Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ไตรสรณคมน์-ไตรสิกขา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ย. 2006, 8:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ไตรสรณคมน์-ไตรสิกขา


สำหรับคำว่า ‘ไตรสรณคมน์’ และ ‘ไตรสิกขา’ นั้น ผู้ที่ไม่ได้เรียนรู้ศึกษาเกี่ยวกับพุทธศาสนา มักจะเข้าใจไขว้เขวกัน ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจได้ถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขอนำคำอธิบายของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ที่บอกไว้ในรายการ ‘ภาษาไทย-ภาษาธรรม’ ซึ่งได้เคยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑ (แต่ปัจจุบันรายการนี้ไม่มีแล้ว) มาบอกเล่าไว้ที่นี่อีกครั้ง


๐ ไตรสรณคมน์

ในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เมื่อชาวพุทธกล่าวคำขอศีลจากพระสงฆ์ ก่อนที่พระสงฆ์จะกล่าวคำให้ศีล ท่านจะกล่าวคำนมัสการคือ ตั้งนโม ๓ จบ แล้วกล่าวนำว่า “พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ” เป็นต้น ให้ผู้ที่ขอศีลว่าตาม การกล่าวขอถึงพระรัตนตรัยนี้เรียกว่า “ไตรสรณคมน์”

ไตรสรณคมน์ มาจากคำ ๓ คำ คือ ‘ไตร’ แปลว่า สาม ‘สรณ’ แปลว่า ที่พึ่ง ‘คมน์’ แปลว่า การถึงแปลรวมกันว่าการถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเป็นที่พึ่ง การที่ชาวพุทธกล่าวคำขอพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งนี้ เพราะพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐด้วยพระคุณ คือ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ เมื่อชาวพุทธกล่าวคำระลึกถึงพระพุทธเจ้าดังนี้แล้ว จะทำให้เกิดศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธคุณ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง การที่ชาวพุทธกล่าวคำขอพระธรรมเป็นที่พึ่ง เพราะพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนประเสริฐด้วยพระคุณ คือ คุ้มครองรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้เป็นคนชั่ว เมื่อชาวพุทธกล่าวคำระลึกถึงพระธรรม จะทำให้เกิดความศรัทธาเชื่อมั่นในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ประเสริฐด้วยคุณความดี เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง เมื่อชาวพุทธกล่าวคำระลึกถึงพระสงฆ์แล้ว จะทำให้เกิดความศรัทธาในความบริสุทธิ์ และการปฏิบัติของพระสงฆ์ ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา

การปฏิญาณขอรับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งนี้ เรียกว่า ไตรสรณคมน์



๐ ไตรสิกขา

ไตรสิกขา มาจากคำว่า ไตร กับ สิกขา ‘ไตร’ แปลว่า สาม ‘สิกขา’ แปลว่า บทเรียน ไตรสิกขาจึงแปลว่า บทเรียน ๓ บท หมายถึง หลักปฏิบัติใหญ่ๆ ๓ ประการ ซึ่งทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่า หากใครปฏิบัติตามได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ผู้นั้นก็จะสามารถดับทุกข์ในชีวิตได้อย่างสิ้นเชิง หลักทั้ง ๓ นั้นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา

หลักปฏิบัติข้อที่ ๑ คือ ศีล หมายถึง การควบคุมความประพฤติทางกายและวาจา งดเว้นการทำร้าย การเบียดเบียนผู้อื่น และเบียดเบียนทำร้ายตนเอง ศีลที่สำคัญของชาวพุทธทั่วไปคือ ศีล ๕

หลักปฏิบัติข้อที่ ๒ คือ สมาธิ หมายถึง การฝึกจิตให้เกิดความนิ่ง สงบเย็น

หลักปฏิบัติข้อที่ ๓ คือ ปัญญา หมายถึง การเกิดความรู้แจ้ง รู้ความจริงของโลก รู้ความจริงของชีวิต

หลักปฏิบัติทั้ง ๓ ข้อนี้จะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน คือ เมื่อปฏิบัติข้อแรกสมบูรณ์ ชีวิตก็จะเป็นสุขสบาย มีความโปร่งใจ โล่งใจ ความโปร่งโล่งเบาสบายนั้นจะเป็นฐานทำให้ฝึกสมาธิได้ง่าย เมื่อจิตนิ่งสงบ ย่อมจะโน้มไปหาความจริงได้ง่าย จิตที่หยั่งเห็นความจริงย่อมตระหนักว่า ไม่มีอะไรควรยึดถือ ปัญญาซึ่งเป็นเครื่องช่วยให้หลุดพ้นจากทุกข์ก็จะเกิดขึ้น

ไตรสิกขา เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่จะช่วยในการดับทุกข์ในชีวิต



......................................................

คัดลอกมาจาก ::
ศัพท์ธรรมคำวัด : ไตรสรณคมน์-ไตรสิกขา
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 มิถุนายน 2549 15:39 น.
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง