|
 |
|
กำลังอ่านอยู่ : 6 คน |
|
|
|
|
|
|
|

กรรมก็เหมือนคน
ต้องมีหน้าที่การงานเหมือนกัน หน้าที่ของกรรม ก็คือจัดการกับเจ้าของกรรมนั่นแล
กรรมใครกรรมมันแต่กรรมมีหลายตัว ถ้าเรามองเห็นได้เหมือนในการ์ตูน จะเห็นมันห้อยโหนอยู่ตามหัวหู
หรือนั่งไขว่ห้างอยู่บนหัวไหล่ของเรา มันก็ดีดนิ้ว เปรี๊ย เปรี๊ย แล้วเวลาเราทำอะไร
มันก็คอยจดไว้ ที่แย่เอามาก ๆ เลยก็คือ มันไม่เคยลืมจด และจดแล้วก็ไม่เคยลืมที่จดอีกต่างหาก
ตัวที่
1 ท่านเรียกว่า ชนกกรรม ชนกที่แปลว่าพ่อนั่นแหละ
แปลสลวยก็คือผู้ให้กำเนิด ตัวนี้เองที่เป็นผู้คอยจัดแจงเรามาตั้งแต่ก่อนเกิด
เลือกแม่ให้เรา ว่าให้เรามาเกิดเป็นลูกใคร ยากดีมีจนแค่ไหน จัดแจงให้เราฉลาดหรือโง่หรือปัญญาอ่อนหรือเปล่าสวยไหม
หล่อไม่เสร็จ หรือว่า หล่อยังไม่เสร็จ เป็นหน้าที่ของท่านชนกกรรมนี้ทั้งนั้น
เขาคือใคร เขาก็คือสิ่งที่เราทำไว้ในชาติก่อน ๆ น่ะเอง เช่น ถ้าชาติก่อนทำบุญมากชาตินี้ก็ได้เกิดมามีกะตังค์หน่อย
ทำนองนั้น ถ้าชาติก่อนถือศีล สวดมนต์ สงบจิตใจ ก็ได้เกิดมาสวย และถ้าชาติก่อนเรียนธรรมะมีปัญญามา
ก็เกิดมาฉลาด
ตัวที่
2 ท่านเรียกว่า อุปถัมภกกรรม คือกรรมที่คอยอุปถัมภ์
ฝรั่งเรียกนางฟ้าแม่ทูลหัว คอยช่วยเหลือการให้ผลของกรรมอื่นที่ยังไม่มีโอกาสส่งผล
ให้ส่งผลได้ หรือถ้ากรรมอื่นกำลังส่บผลอยู่ก็ให้ส่งผลได้มากขึ้น เช่น
เช้าวันนี้
ฤดีมาศดำรง ออกไปใส่บาตรด้วยจิตใจอันสงบ อย่างยิ่งจนอุปถัมภกกรรมชื่อฤดีน้อยยิ้มแก้มปริอยู่ข้าง
ๆ ตุ้มหู
มันเป็นวันที่เธอจะได้ขึ้นเงินเดือน
เพราะกรรมดีที่เคยทำมาจะให้ผล และเมื่อไปถึงสำนักงาน เธอได้พบว่านอกจากจะได้ขึ้นเงินเดือนแล้ว
ยังได้เลื่อนตำแหน่งอีกด้วย ซึ่งอันหลังนี้เป็นผลงานของฤดีน้อย
ตัวที่
3 ท่านเรียกว่า อุปปีฬิกกรรม ( อ่านยากหน่อยนะคะ
) ชื่อเล่นว่ากรรมเบียดเบียน ถ้าเรามีกรรมดี มันจะคอยกันไม่ให้กรรมชั่วส่งผล
ถ้าเรามีกรรมชั่ว มันก็คอยกันไม่ให้กรรมดีส่งผล
ว่ากันจริง
ๆ แล้ว ตัวที่ 2 กับ ตัวที่ 3 ก็อาจจะเป็นตัวเดียวกันได้ คือ เมื่อ
นาย ก จะไปตี นาย ข กรรมไปกั้นกลางอยู่คือกันนาย ก จะไปตี นาย ข. กรรมไปกั้นกลางอยู่คือนาย
ก. ไว้ไม่ให้ตี ( กรรมเบียดเบียนไว้ ) และช่วยนาย ข ไม่ให้ถูกตี (
คอยอุปถัมภ์ไว้ )

ท่านชายพจน์เดินอารมณ์ดีออกจากบ้านแต่เช้าเพื่อไปทำงาน
พอพ้นรั้วมา เจ้าดิ๊กกี้หมาในหมู่บ้านก็กระดิกหางดิ๊ก ๆ อารมณ์ดีเดินมาเหมือนกัน
ท่านชายพจน์เลยทักทายด้วยการเตะมันเล่นไปเหน็บไว้บนรั้ว แล้วไม่เอามันลงมา
พอพ้นปากซอย
กรรม ( เก่าชาติก่อน ) มาสะกิดไหล่ให้มอเตอร์ไซด์วิ่งมาเฉี่ยว ความจริงก็กรรมนิดเดียว
แค่ขาเคล็ด
แต่ความที่ท่านชายพจน์เหน็บเจ้าดิ๊กกี้ไว้ที่รั้ว
เลยทำให้แทนที่จะขาเคล็ด กลายเป็นขาหัก
เอาใหม่
ฉายหนังถอยหลังไปตั้งต้นใหม่
ท่านชายพจน์ตื่นแต่เช้าออกมาตักบาตรหน้าบ้านแล้ว
เดิน
อารมณ์ดีออกจากบ้านแต่เช้าเพื่อไปทำงาน
พอพ้นรั้วมาเจอเจ้าดิ๊กกี้ก็ลูบหัวมันด้วยมือแทนตีน เอ๊ย เท้า
พอพ้นปากซอย
มอเตอร์ไซค์วิ่งมาเฉี่ยว ความจริง ( กรรมเก่า ) หนักถึงต้องขาหัก แต่อุปปีฬิกกรรมเบียดเบียน
( กางกั้น ) กรรมเก่านี้ไว้ ท่านชายพจน์เลยแค่ขาเคล็ด
ตัวที่
4 อุปฆาตกรรม มีหน้าที่ไปตัดรอนกรรมอื่นให้ไม่ให้ผล
เช่นสั่งสมความดีมากขึ้น ๆ ตัดรอนผลแห่งกรรมชั่วจนหมดไป และในทางชั่วก็เหมือนกัน
ดังนั้น
ท่านจึงสอนว่า ให้เราพยายามทำดีอยู่เสมอ เพื่อสะสมบุญไว้ หากมีกรรมเก่าใดตามมาสะกิด
จะได้มีบุญไว้คุ้มตัวหรือผ่อนหนักเป็นเบา
ส่วนเกิดมาแล้วเป็นอย่างไร
ก็ไม่ใช่จะแก้ไขไม่ได้ เช่น เกิดมาจน ก็อุตสาหะเข้า อาจจะมีฐานะดีขึ้นได้
ไม่ใช่งอมืองอเท้ายอมรับกรรมอย่างเดียว เพราะคนเราพัฒนาได้
กรรมบางอย่าง
เราทำโดยไม่เจตนาก็จริง แต่ไปก่อผลสุขทุกข์ให้คนอื่นเข้า เราคนทำก็จะได้ผลตอบแทนมาในทำนองเดียวกัน
คือได้รับสุขทุกข์จากคนอื่นโดยที่เขาไม่เจตนา
เช่น
เราโมโหเหวี่ยงรองเท้าไปโดยไม่ได้ดู ไปโดนหัวหมาสลบเหมือด หลายวันต่อมาคนข้างบ้านทะเลาะกับเมีย
เหวี่ยงตะหลิวออกจากหน้าต่างครัวข้ามรั้วมาโดนหัวเราสลบโดยไม่ได้ตั้งใจ

ในศาสนาพราหมณ์
ถือว่าชีวิตเราที่เกิดมา เกิดจากพรหมลิขิต ทุกอย่างพรหมกำหนดไว้ให้แล้ว
มีนิทานเล่าว่า
ตายายยากจน ชีวิตลำบาก มีความก็เขาเก แกก่นด่าพระพรหมทุกวัน บอกว่าไม่ยุติธรรมที่ลิขิตมาให้แกลำบากอย่างนี้
วันหนึ่ง พระพรหมทนไม่ไหว เหาะลงมาหาพาตายายไปที่ต้นสายของชีวิตของทุกคน
แล้วให้ตายายเลือกเอาเองเลยว่า จะเลือกเส้นชีวิตเส้นไหนตามใจชอบ
ตายายก็เลือกเส้นชีวิตที่ดีที่สุด
พอใจที่สุด แล้วก็ไล่เรียงมาทุกเส้น ๆ เรื่อยมา
ในที่สุด
ตายายก็มาตื่นขึ้นในกระท่อมหลังเดิม มีควายก็ตัวเดิม คือมันดีที่สุดแล้วสำหรับตากับยาย
ในศาสนาพุทธ
ไม่มีพรหมลิขิต แต่เป็นกรรมลิขิต กรรมคือสิ่งที่เราทำ ดังนั้น เราจึงเป็นคนกำหนดชีวิตเราเอง
ที่เราทำดีได้ไปเกิดที่ดี เราเลือกทำมาเอง ที่เราทำชั่วได้รับผลกรรมชั่ว
เราเลือกที่จะทำกรรมชั่วเอง บางคนอาจจะเถียงว่า ใครจะอยากทำชั่วแต่มันจำเป็น
แต่ในความจริงที่บางทีเราก็ไม่รู้นั้น เป็นเพราะความไม่รู้ทั่ว ไม่อยากขัดใจตัวเอง
ไม่อยากถูกต้องแต่อยากถูกใจ หรืออะไรอีกมากมายที่เราสรรหามาเพื่ออ้างเข้าข้างตัวเอง
แต่ถ้าเป็นคนมีศีลธรรมแล้วในความจำเป็นนั้น มีทางออกด้วยกรรมดีเสมอ
ในการเอาความรู้เรื่องกรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันก็คือ
ถ้าเราประสบทุกข์ ก็ให้นึกว่าใช้หนี้ไป หนี้ของเราจะได้เบาบางลง ถ้าเราประสบสุข
ก็ให้นึกว่า เขาใช้หนี้เรา แต่ก็ต้องระมัดระวังมันจะหมดไปถ้าเราไม่ทำดีเพิ่มขึ้น
เราควรจะหมั่นทำบุญ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุญ ที่มาเกื้อกูลให้เรามีความสุข
พระพุทธเจ้าสอนว่า เมื่อใดที่บุญสิ้นไป ทุกอย่างก็จะพินาศหมด
|