Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 “มรณานุสสติ” (พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2006, 10:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

“มรณานุสสติ”
สมาธิการเตรียมตัวตายก่อนตาย
โดย พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ



หลักการ

วาระสุดท้ายของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ทุกชั้นวรรณะ ทุกระดับชั้น ทุกตำแหน่งหน้าที่การงาน ต่างตกอยู่ภายใต้กฏแห่งกรรมที่เหมือนกัน คือ การสิ้นสลายของรูปร่างกาย หรือ “การตาย” นั่นเอง มนุษย์แทบทุกคนจะกลัวตาย และไม่มีใครอยากตาย

ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วย ได้มีโอกาสศึกษาถึงเรื่อง กิเลส และการตายบ้าง จะรู้ว่า กิเลสและการตายยังผูกโยงไปถึงการเกิดใหม่อีกด้วย เนื่องจากถ้าเราเสียชีวิตลง แต่ยังมีกิเลสเหลืออยู่ กิเลสเหล่านั้นคือเชื้อหรือสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดใหม่ตามกระแสของบุญหรือบาปที่แต่ละบุคคลได้เคยทำไว้ ดังนั้น การตายสำหรับบางคน จึงเป็นเพียงการถอดเสื้อผ้าชุดเก่าที่ขาด เปื่อยยุ่ย ไม่สามารถปะชุนได้อีก ด้วยความชราภาพ หรือถูกโรคร้ายกัดกินทำลาย แล้วหาเสื้อผ้าชุดใหม่ หรือร่างใหม่ ดำเนินชีวิตต่อไปตามกระแสของกรรม

การพิจารณาความตาย การมีสติรู้เท่าทันความตาย เป็นอุบายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญ ไว้มากยิ่งนัก หากผู้ฝึก ผู้ป่วยได้ฝึกปฏิบัติทดลองตายก่อนตายจริง จะเป็นการช่วยให้ผู้นั้นไม่กลัวตาย กล้าเผชิญหน้ากับความตายที่มาถึงได้อย่างกล้าหาญ


วิธีปฏิบัติ

ก่อนอื่น ผู้ฝึก ผู้ป่วย ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่าอุบายวิธีนี้เป็นการทดลองฝึก “ตาย” ก่อนตายจริง ไม่ใช่การฆ่าตัวตาย เนื่องจากสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ฝึก คือการตายหลอกที่จะให้ความรู้สึกเหมือนกับการตายจริง

8.1 ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย คลายอารมณ์ปล่อยความรู้สึกนึกและคิดที่เป็นอนาคต อดีต ปัจจุบัน รวมทั้งความดี ความชั่ว ฯลฯ ให้ออกไปพร้อมกับลมหายใจออกเป็นความว่างสักระยะหนึ่ง

8.2 ลำดับต่อมา ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย นึกมาที่ฐานอารมณ์ในโพรงจมูก (ดูรูปหน้า 39) จะเห็นว่าจุดฐานอารมณ์ จะอยู่ประมาณกึ่งกลางในโพรงจมูก หรืออยู่ระหว่างกลางของต่อมไซนัสทั้ง 2 ข้างหรือจุดที่ผู้ฝึกเคยรู้สึกคัดจมูกในเวลาที่เป็นหวัด

8.3 ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย วางหรือจี้ความรู้สึก (จิต) ลงที่ฐานอารมณ์ซึ่งหาไว้ได้แล้ว กำหนดจี้ลงไปที่ฐานเดียว ไม่เคลื่อนความรู้สึก (จิต) แส่ส่ายออกไปที่อื่นๆ พร้อมทั้งกำหนดว่า ตาย ตาย ตาย และสร้างความรู้สึกว่าพร้อมแล้วที่ตาย ไม่เสียหายชีวิตเพราะทุกคนหนี “ความตาย” ไม่พ้น

8.4 หลังจากกำหนด ตาย ตาย ตาย ไปสักระยะหนึ่ง ผู้ฝึกและรู้สึกว่าลมหายใจเข้า-ออก ได้ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนรู้

สึกอึดอัด หูอื้อ จมูกจะห่อ ตาถูกบีบเหมือนจะถลนออกมา รู้สึกชา และเจ็บปวดไปทั่วร่างกาย ผู้ฝึกจะรู้สึกกลัวตาย ครองสติให้มั่นคง และยอมตาย ลมหายใจจะค่อยๆ อ่อนลงๆ ความดำมืดจะแผ่คลุมไปทั่วไป จนผู้ฝึกหมดความรู้สึกไปในที่สุด เหมือนกับการตายจริง

8.5 สำหรับผู้ฝึก ผู้ป่วย บางท่านที่มีความเจ็บปวดมากเพราะโรคร้ายกำลังลุกลาม ให้ผู้ฝึกให้จุดเจ็บปวดเหล่านั้น เป็นฐานกำหนดมรณานุสสติ แทนฐานอารมณ์ โดยการจี้ความรู้สึก (จิต) ลงไปที่ความเจ็บปวดนั้นๆ และกำหนด ตาย ตาย ตาย ความรู้สึก (จิต) ตั้งมั่นอยู่ที่ฐานเดียว ไม่หนีไปที่อื่นๆ ความเจ็บปวดทรมานจะเพิ่มมากขึ้นๆ จนรู้สึกหูอื้อ ตาลาย หายใจอึดอัด ฯลฯ ความดำมืดแผ่ซ่านเข้าไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย ให้ยอมตาย อย่าแอบสืบลมหายใจเข้า จนกระทั่งความรู้สึกจะดับวูบไป

8.6 ผู้ฝึก ผู้ป่วย จะผ่านการดับของเวทนา ซึ่งไม่ใช่การตายที่เกิดเพราะหมดลมหายใจ คือไม่มีก๊าซออกซิเจนไหลเข้าสู่ร่างกายอีกต่อไป และหัวใจหยุดทำงาน การดับในครั้งแรกๆ ผู้ฝึกจะรู้สึกว่าทรมานมากและแต่ละบุคคลให้เวลาของการดับมากน้อยแตกต่างหัน เมื่อผู้ฝึก ผู้ป่วย เริ่มรู้สึกตัว ฟื้นคืนกลับมา จะรู้สึกเย็น โล่ง สบาย แสงสว่างปรากฏอยู่ทั่วร่างกาย และในขณะนั้น ผู้ฝึก ผู้ป่วยจะยังคงไม่มีลมหายใจ เข้า-ออก เช่นเดียวกับก่อนจะเกิดการดับแต่ไม่ตายหลับมีแต่ความสดชื่น ความเจ็บปวดทรมานหมดสิ้นไป


คุณประโยชน์

1. ผู้ฝึก ผู้ป่วย มีโอกาสได้สัมผัส และเห็นขั้นตอนของการดับซึ่งเหมือนกับการตายได้อย่างละเอียดชัดเจน ในชีวิตประจำวันร่างกายของทุกคนจะมีการเกิดและดับอยู่ ทุกๆ 1 วินาที นับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเร็วมาก จนจิตมนุษย์ทั่วๆ ไปตามไม่ทัน ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วยได้รู้ซึ้งถึงความไม่เที่ยงของร่างกาย ไม่ยึดติดในขันธ์ 5 ได้แก่ รูป คือร่างกาย, เวทนาคือความรู้สึกทุกข์ สุข เฉย, สัญญาคือความจำได้ และวิญญาณคือ ตัวรู้ สภาพรู้ เกิดการปล่อยวาง ผู้นั้นมีโอกาสที่จะเข้าถึงธรรมได้

2. ผู้ฝึกที่มีความเจ็บปวดมาก หรือเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ยาก ถ้าสามารถกำหนด ตาย ตาย ตาย ให้ผ่านจุดดับไปได้ โรคภัยทุกชนิดจะหายหมดไปด้วยเช่นกัน นับได้ว่าเป็นยาขนานเอกเลยทีเดียว

3. ถ้าผู้ฝึก สามารถผ่านจุดดับไปได้ ผู้ฝึกจะไม่กลัว “ความตาย” เพราะสามารถเอาชนะความตายมาได้แล้วด้วยการทดลองตายก่อนตายจริง และเมื่อถึงคราวสิ้นอายุขัย ผู้นั้นจะสามารถเผชิญกับความตายอย่างกล้าหาญและมีสติ จะไม่มีพญามัจจุราชหรือยมทูตมาปรากฏให้เห็น


ข้อเสนอแนะ

ความเจ็บ ความปวด หรือภาวะที่รู้สึกอึดอัดเหมือนหายใจไม่เข้า เป็นการลวงหลอกของขันธ์ 5 ชักจูง ดึงจิตของผู้ฝึกให้ไขว้เขวไม่ตั้งมั่น เช่น จะถูกดึง ชักนำให้เลิกฝึกบ้าง ให้แอบสืบลมหายใจสักนิดเดียว ผู้ฝึกต้องตั้งสติให้มั่นคง สร้างความรู้สึกที่ถูกต้องก่อนว่า ขณะนี้ตนเองยังมีลมหายใจเข้า-ออกเป็นปกติ ไม่ได้เอามืออุดจมูก บีบจมูก หรือใช้วัสดุใดๆ มาปิดจมูกไม่ให้ก๊าซออกซิเจนไหลเข้าสู่ร่างกาย

สิ่งที่ผู้ฝึกได้กระทำคือ เพียงแต่จี้ความรู้สึก (จิต) ลงที่ฐานอารมณ์ ซึ่งเป็นทางผ่านของลมหายใจเข้าและหายใจออกเท่านั้น เมื่อจิตอยู่ในอารมณ์สมาธิ คือ ตั้งมั่น ตั้งใจทำ จะส่งผลให้ลมหายใจเข้า-ออกตามปกติ ค่อยๆ ช้าๆ ลงจนสัมผัสไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ไม่มีลมหายใจเข้า-ออกอีกเลย สิ่งที่หมดไปหรือหยุดไปหรือดับไป คือความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉย ที่อาศัยการเกิดขึ้นหรือปรุงแต่งจากการมีลมหายใจเข้า-ออกต่างหาก


อุปสรรค

1. ความกลัวตาย ที่จะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ตลอดเวลา

2. ถ้ากดหรือจี้ความรู้สึก (จิต) ลงไปที่ฐานอารมณ์ เป็นจังหวะๆๆ จะเป็นการส่งความรู้สึก (จิต) เข้าไปชนที่ฐาน ไม่ใช่การจี้หรือการนิ่งที่ฐาน ซึ่งเป็นการส่งความรู้สึก (จิต) ไปชนที่ฐานเป็นจังหวะๆๆ นั้น จะทำให้เกิดพลังงาน คือแสงสว่างปรากฏขึ้นในโพรงจมูก หรือที่ฐานอารมณ์ หรือกล่าวได้ว่า ผู้ฝึกทำผิดวิธีนี้ จะไม่เห็นการดับ



http://www.geocities.com/healthmeditation/healthmeditation/health.html
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง