่านครับ ก็กะว่าจะไปพร้อมกับคุณเจี๋ย ไปเองกลัวหลงทางครับ
|
|
|
|
  |
 |
Anatta
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 13 มิ.ย. 2004
ตอบ: 25
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2004, 9:53 pm |
  |
สาธุ...
ดีค่ะ ไปนะเด๋วรู้เอง
แค่ "รู้สึกเป็น" ก็ม่ายช่ายง่ายๆ
|
|
|
|
  |
 |
satima
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ค.2004, 10:27 am |
  |
ทีแรกคิดว่าคงไม่ต้องตอบกระทู้นี้แล้ว เพราะมีความเห็นหลายๆ ท่าน
ก็ดีอยู่แล้ว อ.สรว. ก็ตอบให้แล้ว แต่ไปอ่านๆ ดู รู้สึกว่าคุณสักกะยังไม่
เคลียร์เรื่องเพ่งจิต ก็เลยลองอธิบายจากตัวเอง ให้มองอีกมุมนึงค่ะ
เพราะเหตุว่าก็เคยเพ่งมานานเหมือนกัน และการที่เราจะทราบว่าตัวเอง
เพ่งอยู่ก็ยากที่จะทราบได้ค่ะ เมื่อหลุดจากการเพ่งแล้ว ถึงจะทราบได้ว่า
ที่ว่าดูจิตโดยไม่เพ่งจิตมันเป็นอย่างไร
สำหรับท่านอื่นๆ ที่อาจจะอ่านหาความรู้ อาจจะงงสักเล็กน้อยนะคะว่า
พูดกันถึงเรื่องอะไร การดูจิตนั้น คือการเจริญสติปัฎฐานสี่ในหมวด
จิตตานุปัสสนาและธรรมานุปัสสนา การดูจิตนั้นเป็นศัพท์ที่เรียกกันในเฉพาะ
กลุ่มค่ะ เป็นแบบว่าเข้าใจกันแบบง่ายๆ เพราะจริงๆ ดูจิตนั้นดูไม่ได้หรอกค่ะ
เพราะจิตนั้น รวดเร็วว่องไว สิ่งที่เราดู ก็คือ การตามดู ตามรู้ ที่เรียกว่า
อนุปัสสนา
มาต่อตรงที่คุณสักกะสงสัย การเพ่งจิต ก็เหมือนกับการเพ่งทุกอย่างไม่ว่า
จะเป็นกาย อิริยาบท ลมหายใจ ยุบพอง ล้วนเป็นการเพ่งได้ทั้งสิ้น แม้แต่
การเคลื่อนไหวมือแบบหลวงพ่อเทียน ก็จะกลายเป็นเพ่งได้ ถ้าผู้ปฏิบัติ
ไม่เข้าใจถ่องแท้ เราสังเกตอย่างนึงได้คือ การเพ่งนั้น ผลที่ตามมา คือผล
ของการทำสมาธิ เหมือนกับการนั่งสมาธิด้วยการดูลมหายใจ ซึ่งถ้าดูลม
หายใจแบบวิปัสสนาจริงๆ จะยากพอสมควร ที่จะไม่จมหรือเพ่งลมค่ะ
ผลที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ จิตสงบ เกิดการสงบระงับ และสงบแนบแน่นเข้า
ไปเรื่อยๆ ถ้าเห็นตรงนี้แล้ว แสดงว่าคุณเพ่งแน่นอน แม้จะดูจิตหรือดูกาย
อยู่ก็ตาม แต่ถ้าดูจิตแบบถูกต้องไม่เพ่งแล้ว เราจะรู้สึกเหมือนการรู้ตัวทั่ว
พร้อมมากกว่าค่ะ คือเป็นปกติ แต่มีความสำรวมระวังอยู่ด้วย จิตไม่ได้แนบ
แน่น และเหมือนปกติ แต่มีสติสัมปะชัญญะอยู่
ตรงที่มีสติสัมปะชัญญะนี่เป็นหัวใจหลักของการดูจิตค่ะ ถ้ามีสติอย่างเดียว
โดยปราศจากสัมปะชัญญะ แสดงว่าเรายังดูจิตไม่ได้ค่ะ เพราะจิตขาดคุณ
ภาพที่สำคัญได้ การที่มีสติสัมปะชัญญะ เรามักเรียกกันในกลุ่มดูจิตว่า
รู้ตัว (หรือว่ามีตัวรู้ ก็ทำนองเดียวกัน ซึ่งเกิดหลังจากทำสมาธิขั้นสูงแล้ว
ตัวนี้ก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเช่นกัน)
การที่เราจะรู้ว่าเราเพ่งหรือเปล่า ก็มีผลให้สังเกตง่ายเพียงว่าจิตเราแนบ
แน่นเกินปกติหรือเปล่า จิตผ่องใสมากหรือเปล่า ซึ่งเกิดขณะที่เราดูจิต
ก็แสดงว่าเราเพ่งอยู่ค่ะ อันนี้เป็นข้อสังเกตเล็กน้อยที่ตัวเองประสบมานะคะ
ถ้าจะให้แน่นอน ก็ต้องอย่างที่อ.สุรวัฒน์แนะนำมา ก็คือให้หลวงพ่อช่วยดู
ให้ก็จะทำให้เราสังเกตการดูจิตของเราได้แน่นอนขึ้นค่ะ เพราะหลายๆ คนก็
พลาดเพราะคิดว่าเข้าใจและรู้จริงค่ะ กว่าจะรู้ได้จริงๆ ก็เสียเวลาไปไม่น้อย
การปฏิบัติที่ให้ได้ผลดีที่หลายๆ ท่านทำมาได้ผลก็คือการเดินจงกรมค่ะ
ซึ่งครูบาอาจารย์ท่านกล่าวว่า เป็นเหมือนราวเกาะของสติฯ คือถ้าเราเดิน
จงกรม แล้วมีสติสัมปชัญญะรู้ชัด เราจะเข้าใจการดูจิตง่ายขึ้น ซึ่งต้อง
สังเกตจากที่ว่า เราไม่ได้เพ่งเท้า ไม่ได้เพ่งอิริยาบทเดินนั้น แต่เรารู้การ
เดินมาจากกลางอก การรู้ตรงนี้แหละค่ะ ที่สามารถทำให้เราสามารถดูจิต
โดยไม่เพ่งจิตได้ง่ายขึ้น ถ้าคุณสักกะ เดินจงกรม จนเห็นแบบนี้แล้ว เมื่อ
เคลื่อนไหวด้วยอิริยบทอื่น เราก็จะสามารถดูจิตโดยไม่เพ่งได้ ขับรถอยู่ก็
สามารถดูจิตได้ได้เช่นกัน เพราะการดูจิตนั้น เราทำได้ตลอดเวลาแต่การ
ที่จิตจะรู้ขึ้นมาอย่างถูกต้อง ก็ต้องอาศัยดูไปเรื่อยๆ ค่ะ จนกว่าจะถูกต้อง
เราเห็นภาวะนึง จากการดูจิตแล้ว เราก็จะเข้าใจมากขึ้นค่ะ
แต่ตรงที่เราทำถูกต้อง เราจะเห็นได้ว่าสิ่งต่างๆ ที่เรารับมาทางอายตนะ
ต่างๆ นั้น เมื่อเราดูจิตอยู่ มันจะแยกออกจากจิตเราโดยอัตโนมัติ เป็นสิ่ง
ที่ถูกดูถูกรู้ทันทีค่ะ และหลังจากที่จิตเห็นสภาวะแบบนั้นแล้ว (รูปนามแยก
ได้จริงๆ) จิตก็จะแสดงอาการอื่นๆ ตามมา ซึ่งทำให้เราพลาดได้อีก คืออาจ
จะเกิดเบิกบานขึ้นชั่วครู่ จิตจะผ่องใส เพราะเห็นธรรม ตรงนี้เป็นธรรมนุปัสสนาที่เราต้องดูต้องรู้ต่อไป สรุปว่า ตามดู ตามรู้ รู้ทุกสิ่ง แต่อย่าติดในรู้
ในคำของครูบาอาจารย์ที่ท่านเมตตาสั่งสอนไว้ค่ะ
|
|
|
|
   |
 |
Satami
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ค.2004, 1:07 pm |
  |
แหม่! คุณ Satima พูดได้ละเอียดละออดีแท้เชียวครับ แต่ขอเสริมไว้นิดก็แล้วกัน ว่า ปัญญาเกิดได้สองอย่าง คือ ปัญญาเกิดจากการคิดค้นอย่างหนึ่ง และปัญญาเกิดจาการเพ่งอย่างหนึ่ง แต่ความละเอียดของปัญญาสองอย่างนี้มีกำลังต่างกัน ถ้าจะเปรียบเป็นฌาน ก็เหมือนกับว่า ปัญญาเกิดจากการค้นคิดนี่เป็นปฐุมฌาน และปัญญาเกิดจากการเพ่งนี่เป็น ทุติยฌาน ทำนองนั้น
แต่ทั้งนี้เดี๋ยวก่อนคุณ Satima ที่คำว่าเพ่งนี่ ผมก็ไม่รู้ว่าเป็นเพ่งเดียวกันกับที่คุณว่ามาหรือป่าวนะ เดี๋ยวจะว่าผมพูดผิด อันนี้พระอรหันต์ท่านว่าเอาไว้หนะนะครับ
สรุปรวมความว่าก็มี สติ และสัมปชัญญะ นั่นเอง สัมปชัญญะ คือรู้ทั่ว และรู้พร้อม ในทุกๆอย่างตลอดตั้งการยืนเดินนั่งนอน .. รู้ไปหมด รู้ไปจนถึงว่า ทุกคนที่นั่งคุยกันแบบเราๆ นี่ก็ตายกันไปเยอะแล้ว กายนี้ก็เสื่อมไป เป็นอนิจจัง ด้วย รู้ไปแม้กระทั่งว่าการยึดในอุปาทานขันธ์นี้ไม่เป็นเรื่องเป็นอวิชา เป็นสมุหทัย โอ๊ย รู้ไป......
ถ้าพูดอะไรผิดก็กราบขอขมาท่านทั้งหลายและขอให้ชี้แนะด้วยหละ เอ๊อ....
 |
|
|
|
|
 |
satima
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ค.2004, 2:01 pm |
  |
คุณsatami พูดผิดเรื่องปัญญาไปนิดนึงค่ะ
เรื่องปัญญาทางพุทธศาสนาแบ่งปัญญาเป็นสามอย่าง
สุตตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการเรียน การฟัง จดจำมา
จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิดไตร่ตรอง แตกแขนงมาจาก
ปัญญาอันแรกคือ สุตตมยปัญญา ฉะนั้นปัญญาที่คุณกล่าว ไม่น่าจะเกิด
จากการเพ่งหรือคิดค้นค่ะ เพราะยังมีปัญญาอันที่สาม ที่เกิดจากการภาวนา
ด้วยกำลังของจิตที่นิ่งแล้ว คือไม่ว่าจะผ่านฌานมาหรือไม่ ปัญญาอันนี้เป็น
ปัญญาที่เกิดขึ้นเองหลังจาก ที่ทำให้จิตมีคุณภาพ ปริสุทโธ สมาหิโต กัมมนีโย คือ มีความบริสุทธิ์ ตั้งมั่น และว่องไวควรแก่การงานคือออกรู้เห็น
สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เป็นปัญญาชนิดที่ตัดภาพชาติได้จริง
ปัญญาญาณที่แท้ ซึ่งใช้วิธีคิดค้น ด้นเดาเอาไม่ได้ อาจจะผิดกันตรงคำพูด
นิดหน่อยนะคะ เคลียร์ความเข้าใจกันนิดนึงค่ะ  |
|
|
|
   |
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ค.2004, 4:37 pm |
  |
ปัญญาเกิดได้สองอย่าง คือ ปัญญาเกิดจากการคิดค้นอย่างหนึ่ง และปัญญาเกิดจาการเพ่งอย่างหนึ่ง
น่าจะเปลี่ยนคำว่า "เพ่ง" เป็น "ดู" น่าจะดีกว่าน่ะครับ คุณ satami
|
|
|
|
    |
 |
Anatta
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 13 มิ.ย. 2004
ตอบ: 25
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ค.2004, 8:26 pm |
  |
ผู้ที่เพ่งเอา จิตจะมีอาการแข็งๆ มีน้ำหนัก ไม่เป็นธรรมชาติ สติไหวตัวช้า
ทางที่ดีถ้ายังไม่เห็นจิต ให้ตามรู้อาการของจิตก่อนดีกว่า
โดยมีความรู้สึกกายเป็นฐานก็ได้ จะเห็นอาการต่าง ๆ ของจิตอยู่ข้าง ๆ
เมื่อมีสติรู้เป็นอัตโนมัติแล้ว ก็จะเห็นอาการของจิตชัดเจนขึ้น
จิตแสดงอาการอย่างไร ก็แว๊บไปดูเองทันทีรวดเร็วทันกิเลส
โดยไม่ต้องเพ่งดู (ปราศจากความตั้งใจจะดู)
แล้วก็จะหดสั้นเข้าสู่ตัวจิตเองในที่สุด |
|
|
|
  |
 |
Satami
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ค.2004, 7:52 am |
  |
อะ.. ดีจังที่ยกมาคุยเรื่องปัญญา
ปัญญาค้นคิด การจะค้นคิด ก็ต้องให้มีหลักความรู้ อันเกิดแต่สุตตามยปัญญาก่อนจึงจะรู้ได้เร็ว ลำพังแต่การคิดค้นเอาเองรู้ได้ยาก
ปํญญาที่ท่านแสดงไว้ในวิปัสนาภูมิมี ๖ คือ
ขันธ์๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ๑๘ อินทรีย์๒๒ อริยสัจจ์๔ ปฏิจสมุปบาท ๑๒
เหล่านี้เป็นภูมิให้เกิดปัญญา ใครจะเลือกเอา ข้อไหนก็ได้ เมื่อมีสมาธิอันใดอันหนึ่งเป็นที่ตั้ง ควรยกวิปัสนาข้อไหนข้อหนึ่งมาพิจราณา
เดี๋ยวนิดนึง เอาอย่างนี้ ปัญญานี้เมื่อมีสุตตา.แล้ว พอใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจราณาเห็นแจ้งในใจนี้เรียกว่า จินตามยปัญญา นะ แปลว่าปัญญาเกิดจากการค้นคิด เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้วว่า บาป เป็นตัวกรรมภพเป็นลัทธิภายนอก เป็น เป็นเครื่องนำไปสูอบายภูมิก็ละเสีย วางเสีย ไม่ถือมั่นถือเอาไว้นี้ เรียกว่า ภวนามยปัญญา
แหม่! ส่วนคำว่าเพ่งนี่ มันลำบากใจจริง ดูเหมือนจะต้อง คุยกันยาวอยู่ เอ้าไม่เป็นไร ถ้ามีเวลาวันหลัง จะต้องคุยกันเรื่องคำว่าเพ่ง
|
|
|
|
|
 |
สักกะ
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 05 ก.ค. 2004
ตอบ: 15
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ค.2004, 10:05 am |
  |
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาแนะนำมือใหม่หัดดูอย่างผมครับ
|
|
|
|
  |
 |
แมวขาวมณ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
25 ส.ค. 2006, 1:16 am |
  |
การตามดูจิต ไม่ตั้งใจเพ่งจิต จะรู้ตัวมีสติ ตามทันกิเลสต่างๆ ได้รวดเร็ว
การเพ่งจิต สามารถทำให้เกิดสมาธิลึกซึ้งขึ้น สงบนิ่ง ปล่อยวางตัวตนได้ดีสามารถควบคุมจิตได้ดี
ขออภัยถ้าสรุปความเข้าใจคลาดเคลื่อน
อนุโมทนากับทุกกระทู้ค่ะ
 |
|
|
|
|
 |
แมวขาวมณี
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
25 ส.ค. 2006, 1:24 am |
  |
การดูจิต ตามรู้จิตเกิดสติ ตามทันกิเลสที่มาสัมผัส ทำให้เกิดความรู้เท่าทันกิเลสทั้งหลาย
การเพ่งจิต เป็นการควบคุมจิตให้สงบ ระงับอยู่ มีความสุขจากการสงบของจิตได้ดีทำให้เกิดสมาธิเบื้องต้นได้ไว
ขออภัยถ้าสรุปความเคลื่อน
อนุโมทนา สาธุ
 |
|
|
|
   |
 |
|