Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมะจากสัตว์ (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 17 ธ.ค.2006, 8:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ธรรมะจากสัตว์
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก


อาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรโณ มาปรึกษาผมว่าจะมีโครงการปล่อยโคกระบือถวายเป็นพระราชกุศล แต่ติดตรงที่ว่า จะหาตัวอย่างการการทำบุญปล่อยโคกระบือว่ามีอานิสงส์อย่างไร ในคัมภีร์พระไตรปิฎก มีบ้างไหม

ผมนึกตั้งนาน นึกไม่ออก (แก่แล้วความจำเสื่อม) เคยได้อ่านแต่นิทานที่เล่าสืบกันมา เรื่องเณรปล่อยปลา แล้วเณรก็ไม่ตายภายในเจ็ดวันตามอาจารย์ทำนาย แต่ในตำราจริงๆ นึกไม่ออก อาจารย์ก็ว่า เอาอันนั้นก็ได้ เอาก็เอา ผมบอก (เพราะนึกได้แค่นั้น) ที่จริงไม่ต้องหาหลักฐานอ้างอิง การปล่อยสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่าได้บุญกุศลแน่นอน

สมัยเป็นเด็ก ผมชอบฟังนิทานมาก ตาของผมเป็นนักเล่านิทานชั้นยอด ว่างๆ ตาจะเล่านิทานให้ฟัง หลายเรื่องผมมาทราบภายหลังว่า มาจากนิทานอีสปบ้าง จากนิทานชาดกบ้าง จากนิทานพื้นบ้านที่เล่าขานต่อๆ กันมาบ้าง

พอไปบวชเณรศึกษานักธรรมบาลีก็ได้แปล "ธรรมบท" ซึ่งท่านแต่งเป็นนิทานแทรกธรรมะ ก็ยิ่งสนุก ได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มากมาย ลาสิกขา (สึก) ออกมาแล้ว มา "หากิน" กับการเขียนหนังสือให้คนอ่าน นิทานต่างๆ เหล่านี้กลายเป็นวัตถุดิบให้นำไปขายกินอีกด้วย ขายเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักหมด

ชีวิตของคนสมัยพุทธกาลอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์ โดยเฉพาะพระสงฆ์อยู่ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร มากกว่าจะอยู่ในเมืองที่มากไปด้วยผู้คน พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกจึงทรงคุ้นกับสัตว์ต่างๆ เป็นอย่างดี

บ่อยครั้งที่ทรงยกเอาสัตว์ต่างๆ มาเป็น "สื่อ" สอนธรรม โดยให้ "เอาเยี่ยง" สัตว์ดังกล่าวมาปรับเข้ากับการฝึกปฏิบัติตนในพระศาสนา

สัตว์เหล่านี้ที่พระองค์ทรงยกขึ้นมาแสดงธรรม ทำให้ผู้ฟังได้ตรัสรู้ธรรมมานักต่อนักแล้ว จะเรียกว่า ตรัสรู้เพราะสัตว์ช่วยก็ย่อมได้

อย่างเช่นครั้งหนึ่ง พระองค์เสด็จดำเนินผ่านสถานที่แห่งหนึ่ง ทอดพระเนตรเห็นสุนัขตัวหนึ่งกำลังเอาเท้าเขี่ยเต่าพลิกไปพลิกมา หวังจะกินเต่า แต่เต่าก็หดหัวเข้าในกระดองนิ่งเงียบอยู่ มิไยสุนัขตัวนั้นจะพยายามอย่างไร เต่าก็ไม่หลงกลโผล่หัวออกมา จนกระทั่งสุนัขมันอ่อนใจ เดินหนีไป

พระพุทธองค์ทรงชี้ให้พระสาวกทั้งหลายที่ตามเสด็จดู ตรัสว่า "พวกเธอเห็นไหม สุนัขมันพยายามจะกินเต่า แต่เต่ามันระมัดระวังตัว หดหัวอยู่ในกระดองมันจึงรอดพ้นจากอันตรายได้"

ถ้าสาวกของเรา รู้จักสำรวมอินทรีย์ (หมายถึงระมัดระวังการแสดงออกทางประสาทสัมผัส) คือเวลาตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส ใจเกิดความคิดคำนึง ก็มีสติระมัดระวัง เห็นก็สักแต่เห็น ได้ยินก็สักแต่ได้ยิน… ไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย ตกเป็นทาสแห่งกิเลสตัณหาชักพาไปในทางเสียหาย ก็จะปลอดภัยดุจเต่าหดในกระดอง

คำพังเพยไทยว่า "หดหัวในกระดอง" เป็นคำค่อนขอดคนขี้ขลาด เป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่ในทางพระพุทธศาสนา การ "หดหัวในกระดอง" กลับมีความหมายในแง่บวก คือหมายถึงการสำรวมระวังการแสดงออกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ตกเป็นทาสของรูป เสียง กลิ่น สัมผัส และความคิดคำนึง

พระสาวกที่ตามเสด็จได้ฟังพระพุทธโอวาท ต่างก็พากัน "หดหัวในกระดอง" กันทุกรูป และได้บรรลุธรรมกันในที่สุด

คราวหนึ่งเสด็จผ่านไปยังลำธารแห่งหนึ่ง ทอดพระเนตรเห็นนายโคบาล (เด็กเลี้ยงโค) กำลังต้อนโคข้ามน้ำซึ่งกระแสเชี่ยวกราก โคทั้งฝูงต่างก็ว่ายข้ามมา มีโคจ่าฝูงว่ายนำทางจนข้ามถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี

พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เหล่าสาวกดูฝูงโค แล้วตรัสพุทธภาษิตเป็นคาถาประพันธ์หรือเป็น "โศลก" ไพเราะมากดังนี้

เมื่อฝูงโคข้ามฟาก หากโคจ่าฝูงนำไปคด โคทั้งหลายก็เดินคดตาม หากโคจ่าฝูงนำไปตรง โคทั้งหลายก็จะเดินตรงตามฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ใครที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ เป็นผู้นำ ถ้าคนนั้นไม่ประพฤติธรรม คนทั้งปวงก็จะธรรม รัฐก็เดือดร้อน ถ้าผู้นำประพฤติธรรม คนทั้งปวงก็จะทำตาม รัฐก็มีแต่ความสมบูรณ์พูนสุข

ปราชญ์ยุคหลังๆ เช่น ขงจื้อก็มีความคิดเช่นเดียวกับพระพุทธองค์ เมื่อมีผู้ถามว่าทำอย่างไรจึงจะปกครองประเทศชาติให้มีความสงบสุข ขงจื้อกล่าวว่า ผู้ปกครองประเทศควรมีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตแล้วประเทศชาติก็จะสงบสุขไปเอง

โคคงมีมากให้อินเดียสมัยพุทธกาล ไปไหนมาไหนก็จะพบโคและเด็กเลี้ยงโค พระพุทธองค์จึงมักทรงยกเอามาเป็น "สื่อสอนธรรม" บ่อย เช่นเปรียบฝูงโคที่ถูกนายโคบาลไล่ต้อนไปสู่ที่หากินถึงเวลาค่ำก็ต้อนกลับเข้าคอก กับชีวิตคนเราเกิดมาแล้วก็ถูกความแก่และความตายไล่ต้อนไปทุกนาที ในที่สุดก็จะ "เข้าคอก" คือตายไป ชีวิตนี้ช่างสั้นเหลือเกิน

ทอดพระเนตรเห็นเด็กเลี้ยงโค ที่รับจ้างเลี้ยงโคให้คนอื่น รับแต่เงินค่าจ้างไปวันๆ ไม่มีโอกาสได้ดื่มกิน "ปัญจโครส" (รสน้ำโค 5 อย่างคือ นมสด นมส้ม นมใส นมข้น และเปรียง) ก็ตรัสสอนเหล่าสาวกว่า ภิกษุที่บวชมาในพระศาสนาของพระองค์บางรูป ได้แต่ท่องบ่นสาธยายพุทธวจนะ ถึงจะท่องได้เป็นคัมภีร์ๆ แต่ไม่เคยนำไปปฏิบัติเลย ก็ไม่มีโอกาสได้ "ลิ้มรส" แห่งการบวชที่แท้จริงไม่ต่างอะไรกับเด็กเลี้ยงโคให้เขาไม่มีโอกาสได้ดื่มกินปัญจโครสฉะนั้น


พระองค์ตรัสสอนต่อไปว่า พระภิกษุที่ดีควร "เอาเยี่ยง" เด็กเลี้ยงโคที่ดี ซึ่งมีคุณลักษณะ 11 ประการคือ

1. เด็กเลี้ยงโคที่ดี ย่อมรู้จักรูปพรรณของโค เป็นภิกษุก็ต้องรู้จักพิจารณาร่างกายและอันประกอบด้วยธาตุสี่ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) และคุณสมบัติของธาตุสี่อย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง

2. เด็กเลี้ยงโคที่ดี ต้องรู้จักลักษณะโค เป็นภิกษุก็ต้องรู้ลักษณะคนพาลและบัณฑิต รู้จักเลือกคบคนดีและหลีกหนีคนชั่ว

3. เด็กเลี้ยงโคที่ดี ต้องรู้จักเขี่ยไข่ขาง (ขี้แมลงวันที่แผลโค) เป็นภิกษุก็ต้องรู้จักกำจัดความคิดฝ่ายอกุศล คือพยายามอย่าคิดชั่ว

4. เด็กเลี้ยงโคที่ดี ต้องรู้จักเปิดแผลโค เป็นภิกษุก็ต้องรู้จักสำรวจการแสดงออกทางตา หู เป็นต้น

5. เด็กเลี้ยงโคที่ดี ต้องรู้จักสุมควันไล่แมลงให้โค เป็นภิกษุก็ต้องรู้จักแสดงธรรมไล่ความโง่ออกจากใจคนทั่วไปให้ได้

6. เด็กเลี้ยงโคที่ดี ต้องรู้จักท่าสำหรับให้โคลงอาบน้ำ เป็นภิกษุก็ต้องรู้จักเข้าหาผู้มีความรู้เพื่อปรึกษาหารือการปฏิบัติธรรม

7. เด็กเลี้ยงโคที่ดี ต้องรู้จักให้โคดื่มน้ำที่ดื่มได้ เป็นภิกษุก็ต้องรู้จักดื่มด่ำในพุทธธรรม

8. เด็กเลี้ยงโคที่ดี ต้องรู้จักทางที่ควรต้อนโคไปหรือไม่ควรต้อนไป เป็นภิกษุก็ต้องรู้จักทางปฏิบัติที่ถูกต้องคือ อริยมรรคมีองค์แปด

9. เด็กเลี้ยงโคที่ดี ต้องรู้จักทำเลหากินของโค เป็นภิกษุก็ต้องรู้จักปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานสี่

10. เด็กเลี้ยงโคที่ดี ต้องรู้จักรีดนมโค ไม่ควรรีดหมดจนลูกโคไม่มีดื่ม เป็นภิกษุก็ต้องรู้จักประมาณในการรับปัจจัยสี่

11. เด็กเลี้ยงโคที่ดี ต้องรู้จักทะนุถนอมโคจ่าฝูง เป็นภิกษุก็ต้องรู้จักเคารพนับถือพระภิกษุเป็นเถระเป็นสังฆบิดร


ยังมีอีกเยอะครับ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สัตว์ต่างๆ เป็น "สื่อสอนธรรม" ที่ยกมาข้างต้นนี้ ถึงจะทรงสอนพระโดยตรงก็จริง แต่ชาวบ้านก็สามารถนำเอาคำสอนนี้ไปประยุกต์ใช้ได้

เพียงข้อเดียวคือ "รู้จักเขี่ยไข่ขาง" (คือกำจัดความคิดชั่วร้ายออกจากใจตัวเอง) แค่นี้ก็มีประโยชน์เหลือหลายแล้วครับ วันๆ มีแต่เรื่องทำให้จิตใจหงุดหงิด ออกจากบ้านไปทำงานกว่าจะถึงที่ทำงานก็เกือบเที่ยง จราจรจลาจลจนปวดหัว ปวดใจ หงุดหงิดจนได้

ไม่มีทางใดจะดีเท่ากับหันมา "เขี่ยไขขาง" จากใจเราเองดอกครับ เขี่ยออกแล้วสบายใจดี



............................................................

คัดลอกมาจาก
หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10508
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 27 ธ.ค.2006, 11:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุค่ะ...คุณ TU

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะคะ

สาธุ ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง