ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
09 ธ.ค.2004, 2:47 am |
  |
ผมเปิดดูข้อความย้อนหลังใน"ห้องแชท"หลังเที่ยงคืนว่าเขามีการสนทนาอะไรกันบ้าง ?
ปรากฏว่ามีประเด็นเรื่องของ "ความคิด" เช่นสงสัยว่าเจตสิกตัวไหนคิดเป็นต้น และเรื่องความคิดว่าคิดอย่างไร เขาไปค้นหากันในเรื่องจิต เรื่องเจตสิกซึ่งเป็นเรื่องอภิธรรม
ทั้งที่เรื่องความคิดเป็นเรื่องธรรมดาๆ คือให้ตัดความคิดเรื่องจิตหรือเจตสิกออกไป แล้วมาคิดง่ายๆว่าความคิดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
โดยเหลือแต่รูปกับนามก็พอ โดยแยกขันธ์ห้าออกมาให้เห็นหน้าที่ของ
เวทนา (การเสวยหรือเสพอารมณ์สุขทุกข์หรือเฉยๆ)
สัญญา (ความจำได้หมายรู้)
สังขาร (การปรุงแต่งทางอารมณ์หรือปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว)
วิญญาณ (การรับรู้ และเอาความรู้นี่ไปตัดสินใจ ที่เรียกว่าธรรมมีใจเป็นหัวหน้าพาไปขึ้นสวรรค์หรือนรก ก็ที่วิญญาณนี่แหละ)
ที่ว่านามรูปเกิดดับ ไม่ต้องไปดูเรื่องอภิธรรมหรอก เพราะนามนี่มีการเกิดดับ เราดูแบบง่ายๆว่านามเกิดอย่างไร อย่างอารมณ์ทางกาม ลองดูนะ
เมื่อผู้ชายคนหนึ่งเห็นผู้หญิงสวย ตาของเขากระทบกับรูปผู้หญิง มันผ่านทางอายตนะ คือเครื่องต่อ เข้าไปกระทบที่จักขุวิญญาณ
วิญญาณ(ที่จักขุต่อเข้าไปให้รู้) ก็เกิดรู้ในรูปนั้นเข้า เห็นมั้ยวิญญาณเกิดแล้ว
เมื่อวิญญาณเกิดรู้ก็ดับไป แต่สังขารเอาสิ่งที่วิญญาณรู้ไปปรุงแต่ง เห็นมั้ยสังขารเกิดขึ้นแล้วในขณะวิญญาณดับ
สังขารปรุงแต่งว่าสวย รูปที่กระทบเข้ามาทางอายตนะมาที่วิญญาณ วิญญาณไม่เห็นว่ามันสวย มันทำหน้าที่รับรู้ข้อมูลว่ารูปมีลักษณะอย่างนั้นเท่านั้น มันจะเห็นว่าสวยหรือนึกชอบก็ไม่เป็น มันเป็นแค่รู้แล้วดับไป
แต่สังขารซีมันปรุงแต่งและจินตนาการว่าสวย มันก็ปรุงแต่งไปตามความโง่ของมัน ที่มันจะรู้สึกต่อสิ่งนั้นในลักษณะนั้น เช่นผู้ชายเห็นผู้หญิงว่าสวยก็ปรุงแต่งอารมณ์ไปตามสัญญาที่มันจำได้หมายรู้
ตรงนี้ขอให้ดูว่านามนั้นมันทำงานแต่ละหน้าที่อย่างสัมพันธ์กัน ตัวหนึ่งเกิดตัวหนึ่งก็ดับ นี่แหละคือการเกิดดับของนามที่สติและสัมปชัญญะจะฝึกตามเฝ้าดู
เมื่อสังขารปรุงแต่งว่าผู้หญิงสวยแล้วด้วยความโง่ของมัน มันก็ปรุงแต่งไปอย่างนั้นแล้วดับไป แต่เวทนาซีมันเกิดขึ้นต่อจากสังขาร เมื่อมันเกิดขึ้นมันจึงเสวยอารมณ์เสพอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ เพราะเวทนานี่มันมีหน้าที่อย่างเดียว อยากแต่เสวยหรือเสพอารมณ์นั้นเพื่อจะมีสุขหรือทุกข์
การที่นามทั้งหลายเกิดดับทำหน้าที่กันอย่างนี้ไปเรื่อยๆ มันสะสมความรู้ความเข้าใจให้แก่วิญญาณ แต่ว่าผู้ที่เอาไปจำไว้คือสัญญา วิญญาณเหมือนตัววิเคราะห์ข้อมูล ไปเก็บไว้ในสัญญา มันจึงมีลักษณะเกิดดับสลับกันไป
เมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้ว วิญญาณเห็นความจริงของสัจจ์ มันจะประมวลความรู้ตามความเป็นจริง ส่วนสิ่งที่เป็นความหลอกลวงอยู่ เมื่อความจริงปรากฏความหลอกลวงนี่ก็ดับไป วิญญาณดับ สังขารก็ดับตาม มันรู้ความจริงแล้วมันก็ไม่ปรุงแต่งอีก เวทนาที่จะเสวยอารมณ์ทางกามเป็นต้น เมื่อวิญญาณรู้ความจริงแล้ว คลายกำหนัด เวทนาก็ดับ
นามที่ทำหน้าที่อย่างโง่เขลาได้ดับไป เมื่อนามดับแล้ว ไม่มีการเกิดเช่นนี้ ภพชาติมันก็สิ้นสุด พรหมจรรย์จบแล้ว กิจที่ต้องทำไม่มีแล้วก็แค่นั้น
การรับรู้ ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ และมีอวิชชาอยู่ทำให้ขันธ์ 5 เกิดดับ
วิปัสสนาก็ดูตรงนี้ เมื่อสติสัมปชัญญะเกิดพร้อมกัน สติก็เจริญขึ้น ให้รู้ทันอารมณ์เหล่านี้
การเจริญสติก็เพื่อให้ตัวรู้อยู่ที่วิญญาณอย่างเดียว และสติรู้ทันสังขาร คือดูสังขารว่ากำลังดูอยู่ สังขารมันก็หมดแรงในการปรุงแต่ง เพราะสติสัมปชัญญะแย่งพลังงานไปทำหน้าที่ของสติให้เกิดขึ้น สังขารนั้นเลยไม่มีพลังงานที่จะทำหน้าที่ พูดง่ายๆก็คือจิตไม่มีแรงจะไปปรุงแต่งอารมณ์ในขณะกำลังเจริญสติ
สังขารมันหมดแรงหมดกำลังของมันเอง เราไม่ต้องไปห้ามไปควบคุมหรือบังคับมันเลย เราเอากำลังของมันมาเจริญสติ บรรดานามทั้งหลายก็หมดกำลังที่จะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ เมื่อมันอ่อนแอเป็นเวลานาน วิญญาณก็มีความรู้เช่นเห็นชาติของนาม มันประมวลความรู้ใหม่ตามญาณที่เห็น
ธรรมซึ่งมีใจเป็นหัวหน้าก็เอาความรู้นี่เป็นตัวตัดสินใจว่าจะเดินไปทางไหน จะไปสวรรค์หรือนิพพาน
ความคิดที่พูดกันในห้องแชท ก็คือตัวสังขาร และอย่าไปศึกษาอภิธรรมเลย ยังไม่จำเป็น เพราะการค้นหาสิ่งต่างๆนั้นยังไม่ถึงต้องใช้ความรู้ในอภิธรรม
|
|
|
|
|
 |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
09 ธ.ค.2004, 4:46 pm |
  |
|
    |
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
09 ธ.ค.2004, 9:28 pm |
  |
ขอสาธุครับคุณโอ่
"สิ่งทั้งหลายเกิด ดับ ไม่มีความเป็นตัวตนเป็นตน การรักษาจิตให้เป็นปัจจุบันธรรมเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้มาก"
 |
|
|
|
    |
 |
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 ธ.ค.2004, 12:15 pm |
  |
ลองไปศึกษาเจตสิกที่ชื่อว่า " วิตก" ดูนะครับ...
จะตอบปัญหาในกระทู้ได้ทั้งหมด
ในการทำความรู้จักกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตัวเรา
จะแยกธรรมชาติเป็น 3 ส่วน
1.ส่วนที่เป็นจิต
2.ส่วนที่เป็นสิ่งที่อยู่ในจิต...เรียกว่าเจตสิก
3.ส่วนที่เป็นรูปธรรม...คือส่วนที่ไม่ใช่ข้อ 1 และ 2...และไม่ใช่ นิพพาน
ความคิด...คือส่วนที่อยู่ในข้อ 2 ....ลองไปเปิดดูรายละเอียดนะครับ
การที่บอกว่า ความคิด คือ สังขาร ...ก็นับได้ว่า..ใช่
แต่ความหมายมันกว้าง.....ยังตอบคำถามไม่ชัดเจน
เพราะสังขารมีถึง 50 อย่าง....
ขอเรียนให้ทราบว่า...สิ่งที่อยู่ในจิตใจ....มันรวมๆกันอยู่
เหมือนน้ำทะเล...มีทั้งเกลือและแร่ธาตุต่างๆมากมาย
อย่าคิดว่าเป็นเรื่องง่าย..ที่จะรู้จักจิตตัวเอง
อย่าคิดว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะ...รู้จักสิ่งที่อยู่ในจิต
ยกตัวอย่าง...เช่น
ยกว่า..น้ำทะเลเค็มเพราะมีเกลือ...ก็ใช่
ยกว่า...น้ำทะเลสีคราม...ก็ใช่
ยกว่าน้ำทะเล.....มีแร่ธาตุต่างๆ....ก็ใช่
ยกว่าทะเล....บ้า....ก็ใช่
ยกว่า....ทะเลสงบ...ก็ใช่
ยกว่า...ทะเลแสนงาม...ก็ใช่
...ฯลฯ.........
แต่ที่จะรู้ว่าน้ำทะเลมีเรื่องราวอะไรบ้าง....?
ถ้าจะตอบให้หมด..ไม่มีเหลือ...
เกิดแล้วตายอีกหมื่นชาติ...ก็ตอบไม่หมด....ยังมีเหลือคำตอบ
เรื่องในจิตก็เช่นกัน....พระพุทธเจ้าแสดงหมด...ไม่มีเหลือ
อยากรู้เรื่องอะไรต้อง...ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า
กำลังพูดกันเรื่องที่...พระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้
คนที่ไม่ศึกษาอย่างละเอียด...แล้วสรุปว่าไม่จำเป็นต้องศึกษาอภิธรรม...
ดูๆแล้ว....เป็นข้อสรุปที่ไม่รอบคอบเท่านั้นเอง
ไม่ควรมองข้ามการศึกษาอภิธรรม...
อภิธรรม...ควรศึกษาอย่างยิ่งครับ |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 ธ.ค.2004, 5:35 pm |
  |
สังขารที่กล่าวถึงนั้น โดยนัยยะ หมายถึงจิตตสังขาร คือสภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่เจตนาที่ทำให้เกิดมโนกรรม แต่ถือว่าให้ละเป็นที่เข้าใจครับ |
|
|
|
|
 |
|