|
 |
|
กำลังอ่านอยู่ : 5 คน |
|
|
|
|

การให้ผลของกรรม
ไม่อาจที่ใครจะรู้รายละเอียดได้เพราะมีความสลับซับซ้อนมาก ประกอบด้วยเงื่อนไขหลายอย่าง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า วิสัยแห่งกรรมและผลของกรรม
เป็นสิ่งที่คิดเอาไม่ได้ เป็นข้อหนึ่งในหลายข้อของอจินไตย
คือปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ให้ถาม เพราะเกินกำลังคนอย่างพวกเราจะเข้าใจพระพุทธเจ้าท่านเข้าใจ
แต่ไม่อยากเล่า
ในตำราอธิบายเรื่องเวลาของการให้ผลไว้ดังนี้
1.
ให้ผลในชาตินี้
2.
ให้ผลชาติหน้าต่อจากชาตินี้
3. ให้ผลเรื่อยไป สบโอกาสเมื่อใด ให้ผลเมื่อนั้น ไม่รู้ชาติไหน
4.
อโหสิกรรม กรรมไม่ให้ผล เลิกแล้วต่อกัน
เรื่องลำดับความหนักเบาและเวลาการให้ผลของกรรมนั้นท่านว่ามีความสัมพันธ์กันมาก
คือกรรมหนัก ( ทั้งฝ่ายดีและชั่ว ) จะให้ผลในปัจจุบันทันตาเห็น ส่วนกรรมที่ทำบ่อย
ๆ ถ้ายังไม่ให้ผลชาตินี้ก็ยกยอดไปชาติอื่น แล้วแต่โอกาส ท่านเปรียบเหมือนสุนัขไล่เนื้อ
ทันเข้าเมื่อใดกัดเมื่อนั้น
ส่วนกรรมที่ทำใกล้ตาย
มักให้ผลก่อนกรรมอื่น เพราะใจมันคิดอยู่กับเรื่องนั้น แม้บางคราวจะมีกำลังน้อย
แต่ก็ให้ผลก่อน อันนี้ท่านเปรียบให้ฟังว่า เหมือนวัวที่ขังรวมกันอยู่ในคอก
พอตอนเช้าเปิดประตูคอก วัวตัวที่อยู่ใกล้ประตูที่สุด ก็ต้องออกก่อน
แต่พอออกมากันหมดแล้ว
วัวที่แข็งแรงกว่าก็แซงหน้าไป ผลกรรมใกล้ตาย อาจจะให้ผลก่อน แต่ก็ให้ผลสั้น
หลังจากนั้น ก็เป็นผลของกรรมอื่น ๆ เข้ามาจัดแจงต่อไป
ส่วนกรรมที่ทำโดยไม่เจตนา
ให้ผลน้อยที่สุด

กรรมใดคอยโอกาสให้ผลอยู่
แต่ไม่มีโอกาสเลย ก็เลิกแล้วกันไปเป็นอโหสิกรรม อันนี้มีเหตุ 3 ประการ
1.
หมดแรง คือให้ผลจนสมควรแก่เหตุแล้ว
เหมือนคนติดคุก 2 ปี เมื่อถึงกำหนดก็พ้นโทษ นอกจากว่าตอนอยู่ในคุก
ทำผิดอีก ก็ติดคุกต่อ แต่ถ้าทำดีมาก ๆ ก็พ้นโทษก่อน
2.
กรรมหยุดให้ผลเมื่อกรรมอื่นเข้ามาแทรกแซงเป็นครั้งคราว
คือ
กรรมดีจะหยุดให้ผลชั่วคราว เมื่อคนนั้นเขาทำชั่วมาก เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมชั่วส่งผลก่อน
หรือกลับกัน ถ้ากรรมชั่วกำลังให้ผลอยู่แล้วเขาทำดีมาก มันก็จะหยุดเพื่อให้กรรมดีให้ผลก่อน
3.
ผู้นั้นได้สำเร็จเป็นอรหันต์ ไม่เกิดอีก
กรรมก็เลยหมดโอกาสให้ผล แต่จะยังให้ผลได้ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่
เช่น องคุลีมาล เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ยังถูกชาวบ้านทุบตีอยู่แต่เมื่อดับขันธ์ก็ไม่ต้องเกิดอีก
หรือพระโมคคัลลานะ ถูกโจรทุบตีจนตาย ทั้งที่ท่านมีอิทธิฤทธิ์มากมาย
แต่เมื่อท่านตายแล้วไม่เกิดอีก กรรมใด ๆ ที่ยังเหลืออยู่ก็เป็นอโหสิกรรมไป
|