ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
อลงกรณ์
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 13 ก.ค. 2005
ตอบ: 6
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2005, 12:58 pm |
  |
ผู้หญิงที่รักสนุก ปล่อยตัวให้กับผู้ชายไปเรื่อย ๆ ไม่คิดอะไร ไม่ผูกมัด ไม่ทำให้ฝ่ายชายเดือดร้อน ทั้งพ่อแม่ของตัวเองก็วางเฉย .....เช่นนี้ เป็นธรรมะข้อที่ว่าด้วย อุเบกขาใช่หรือไม่อย่างไร  |
|
|
|
   |
 |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2005, 3:21 pm |
  |
เป็นคนล่ะเรื่องค่ะ ที่ว่าวางอุเบกขา
เป็นกรรมของสัตว์โลก
อืออ คุณเป็นอย่างนั้นหรอค่ะ |
|
|
|
    |
 |
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2005, 3:23 pm |
  |
เป็นธรรมะ ข้อเมตตา แต่เอนเอียงไปในทาง ที่สังคมเรียกว่าสิ่งที่ไม่ดี |
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2005, 4:22 pm |
  |
ธรรมะ ข้อ อุเบกขา ในความหมายของพรหมวิหาร 4 ไม่ใช่แบบนี้ครับ ดูตามเว็บข้างล่าง บางทีต้องใช้อุปมา เพื่อเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ
สมมุติ เหตุการณ์หลังสึนามิ เรานั่งอยู่บนเรือลำหนึ่ง มีภาระกิจที่ตั้งใจว่า จะแล่นเรือไป คอยรับคนที่เกาะอยู่ตามขอนไม้ต่างๆ หรือ ว่ายน้ำไปมาอยู่ หรือ ลอยคออยู่ พอเราเห็นคนที่กำลังลำบาก เราก็ตรงเข้าไปช่วยเหลือ บางคนเพิ่งจมน้ำไม่นาน เราสามารถช่วยได้ บางคนจมน้ำมานานแล้ว เราช่วยไม่ทัน เราก็ต้องวางอุเบกขา เราก็พยายามแล้ว
แต่คนบางคนที่ลอยคออยู่ อาจจะเห็นคลื่นมา บ้านแตกสาแหรกขาด เลยไม่ทำอะไรทั้งนั้น ขอลอยคออย่างนี้เรื่อยไป อย่างนี้ เขาไม่ได้เรียกว่า วางอุเบกขา แต่เรียกว่า อยู่ไปวันๆ หรือถ้าระดับสูงๆ เขาเรียกว่า หมดอาลัยตายอยากในชีวิตครับ
http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html
พรหมวิหาร 4
ความหมายของพรหมวิหาร 4
- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา การรู้จักวางเฉย
คำอธิบายพรหมวิหาร 4
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
|
|
|
|
|
 |
ตี๋
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2005, 9:24 pm |
  |
ุและ้ถ้าท่านทราบว่าคู่สมรสของคุณไปมีสัมพันธ์กับผู้อื่น ท่านจะใช้พรหมวิหารสี่ในการแก้ปัญหาได้อย่างไร
|
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.ค.2005, 9:34 am |
  |
ถ้าเป็นผมก็เลิกยุ่งเกี่ยวกัน แต่จะอโหสิกรรมให้
เหตุที่อโหสิกรรม เพราะถ้าคู่ครองผมมีพฤติกรรมเช่นนี้ ผมเองก็มีความผิด ในแง่ที่ว่า เลือกมาเอง ทำไมไม่ดูให้ดี ดังนั้น เราต้องยอมรับข้อนี้ด้วย
เหตุที่เลิกยุ่งเกี่ยวฉันสามีภรรยากันอีก เพราะ ถ้าเธอมีพฤติกรรมเช่นนี้ เธอจะประพฤติตนเป็นแม่ที่ดีให้ลูกของผมได้อย่างไร
|
|
|
|
|
 |
อสรี
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.ค.2005, 9:36 am |
  |
คำถามของผู้ตั้งกระทู้นั้น พ่อแม่ของผู้หญิงนั้นน่ะ เขาอุเบกขาล่ะ แต่ตัวผู้หญิงท่าจะไม่ใช่นะ น่าจะ "สำส่อน" มากกว่า ข้อนี้ ก็ไม่มีในพรหมวิหารใด ๆ...
คำว่าพรหมวิหารนี้ มี 4 ข้อ บางคนมีบางข้อ หรือมีทุกข้อ ก็เป็นได้ เกิดปัญหาขึ้นมา ก็สามารถแก้ได้ด้วยข้อใดข้อหนึ่งโดยธรรมชาติของผู้นั้นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาหนึ่งด้วย 4 ข้อพร้อมกัน
ส่วนคุณความเห็นที่ 4...นั้น ก็ต้องอุเบกขา แล้วล่ะ เพราะเป็นกรรมของผู้กระทำ แต่ส่วนใหญ่ ยังมีตัวมีตน ก็มีความหึงหวง เป็นธรรมดา แต่ถ้าทำได้ คือ อุเบกขาได้ ก็ถึอว่า เยี่ยมมากเลย... |
|
|
|
|
 |
ตี๋
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.ค.2005, 7:45 pm |
  |
คุณอสรี (ความคิดเห็นที่ 6) ที่ว่าอุเบกขาก็คือการวางเฉยนั้นเราจะวางเฉยในลักษณะใด
1) วางเฺฉยแบบแสร้งว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
2) วางเฉยแบบเลิกรากันไปและก็โอหสิกรรมให้
3) วางเฉยแบบอยู่กันไปหมดแล้วซิ่งความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา
คุณเกียรติ (ความคิดเห็นที่ 5) คำแนะนำน่าจะเป็ํนแบบที่สอง แต่ทว่าด้วยความรับผิิดชอบที่มีต่อลูกจึงอยากที่จะทำได้
ึ |
|
|
|
|
 |
อิทธิ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2005, 9:01 am |
  |
เฝ้าแต่ระมัดระวังตน อย่าปล่อยตัวเที่ยวพูดคุยมากเกินไป อย่าอ่านหนังสือ แต่ให้อ่านใจของตัวเอง
ความทุกข์จะเกิดเพราะขาดสติ ส่งจิตออกไปเกี่ยวข้องภายนอก  |
|
|
|
|
 |
|