ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
บ้านธัมมะ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 พ.ย.2004, 10:46 am |
  |
ตราบใดที่ยังมีสังสารวัฎฎ์ก็ไม่พ้นกรรม ตั้งแต่ขณะเกิด
เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีกรรมก็ไม่ต้องเกิด และ
ที่แต่ละคนเกิดมาต่างกัน เพราะกรรมต่างกัน
กรรมนั้นมีทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรม
อกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว สามารถให้ผลได้เมื่อยังมีสังสารวัฎฎ์
เมื่อกลัวผลของอกุศลกรรม
ก็ควรเจริญกุศลกรรมให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้
โดยเฉพาะกุศลกรรมที่จะทำให้พ้นจากสังสารวัฎฎ์
เพราะเมื่อยังเป็นกุศลกรรมที่ทำแล้ว ก็ไม่พ้นจากสังสารวัฎฎ์
ทุกคนย่อมจะมีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ทุกภพทุกชาติ เช่นในปัจจุบันชาตินี้
อ่านคำถาม-ตอบอื่นได้จาก
คลิกที่นี่...http://www.dhammahome.com
บ้านธัมมะ info@dhammahome.com
|
|
|
|
|
 |
TU
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589
|
ตอบเมื่อ:
19 พ.ย.2004, 2:28 pm |
  |
ขออนุโมทนาบุญกับทีมงานบ้านธัมมะ นะค่ะ
|
|
|
|
    |
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 พ.ย.2004, 2:50 pm |
  |
เอาเป็นว่าคำถามเรื่องการแก้กรรม คำว่ากรรมขอนิยามว่าเป็นผลกรรมชั่วเพื่อจะได้อธิบายได้ตรงประเด็น
แล้วถามว่าผลกรรมชั่วสามารถทำบุญ(ในที่นี่ถวายสังฆทาน)แก้กรรมได้หรือไม่
ตอบแบบกำปั้นทุบดิน คือ แก้ไม่ได้
แต่คำว่า "การแก้กรรม"นั้นจะต้องนิยามให้ชัดเหมือนกัน
เรื่องนี้สำคัญพอสมควรผมจะนิยามคำว่าแก้กรรมเสียใหม่ดังนี้
การแก้กรรม หมายถึงบุคคลได้รับกรรมชั่วที่ตนเองเคยได้เคยทำปานาติบาตไว้ กรรมชั่วนั้นอาจทำให้ถึงตายหรือเจ็บหนัก ถ้าบุคคลนั้นได้ทำบุญถวายสังฆทานต่อเนื่องรวมทั้งทำบุญอื่นๆตามหลักบุญกิริวัตถุสิบ(ของเพิ่มเติมนอกเหนือสังฆทานนิดหนึ่งนะครับ)
การได้ทำบุญเช่นนี้ทำให้การเจ็บหนักนั้นเบาลง และอาจทำให้การจะเสียชีวิตเหลือแค่การเจ็บหนักได้ ทั้งนี้วิบากได้ทำหน้าที่สนองต่อบุคคลนั้นอย่างสมบูรณ์ ไม่ได้ลดโทษไม่ได้ลดเวรแต่อย่างใด แต่ด้วยอำนาจแห่งบุญนั้นทำขันธ์ห้ามีความทนทานต่อผลแห่งวิบากที่มาถึง สิ่งที่ได้มาจากการปฏิบัติเช่นนี้คนจึงเรียกว่าการแก้กรรม แต่เมื่อกรรมได้สนองไปหมดแล้ว ไม่สามารถเอาชีวิตคนผู้นั้นได้ ก็ไม่มีอะไรจะสนองอีก เพราะกรรมเมื่อสนองหมดแล้วก็ได้อโหสิกรรมไปแล้ว
ดังนั้นในการภาวนา ทำสมาธิ จึงมีบางคนมีอาการต่างๆเช่น เจ็บและร้อน มีสิ่งเคลื่อนไหวในร่างกาย มีการมองเห็นรูปของสัตว์อื่นที่มาทำร้ายร่างกาย และเรื่องเหล่านี้เป็นธรรมดา เป็นประสบการณ์ที่เกิดกับคนเป็นพันๆที่ปฏิบัติสมาธิ เป็นที่รู้กันในหมู่นักปฏิบัติ |
|
|
|
|
 |
|