เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ บันทึกธรรม ฉบับดับทุกข์ ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

โรค

           ในจูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๔/๓๒๓) สุภมาณพ โตเทยยบุตรได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลถามว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้คนที่เกิดมาแล้ว มีโรคมากหรือมีโรคน้อย ?

           พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า
           "ดูก่อนมานพ ! คนบางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เป็นคนมีปกติชอบเบียดเบียนสัตว์ ด้วยมืด ด้วยก้อนหิน ด้วยท่อนไม้ หรือด้วยศาตราก็ตาม

           เมื่อเขาตายจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาติ และนรก… เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีโรคมาก…"

           โดยนัยตรงกันข้าม ผู้ที่ไม่เบียดเบียนสัตว์ ย่อมจะเป็นผู้มีโรคน้อย ไม่ว่าจะเกิดในภพหรือภูมิใด ๆ

           จากพุทธวจนะบทนี้ ถ้าเราพิจารณาด้วยความลึกซึ้งและด้วยใจที่เป็นธรรม ก็ควรจะยอมรับกฎแห่งกรรม ที่เราได้ทำเอาไว้เอง
อาจมีบางท่านที่ม่ยอมรับ เพราะไม่มีญาณหยั่งรู้อดีตกรรม ที่เราได้ทำเอาไว้ได้ บางคนถึงกับรำพรรณให้ฟัง ด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจว่า

           โธ่.. ตั้งแต่เกิดมาแต่น้อยคุ้มใหญ่ ไม่เคยได้เบียดเบียนใครเลย ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ ทำไมจึงมีโรคภัยมากมายอย่างนี้…

           ถ้าเราไม่เชื่อในกฎแห่งกรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้และนำมาสอนแล้ว เราจะไม่เชื่อใคร เชื่อคนด้วยกัน ก็เหมือนคนตาบอดจูงคนตาบอด แล้วอะไรมันจะเกิดขึ้น ?

           พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญาชน ไม่ส่งเสริมให้เชื่ออะไรแบบงมงาย ไม่มีคำว่า "บังเอิญ" การกระทำทุกอย่าง ย่อมเป็นเหตุผลของกันและกัน เหมือนห่วงลูกโซ่

           เรื่องกฎแห่งกรรม เป็นเรื่องลึกลับซับซ้อน ปุถุชนเต็มขั้น ไม่มีทางจะรู้ให้ตลอดสายได้เลย เพราะกรรมบางอย่างให้ผลข้ามภพข้ามชาติ และอาจข้ามหลาย ๆ ชาติเสียด้วย

           สำหรับชาวพุทธ นับว่าโชคดีมาก ที่มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เบิกทางไว้แล้ว เราเพียงแต่เดินตามท่าน เราก็จะมีแต่ความปลอดภัย ด้วยประการทั้งปวง ถ้าไม่เป็นคนประสาท "หัวล้านนอกครู" เสียก่อน

           ในคิลานสูตร (๒๐/๑๓๗) พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า คนเจ็บไข้มีอยู่ ๓ จำพวก คือ
           - รักษาหรือไม่รักษาก็ไม่หาย
           - รักษาหรือไม่รักษาก็หาย
           - รักษาจึงหายไม่รักษาไม่หาย

           เมื่อทราบหลักการดังนี้แล้ว เมื่อเรามีโรคอะไรเกิดขึ้น เบื้องนรกเราก็ต้องรักษากันไปก่อน ต่อเมื่อรักษาจนสุดความสามารถ หรือสิ้นกำลังทรัพย์แล้ว ก็ควรจะปล่อยให้เป็นเรื่องของกรรมเก่าบ้าง

           อย่าว่าแต่คนธรรมดาเดินดินอย่างเราๆ เลย แม้พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านก็ยังต้องเจ็บไข้ ไม่อาจจะหลีกพ้นจากความเจ็บไข้ไปได้ ถ้าคิดได้และปลงตก จิตใจก็จะสบาย ไม่ต้องเป็นโรคทางใจ ขึ้นมาาแทรกอีกโรคหนึ่ง

           ว่าที่จริง โรคทางกายล้วนๆ นั้น ไม่กระไรนักหรอก รักษาหรือไม่รักษา มันก็อาจหายไปได้เองเป็นส่วนมาก เพราะธรรมดาของร่างกาย ย่อมมีภูมิคุ้มกันโรคอยู่แล้วทุกคน ถ้าร่างกายแข็งแรงมันก็เป็นโรคยาก และเป็นแล้วก็หายเร็วด้วย

           ในอินทรียวรรค (๒๑/๑๖๘) พระพุทธเจ้าได้ตรัสได้ว่า โรคมีอยู่ ๒ อย่าง คือ โรคทางกาย กับ โรคทางใจ ท่านว่า คนที่ไม่มีโรคทางกายตลอดปีหนึ่ง จนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น ยังพอหาได้บ้าง แต่คนที่จะไม่เป็นโรคทางใจเพียงครู่เดียวหลับหาได้ยากยิ่ง ยกเว้นแต่พระอรหันต์พวกเดียวเท่านั้น

           จากพุทธวจนะบทนี้ เราจะเห็นได้ว่า โรคทางใจสำคัญกว่าโรคทางกาย และโรคทางกายส่วนมาก (หมอว่า ๗๕%) เนื่องไปจากจิตใจ

           นั่นก็หมายความว่า คนเราถ้าหมั่นรักษาจิตใจให้ปกติ คือควบคุมกิเลสตัณหา ให้อยู่ในระดับปกติ ไม่ให้ขึ้นสูงและลงต่ำจนเกินไป ก็จะทำให้โรคทางกายน้อยลงไปด้วย

           ข้อนี้ผู้เขียน ขอรับรองว่าจริง ๑๐๐% ขออภัยที่จำต้องยกตัวเองเป็นตัวอย่าง คือ ผู้เขียนมีโรคประจำตัวอยู่ ๓ โรค คือ โรคประสาท โรคบิด (มีตัว) และโรคปวดข้อศอกข้างซ้าย

           โรคประสาท เป็นมากว่า ๒๐ ปีแล้ว ตั้งแต่บวชครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ เพราะความที่จริงจังกับชีวิตเกินไป เรียกนักธรรม เรียนบาลี และเรียนภาษาอังกฤษควบกัน ก็ได้ผลจริง แต่ต้องเป็นโรคประสาทถึงกว่า ๒๐ ปี

           เพิ่งจะมาหายไปเมื่อ ๒ ปีนี้เอง เพราะได้ค้นพบสมุฏฐานคือ ความเครียด การกินยาเป็นการรักษาปลายเหตุ ระงับได้เป็นระยะๆ เท่านั้น เมื่อเราแก้ปัญหาถูกจุด ก็กลับหายไปเอง โดยไม่ต้องใช้ยาเลย

           จะว่าไม่ใช้ยาเลย ก็จะกลายเป็นมุสา ใช้อยู่แต่ใช้ยา "ธรรมโอสถ" ของพระพุทธเจ้า ใช้หลายขนาน และใช้เวลาถึง ๔ ปี จึงได้ผล

           โรคบิด (มีตัว) เป็นมากว่า ๑๐ ปีแล้ว รักษากันมาจนเพลีย เช่นเดียวกับโรคประสาท พอรู้สมุฏฐาน ก็ไม่ต้องไปหาหมอกันอีกแล้ว เราก็ทำตัวเป็นหมอเอง โดยใช้พืชสมุนไพรจากอาหารเป็นยาและไม่ฉันของ ๓ อย่าง คือ เผ็ดจัด คาวจัด และ มันจัด มันก็เลยหมดฤทธิ์เป็นก็เหมือนไม่เป็น

           โรคปวดข้อศอกซ้าย เป็นมา ๑๐ ปีแล้ว ทุเลาและกำเริบเป็นพัก ๆ รักษาจนเกรงใจหมอ เลยเลิกไม่รักษา ไม่สนใจมัน มันก็เลยไม่สนใจเราเหมือนกัน คือ ทำท่าจะหายเองเอาดื้อๆ อย่างนี้ก็มีด้วย เป็นเรื่องแปลกแต่จริง !

           ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ไม่มีใคร "เหยียบหาง" และไม่มีความคิดที่จะ "ยกหาง" แต่ประการใด ที่เหนือสิ่งอื่นใด ก็ต้องการให้นักธรรมะได้ทราบความจริงว่า สัจจธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ถ้าศึกษาอย่างถูกวิธี และใช้เวลาพอสมควรแก่เหตุแล้ว ส่วนหนึ่งใช้ดับทุกข์ได้ อีกส่วนหนึ่งจะแปรเป็น "ธรรมโอสถ" สามารถบำบัดโรคที่เนื่องมาจากจิตได้ เช่น โรคประสาท อันเกิดจากความเครียด เป็นต้น

           ในอดีตเคยนึกน้อยใจ ในวาสนาของตัวเอง ว่าคนอื่นเขาทำไมไม่เป็นเหมือนเรา ? แต่ที่ไหนได้ พอรู้จักสนิทสนม กับคนที่เราเคยเห็นว่า เขาน่าจะมีความสุขที่สุดในโลก เพราะมีทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติพร้อม

           เมื่อเขาได้เปิดเผยสัจจธรรมให้ฟัง จึงได้ถึงบางอ้อ กลับย้อนมาดูตัวเอง ก็พบว่าเรานี้ช่างโชคดีกว่าเขา ชนิดหน้ามือกลายเป็นหลังเท้าเลยทีเดียว เพราะอะไรหรือ ?

           เพราะบางคนที่เราเห็น เหมือนกับเทพบุตร และเทพธิดาเดินดินนั้น บางคนกำลังจะล้มละลาย ด้วยหนี้สินท่วมตัว บางคนเป็นโรคร้ายแรง บางคนต้องนอนหันหลังให้คู่นอน บางคนต้องพกยาระงับประสาทประจำตัว บางคนมีปัญหาเรื่องงาน เรื่องเจ้านาย เรื่องลูกน้อง เรื่อง…โอ๊ย…จะบ้าตาย !

           ใช่ ! เรามองดูแต่ภายนอน ทุกคนเห็นแล้ว ก็อดที่จะริษยาเขาเสียมิได้ แต่ถ้ามองให้ลึกเข้าไปถึงที่ทำงาน ในบ้าน ในห้องนอนหรือภายในจิตใจแล้ว เราก็ต้องสลดใจ แถมเงินให้ร้อยล้านพันล้านแลกกัน เราก็ไม่ยอมแลกเปลี่ยนเด็ดขาด

           จริงอยู่ เงินแม้จะเป็นปัจจัยที่สำคัญของชีวิต แต่เงินก็ไม่อาจจะซื้อความสุขทุกอย่างได้ โดยเฉพาะความสุขทางจิต ซึ่งเป็นยอดของความสุข ถ้าเงินบันดาลความสุขทุกอย่างได้แล้วไซร้ เศรษฐีก็คงไม่ฆ่าตัวตาย ซึ่งมีเป็นข่าวอยู่เสมอ ๆ

ทางแก้
           ๑. ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ว่าคนเรามีกรรมเป็นของเฉพาะตัว โรคทั้งหลาย เกิดจากกรรมที่เราทำไว้เอง ขอให้รักษาไปตามฐานะ ถ้าสุดวิสัยก็ควรปล่อยวาง (อุเบกขา)

           ๒. ขอให้เป็นโรคแต่ทางกายอย่างเดียว อย่าให้เป็นโรคทางใจพ่วงเข้ามาด้วย มันจะรักษายาก หรือรักษาไม่ได้ เช่น โรคประสาท โรคความดัน โรคหัวใจ โรคกระเพาะ เป็นต้น

           ๓. ขอให้เปรียบเทียบ กับคนที่เป็นโรคร้ายแรงกว่าเรา เจ็บปวดมากกว่าเรา และยากจนกว่าเรา ใจจะสบายขึ้น

           ๔. ถือโอกาสเอาความเจ็บปวด เป็นอารมณ์กรรมฐานเสียเลย โดยเพ่งจิตไปที่กำลังเจ็บอยู่แล้วบริกรรมว่า "ปวดหนอ ๆ ๆ" พิจารณาให้เห็นสัจจธรรม โรคก็จะบรรเทา ใจก็จะสงบและสบายด้วย

           ๕. ถือโอกาสที่พักรักษาตัว ศึกษาธรรมะด้วยการอ่านการฟัง หรือปฏิบัติควบคู่กันไปด้วย ถ้าไม่เจ็บป่วยก็หาเวลาเช่นนี้ยาก ควรจะถือว่าเป็นลาภหรือโชคด้วยซ้ำ

           ๖. ยอมรับความจริงว่า การเจ็บป่วยเป็นผลของอกุศลกรรมเก่า เมื่อเกิดเจ็บปวดก็เป็นการใช้หนี้กรรมเก่าไป จะได้ไม่ต้องไปใช้กันในภายหลังอีก

           ๗. โรคบางโรคเกิดจากเวรกรรมเก่า ควรถวายสังฆทานปล่อยสัตว์ต่าง ๆ แล้วอุทิศส่วนบุญไปให้เจ้ากรรมและนายเวร ถ้าเขายอมรับและอโหสิ โรคของเราก็อาจหายได้ มีตัวอย่างทั้งในปัจจุบันและใสครั้งพุทธกาล

           ๘. ควรฝึกหัดทำสมาธิ ให้จิตสงบพอสมควร แล้วเอาสมาธินั้น เพ่งไปยังจุดที่กำลังเจ็บอยู่บ่อยๆ จะช่วยบรรเทาหรือทำให้หายปวด หรือหายโรคได้

           ขอยืนยันว่า ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ได้ประสบมากับตนเอง และหายมาหลายโรคแล้ว ความต่างขึ้นอยู่ที่ว่า บางโรคหาย บางโรคไม่หาย บางโรคหายเร็ว บางโรคหายช้าทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสมาธิ และกรรมของแต่ละบุคคล เป็นสำคัญ

แต่อย่างน้อย ก็ทำให้โรคไม่กำเริบ และจิตใจก็สงบสามารถแยกโรคทางกาย ออกจากโรคทางใจได้ด้วย

           ๙. ถ้าเป็นโรคร้ายแรง ที่รักษาไม่หาย หรือไม่อาจรักษาได้ หรือเจ็บปวดมากจนจะทนแทบไม่ไหวแล้ว ให้ตั้งสติสำรวมจิตพิจารณา "ทุกขตา" (ความเป็นทุกข์) เอาความทุกข์เป็นอารมณ์จนจิตเบื่อหน่ายคลายถอน แล้วปล่อยวางให้หมดทุกสิ่ง จิตอาจบรรลุธรรม และหลุดพ้นได้

           ในอดีตเคยมีพระอรหันต์ ได้สำเร็จมาแล้วหลายองค์ ด้วยวิธีการอย่างนี้.

 

     
 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน