ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
poivang
บัวตูม

เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
|
ตอบเมื่อ:
30 ก.ค.2005, 9:10 am |
  |
อยากทราบคติธรรม ธรรมะประจำใจ ธรรมะที่คุณหมั่นระลึกถึงบ่อยๆ ธรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือทำเสมอๆ ฯลฯ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ( สำหรับผู้สนใจธรรมะทั่วไป )
และอยากทราบว่าผู้ที่ปารถนาพุทธภูมิที่เกิดมาในชาตินี้และอยู่ในเว็ปฯนี้ กำลังสร้างกุศลอะไรกันอยู่ค่ะ และ แต่ละท่านหมั่นระลึกถึงธรรมข้อไหนอยู่บ่อยๆ และจะทำอะไรต่อไป ( ผู้ปารถนาพุทธภูมิ )
ถ้าผู้ปารถนาพุทธภูมิอยู่ บอกวงเล็บไว้ด้วยนะคะว่าปารถนาพุทธภูมิ
จุดประสงค์เพื่อให้ผู้อื่นได้อนุโมทนาบุญกับคุณบ้าง ได้แบบอย่าง หรือได้ข้อคิด ได้แรงกระตุ้นในการคิดดีทำดี เป็นต้น จะมีคติธรรมซ้ำๆกันก็ไม่เป็นไร แสดงว่ามีศรัทธาเสมอๆกัน
เช่น เจ้าของกระทู้ ( สนใจธรรมะทั่วไป)
๑.มีความ ตั้งใจว่าจะหมั่นระลึกนึกถึงคุณพระรัตนตรัยสม่ำเสมอ
๑.๑ระลึกถึงพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ชี้นำทางพ้นทุกข์ให้แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลายทั้งปวง
๑.๒. ระลึกนึกถึงพระธรรม ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านได้ตรัสรู้ว่ามีทางพ้นออกจากกองทุกข์
๑.๓. ระลึกนึกถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ว่าท่านเป็นผู้เจริญรอยตามทางพระพุทธเจ้า
เพื่อการพ้นทุกข์ และเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ชนรุ่นหลังๆได้ทราบและปฏิบัติตาม
๒.ถือศีล๕
ศีลข้อ๑. ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รังแก หรือทรมานสัตว์ ตั้งใจรักษาไว้ด้วยการใช้ความเมตตา
ศีลข้อ๒.ห้ามลักทรัพย์ ตั้งใจละความโลภ ด้วยการให้ ยิ่งหวงมากก็ต้องยิ่งให้ ให้มาก ยิ่งอยากได้มากก็ต้องยิ่งให้ให้มากๆ เท่าที่มีให้ได้โดยเราไม่เดือดร้อน และได้รับความทุกข์เพราะการให้ นั้น ( จะลดความโลภลงได้ ทำให้สามารถรักษาศีลข้อนี้ได้เหมือนกัน ) แต่ ถ้าให้แบบหลงงมงายหวังบุญจนเกินตัวลืมห่วงความเป็นอยู่ของตัวเองก็จะเกิดทุกข์ได้
ศีลข้อ๓. ห้ามผิดลูกเมียผู้อื่น เป็นชู้ หรือทำลายครอบครัวผู้อื่นหรือ ครอบครัวตัวเองก็ตาม ข้อนี้คิดถึงใจเขาใจเรา ความสูญเสีย ความเสียใจของผู้อื่น ปัญหาต่างๆ ( ของ ของใครของใครก็ห่วง ของใคร ใครก็ต้องหวง.....)
ศีลข้อ๔. ห้ามพูดโกหก (โกห้าได้ อิๆๆ) ห้ามพูดส่อเสียด เสียดสี เพ้อเจ้อเหลวไหล ฯลฯ ข้อนี้มีผิดพลาดบ้างตรงไม่ค่อยมีสัจจะ เช่นว่าจะทำ... แต่ก็ขี้เกียจเสียก่อนก็เลยไม่ได้ทำ เป็นต้น
ศีลข้อ๕. ห้ามดื่มสุราเมรัย เสพยาบ้า สิ่งทำให้มึนเมาขาดสติ เป็นต้น ข้อนี้ห่างไกลมากเพราะไม่ชอบอยู่แล้ว
( เป็นอุบายในการรักษาศีล๕ที่ตนทำอยู่ ) แล้วคนอื่นๆมีอุบายในการรักษาศีลอย่างไรบ้าง
๓.ใคร่ครวญตริตรองถึงพระไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ช่วยคลายความทุกข์ความเศร้าหมองเมื่อยามมีปัญหาลงได้
๔.ใคร่ครวญตริตรองถึงกิเลส๓ตัวใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์ แก่ตนเองและผู้อื่น คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ทำให้มีเจ้ากรรมนายเวร เวียนว่าตายเกิด คิดแล้วปลง
๕.ต้องคอยระมัดระวัง การก่อกรรมทาง กาย วาจา ใจ ( ซึ่งก็ยังผิดพลาดอยู่บ่อยๆเพราะขาดสติ เฮ้อ...)
|
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
30 ก.ค.2005, 11:19 am |
  |
คุณpoivang
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ถ้าถามถึงคติธรรมที่หมั่นระลึกอยู่บ่อยๆและใช้ในชีวิตประจำวัน คงจะไม่มี เพราะถ้ายึดไว้ก็เหมือนไปยึดจำคนอื่นมา แต่คติธรรมที่เกิดขึ้นและใช้ในชีวิตประจำวัน ก็จะได้จากการที่ลงมือปฏิบัติและได้ฝึกน้อมเข้าพิจารณาเมื่อตนเองหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคมโลกมนุษย์ คติธรรมจึงเปลี่ยนแปลงให้เราได้พิจารณาอยู่ตลอดเวลา ถ้ายึดไว้มันก็ไปไม่ถึงไหน ปล่อยให้เป็นอิสระ เป็นคติที่ผุดขึ้นจากปัญญาที่น้อมพิจารณาอยู่เสมอ
ส่วนตัวแล้ว ตั้งแต่เริ่มต้นศึกษาและลงมือปฏิบัติธรรมมา ไม่เคยตั้งจิตอธิษฐานว่าปรารถนาพุทธภูมิหรือปรารถนาว่าจะต้องเป็นอะไร แต่ที่อธิษฐานจิตอยู่เสมอๆก็คือ ขอให้พบคุรุผู้ประเสริฐ คุรุผู้เมตตาธรรม ขอให้มีความอดทนเข้มแข็งในการปฏิบัติธรรมเป็นลำดับๆไป การปรารถนาพุทธภูมิมีกล่าวกันออกเกร่อในบอร์ดธรรมะ แต่การปรารถนาหากยังไม่สามารถกำหนดเส้นทางได้ว่า เส้นทางพุทธภูมินั้น ควรลงมือปฏิบัติอย่างไร สม่ำเสมออย่างไร หรือตั้งไว้แค่ในจิตในใจเท่านั้น
เพราะในตำราว่าไว้ว่าใช้เวลานานแสนนานก็เดินเรื่อยๆไปก่อน อย่างนี้ก็คงเป็นการปรารถนาพุทธภูมิแค่ในตำรา หาได้ลงมือปฏิบัติด้วยความเพียรเพื่อให้ถึงพุทธภูมิที่ตนเองปรารถนานั้นไม่ เห็นพวกปรารถนา ก็ปรารถนาตามๆกันไปก่อน พวกก็พาชมนรก ชมสวรรค์เป็นที่ตื่นตาตื่นใจกันไป ปฏิบัติทีไรก็นัดพบกันที่แดนสวรรค์ แดนนิพพานสุขใจไปวันๆ อย่างนี้ก็ไปไม่ถึงไหน เห็นปรารถนา ปรารถนาแล้วก็ลา ตกลงความปรารถนานั้นสภาวะธรรมเป็นอย่างไร เหตุที่ต้องลาสภาวะธรรมนั้นเป็นอย่างไร
ส่วนการสนใจธรรมะ ที่แยกมาเป็นข้อๆนั้น โดยส่วนตัวแล้วคงไม่มัวมานั่งท่องเป็นข้อๆ แยกเป็นข้อๆ มันเหมือนไปยึดกลัวจะร่วงกลัวจะหล่น พิจารณาแล้วเห็นว่าถ้าปฏิบัติกันจริงๆมันก็ละเอียดแยกย่อยไปในจิตใจของแต่ละท่านเอง ทีนี้ส่วนมากนั่งท่องแล้วก็มานั่งเก็บกดอารมณ์ คือสร้างภาพในสังคมให้ดีไว้ก่อน สังเกตง่ายๆเลยยิ่งบอร์ดธรรมะยิ่งสังเกตง่ายแต่ไม่ยากเกินที่จะเห็นภาพแห่งการแข่งขันชิงดีชิงเด่นไม่แพ้สังคมมนุษย์อื่นๆ
เอามาถึงข้อ 3พระไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา คงมานั่งใคร่ครวญ ตริตรองถึงไม่ได้ มันต้องลงมือปฏิบัติให้เข้าใจในสภาวะเลยว่า มันทุกขังยังไง อนิจจังยังไง อนัตตายังไง ข้อ 4 ก็เหมือนกันติดตัวไหน ก็โดนสอบตัวนั้น ตามไม่ทันก็โดนสอบอยู่อย่างนั้น ปลงได้ก็ส่วนหนึ่ง แต่ตรงปลงแล้วกิเลสตัวไหนมันจะกลับมากำเริบอีกนี่ซิ...อือม...น่าคิดๆ... ส่วนข้อ 5นี่ เคยมีพระท่านหนึ่งท่านกล่าวว่า คนปฏิบัตินี่ มันเป็นยังไง มันก็แสดงออกมาอย่างนั้น ไม่ต้องถึงกับพูดหรอก กิริยาท่าทางแสดงออก บ่งบอกถึงผ่านการปฏิบัติมาอย่างสาหัสสากรรจ์แค่ไหน คือมันจะไม่มานั่งดัดจริตเก็บข่มอะไร ท่านกล่าวว่า มันไม่แหล....อือม ....ท่านเป็นคนพูดตรงๆนะ ตรงนี้ก็มาเล่าให้ฟัง
มณี ปัทมะ ตารา  |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
30 ก.ค.2005, 3:17 pm |
  |
ต่อ...
หากจะกล่าวไปแล้ว ท่านผู้ปฏิบัติท่านก็จะทราบได้ด้วยตนเองว่า แม้ไม่ปรารถนาก็เป็นเส้นทางเดียวกัน ทีนี้ไปติดตรงบัญญัติว่าต้องเป็นนั้นเป็นนี่ ต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ถึงบัญญัติว่าเป็นถึงตรงนั้นต้องเป็นอย่างนี้นะ มันติดก็เลยไปไม่ถึงไหน เดินๆไปบัญญัติอีก ทางนี้ผู้หญิงห้ามผ่าน ติดอีก มาติดตรงสมมติทางโลกกำกับไว้ว่าเป็นผู้หญิงอีก ความตั้งมั่นไม่มี ความอ่อนแอที่กำกับไว้กับตรงสมมติคำว่า "ผู้หญิง" ว่าต้องร้องให้นะ ต้องอ่อนแอนะ บัญญัติไว้ว่าไม่ให้ผ่านก็หยุดยืนงงซะงั้น ก็ตายเกลื่อน ก็ไปไม่ถึงไหนเหมือนกัน คือหยุดพิสูจน์เส้นการเดินทางซะดื้อๆเพราะบัญญัติไว้ เลยไม่สามารถเดินทางผ่านทะลุพ้นกรอบและใช้กรอบนั้นยืนเป็นฐานที่มั่นคงและตลอดไป
มาถึงตรงนี้ก็พอเข้าใจว่า...ในความปรารถนา หาใช่ความปรารถนาในสิ่งที่ต้องการเป็นไม่ แต่ในความปรารถนาเป็นหน้าที่แห่งธรรมะที่ท่านผู้ปฏิบัติจะรับรู้ด้วยตัวท่านเองตลอดระยะแห่งการเดินทาง...ถึงแม้จะยังเดินทางไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางตามที่บัญญัติก็ตาม...
ขอให้สมปรารถนาในทุกสิ่งที่ปรารถนา
ธรรมะสวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา  |
|
|
|
   |
 |
poivang
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
30 ก.ค.2005, 5:03 pm |
  |
ขอบคุณค่ะคุณปุ๋ยที่มาช่วยแสดงความคิดเห็นแนะแนวทาง |
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2005, 6:55 pm |
  |
ใช่เลย ถูกต้อง และทำอยู่ สำหรับคติประจำวัน คือ
"ธรรมะ ใดๆ มีค่า ถ้าได้ทำ"
"ธรรมะใดๆ ก็ไร้ค่า ถ้า ไม่ได้ทำ" |
|
|
|
|
 |
poivang
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
01 ส.ค. 2005, 2:35 pm |
  |
|
|
 |
|