ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065
|
ตอบเมื่อ:
14 พ.ย.2006, 8:44 pm |
  |
บุคคลหาได้ยาก
มวลมนุษย์มีมากมาย ต่างจิตใจ ต่างอัธยาศัย แต่บุคคลที่ดีพร้อมซึ่งหาได้ยากในโลกนี้ มีเพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ
1. บุพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
2. กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วทำตอบแทน
บุคคลผู้พร้อมด้วยคุณสมบัติทั้งสองประเภทนี้หาได้ยาก คือฝ่ายหนึ่งทำอุปการะก่อน แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้วแต่ไม่ตอบแทน ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติต่อกันไม่สม่ำเสมอ เพราะคนเรานั้นถูกอวิชชาและตัณหาครอบงำจึงมุ่งแต่ประโยชน์ตนฝ่ายเดียว เมื่อตนได้รับความสุขแล้ว ไม่คิดแลเหลียวผู้อื่น จึงเป็นการยากที่จะเป็นบุพการี ส่วนผู้ที่ได้รับอุปการะจากผู้อื่นแล้วนั้นโดยมาก มักรู้จักแต่คุณ ไม่รู้จักตอบแทน จึงเป็นการยากเช่นกันที่จะทำตนให้เป็นผู้กตัญญูกตเวทีต่อบุพพการีได้
บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน หมายถึงบุคคลผู้มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีจิตประกอบด้วยความรัก ความปรารถนาดี มุ่งกระทำอุปการคุณ หวังความสุขความเจริญต่อผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทนในภายหลัง จำแนกเป็น 4 ประเภท คือ 1. มารดาบิดา 2. ครูอาจารย์ 3. พระมหากษัตริย์ 4. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มารดาบิดา เป็นบุพการีของบุตรธิดา ท่านเป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตของบุตรธิดา บำรุงเลี้ยงดูให้ได้รับความสุข คอยห้ามปรามไม่ให้กระทำความชั่ว แนะนำพร่ำสอนให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ศึกษาวิชาความรู้ตามสมควรแก่ฐานะ จัดหาคู่ครองที่ดีให้ และมอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันเหมาะสม นับว่ามีพระคุณอย่างใหญ่หลวง
ครูอาจารย์ เป็นบุพการีของศิษย์ เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์ศิษย์ด้วยการแนะนำสั่งสอนต่อจากพ่อแม่ ให้ศิษย์รู้ว่าสิ่งใดดี มีประโยชน์ สิ่งใดไม่ดี ไม่มีประโยชน์ มีโทษ ควรหรือไม่ควรประพฤติ
พระมหากษัตริย์ เป็นบุพการีของพสกนิกร เพราะทรงเป็นผู้ประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรม วางพระองค์เหมาะสม ทรงอดทนต่อกิเลสและทุกข์นานาประการ ไม่ทรงกริ้วโกรธโดยไร้เหตุผล ไม่ทรงเบียดเบียนให้ได้รับความเดือดร้อน ไม่ทรงประพฤติผิดทำนองคลองธรรม ทรงปกครองพสกนิกรโดยไม่ลำเอียง และทรงมุ่งประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นบุพการีของพุทธบริษัท เพราะทรงมีพระกรุณาคุณแก่พุทธบริษัทอย่างใหญ่หลวง เมื่อตรัสรู้แล้วทรงเมตตาแสดงธรรมสั่งสอนสรรพสัตว์ให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยพระโอวาทอันเป็นหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ทรงสอนให้ละชั่วทุกอย่าง บำเพ็ญความดีทุกประการ และทำจิตของตนให้ผ่องแผ้วจากกิเลสทั้งปวง
>>>>> มีต่อ |
|
|
|
    |
 |
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065
|
ตอบเมื่อ:
14 พ.ย.2006, 8:48 pm |
  |
กตัญญูกตเวที คือผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วทำตอบแทนท่าน บุคคลที่รู้จักบุญคุณของผู้อื่นที่ทำแล้วแก่ตน โดยรู้คุณค่าแห่งการทำความดีของผู้อื่นและกระทำตอบแทน แสดงออกด้วยวิธีสุจริตธรรมเป็นการบูชาคุณความดีของท่าน แล้วมุ่งทำตอบแทนในภายหลัง เป็นการประกาศเปิดเผยคุณของบุพการีให้ผู้อื่นรู้ เปรียบเหมือนบุคคลที่เป็นหนี้ท่านอยู่ ไม่ลืมบุญคุณของท่าน ตั้งใจขวนขวายใช้หนี้ท่าน
บุคคลเช่นนี้ชื่อว่า กตัญญูกตเวที จำแนกเป็นบุคคล 4 ประเภท เพื่อให้ตรงกับบุพการี 4 ประเภท จัดเป็น 4 คู่ คือ 1. บุตรธิดา คู่กับ มารดาบิดา 2. ศิษย์ คู่กับ ครูอาจารย์ 3. พสกนิกร คู่กับ พระมหากษัตริย์ 4. พุทธบริษัท คู่กับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีหลักการแสดงความกตัญญูกตเวที ดังนี้
"บุตร-ธิดา" พึงแสดงกตัญญูกตเวทีต่อมารดาบิดา โดยสำนึกว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณและยอมรับด้วยว่าอุปการคุณที่ทำแก่ตนนั้นเป็นความดีจริงแล้วสนองตอบพระคุณท่านด้วยการเลี้ยงดูปรนนิบัติ เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน
"ศิษย์" พึงแสดงกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ โดยสำนึกว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณแก่ตนและยอมรับด้วยใจว่าการอบรมของท่านนั้นเป็นความดีจริงแล้วสนองตอบพระคุณท่านด้วยการแสดงความเคารพ ปรนนิบัติรับใช้ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นท่าน
"พสกนิกร" พึงแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์ โดยสำนึกว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีพระคุณแก่ตนจริง แล้วรับด้วยใจว่าการที่พระองค์ทรงดูแลทุกข์สุขปกป้องผองภัยต่างๆ แก่ตนนั้นเป็นความดีจริงแล้วสนองตอบพระคุณของพระองค์ด้วยการแสดงความจงรักภักดี หรือการประพฤติตนเป็นพลเมืองดี รู้รักสามัคคี เป็นต้น
"พุทธบริษัท" พึงแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยสำนึกว่าพระพุทธองค์ทรงมีพระกรุณาคุณต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์จริง และยอมรับด้วยใจว่าการที่พระองค์ทรงสั่งสอนหลักธรรมที่ตรัสรู้นั้นเป็นความดีอันยิ่งใหญ่ แล้วสนองตอบพระคุณด้วยการน้อมนำหลักพุทธธรรมไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ผู้มีปัญญาควรทำอุปการะแก่ผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็ระลึกถึงอุปการะของท่าน และทำตอบแทนสนองคุณท่านตามหน้าที่ดังกล่าวมา จัดว่าเป็นคนดีที่หาได้ยากในพระพุทธศาสนา
อานิสงส์ของความกตัญญูกตเวทีมีหลายประการ คือจัดว่าเป็นคนดีเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของนักปราชญ์ เป็นเหตุให้ได้มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ มุ่งไปสู่มหากุศลตามลำดับ เป็นผู้ไม่ประมาท มีแก่นธรรมประจำใจ ได้รับประโยชน์ทั้งรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ ชื่อว่าเจริญรอยตามนักปราชญ์ มีที่พึ่งอันประเสริฐ เลิศด้วยคุณธรรมคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
.....................................................
คัดลอกมาจาก ::
หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 31
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด |
|
|
|
    |
 |
I am
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ย.2006, 9:48 am |
  |
สาธุ.... โมทนาด้วยครับ |
|
|
|
     |
 |
dharma_sawasdee
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 23
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
17 พ.ย.2006, 3:44 pm |
  |
อนุโมทนาสาธุๆๆ อย่างยิ่งครับ
 |
|
_________________ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สรณัง คัจฉามิ |
|
  |
 |
|