Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
อยากทราบคติธรรม ธรรมะที่คุณหมั่นระลึกนึกถึง และใช้อยู่ เพื
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
poivang
บัวตูม
เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
ตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2005, 9:10 am
อยากทราบคติธรรม ธรรมะประจำใจ ธรรมะที่คุณหมั่นระลึกถึงบ่อยๆ ธรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือทำเสมอๆ ฯลฯ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ( สำหรับผู้สนใจธรรมะทั่วไป )
และอยากทราบว่าผู้ที่ปารถนาพุทธภูมิที่เกิดมาในชาตินี้และอยู่ในเว็ปฯนี้ กำลังสร้างกุศลอะไรกันอยู่ค่ะ และ แต่ละท่านหมั่นระลึกถึงธรรมข้อไหนอยู่บ่อยๆ และจะทำอะไรต่อไป ( ผู้ปารถนาพุทธภูมิ )
ถ้าผู้ปารถนาพุทธภูมิอยู่ บอกวงเล็บไว้ด้วยนะคะว่าปารถนาพุทธภูมิ
จุดประสงค์เพื่อให้ผู้อื่นได้อนุโมทนาบุญกับคุณบ้าง ได้แบบอย่าง หรือได้ข้อคิด ได้แรงกระตุ้นในการคิดดีทำดี เป็นต้น จะมีคติธรรมซ้ำๆกันก็ไม่เป็นไร แสดงว่ามีศรัทธาเสมอๆกัน
เช่น เจ้าของกระทู้ ( สนใจธรรมะทั่วไป)
๑.มีความ ตั้งใจว่าจะหมั่นระลึกนึกถึงคุณพระรัตนตรัยสม่ำเสมอ
๑.๑ระลึกถึงพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ชี้นำทางพ้นทุกข์ให้แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลายทั้งปวง
๑.๒. ระลึกนึกถึงพระธรรม ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านได้ตรัสรู้ว่ามีทางพ้นออกจากกองทุกข์
๑.๓. ระลึกนึกถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ว่าท่านเป็นผู้เจริญรอยตามทางพระพุทธเจ้า
เพื่อการพ้นทุกข์ และเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ชนรุ่นหลังๆได้ทราบและปฏิบัติตาม
๒.ถือศีล๕
ศีลข้อ๑. ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รังแก หรือทรมานสัตว์ ตั้งใจรักษาไว้ด้วยการใช้ความเมตตา
ศีลข้อ๒.ห้ามลักทรัพย์ ตั้งใจละความโลภ ด้วยการให้ ยิ่งหวงมากก็ต้องยิ่งให้ ให้มาก ยิ่งอยากได้มากก็ต้องยิ่งให้ให้มากๆ เท่าที่มีให้ได้โดยเราไม่เดือดร้อน และได้รับความทุกข์เพราะการให้ นั้น ( จะลดความโลภลงได้ ทำให้สามารถรักษาศีลข้อนี้ได้เหมือนกัน ) แต่ ถ้าให้แบบหลงงมงายหวังบุญจนเกินตัวลืมห่วงความเป็นอยู่ของตัวเองก็จะเกิดทุกข์ได้
ศีลข้อ๓. ห้ามผิดลูกเมียผู้อื่น เป็นชู้ หรือทำลายครอบครัวผู้อื่นหรือ ครอบครัวตัวเองก็ตาม ข้อนี้คิดถึงใจเขาใจเรา ความสูญเสีย ความเสียใจของผู้อื่น ปัญหาต่างๆ ( ของ ของใครของใครก็ห่วง ของใคร ใครก็ต้องหวง.....)
ศีลข้อ๔. ห้ามพูดโกหก (โกห้าได้ อิๆๆ) ห้ามพูดส่อเสียด เสียดสี เพ้อเจ้อเหลวไหล ฯลฯ ข้อนี้มีผิดพลาดบ้างตรงไม่ค่อยมีสัจจะ เช่นว่าจะทำ... แต่ก็ขี้เกียจเสียก่อนก็เลยไม่ได้ทำ เป็นต้น
ศีลข้อ๕. ห้ามดื่มสุราเมรัย เสพยาบ้า สิ่งทำให้มึนเมาขาดสติ เป็นต้น ข้อนี้ห่างไกลมากเพราะไม่ชอบอยู่แล้ว
( เป็นอุบายในการรักษาศีล๕ที่ตนทำอยู่ ) แล้วคนอื่นๆมีอุบายในการรักษาศีลอย่างไรบ้าง
๓.ใคร่ครวญตริตรองถึงพระไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ช่วยคลายความทุกข์ความเศร้าหมองเมื่อยามมีปัญหาลงได้
๔.ใคร่ครวญตริตรองถึงกิเลส๓ตัวใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์ แก่ตนเองและผู้อื่น คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ทำให้มีเจ้ากรรมนายเวร เวียนว่าตายเกิด คิดแล้วปลง
๕.ต้องคอยระมัดระวัง การก่อกรรมทาง กาย วาจา ใจ ( ซึ่งก็ยังผิดพลาดอยู่บ่อยๆเพราะขาดสติ เฮ้อ...)
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2005, 11:19 am
คุณpoivang
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ถ้าถามถึงคติธรรมที่หมั่นระลึกอยู่บ่อยๆและใช้ในชีวิตประจำวัน คงจะไม่มี เพราะถ้ายึดไว้ก็เหมือนไปยึดจำคนอื่นมา แต่คติธรรมที่เกิดขึ้นและใช้ในชีวิตประจำวัน ก็จะได้จากการที่ลงมือปฏิบัติและได้ฝึกน้อมเข้าพิจารณาเมื่อตนเองหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคมโลกมนุษย์ คติธรรมจึงเปลี่ยนแปลงให้เราได้พิจารณาอยู่ตลอดเวลา ถ้ายึดไว้มันก็ไปไม่ถึงไหน ปล่อยให้เป็นอิสระ เป็นคติที่ผุดขึ้นจากปัญญาที่น้อมพิจารณาอยู่เสมอ
ส่วนตัวแล้ว ตั้งแต่เริ่มต้นศึกษาและลงมือปฏิบัติธรรมมา ไม่เคยตั้งจิตอธิษฐานว่าปรารถนาพุทธภูมิหรือปรารถนาว่าจะต้องเป็นอะไร แต่ที่อธิษฐานจิตอยู่เสมอๆก็คือ ขอให้พบคุรุผู้ประเสริฐ คุรุผู้เมตตาธรรม ขอให้มีความอดทนเข้มแข็งในการปฏิบัติธรรมเป็นลำดับๆไป การปรารถนาพุทธภูมิมีกล่าวกันออกเกร่อในบอร์ดธรรมะ แต่การปรารถนาหากยังไม่สามารถกำหนดเส้นทางได้ว่า เส้นทางพุทธภูมินั้น ควรลงมือปฏิบัติอย่างไร สม่ำเสมออย่างไร หรือตั้งไว้แค่ในจิตในใจเท่านั้น
เพราะในตำราว่าไว้ว่าใช้เวลานานแสนนานก็เดินเรื่อยๆไปก่อน อย่างนี้ก็คงเป็นการปรารถนาพุทธภูมิแค่ในตำรา หาได้ลงมือปฏิบัติด้วยความเพียรเพื่อให้ถึงพุทธภูมิที่ตนเองปรารถนานั้นไม่ เห็นพวกปรารถนา ก็ปรารถนาตามๆกันไปก่อน พวกก็พาชมนรก ชมสวรรค์เป็นที่ตื่นตาตื่นใจกันไป ปฏิบัติทีไรก็นัดพบกันที่แดนสวรรค์ แดนนิพพานสุขใจไปวันๆ อย่างนี้ก็ไปไม่ถึงไหน เห็นปรารถนา ปรารถนาแล้วก็ลา ตกลงความปรารถนานั้นสภาวะธรรมเป็นอย่างไร เหตุที่ต้องลาสภาวะธรรมนั้นเป็นอย่างไร
ส่วนการสนใจธรรมะ ที่แยกมาเป็นข้อๆนั้น โดยส่วนตัวแล้วคงไม่มัวมานั่งท่องเป็นข้อๆ แยกเป็นข้อๆ มันเหมือนไปยึดกลัวจะร่วงกลัวจะหล่น พิจารณาแล้วเห็นว่าถ้าปฏิบัติกันจริงๆมันก็ละเอียดแยกย่อยไปในจิตใจของแต่ละท่านเอง ทีนี้ส่วนมากนั่งท่องแล้วก็มานั่งเก็บกดอารมณ์ คือสร้างภาพในสังคมให้ดีไว้ก่อน สังเกตง่ายๆเลยยิ่งบอร์ดธรรมะยิ่งสังเกตง่ายแต่ไม่ยากเกินที่จะเห็นภาพแห่งการแข่งขันชิงดีชิงเด่นไม่แพ้สังคมมนุษย์อื่นๆ
เอามาถึงข้อ 3พระไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา คงมานั่งใคร่ครวญ ตริตรองถึงไม่ได้ มันต้องลงมือปฏิบัติให้เข้าใจในสภาวะเลยว่า มันทุกขังยังไง อนิจจังยังไง อนัตตายังไง ข้อ 4 ก็เหมือนกันติดตัวไหน ก็โดนสอบตัวนั้น ตามไม่ทันก็โดนสอบอยู่อย่างนั้น ปลงได้ก็ส่วนหนึ่ง แต่ตรงปลงแล้วกิเลสตัวไหนมันจะกลับมากำเริบอีกนี่ซิ...อือม...น่าคิดๆ... ส่วนข้อ 5นี่ เคยมีพระท่านหนึ่งท่านกล่าวว่า คนปฏิบัตินี่ มันเป็นยังไง มันก็แสดงออกมาอย่างนั้น ไม่ต้องถึงกับพูดหรอก กิริยาท่าทางแสดงออก บ่งบอกถึงผ่านการปฏิบัติมาอย่างสาหัสสากรรจ์แค่ไหน คือมันจะไม่มานั่งดัดจริตเก็บข่มอะไร ท่านกล่าวว่า มันไม่แหล....อือม ....ท่านเป็นคนพูดตรงๆนะ ตรงนี้ก็มาเล่าให้ฟัง
มณี ปัทมะ ตารา
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2005, 3:17 pm
ต่อ...
หากจะกล่าวไปแล้ว ท่านผู้ปฏิบัติท่านก็จะทราบได้ด้วยตนเองว่า แม้ไม่ปรารถนาก็เป็นเส้นทางเดียวกัน ทีนี้ไปติดตรงบัญญัติว่าต้องเป็นนั้นเป็นนี่ ต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ถึงบัญญัติว่าเป็นถึงตรงนั้นต้องเป็นอย่างนี้นะ มันติดก็เลยไปไม่ถึงไหน เดินๆไปบัญญัติอีก ทางนี้ผู้หญิงห้ามผ่าน ติดอีก มาติดตรงสมมติทางโลกกำกับไว้ว่าเป็นผู้หญิงอีก ความตั้งมั่นไม่มี ความอ่อนแอที่กำกับไว้กับตรงสมมติคำว่า "ผู้หญิง" ว่าต้องร้องให้นะ ต้องอ่อนแอนะ บัญญัติไว้ว่าไม่ให้ผ่านก็หยุดยืนงงซะงั้น ก็ตายเกลื่อน ก็ไปไม่ถึงไหนเหมือนกัน คือหยุดพิสูจน์เส้นการเดินทางซะดื้อๆเพราะบัญญัติไว้ เลยไม่สามารถเดินทางผ่านทะลุพ้นกรอบและใช้กรอบนั้นยืนเป็นฐานที่มั่นคงและตลอดไป
มาถึงตรงนี้ก็พอเข้าใจว่า...ในความปรารถนา หาใช่ความปรารถนาในสิ่งที่ต้องการเป็นไม่ แต่ในความปรารถนาเป็นหน้าที่แห่งธรรมะที่ท่านผู้ปฏิบัติจะรับรู้ด้วยตัวท่านเองตลอดระยะแห่งการเดินทาง...ถึงแม้จะยังเดินทางไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางตามที่บัญญัติก็ตาม...
ขอให้สมปรารถนาในทุกสิ่งที่ปรารถนา
ธรรมะสวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา
poivang
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2005, 5:03 pm
ขอบคุณค่ะคุณปุ๋ยที่มาช่วยแสดงความคิดเห็นแนะแนวทาง
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2005, 6:55 pm
ใช่เลย ถูกต้อง และทำอยู่ สำหรับคติประจำวัน คือ
"ธรรมะ ใดๆ มีค่า ถ้าได้ทำ"
"ธรรมะใดๆ ก็ไร้ค่า ถ้า ไม่ได้ทำ"
poivang
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 2:35 pm
ขอบคุณค่ะคุณเกียรติ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th