Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรื่องพระพุทธาสนากับการทำแท้งเราจะใช้ธรรมข้อไหนแก้ดีครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อ็อฟ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2005, 7:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากรู้มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ครับและด่วนมากๆๆๆๆๆๆๆ ครับ
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2005, 12:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ทำแท้ง" พุทธศาสนามองว่าอย่างไร



ช่วงนี้มีการถกเถียงกันมากเกี่ยวกับประเด็น "ทำแท้ง" ว่าควรหรือไม่ควร โดยที่ทั้งฝ่ายเสนอ และ ฝ่ายคัดค้าน ต่างยกเหตุผลขึ้นมาถกเถียงกันฟังดูก็มีเหตุผลดีทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเสนอก็บอกว่าควรออกกฏหมายอนุญาตให้ทำแท้งได้เพราะตอนนี้ก็มีการลักลอบทำแท้งเถื่อนกันมากมาย ถึงอย่างไรก็ควบคุมกันไม่ได้อยู่แล้ว ทำไมไม่ทำให้มันถูกต้องไปเสียเลย



บางคนก็ว่าในกรณีที่ตรวจพบว่าเด็กมีโรคร้ายแรงคลอดออกมาก็ทรมานเปล่า ๆ อีกไม่นานก็ตาย สู้ทำแท้งไปเลยจะได้ตัดปัญหาตั้งแต่ต้นลม ฯลฯ ฝ่ายคัดค้านก็คัดค้านอย่างจริงจัง โดยให้เหตุผลว่าการทำแท้งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กหนุ่มสาวมั่วเพศกันมากขึ้น บ้างก็ว่าเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม สรุปว่าข้อโต้แย้งเรื่องการทำแท้งนี้ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่ยุติตราบจนกระทั่งทุกวันนี้



"ทำแท้ง" พุทธศาสนาวินิจฉัยว่าสมควร หรือไม่สมควรอย่างไร ?



ถ้าจะให้ตอบก็คงจะต้องตอบตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งวินิจฉัยว่า การทำแท้งเท่ากับการฆ่ามนุษย์คนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะพุทธศาสนาถือหลักว่าการปฏิสนธิว่าคือจุดเริ่มต้นของการเกิดเป็นมนุษย์ คือมีจิตใจของมนุษย์เกิดขึ้นอยู่ในเซลล์ชีวิตเล็ก ๆ ที่ปฏิสนธินั้นแล้ว และ ภาวะแห่งความเป็นมนุษย์นี้จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อตายลง



อนึ่ง ในทางพุทธศาสนาท่านถือว่าการฆ่ามนุษย์นั้นบาปหนักกว่าการฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน เพราะภาวะของมนุษย์ท่านถือว่าเป็นชีวิตอันประเสริฐที่ต่างจากสัตว์ดิรัจฉานทั่วไป เหตุผลคือชีวิตมนุษย์เป็นชีวิตที่มีโอกาสสามารถพัฒนาตนให้เจริญงอกงามได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ยกตัวอย่างเช่น คนธรรมดาอย่างเจ้าชายสิทธัตถะยังสามารถพัฒนาตนจนอุบัติเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เป็นต้น ดังนั้นการฆ่ามนุษย์แม้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จึงเท่ากับการตัดโอกาสของชีวิตที่จะได้พัฒนาตนต่อไป



ในเมื่อพุทธศาสนามองว่าบุตรในครรภ์แม้วันแรกก็ถือว่าเป็นมนุษย์แล้วเช่นนี้ ในการตัดสินใจว่าการทำแท้ง สมควรหรือไม่สมควร จึงเป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยเป็น กรณี ๆ ไป ไม่มีคำตอบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด คือต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจอะไรลงไป แต่สิ่งควรจะต้องตระหนักรู้ไว้อยู่ตลอดเวลาในการที่จะตัดสินใจว่าควรหรือไม่ควรทำแท้ง คือ ชีวิตเล็ก ๆ ในครรภ์นั้นได้มีภาวะของความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นแล้ว หาใช่แค่เซลล์เล็ก ๆ หรือก้อนเนื้อก้อนเล็ก ๆ อย่างที่เคยเข้าใจแต่อย่างใด



--------------------------------------------------------------------------------









หลักฐานที่มีมาในพระไตรปิฎก และอรรถกถา

เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่อง "ทำแท้ง"



๑.พระวินัยบอกว่าฆ่ามนุษย์เป็นบาปหนักที่สุด บาปยิ่งกว่าการฆ่าสัตว์ใด ๆ ภิกษุใดฆ่ามนุษย์ ถือว่าต้องอาบัติปาราชิก หมดสิทธิเป็นสมณะอีกต่อไป ดังจะยกบาลีขึ้นมาอ้างดังต่อไปนี้



โย ปน ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปยฺย, . . . อยมฺปิ ปาราชิโก อสํวาโส

(วินย.๑/๑๘๐/๑๓๗)

แปลว่า ภิกษุใดจงใจพรากชีวิตมนุษย์ ภิกษุนี้เป็นปาราชิก หมดสิทธิอยู่ร่วมกับสงฆ์

(ไม่สามารถอยู่ร่วมกับภิกษุอื่นได้อีกต่อไป)



โย ภิกขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปติ อนฺตมโส คพฺภปาตนํ อุปาทาย ,

อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย

(วินย.๔/๑๔๔/๑๙๕)

"ภิกษุใดจงใจพรากชีวิตมนุษย์แม้แต่เพียงทำครรภ์ให้ตก ไป (ทำครรภ์ให้ตกไป

หมายความว่าทำแท้งนั่นเอง) ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นศากยบุตร"



๒. ในพระสูตรบอกว่า ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นเมื่อเกิดองค์ประกอบสามอย่าง คือ



๑. มารดาบิดาร่วมกัน ๒.มารดาไข่สุก และ ๓.มีสัตว์เข้าไปเกิด

"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด มารดาบิดาร่วมกัน ๑ (มีเพศสัมพันธ์)

มารดาอยู่ในฤดู (ช่วงเวลาไข่สุก) ๑

และคันธัพพะเข้าไปตั้งอยู่แล้ว ๑ ( มีสัตว์ที่เข้าไปเกิด )

เพราะประชุมองค์ประกอบ ๓ ประการอย่างนี้ ก็มีการก้าวลงแห่งครรภ์"

(ม.มู.๑๒/๔๕๒/๔๘๗)



๓. อรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้ว่า ปฐมจิตเกิดขึ้นครั้งแรกพร้อมกับ อรูปขันธ์๓ และ กลลรูป ดังนั้นตามหลักพุทธศาสนาชีวิตจึงมีองค์ประกอบขันธ์ ๕ ครบสมบูรณ์ ณ วันที่เริ่มปฏิสนธินั่นเอง



๔. กลลรูป เป็นเซลล์ขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และจะใช้เวลานานประมาณ ๕ สัปดาห์ กว่าจะเริ่มงอกแขนขาและศีรษะ ออกมาเป็นร่างกายมนุษย์ โดยที่ขั้นตอนเจริญเติบโตกว่าที่จะงอกเป็นปุ่มปมห้าปุ่ม นี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละสัปดาห์ ดังจะขอยกอรรถาธิบายของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มาแสดงดังต่อไปนี้

ชีวิตในครรภ์ เป็นอย่างไร?







ปฐมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ

อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโน

ฆนา ปสาขา ชายนฺติ เสา โลมา นขาปิ จํ





นี้คือคำอธิบายว่าด้วยลำดับการเกิดเป็นระยะ ๆ ทีละช่วงสัปดาห์ หรือช่วงละเจ็ดวัน ๆ ลำดับแรกที่สุดก็คือเป็น ปฐมํ กลลํ เป็นกลละก่อน



กลละนี่ถ้าเป็นศัพท์ในความหมายทั่วไปก็จะได้แก่พวกเมือก พวกโคลนตม เช่นว่าเหยียบลงไปในโคลนหรือในที่เละ แต่ในที่นี้ กลละ เป็นศัพท์เฉพาะซึ่งมีความเกี่ยวกับชีวิต และท่านใช้คำเรียกว่าอย่างนั้น ก็เพราะมีลักษณะเป็นเมือก หรือเหมือน อย่างน้ำโคลนเละๆ คือเป็นคำเรียกตามลักษณะ แต่ในกรณีนี้ ท่านหมายถึงเป็นเมือกใส ไม่ใช่ข้นอย่างโคลนตม



กลละ นี้ ท่านบอกว่าเป็นหยาดน้ำใส เป็นหยดที่เล็กเหลือเกิน เล็กจนกระทั่งในสมัยนั้นไม่รู้จะพูดกันอย่างไรเพราะยังไม่ได้ใช้มาตราวัดอย่างละเอียดถึงขนาดที่ว่าเป็นเศษส่วนเท่าไรของวิธีอุปมาว่า หยาดน้ำใสกลละนี้นะ มีขนาดเล็กเหลือเกิน เหมือนอย่างเอาขนจามรีมา จามรีที่เป็นสัตว์อยู่ทางภูเขาหิมาลัย ซึ่งมีขนที่ละเอียดมากเอาขนจามรีเส้นหนึ่งมาจุ่มน้ำมันงา แล้วก็สลัดเจ็ดครั้ง แม้จะสลัดเจ็ดครั้งแล้วมันก็ยังมีเหลือติดอยู่นิดหนึ่ง ซึ่งเล็กเหลือเกิน ท่านบอกว่านี่แหละเป็นขนาดของกลละ กลละหมายถึงชีวิตในฝ่ายรูปธรรม เมื่อเริ่มกำหนดในเจ็ดวันแรกในช่วงเจ็ดวันแรกก็เป็นกลละอย่างนี้มาก่อน ซึ่งเล็กเหลือเกิน



แล้วต่อจากกละนี้ไปในสัปดาห์ที่สองก็เป็น อัพพุทะ อัพพุทะ นี้ควรจะเรียกได้ว่าเป็นเมือกกละ คือ เป็นน้ำข้นหรือเมือกข้น ต่อจากนั้นในสัปดาห์ที่ ๓ ก็จะเป็นเปสิ คือเป็นชิ้นเนื้อ แล้วต่อจากนั้นในสัปดาห์ที่ ๔ ก็จะเป็นก้อน เรียกว่า ฆนะ ต่อจากนั้นในสัปดาห์ที่ ๕ ก็จะเหมือนกับมีส่วนงอกออกมา เป็นปุ่มห้าปุ่ม เรียกว่าปัญจสาขา นี่เป็นสัปดาห์ที่ห้า แล้วหลังจากนั้นก็จะมีผมมีขนมีเล็บกันต่อไป





(คัดจากหนังสือเรื่อง ทำแท้ง : ตัดสินอย่างไร? หน้า ๑๒-๑๔ )





http://www.budpage.com/abort.shtml
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2005, 12:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะที่จะใช้แก้ ก็คือ ให้ความรู้ และความเข้าใจครับ



ความเข้าใจที่ว่า จะอย่างไรก็ควบคุมไม่ได้อยู่แล้ว ก็อนุญาติดีกว่า เป็นเรื่องไม่สมควรทำอย่างยิ่งครับ เพราะก็เป็นแนวคิดเหมือนเปิดบ่อนให้พนันเสรีได้ โดยคิดว่า ควบคุมไม่ได้อยู่แล้ว อนุญาติให้พนันได้เต็มที่ดีกว่า

จะตอบแนวคิดอย่างนี้ได้ ต้องอุปมาให้ใกล้ตัวครับ เพราะคิดระดับประเทศไกลตัวไป ยกตัวอย่างสมมุติเราเป็นเจ้าของโรงเรียน หรือเจ้าของโรงงาน หรือ หัวหน้าหน่วยงานราชการ สมมุตินักเรียนเรา ของพนักงานเรา หรือ ข้าราชการเรา จำนวนหนึ่ง ชอบไปหมกมุ่นเล่นการพนัน เราเลยบอกเลย ไหนๆ ก็ชอบไปเล่นอยู่แล้ว ดังนั้น เปิดบ่อนการพนันเสรีในโรงเรียนของเรา ในโรงงานของเรา หรือ ในหน่วยงานราชการของเราดีกว่า เงินทองไม่รั่วไหล จะได้ไม่มีปัญหา

ลองคิดดูสิครับว่า ถ้าคิดอย่างนี้มีปัญหาหรือไม่ครับ แน่นอนมีปัญหาทันทีครับ โรงเรียนไหน โรงงานไหน หน่วยงานราชการไหน ลองไปทำดูสิ แล้วจะรู้



ต่อมาความเข้าใจที่ว่า เด็กเป็นโรคร้ายแรง เด็กกลายเป็นคนพิการ คลอดออกมาก็ทรมาณเปล่าๆ ฆ่าทิ้งดีกว่า

ก็อยากจะให้ลองสมมุติอีกครั้งว่า สมมุติตัวเราเอง จะเป็นนักเรียน ประชาชน หรือใครก็ตาม ถ้ารัฐบาลออกกฏว่า ใครที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมา รัฐบาลเห็นใจว่าท่านทรมาณ ดังนั้นรัฐบาลจะช่วยให้ท่านไม่ทรมาณโดยการฆ่าท่านทิ้งซะ เราจะยอมให้มีกฏหมายแบบนี้หรือไม่ครับ หรือใครที่ประสบอุบัติเหตุ สูญเสียอวัยวะ อยู่ไปก็ทรมาณ เป็นปัญหาสังคม รัฐบาลเห็นใจ ดังนั้น รัฐบาลจะออกกฏหมายฆ่าท่านทิ้งซะ เราเห็นเป็นไงครับ



ชีวิตไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ เมื่อเกิดมาแล้ว ก็คือชีวิต ใครเป็นผู้ตัดสินว่า ชีวิตเมื่อยังเล็กอยู่ หรือเพิ่งเกิดไม่นาน ฆ่าได้ ชีวิตที่เกิดมานานแล้ว ฆ่าไม่ได้ ในเมื่อก็คือชีวิตเหมือนกัน



อีกอย่างคนที่เป็นโรคร้ายแรง หรือพิการ ที่เขามีกำลังใจสู้ชีวิต เขาก็สามารถทำตัวเองให้มาเป็นแนวหน้าของสังคมได้ ก็มีมิใช่น้อย ผมเคยฟังข่าว คนเป็นโรคเอสด์ เดินทางไปให้ความรู้คนทั้งหลายทั่วประเทศ ผมเคยได้ยิน คนเป็นโรคร้ายแรง ฝึกสมาธิ แล้วหาย ผมเคยเห็นภาพคนพิการสู้ชีวิต จำนวนมาก ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่ากำลังใจ



เห็นด้วยกับคุณปุ๋ยว่า อย่าได้ออกกฏหมายนี้มาเลย แล้วขอฝากไปยังผู้คิดจะออกกฏหมายฉบับนี้ทั้งหลายว่า ถ้าสมมุติกฏหมายได้รับอนุญาติ ใครก็ตามเป็นต้นคิด คุณนั่นแหละ คือ คนที่ฆ่าเด็กต่อจากนี้ไปอีก ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน และอีกหลายๆ ล้านคน ตราบเท่าที่กฏหมายนี้ยังอยู่ ดังนั้น คนอนุญาติจึงไม่ต่างอะไรกับผู้ผลิตยาเสพติดที่ฆ่าคนนับล้านดีๆ นี่เอง

และถ้ามองตามพระพุทธศาสนา กรรมที่คุณอนุญาติให้ฆ่าเด็กตาย จะเกิดขึ้นกับคุณไม่สิ้นสุด ตราบเท่าที่มีเด็กถูกฆ่าเพราะกฏหมายที่คุณอนุญาติ ถ้าเด็กตายล้านคน คุณก็มีส่วนทั้งล้านคน ไม่อยากคิดต่อเลย



 
Rambo
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2005, 8:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.geocities.com/pralaah/otherQ21_25.htm



เชิญอ่านด่วนๆจ้ะ
 
วายร้าย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2005, 1:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหมือน ว่ากรรมเกิดไปแล้ว

คงไม่พูดเรื่อง กรรม มันเกิดไปแล้ว (ไม่รู้จะพูดอาไร)



ถ้า จะคุยเรื่อง ธรรม อาไรแก้ ก็ บอก ว่า ไฟ มีหน้าที่ มัน

สิ่งที่อยู่ในครรภ์ ก็ ดำเนินไป

ก็ยอมรับ ที่จะเข้าใจ ว่า เวทนา เท่านั้น ที่ทำให้ทุกข์ (เหตุนะ)

อย่าไปทุกข์ ที่จะไม่สละ

อย่าไปคิดว่า จะดับได้

อย่าไปมองว่า คาดไม่ถึง



จงรู้ จงเข้าใจว่า รอง จาก นิพพาน ก็ คือ ขันติ



ปล. ธรรมไม่ทำให้ทุกข์ สิ่งที่คิดแล้ว ทุกข์ไม่ใช่ ธรรม

( ไม่รู้ว่าจะทำอาไรให้ได้บ้าง แต่ จะบอกให้รู้ว่า ทุกเรื่องมีทางออกของมัน )
 
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2005, 1:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำแท้งบาปมากมั้ยหนอ โดย พระอาจารย์สุโข กตปุญโญ


http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=d_book&No=605
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง