Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมกับประชาธิปไตย 1 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2006, 7:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมสำหรับผู้ปกครองประเทศไว้เป็นอันมาก

1. สมาชิกผู้แทนราษฎร

คนกลุ่มนี้เป็นคณะบุคคลที่เสียสละตนเอง ทนความเหนื่อยยาก อาสาสมัครมารับทำงานให้แก่ชาติบ้านเมือง พื้นฐานสำคัญของท่านเหล่านี้คือความเป็นสัตบุรุษ พระพุทธเจ้าทรงนิยามไว้ ซึ่งมาประยุกต์ใช้สำหรับ ส.ส. ได้แก่
สภาใดไม่มีสัตบุรุษ สภานั้นไม่ชื่อว่าสภา
คนใดที่พูดไม่เป็นธรรม คนนั้นไม่มีชื่อว่าสัตบุรุษ

เพราะฉะนั้นประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ท่านเหล่านั้นพร้อมจะแสดงความเป็นสัตบุรุษหรือไม่ เราไม่สงสัยในความรู้ของท่าน แต่สิ่งที่เราสงสัยมากคือ คุณธรรมภายในใจของท่านเหล่านั้น เพราะความเป็นสัตบุรุษจะต้องมีพื้นฐานที่ประกอบด้วย

1. สัทธัมมสมันนาคโต ประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการคือ
มีศรัทธา คือ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล
มีหิริ คือ ความละอายต่อบาป
มีโอตัปปะ คือ ความเกรงกลัวบาป
เป็นพหูสูต คือ การได้ยินได้ฟังมาก
มีความเพียรอันปรารภแล้ว
มีสติมั่นคง
มีปัญญา

2. สัปปุริสภัตตี-ภักดีสัตบุรุษ คือ คบหาสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการข้างต้น เป็นมิตรสหาย

3. สัปปุริสจินตี-คิดอย่างสัตบุรุษ คือ จะคิดสิ่งใดก็ไม่คิดเบียดเบียนตนและผู้อื่น

4. สัปปุริสมันตี-ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ คือ จะปรึกษาการใดก็ไม่ปรึกษาเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น

5. สัปปุริสวาโจ-พูดอย่างสัตบุรุษ คือ พูดแต่คำพูดที่ถูกต้องตามวจีสุจริต 4

6. สัปปุริสกัมมันโต-ทำอย่างสัตบุรุษ คือ ทำการที่ถูกต้องตามกาย 4

7. สัปปุริสทิฏฐี-มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ คือ มีสัมมทิฏฐิ เช่นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

8. สัปปุริสทานัง เทติ -ให้ทานอย่างสัตบุรุษ คือ ให้ตามหลักสัปปุริสทาน เช่นให้โดยเอื้อเฟื้อ ทั้งแก่ของที่ตัวเองให้ ทั้งแก่ผู้รับทาน ให้ของบริสุทธิ์ โดยให้เข้าใจถึงผลที่จะมีตามมา เป็นต้น
คุณสมบัติเหล่านี้เป็นคุณสมบัติหลัก แต่ในภาคปฏิบัติพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงในลักษณะที่เป็นศิลปะในการใช้ธรรมะไว้ หมายความว่า เราใช้ธรรมข้อใดก็ตาม เราต้องอาศัยความเหมาะสม ทรงแสดงว่า บุคคลจะต้องประกอบด้วยคุณธรรมคือ เป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาลเวลา รู้จักชุมชน และรู้จักเลือกคบหาสมาคมกับคน เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าท่านประกอบด้วยสัปปุริสธรรมเหล่านี้ ท่านเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรที่ดี
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2006, 12:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนา ครับ สาธุ ยิ้ม
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง