|
 |
|
กำลังอ่านอยู่ : 6 คน |
|
|
|
|
 
มีคนเคยถามถึงเรื่องการให้ผลของกรรมว่า
ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ เช่น คนไปทำบุญกฐินกลับมาประสบอุบัติเหตุบนถนน
ดูเหมือนกับทำบุญแล้วไม่ได้บุญ
คำตอบคือ
มันไม่ใช่วาระ การทำบุญวันนั้นอาจจะยังไม่ส่งผล เพราะมันเป็นวันที่กรรม(
เก่าชาติไหนก็ไม่รู้ ) ได้มาถึงและแสดงผลทันที มันเป็นกรรมคนละตัวกัน
ครั้งหนึ่ง
เมื่อชาววัดผู้ศรัทธาผู้หนึ่งถึงกาลล้มละลาย เขายืนดูวัดและผู้คนกำลังทุกบุญกันมากมายหลายร้อยหลายพันคน
แล้วก็รำพึงว่า ฉันทำบุญไปตั้งหลายแสน ไม่เห็นบุญช่วยอะไรเลย
นี่เป็นเรื่องวาระอีกเช่นกัน
บุญที่เราทำอาจจะยังไม่สามารถส่งผลได้ในขณะที่เราต้องการ เพราะกรรมอื่นที่เขาถึงวาระเขากำลังให้ผลอยู่

การให้ผลกรรมยังมีเงื่อนไขอื่นอีกมาก
เคยมีคนเล่าว่าแม่ค้าขายขนมจีนคนหนึ่ง แกถวายพระด้วยขนมจีนทุกวัน พอตายไป
อาหารทิพย์ที่รอแกอยู่ก็คือขนมจีน แกบ่นว่า โอ๊ย เบื่อจะตายอยู่แล้ว
อยากกินอย่างอื่นบ้าง ด้วยเรื่องเล่าทำนองนี้แหละ ที่พอชาวเราอยากได้อะไรหรือชอบอะไร
ก็เลยจะเอาของอย่างนั้นถวายพระ คล้าย ๆ ฝากตู้เซฟไว้ จะได้ถอนคืนเอาตอนตาย
ความจริงบุญคือเจตนาในการทำดี ผลบุญจึงน่าจะเป็นของทิพย์ ที่จะทำให้เราได้ในสิ่งที่เราต้องการมากกว่า
โดยไม่ต้องไปตรงกับของที่เราเคยทำบุญหรอก
เราสอนกันมาว่า
ทำกรรมอะไรได้ผลอย่างนั้น เช่นปลูก ข้าวก็ได้ข้าว แต่เราสอนกันเพียงเท่านั้น
จึงทำให้เราเข้าใจการให้ผลของกรรมได้ยาก ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ ได้สอนเพิ่มเติมให้เข้าใจเสียใหม่ว่า

การให้ผลของกรรมมีเงื่อนไข
แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มาประกอบ บางทีปลูกข้าว ไม่ได้ข้าวก็มี ถ้าปลูกข้าวลงในดินไม่ดี
หรือดินดี แต่น้ำไม่พอ ฝนไม่ตก ข้าวก็ได้น้อย หรือถ้าน้ำท่วม ข้าวก็เสียหายไปหมด
ไม่ได้ข้าว ถ้าทุกอย่างดีหมด ดินดี น้ำดี เมล็ดพันธุ์ดีก็ได้ข้าวดี
กรรมก็เหมือนกัน
และเหตุนี้
ถ้าเคยทำไม่ดีมา จึงทำให้เราสร้างเงื่อนไขเพื่อเข้าปรับเปลี่ยนผลกรรมได้ด้วยการทำดี
เป็นโอกาสให้คนกลับตัวได้ และพัฒนาได้
|