Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 คุณสมบัติของผู้แสดงธรรม และอานิสงส์ของผู้แสดงธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
dd
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2006, 1:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณสมบัติของผู้แสดงธรรม


.......เราได้ทราบแล้วว่า ธรรมทานประเสริฐกว่าทานทุกอย่าง แต่ธรรมทานนั้นจะเกิดขึ้นได้เพราะมีผู้แสดงธรรม ซึ่งการแสดงธรรมให้ดี ให้เกิดประโยชน์สุขนั้น ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ ว่า

อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย

อานนท์ ผู้แสดง (พระธรรมกถึก) ก่อนแสดงธรรม พึงตั้งธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วจึงแสดง คือ

๑. จักแสดงธรรมตามลำดับ ไม่ตัดวรรคถ้อยความ
๒. จักแสดงโดยปริยาย อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ
๓. จักอาศัยความเอ็นดูแสดงธรรม (มีความเมตตาปรารถนาดีต่อผู้ฟัง)
๔. จักไม่เห็นแก่อามิส (หวังอยากได้ลาภผล)
๕. จักไม่กล่าวคำที่กระทบตนและผู้อื่น (ไม่ยกตนข่มท่าน หรือใช้คำเสียดสี)

ดังนั้นผู้ที่จะให้ธรรมทานพึงตั้งอยู่ในองค์คุณดังกล่าวมานี้ จะยังประโยชน์ใหญ่ อานิสงส์ยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้นกับผู้แสดงธรรมได้อย่างเต็มที่ ทำให้ผู้แสดงธรรมได้บุญกุศลมหาศาล ดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญว่า "บุคคลให้ธรรมเป็นทาน โดยไม่ปรารถนาลาภสักการะ ย่อมมีอานิสงส์ประมาณมิได้"


อานิสงส์ของผู้แสดงธรรม


.......เมื่อใดก็ตามที่มีการแสดงธรรมและฟังธรรมเกิดขึ้น ย่อมเป็นมงคลอย่างยิ่งกับสังคมนั้นๆ เป็นนิมิตหมายว่าความสุข ความสงบร่มเย็นจะบังเกิดขึ้น ธรรมะจะขจัดบรรเทาปัญหาทั้งปวง เกิดเป็นกระแสแห่งความดีเข้าแทนที่ สรรค์สร้างให้สังคมนั้นเป็นสังคมที่มีคุณภาพ และเป็นฐานในการสร้างคนดี สร้างคน ให้มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต การแสดงธรรมจึงให้ประโยชน์ทั้งผู้แสดงธรรมเอง และผู้ฟังธรรมทั้งหลายด้วย

ในส่วนของผู้แสดงธรรมนั้น ย่อมเป็นที่ตั้งเป็นพื้นฐานของความดีทั้งหลาย จนถึงทำให้รู้แจ้งเห็นแจ้ง ในธรรมทั้งปวงได้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

"........ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ถ้าพระศาสดา หรือ เพื่อนพรหมจรรย์ของภิกษุนั้นไม่ได้แสดงธรรมให้ฟัง แต่ภิกษุนั้นแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับเล่าเรียนมาให้ผู้อื่นฟัง โดยพิสดารด้วยประการใดๆ เธอย่อมเป็นผู้รู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรมด้วยประการนั้นๆ ปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ปีติย่อมเกิดแก่เธอผู้มีความปราโมทย์ กายของผู้มีความปีติย่อมสงบ ผู้มีการสงบ (ปัสสัทธิ) ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น

ภิกษุทั้งหลาย วิมุตตายตนะ (เหตุแห่งความหลุดพ้น) อันเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ (มีใจส่งไปในธรรมนั้น) ซึ่งยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น หรืออาสวะทั้งหลายยังไม่สิ้นย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอันเยี่ยมยอดที่ยังไม่บรรลุ"

........จากพุทธดำรัสนี้ ทำให้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงผลานิสงส์ของการแสดงธรรมว่า ผู้ที่แสดงธรรมย่อมได้รับคุณความดีหลายอย่าง จนกระทั่งทำให้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอันเยี่ยมยอดได้ ความข้อนี้ผู้แสดงธรรมย่อมประจักษ์ชัดด้วยใจตนเอง เพราะทุกครั้งที่จะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น จิตของผู้แสดงธรรมย่อมน้อมไปในธรรมนั้นด้วย จะโดยการที่ต้องทบทวน ท่องจำ ตรึกตรองทำความเข้าใจ เหล่านี้ล้วนเป็นการชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์ อันเป็นทางมาแห่งปัญญา แตกฉานในอรรถและธรรม เมื่อพิจารณาเห็นจริงตามธรรมนั้นจะรู้สึกปลาบปลื้มปีติใจ เป็นผลทำให้สามารถข่มกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้ขณะนั้น จึงเกิดความสงบกาย เป็นสุขสบายใจ ใจจึงตั้งมั่นเป็นสมาธิ และผลที่ยิ่งกว่านั้น คือทำให้ผู้ที่สั่งสมบุญมามากอาจจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย สามารถบรรลุธรรมอันประเสริฐได้

ดังนั้น การให้ธรรมทานจึงเป็นทานที่มีคุณค่า มีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง และเป็นเลิศกว่าทานทั้งปวง เพราะทำให้ผู้ที่แสดงธรรม และผู้ฟังธรรมได้รับประโยชน์สุข คือความดีตั้งแต่เบื้องต้นจนถึง
พระนิพพาน ดังกล่าวมานี้

อย่างไรก็ตาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "การที่ได้ฟังซึ่งพระสัทธรรม เป็นของอันบุคคล
ได้โดยยาก" ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ

๑. ยากที่จะหาผู้เทศนาให้ฟัง คือ ต้องรอให้มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้แล้วแสดงธรรมเทศนาสั่งสอน
หรือแม้จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรมและสั่งสอนแล้ว แต่ผู้ที่ได้ฟังหรือได้เล่าเรียนศึกษาไม่แตกฉานในธรรมวินัย เมื่อนำมาแสดงให้ผู้อื่นฟังก็ไม่เกิดความเข้าใจได้ จึงไม่เลื่อมใสศรัทธา

๒. ยากที่จะหาผู้เลื่อมใสในการฟังธรรม คือ คนมีนิสัยไม่อยากฟัง หรือแม้ได้ฟังก็ไม่ซาบซึ้งใน
รสพระธรรม มีความเกียจคร้าน ฟุ้งซ่าน ง่วงเหงาหาวนอน หรือเกิดเป็นคนมิจฉาทิฏฐิพิการบ้าใบ้ หูหนวก หรือเกิดในอบาย ก็ไม่อยู่ในวิสัยที่จะฟังธรรมได้ จึงไม่สำเร็จประโยชน์ในการฟังธรรม

........พวกเราทุกคนเป็นผู้มีโชคดีอย่างยิ่ง ที่ได้เกิดในประเทศที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และคำสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ยังมีผู้สืบทอดนำมาแสดงอยู่เสมอ แต่จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้ศึกษาธรรมนั้นหมั่นศึกษาศิลปะการถ่ายทอดธรรมะ และฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้สามารถแสดงธรรมได้ ซึ่งจะช่วยดำรงพุทธศาสนาให้คงอยู่อย่างมั่นคงต่อไป เพราะผลของการแสดงธรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของศาสนาอีกด้วย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่เลอะเลือน ไม่เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเหล่านี้คือ

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม (เรียนรู้พระไตรปิฎก)

๒. ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ฟังมา ตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิศดาร (ให้ธรรมทานแก่คนจำนวนมาก)

๓. ภิกษุย่อมบอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิศดาร (การสนทนาธรรมอย่างง่ายๆ)

๔. ภิกษุย่อมสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิศดาร (อธิบายธรรมอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน)

๕. ภิกษุย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งพระสัทธรรมตามที่ได้ฟังและเล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิศดาร

การให้ธรรมทานนั้นมีผลที่ยิ่งใหญ่ ทั้งในส่วนของผู้ให้และในส่วนของผู้รับ โดยผู้ให้ย่อมได้รับ
อานิสงส์มากมาย ยิ่งกว่าการให้ใดๆ ดังกล่าวมาแล้ว ส่วนผู้รับนั้นย่อมได้รับความสุข ได้รับสมบัติซึ่งเป็นที่พึ่งอันเกษม ดังเรื่อง เพชฌฆาตเคราแดง และเรื่องพระเจ้าปุกกุสาติ เป็นต้น หรือแม้แต่พระอริยสาวกรูปอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ต่างได้เข้าถึงสภาวะของการหมดทุกข์โดยสิ้นเชิง ก็ด้วยอาศัยธรรมทานทั้งสิ้น

ความสำคัญอีกประการหนึ่งของธรรมทาน คือ เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ตลอด
ระยะเวลาของการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภพชาติต่างๆ นั้น พระพุทธองค์ทรงเป็นตัวอย่างของผู้ให้มาโดยตลอด ให้ตั้งแต่สิ่งที่เป็นอามิสทั้งหลาย จนกระทั่งเลือดเนื้อและชีวิต ท้ายที่สุดพระองค์ทรงให้ธรรมทาน คือพุทธศาสนา ซึ่งชาวพุทธทั้งหลายได้น้อมนำหลักธรรมนั้นมาถือปฎิบัติสืบทอดติดต่อกันมาช้านานเกิดเป็นประโยชน์เกื้อกูลกัน และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปตราบจนถึงที่สุดแห่งสังสารวัฏ


ที่มา :: พันทิพดอดคอม
 
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2006, 11:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญค่ะ...คุณ dd

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2006, 12:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาธรรมครับ สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง