Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
โชคมาก็ใช้ทำความดี เคราะห์มีก็เป็นเครื่องมือพัฒนา
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2006, 11:46 am
" ...คนเราอยู่ในโลก แต่มักปฏิบัติไม่ถูกต้องต่อสิ่งทั้งหลายในโลก
จึงดำเนินชีวิตไม่ถูกต้องสิ่งที่เราเกี่ยวข้องต่างๆนี้ มันก็อยู่ของมันไปตามปกติ ตามธรรมชาติ
แต่เราปฏิบัติต่อมันไม่ถูกวางใจไม่ถูก แม้แต่มองก็ไม่ถูก
เราจึงเกิดทุกข์สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมดา
มันก็เป็นไป ถ้าเรารู้เท่าทัน ก็เห็นมันเป็นไปตามกฎธรรมชาติ
แต่ถ้าเราไม่รู้เท่าทัน เรามองไม่เห็น มากระทบตัวเรา ก็เกิดความทุกข์ทันที
แม้แต่เหตุการณ์ความผันผวนปรวนแปรต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนเรา
ที่เรียกว่า โชคบ้างเคราะห์บ้าง ศัพท์พระเรียกว่า "โลกธรรม"
ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้คนดีใจ เสียใจ เป็นสุขและเป็นทุกข์
เวลามันเกิดขึ้น ถ้าเราปฏิบัติไม่ถูกต้อง ที่สุข เราก็แปลงให้เป็นทุกข์
ที่มันเป็นทุกข์อยู่แล้ว เราก็เพิ่มทุกข์แก่ตัวเราให้มากขึ้น
แต่ถ้าเราปฏิบัติถูกต้อง ที่ทุกข์ เราก็ผันแปลงให้เป็นสุข
ที่มันเป็นสุขอยู่แล้ว เราก็เพิ่มให้เป็นสุขมากยิ่งขึ้น
โลกธรรมคืออะไร ? โลกธรรม แปลว่า ธรรมประจำโลก
ได้แก่ สิ่งที่เกิดแก่มนุษย์ทั้งหลายตามคติธรรมดาของความเป็นอนิจจัง
ก็คือเรื่องลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์
สิ่งเหล่านี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มันมีอยู่เป็นธรรมดา
เมื่อเราอยู่ในโลก เราไม่พ้นมันหรอก เราต้องเจอมัน
ทีนี้ถ้าเราเจอมันแล้ว เราวางใจไม่ถูก และปฏิบัติไม่ถูก
จะเอาทุกข์มาใส่ตัวทันที พอเรามีลาภ เราก็ดีใจ อันนี้เป็นธรรมดา
เพราะเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา
แต่พอเสื่อมลาภ เราก็ เศร้าโศก เพราะเราสูญเสีย
ทีนี้ถ้าเราวางใจไม่ถูก ไประทมตรมใจ
แล้วไปทำอะไรประชดประชันตัวเอง หรือประท้วงชีวิต เราก็ซ้ำเติมตัวเอง
ทำให้เกิดทุกข์มากขึ้น อย่างง่ายๆกว่านั้น
เช่น เสียงนินทาและสรรเสริญ คำสรรเสริญนั้น เป็นสิ่งที่เราชอบใจ
พอได้ยิน เราก็มีความสุข ใจก็ฟูขึ้นมา
แต่พอได้ยินคำนินทาเราก็เกิดความทุกข์
ทุกข์นี้เกิดเพราะอะไร ? ก็เพราะเรารับเอาเข้ามา
คือรับกระทบมันนั่นเอง คือ เอาเข้ามาบีบใจของเรา
ทีนี้ ถ้าเราวางใจถูกต้อง อย่างน้อยเราก็รู้ว่า อ๋อ นี่คือธรรมดาของโลก
เราได้เห็นแล้วไง พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้แล้วว่า เราอยู่ในโลก เราต้องเจอโลกธรรมนะ
เราก็เจอจริงๆแล้ว เราก็รู้ว่า อ๋อ นี่ความจริงมันเป็นอย่างนี้เอง
เราได้เห็นได้รู้แล้ว เราจะได้เรียนรู้ไว้
พอบอกว่าเรียนรู้เท่านั้นแหละ
มันก็กลายเป็นประสบการณ์สำหรับศึกษา
เราก็เริ่มวางใจต่อมันได้ถูกต้อง ต่อจากนั้นก็นึกสนุกกับมันว่า
อ้อ ก็อย่างนี้แหละ อยู่ในโลกก็ได้เห็นความจริงแล้วว่า มันเป็นอย่างไร
ทีนี้ก็ลองกับมันดู แล้วเราก็ตั้งหลักได้สบายใจ
อย่างนี้ก็เรียกว่า ไม่เอาทุกข์มาทับถมใจตัวเอง
อะไรต่างๆนี้ โดยมากมันจะเกิดเป็นปัญหา
ก็เพราะเราไปรับกระทบ ถ้าเราไม่รับกระทบ มันก็เป็นเพียงการเรียนรู้
บางทีเราทำใจให้ถูกต้องกว่านั้น ก็คือ คิดจะฝึกตนเอง
พอเราทำใจว่าจะฝึกตนเอง เราจะมองทุกอย่างในแง่มุมใหม่
แม้แต่สิ่งที่ไม่ดี ไม่น่าชอบใจ เราก็จะมองเป็นบททดสอบ
พอมองเป็นบททดสอบทีไร เราก็ได้ทุกที
ไม่ว่าดีหรือร้ายเข้ามา ก็เป็นบททดสอบใจ และทดสอบสติปัญญา ความสามารถทั้งนั้น
ก็ทำให้เราเข้มแข็งยิ่งขึ้น เพราะเราได้ฝึกฝน เราได้พัฒนาตัวเรา
เลยกลายเป็นดีไปหมดถ้าโชค หรือโลกธรรมที่ดีมีมา
เราก็สบาย เป็นสุข แล้วเราก็ใช้โชคนั้น
เช่น ลาภ ยศ เป็นเครื่องมือเพิ่มความสุขให้แผ่ขยายออกไป
คือ ใช้มันทำความดี ช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์
ทำให้ความสุขขยายจากตัวเรา แผ่กว้างออกไป สู่ผู้คนมากมายในโลก
ถ้าเคราะห์ หรือโลกธรรมที่ร้ายผ่านเข้ามา
ก็ถือว่า เป็นโอกาสที่ตัวเราจะได้ฝึกฝนพัฒนา
มันก็กลายเป็นบททดสอบ เป็นบทเรียน
และเป็นเครื่องมือฝึกสติ ฝึกปัญญา ฝึกการแก้ปัญหา เป็นต้น
ซึ่งจะทำให้เราพัฒนายิ่งขึ้นไป เ
พราะฉะนั้น ลูกศิษย์พระพุทธเจ้าจึงถือคติว่า
ให้มนสิการให้ถูกต้องถ้ามองสิ่งทั้งหลายให้เป็นแล้ว
ก็จะเกิดประโยชน์แก่เราหมด ไม่ว่าดี หรือร้าย..."
โชคมาก็ใช้ทำความดี เคราะห์มีก็เป็นเครื่องมือพัฒนา : พระธรรมปิฎก
[296] โลกธรรม 8 (ธรรมดาของโลก, เรื่องของโลก,
ความเป็นไปตามคติธรรมดาซึ่งหมุนเวียนมาหาสัตว์โลกและสัตวโลก
ก็หมุนเวียนตามมันไป worldly conditions; worldly vicissitudes)
1. ลาภ (ได้ลาภ, มีลาภ gain)
2. อลาภ (เสื่อมลาภ, สูญเสีย loss)
3. ยส (ได้ยศ, มียศ fame; rank; dignity)
4. อยส (เสื่อมยศ obscurity)
5. นินทา (ติเตียน blame)
6. ปสํสา (สรรเสริญ praise)
7. สุข (ความสุข happiness)
8. ทุกข์ (ความทุกข์ pain)
โดยสรุปเป็น 2 คือ ข้อ 1-3-6-7 เป็น อิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา;
ข้อที่เหลือเป็น อนิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่ไม่น่าปรารถนา
โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้
ต่างกันแต่ว่า คนพวกแรกย่อมไม่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง ลุ่มหลง ยินดียินร้าย
ปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไปไม่พ้นจากทุกข์ มีโสกะปริเทวะ เป็นต้น
ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริง ว่า
สิ่งเหล่านี้อย่างใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ ไม่ขุ่นมัวหม่นหมอง ค
ลุ้มคลั่งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์ มีสติดำรงอยู่ เป็นผู้ปราศจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น
A.IV.157. องฺ.อฏฺฐก. 23/96/159
อ่านเพิ่มเติม โลกธรรม จากพระสูตร
http://84000.org/tipitaka/read/?23/96/159
---------------------------------------------------------------------------------------
คัดลอกจาก....คุณ architect
http://larndham.net/index.php?showtopic=14920
I am
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2006, 3:59 pm
โมทนาครับ สาธุ..
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403
ตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2006, 10:00 am
โมทนาธรรมครับ.....สาธุ
_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th