Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เงินตรา เหตุวิบัติของสงฆ์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ย. 2006, 8:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เงินตรา เหตุวิบัติของสงฆ์

สังคมไทยยุคนี้กำลังปรับตัวเข้าสู่ความเป็นทุนนิยมเต็มรูปแบบ ตามนโยบายของรัฐบาล ความเจริญก้าวหน้าของประเทศมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมเป็นหลัก การปฏิรูปการศึกษาก็เน้นให้ตอบสนองนโยบายของรัฐ

เมื่อวัตถุนิยมมีความเจริญมากขึ้น คุณธรรมในจิตใจของคนไทยจึงเริ่มตกต่ำลง พฤติกรรมในการมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน จึงปรากฏอยู่ในสังคมทุกระดับ ไม่เว้นแม้แต่วงการสงฆ์ !!

มีพระสงฆ์สักกี่รูปที่มีจุดหมายของการครองสมณเพศ เพื่อทำตนให้บรรลุพระนิพพานตามรอยพระพุทธเจ้า ส่วนใหญ่ดำรงตนให้มีอาชีพพระสงฆ์อยู่เท่านั้น !!

อาชีพพระสงฆ์แตกต่างจากอาชีพอื่น คือ เป็นอาชีพที่ตั้งอยู่บนศรัทธาของประชาชน เป็นอาชีพที่มีรูปลักษณะบังคับไว้ กล่าวคือ ต้องเป็นคนสมถะ ดำรงตนอยู่ภายใต้พระธรรมวินัย มีลักษณะการแต่งกายจำเพาะ จนถึงกับมีกฎหมายบังคับใช้เฉพาะด้วย

ทุกอาชีพล้วนมุ่งแสวงหาเงินตรา เพื่อมาดำรงชีวิตของตนและครอบครัว ดังนั้น ผู้มีอาชีพพระสงฆ์ย่อมต้องมีพฤติกรรมเช่นนั้นเหมือนกัน อาจแตกต่างกันบ้าง ในจุดมุ่งหมายของการใช้เงินที่ตนหามาได้ เพื่อประโยชน์ตนหรือสังคม เครื่องมือในการแสวงหาเงินตราของพระสงฆ์ คือศรัทธาของประชาชน สิ่งใดที่จะทำให้ประชาชนศรัทธาพระสงฆ์จะทำสิ่งนั้น ตั้งแต่สร้างภาพลักษณะของพระผู้เคร่งพระธรรมวินัย ทำตนเป็นผู้ชำนาญในชีวิตของมนุษย์ ด้วยการกล่าวอ้างพระธรรมวินัยไปตามกระแสโลก รับปรึกษาปัญหาชีวิตด้วยการเป็นหมอดู ตลอดถึงจัดทำวัตถุมงคลเพื่อจำหน่าย นี่ยกมาพอเป็นสังเขป

ถ้ามีการตรวจสอบบัญชีพระสงฆ์ทั่วประเทศ คงมีความกังขาเกิดขึ้นมากมาย แต่คงมีคำตอบที่เหมาะสมกับบัญชีเหล่านั้น ด้วยเจตนาบริสุทธิ์อีกมากมายเช่นกัน ต้องไม่ลืมว่าพระสงฆ์ที่ไม่ใช่ผู้มีอาชีพพระสงฆ์บางรูปนั้น ท่านเป็นกำลังสำคัญในการสังคมสงเคราะห์ของประเทศอยู่เหมือนกัน

เมื่อพระสงฆ์มีเงินตราในความครอบครองมากน้อยเท่าไร ความวิบัติย่อมเกิดแก่พระสงฆ์รูปนั้นตามกำลังของเงินที่ตนมี ความห่างไกลจากพระนิพพานย่อมมีมากยิ่งขึ้น ความใกล้ชิดกับฆราวาสวิสัยย่อมมีมากขึ้น ที่สุดข่าวฉาวคาวโลกีย์ ก็บังเกิดขึ้นกับพระสงฆ์บางรูป ดังที่ทราบกันดีตามหน้าหนังสือพิมพ์

ความเข้าใจในพระวินัยเกี่ยวกับเงินตราของพุทธศาสนิกชน ย่อมส่งผลให้เกิดความบริสุทธิ์ขึ้นในหมู่สงฆ์ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อบังคับใช้กับพระสงฆ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นข้อครหาของประชุมชน ซึ่งพระองค์ประชุมสงฆ์ไต่สวนจนพบสาเหตุแห่งข้อครหานั้นแล้ว ทรงปรึกษาสงฆ์ที่ประชุมอยู่ ณ ที่นั้นเพื่อบัญญัติพระวินัยขึ้น ดังนั้น พระวินัยจึงเป็นเกราะที่จะปกป้องพระสงฆ์ผู้ประพฤติตาม ให้พ้นจากมลทินข้อครหาของประชุมชน พระวินัยที่เกี่ยวกับเงินตราที่มาในพระปาติโมกข์ มีดังนี้

ปาราชิก สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสก ต้องปาราชิก ราคา ๕ มาสก ในปัจจุบันนี้ คงต้องรอมหาเถรสมาคมกำหนดว่าเท่าไร เพราะราคานี้เป็นราคาทองคำหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก ถ้าสิ่งของนั้นเป็นเงินตราเท่าราคา ๕ มาสก ภิกษุนั้นก็ขาดความเป็นภิกษุทันที

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุรับเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ คือของที่เขาใช้เป็นทองและเงิน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เป็นอาบัติที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ต้องแสดงความผิดของตนแก่ภิกษุอื่น และสละสิ่งของที่เป็นต้นเหตุของความผิดนั้น


Image
พระอาจารย์จันทา ถาวโร
ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ :
อาจารย์อนัตตา ห้องพระ udon108



เพื่อเพิ่มความเข้าใจในพระวินัยเหล่านี้ ต้องขอนำคำอธิบายที่พระอาจารย์จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร เทศนาอบรมภิกษุสามเณรในพรรษาเกี่ยวกับนิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘ ว่า

“ภิกษุถือเงินก็ดี หรือให้ผู้อื่นถือก็ดี เก็บไว้ก็ดี หรือยินดีซึ่งเงินและทองนั้น เงินนั้นเป็นนิสสัคคีย์ พระเป็นปาจิตตีย์ ทีนี้พระองค์เจ้าให้มีไวยาวัจกร หรือทายกวัดเก็บไว้ให้ ครั้งพุทธกาลโน้นมีอารามิเกหิ คนรักษาวัด ต่อมาเรียกว่า ไวยาวัจกร เป็นผู้รักษาของเรานั่นแหละ ให้เขาถือให้ เราอย่าเพิ่งถือด้วยตนเอง เราเอาไว้เพียงเพื่อบำรุงปัจจัย ๔ ไม่ได้เอาไว้เพื่อสะสมซึ่งกองกิเลส จะเป็นเหตุให้จิตนั้นเศร้าหมอง ใช้ไม่ได้

พระพุทธเจ้าไม่ให้ยินดีในเงินและทองนั้น เพราะว่าใจของเรายังมีกิเลสอยู่นะ กิเลสครอบงำอยู่จะทำให้สะสมไว้มากๆ นึกว่าได้เงินเท่านั้นหมื่น เท่านี้แสน จะไปซื้อวัวซื้อควาย ทำไร่ทำนาค้า ขายโน่นนี่ มันก็หลอกลวงไปเสียแล้ว เพราะมีเงินแล้ว เดี๋ยวเดียวก็สึกออกไปนะ ไปอาบน้ำ หนองกระแสแสนย่าน ทั้งอาบ ทั้งดมทั้งกินอยู่นั้น นั่นแหละ มันเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น พระองค์เจ้าจึงไม่ให้ยินดีซึ่งเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตนนั้น ยินดีแต่ว่าเป็นปัจจัย ๔ เท่านั้น มันจึงจะใช้ได้ ใจจึงจะไม่เศร้าหมอง จึงจะไม่ไปยึด ไปถือในปัจจัยนั้น นั่นแหละ ได้มาแล้วก็หมดไป ธนบัตรนะ บัตรมาถุงเราแล้วก็บัตรไปถุงคนอื่น ไม่ได้อยู่กับใครทั้งนั้น เป็นของกลางอาศัยชั่วคราว ฉะนั้น จงเห็นว่าเป็นของกลางเท่านั้น อย่าเห็นว่าเป็นของเฉพาะตนเรา ไม่ดี”


Image

ผู้เขียนเคยได้ยินว่า มีพระเถระรูปหนึ่งกล่าวตำหนิพระสังฆาธิการรูปหนึ่งว่า “ท่านเจ้าคุณ ได้ข่าวว่าพระสงฆ์สามเณรในเขตปกครองของท่านจับเงินกันเป็นว่าเล่น ท่านทราบหรือเปล่า ?” พระสังฆาธิการท่านนั้นตอบว่า “เกล้ากระผมทราบ แต่จะทำเช่นไรได้ พระสงฆ์สามเณรยังเด็กใจร้อน ไปไหนชอบว่องไว ไม่มีไวยาวัจกรไปด้วย จึงจับเงินทองเอง แต่เงินของเขาก็หมดไป เขาก็แสดงอาบัติทุก ๑๕ วัน แต่พระผู้ใหญ่ที่มีเงินในบัญชีธนาคารนี้จะทำเช่นไรดีขอรับ” ผู้เขียนไม่ทราบว่าพระเถระท่านตอบว่ากระไร รู้เพียงว่าต่อมาทั้งสองรูปนี้ไม่พูดวิสาสะกันอีก จนมรณภาพจากกันไป

เมื่อพระสงฆ์มีเงินทองมาก ย่อมเป็นที่หมายปองของทุจริตชนที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากพระ วิธีที่ชนกลุ่มนี้ชอบปฏิบัติกันคือ ส่งหญิงสาวเข้าหาทำตัวตีสนิท เพื่อดูดเงินจากพระ ที่สุดก็เกิดข่าวฉาวขึ้น ทำให้พระรูปนั้นต้องสึกไปพร้อมเงินที่มีอยู่ และส่งผลให้คนที่ไม่ชอบเรื่องราวเหล่านี้เกิดความเสื่อมศรัทธาในพระที่บริสุทธิ์รูปอื่นๆ ด้วย

แท้จริงแล้ว เงินทองและสมบัติของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาทุกรูปถือว่าเป็นสมบัติของพระพุทธศาสนา เมื่อพระสงฆ์ที่เป็นเจ้าของหมดสิทธิในการครอบครองจะด้วยมรณภาพหรือลาสึก สมบัตินั้นจะตกแก่วัดที่พระรูปนั้นสังกัดอยู่ ถ้าวัดนั้นกลายเป็นวัดร้าง สมบัตินั้นจะตกเป็นพุทธศาสนสมบัติกลาง ซึ่งเป็นสมบัติของประเทศส่วนหนึ่ง

เงินทองเป็นของนอกกาย ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ แต่ความดีมากคุณธรรมดำรงตนสมกับเป็นศาสนทายาทของพระพุทธเจ้า จะหนุนนำให้พระสงฆ์รูปนั้นได้บรรลุพระนิพพานในที่สุด

นรกกับสวรรค์ของพระสงฆ์ห่างกันเพียงเส้นยาแดงเท่านั้นเอง !!


.............................................
สาธุ สาธุ สาธุ คัดลอกมาจาก ::
รายงานพิเศษ : เงินตรา เหตุวิบัติของสงฆ์
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 กรกฎาคม 2546 17:17 น.

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=55978

ดอกไม้ - เอาเงินใส่บาตรผิดพระวินัย (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=48026

ดอกไม้ - วินัยสงฆ์-อาบัติ-ปาราชิก-สังฆาทิเสส
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=22785

ดอกไม้ - ภิกษุเสพเมถุน ต้องปาราชิก (หลวงปู่จันทา ถาวโร)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=30135
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง