Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 บรรลุพระโสดาบัน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Jay
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 ส.ค. 2006, 1:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากถามว่า ต้องปฏิบัติธรรมอย่างไรให้บรรลุพระโสดาบัน
 
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 16 ส.ค. 2006, 9:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปฏิบัติตามอริยมรรค มีองค์ ๘ ครับ

[๑๔๓๒] ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสดาบันๆ ดังนี้ โสดาบันเป็นไฉน?
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ผู้นี้เรียกว่า
พระโสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.
[๑๔๓๓] พ. ถูกละๆ สารีบุตร ผู้ซึ่งประกอบด้วยอริยมรรค ๘ นี้ เรียกว่า โสดาบัน
ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้.
จบ สูตรที่ ๕


[๑๖๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเป็นพระ
โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็น
ไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ใน
พระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
[๑๖๒๒] ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระตถาคต มีศีลอันงาม ที่พระ
อริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความ
เห็นตรง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของเขาไม่เปล่า
ประโยชน์ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระ-
พุทธเจ้า พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็น
ธรรม ดังนี้.
จบ สูตรที่ ๑
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๙๖๖๘ - ๙๖๘๑. หน้าที่ ๔๐๓.
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 2:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้ที่บรรลุเป็นพระโสดาบันได้นั้น จะต้องสลัดให้พ้นจากเครื่องผูกมัดรัดรึงพันธนาการให้ยึดติดกับสังสารวัฏ ที่เรียกว่า "สังโยชน์ ๓" ได้แก่ สักกายะทิฐิ วิจิกิจฉา สีลลัพตปรามาส
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 6:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ อนุโมนา กับคำวิสัชนาของคุณจักรพนธ์ และคุณลุงสุชาติด้วยครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 11:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;

พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;


http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังโยชน์_๑๐
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อ่าง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2006, 4:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบเรียนท่านผู้รู้เพิ่มเติมค่ะ
คือสงสัยมานานแล้วค่ะว่าคนที่บรรลุพระโสดาบัน เมื่อตายไปแล้วกลับชาติมาเกิดอีก เค๊าจะจำได้หรือไม่ค่ะว่าเคยเป็นพระโสดาบันมาก่อน ขอขอบคุณทุกคำตอบค่ะ
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2006, 6:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปฏิบัติให้ถูกทาง ถูกต้องได้แก่ปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 นั่น
การปฏิบัติเป็นเหตุ การบรรลุโสดาบันเป็นผล
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง