Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลวงพ่อฤาษีลิงดำคุยกับพุทธองค์ดังต่อไปนี้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โพธิญาณ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2006, 6:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธประทานธรรม
ทุกคนพึงทำจิตให้มั่นคงในความดีทั้งหมด มีศีล สัจจะ มีวิริยะ ความเพียร เอาชนะความโกรธ ความโลภ ความหลงใหลในโลกสมบัติซึ่งเป็นของไม่จริง ของจริงคือพระนิพพาน เป็นของมีความสุข ไม่สูญสลายดังที่คนคิดกัน ขันธมาร คือ กายกับประสาท อารมณ์ติดทางโลกทั้งหลาย คอยดึงจิตเราที่อาศัยกายชั่วคราวนี้ให้คิดผิด ทำผิด พูดผิด มัวเมากับลาภ ยศ สรรเสริญ อยู่เสมอ โลก คือ กาย(รูป) รส กลิ่น เสียง(นาม) อย่าเอาไปรวมกับจิต เป็นคนละส่วนกัน ถ้าเอามารวมกันก็มีเหตุวุ่นวาย
อย่าคิด อย่ามองคนอื่นในแง่ไม่ดีเด็ดขาด เขาจะดีจะชั่วก็เป็นเรื่องของเขา ต่างก็มีกรรมเวรเป็นของตน ไม่ต้องสนใจใคร หากสนใจความไม่ดีของคนอื่น ระวังตัวเราเองอาจจะต้องลงอเวจี ปฏิบัติมาถึงป่านนี้แล้วใครทำไม่ดีกฎของกรรมลงโทษเอง
ระวังจิตของเราให้ดีที่สุด ทำจิตให้สะอาด เอาจิตที่ดียกไปไว้บนพระนิพพาน มีพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ในใจตลอดเวลาที่มีลมหายใจเข้าออก
สิ่งที่ดีที่ควรคิดควรเก็บเอาไว้ในใจมีดังนี้
1. ป้องกันความฟุ้งซ่านของจิต โดยเอาจิตจับลมหายใจเข้าออกพร้อมกับนึกถึงพระพุทธพิชิตมารบรมศาสดา เป็นพุทธานุสติกรรมฐาน ร่วมกับ อานาปานสติกรรมฐาน มีคุณประโยชน์มหาศาล มีปัญญาดี เห็นความทุกข์ และบรรเทาทุกขเวทนาของร่างกาย
2. ให้เอาจิตดูร่างกายให้ชัดแจ้งตามความเป็นจริงว่า ร่างกายสะอาดหรือ สกปรก มีกลิ่นหอมหรือเหม็น จิตเราบังคับร่างกายให้เปล่งปลั่งสดชื่นได้หรือไม่ ถ้าจิตบังคับไม่ให้ร่างกายหิว เหนื่อย เจ็บ แก่ ตาย ไม่ได้ ก็แสดงว่าร่างกาย ไม่ใช่ของจิต ไม่ใช่ของเราจริง เป็นของธรรมชาติ เสื่อมสลายผุพังตามกฎของโลกนี้ คือ เกิดขึ้น แก่ลง แล้วแตกสลายเหมือนกันหมด
3. ให้เอาจิตดูกายว่า ทุกลมหายใจเข้าออก ร่างกายใกล้ความตายทุกวินาที จากเด็กเป็นผู้ใหญ่ เป็นคนแก่ แล้วตาย ถูกเผากลายเป็นเถ้าถ่าน ร่างกายเป็นเพียงบ้านชั่วคราว จิตเป็นของจริงไม่ตายตามร่างกาย จิตมุ่งมั่นตั้งใจไปพระนิพพานเป็นการตัดความหลง ตัดอวิชชาไปในตัว ไม่หวังการเกิดอีก
4. ทำจิตใจสะอาดด้วยคุณธรรม มีเมตตากรุณาต่อคนสัตว์ทั่วโลก เป็นการตัดความโกรธ มีความชื่นชมยินดีกับผู้ที่ได้ดีมีสุข เป็นการตัดความอิจฉาริษยา ทำใจเฉย ๆ ไว้ไม่ซ้ำเติมกับผู้ทำผิด เฉยกับความทุกข์ความผิดหวังสารพัด จิตจะฉลาด ไม่ทุกข์ใจไปตามความเปลี่ยนแปลง ของชีวิตในโลก เงินทองจะเสียหายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการเปลี่ยนแปลง หนีไม่พ้น จะหนีพ้นก็มีที่เดียวแดนเดียวคือ แดนพระนิพพาน
5. จิตนึกถึงความดีของพระนิพพาน จิตเป็นสุข เย็นสบายเพราะจิตไม่ติดในกายเรากายเขา ไม่ติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จิตที่พระนิพพานเป็นจิตดับ ราคะ(รัก) ตัณหา (ความอยาก) ดับอุปาทาน ยึดขันธ์ 5 (รูป-นาม) ว่าเป็นของเรา แท้จริง รูป- นาม นี้เป็นของธรรมชาติ เราคือ จิต ยืมธรรมชาติมาใช้ชั่วคราว พระนิพพานเป็นแดนทิพย์วิเศษ เป็นสถานที่จริง พระนิพพานไม่ใช่วัตถุ ดิน น้ำ ลม ไฟ แบบ โลกนี้ พระนิพพานเป็นนามธรรม มองได้ด้วยจิตสะอาด ปราศจาก รัก โลภ โกรธ หลง จิตเป็นทิพย์ ที่เห็นพระนิพพาน เป็นรูปร่าง ท่านเรียกกันว่า รูปพระนิพพาน รูปพระนิพพานอยู่ในนามละเอียดยิ่งกว่าลมอากาศ จิตเป็นทิพย์เท่านั้นจึงจะสัมผัสได้ (คนที่ยังไม่ตายก็สัมผัสแดนทิพย์พระนิพพานได้โดยทำสมาธิวิปัสสนา ซึ่งมีหลายแบบ แบบง่าย ๆ คือ มโนมยิทธิ ) มีพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าหลายล้านพระองค์ และพระอรหันต์มากมาย พระนิพพานไพศาลกว่าโลกมนุษย์หลายล้านเท่า พระท่านที่นิพพานแล้วก็ยังคงช่วยเหลือเทวดา มนุษย์ที่มีศีลธรรมอยู่
6. จิตให้จับอริยสัจ คือ ความเป็นจริงของโลก ตรวจตราดูให้ทั่วว่าคนในโลกที่เป็นสุขจริงหรือไม่ การที่ร่างกายมีภาวะหิวกระหาย เหนื่อยอ่อน หนาว ปวดโน่นปวดนี่ การวิ่งวุ่นหาเงินเพื่อเลี้ยงชีวิตเป็นสุขจริงหรือ ?
7. ใช้จิตเราตรวจตราดูว่ากิเลสร้อยรัด 10 ตัว นั้นเราตัดตัวใดได้บ้างแล้ว กิเลส 10 ตัวมีดังนี้
(1) เห็นว่าร่างกาย ทรัพย์สมบัติ เป็นของเรา
(2) สงสัยในพระธรรมคำสอน
(3) ไม่มีความมั่นคงในศีล 5
(4) หลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส (กามฉันทะ)
(5) มีความไม่พอใจหงุดหงิด (ปฏิฆะ)
(6) หลงในรูปฌาน
(7) หลงในอรูปฌาน
(8) มีมานะถือว่าเราดีกว่าเขา เสมอเขา ด้อยกว่าเขา
(9) มีจิตคิดฟุ้งซ่านนอกเรื่องพระนิพพาน (อุทธัจจกุกกุจจะ)
(10) มีอวิชชา คิดว่าโลก สวรรค์ พรหม น่าอยู่ น่าสบาย
ให้คิดใคร่ครวญก่อนทำ พิจารณาให้รอบคอบอย่าใจร้อน สติปัญญาที่มีให้เอาออกมาใช้ ระวังจิตให้ดี มารนั้นคอยดึงจิตเราไปในทางชั่ว คนทั่วไปในโลกนี้จิตที่ดี มีประโยชน์จริง ๆ มีเพียง 1 % อีก 99 % เป็นจิตที่ไหลตามอำนาจ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตามโลก ไหลไปตามภาวะของโลกจึงเดือดร้อน อย่าฟังคนรอบข้าง ต้องเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ปฏิบัติกาย วาจา ใจ ให้ดี ให้จริงจัง อย่าเกียจคร้าน อย่าสนใจทางโลกมนุษย์ ซึ่งวุ่นวายไม่มีจบสิ้น ได้มโนมยิทธิ แล้วก็ให้ยกจิตไปไว้บนพระนิพพานบ่อย ๆ อายุสังขารเหลือน้อยลงทุกวัน ร่างกายก็เสื่อมโทรมลงใกล้ ความเน่าเปื่อยลงทุกวัน
การปฏิบัติธรรมนั้นจงตั้งมั่นที่ใจ อย่าทำที่วาจา ความดีควรมีที่กิริยา จิตที่เข้มแข็งมีกำลังใจเต็มเป็นบารมี การปฏิบัตินั้น ขอให้มุ่งในเรื่องอย่ายึดในสิ่งที่เป็นสมมุติ คือ ร่างกาย ทรัพย์สมบัติ พยายามทำใจให้นิ่ง นิ่งเฉยมากที่สุด อย่ากลัวพลาด กลัวห่วง กลัวธรรมะ คือ กลัวแก่เจ็บไข้แล้วทรมาน กลัวความตายที่กำลังเดินทางเข้ามาหาทุกลมหายใจเข้าออก จงอยู่กับปัจจุบัน ปล่อยให้ชีวิตทำหน้าที่ของมันไป จิตเราก็เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของหลอกลวง ของสมมุติ
พวกที่ศึกษาพระธรรมที่มาจากมหาเถรสมาคมก็ดี พุทธศึกษาหรืออื่น ๆ ก็ดี เขามักจะสอนธรรมวินัย ธรรมของโลกเสียมากว่าที่จะสอนให้คนหนีโลก
บางคนบอกว่าพระนิพพานเป็นอนัตตา ซึ่งบิดเบือนไปจากคำสอนที่เป็นจริง พระนิพพานเป็นอมตะ เป็นของจริงไม่เปลี่ยนแปลงเหมือนโลก พระนิพพานไม่ใช่อนัตตา เหนืออนัตตา เหนือทุกขัง เหนืออนิจจัง เหนือโลก สวรรค์ พรหม อย่าเอาไปเทียบกับของต่ำ พระนิพพานเป็นของสูง ของจริง ไม่ใช่ของสมมุติเหมือนโลกนี้
การปฏิบัติธรรมะ ให้ระลึกว่าความตายมีอยู่ทุกขณะ ทุกลมหายใจเข้าออก เพื่อกันความประมาทพลั้งเผลอ พิจารณาว่ากายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย ตายเมื่อไรจิตเราแยกจากกายเด็ดขาด มุ่งไปแดนพระนิพพานที่ไม่มีการเกิดแก่เจ็บตาย ไม่หนาวร้อน ไม่ทุกข์ดีกว่า สบายถาวรดี
การประพฤติธรรมจะถูกจะผิดจะตรงจะชอบ เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ถอยหน้า ถอยหลัง นั้น เทวดา พรหม มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ท่านทรงทราบทุกอย่างไม่มีอะไรปิดบังได้
เส้นทางชีวิตของแต่ละคนเป็นทางเอก ทางส่วนตัว เราจะต้องดูแลรักษาทางอันนั้นให้สะอาด เดินง่ายเรียบร้อย เราอย่าเป็นคนทำทางของเราให้เป็นอุปสรรค กับชีวิตเราเองด้วยการมีอารมณ์ร้อน เศร้าหมอง วิตกกังวล ต้องรักษาจิตใจให้สดชื่นเย็นสบาย ทางชีวิตก็ถึงจุดหมายคือพระนิพพานได้
โอกาสและเวลาของแต่ละคนมีคุณค่าทางโลกและทางธรรมมากนัก ฉะนั้นควรทำโอกาสและเวลาของเราให้เป็นบุญเป็นประโยชน์มากที่สุด โอกาสนั้นก็ทำแสนง่ายดายคือ ทำที่จิต เห็นว่าจิตมาอาศัยกาย คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ชั่วคราว จิตมีที่ไปที่เดียวคือ พระนิพพาน ทางอื่น นรก สัตว์เดรัจฉาน โลก สวรรค์ พรหม เราไม่ไปเด็ดขาด ตั้งจิตไว้อย่างนี้เป็นแรง อธิษฐานบารมี
อุดมคติ คือ ความปรารถนาในสิ่งที่งดงาม มีอุดมคติอะไรก็พึงทำแต่สิ่งที่อยู่ในอุดมคติเท่านั้น อย่าออกนอกอุดมคติ เรามีชาติ ศาสนา พระประมุข อยู่ 3 สิ่งก็อย่าให้เลยเถิดจาก 3 สิ่ง
จริงอยู่ที่ว่าโลกเราหาความยุติธรรมไม่ได้ในสิ่งที่มองเห็น แต่สิ่งที่เป็นธรรมชาติหรือธรรมะนั้นเป็นกฎของธรรมดาหรือกรรม เป็นของยุติธรรมแน่นนอน เราก่อชีวิตขึ้นมาก็เป็นธรรมชาติที่เราจะต้องหาทางให้ชีวิตนั้นสดใส ด้วยการมีศีล 5 ครบ ศีล 5 ทำให้เป็นคนดี สมาธิทำให้เป็นคนเฉย การรู้เห็นทุกข์ของร่างกายทำให้คนมีปัญญา ระวังอย่าให้อารมณ์พอใจ โกรธ เกลียด รัก ชอบ หลง เป็นเจ้าหัวใจ ความยินดีไม่ได้ทำให้คนประสบความสำเร็จ การบำเพ็ญเพียรภาวนาพิจารณาร่างกายเป็นของน่าเกลียดน่ากลัวน่าเบื่อหน่าย ทำให้คนจำนวนมากสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรม จงพยายามและหาช่องทางสำหรับตัวเราเสียก่อนที่จะหมดเวลาคือ ตาย เวลาที่เป็นทุนนั้น จงใช้สร้างคุณอย่าสร้างโทษ จงใช้เวลาและกำลังของสังขารให้เป็นทุนต่อธรรมประจำตนให้มากที่สุด แล้วก็จะได้รับพรที่วิเศษคือ จงหมดภาระจากทุกสิ่ง
บางคนที่มีทิฐิว่า พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้วย่อมไม่ปรากฏอีก โดยอ้าง พระบาลี นิพพานัง ปรมังสุญญัง คำว่า สูญ นั้นหมายถึง สูญจากกิเลส จิตสูญจากกิเลสจึงจะเข้าพระนิพพานได้ จิตมัวหมอง ไม่รู้ตามความเป็นจริง แปลบาลีผิดจากความหมายพระพุทธองค์ จิตก็หลงทางไปสู่อบายภูมิเพราะเป็นจิตไม่ฉลาด
สิ่งที่ไม่มีที่พระนิพพานได้แก่ นรก สัตว์ โลก สวรรค์ พรหม ธาตุ 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ ) ขันธ์ 5 (รูป-นาม) อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ราคะ อุปาทาน บาปกรรม อวิชชา สังโยชน์ (กิเลสร้อยรัด 10 อย่าง ) เกิด แก่ เจ็บ ตาย สิ่งเหล่านี้ไม่มีในแดนพระนิพพาน
เราอยู่ในพระพุทธศาสนา จับหลักในคำสอน จับหลักให้จริงก่อน ให้คิด ไตร่ตรองก่อนว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้เป็นจริงไหม แล้วจึงเชื่อจึงปฏิบัติ
ถ้ามัวดูอภินิหาร ดูฤทธิ์ แล้วจึงเชื่อ ต่อไปถ้าพบคำสอนที่วิเศษ แล้วไม่มีอิทธิฤทธิ์ ก็หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีประโยชน์นะสิ
จงดูกายของเราว่าเป็นฉันใด กำลังทำอะไร กำลังคิดอะไร ถ้าคิดดีมีประโยชน์ก็เก็บเอาไว้ ถ้าคิดชั่วมัวหมองไร้สาระ วิตกกังวลก็โยนทิ้งไป โดยเฉพาะขันธ์ 5 กายเขากายเราอย่าสนใจ ให้สนใจจิตสะอาดมีธรรมะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ในจิต ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่ช้าก็พังสลายไม่มีอะไรเหลือ เราพิจารณากายจิตเพื่อหนีพ้นกรรมเวร เราต้องการความสุขที่แท้จริงไม่ใช่หรือ ?
ทุก ๆ คนจงทราบไว้ว่า พระโสดาบันยังมีกิเลส ตัณหา ราคะ ยังมีความโกรธอยู่ แต่ไม่มีอาฆาต มีสติ มีการยับยั้ง รู้คิด ยังอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แต่ไม่หลง มีศีล 5 ครบ ไม่สงสัยในคำสอนพระรัตนตรัย ไม่ลืมตัวกลัวตาย มีความมั่นใจว่าเดินเข้าสู่สายพระนิพพานแน่ ไม่หลงใหลแวะเวียนไปทางอื่น
หมวดพระอริยเจ้า (โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง)
พระโสดาบันและพระสกิทาคามี
เพื่อนพระโยคาวจรทั้งหลาย วันนี้มาฟังถึงหมวดพระอริยเจ้า หมวดนี้ให้นามว่า หมวดพระอริยเจ้า จะพูดถึงความเป็นอริยเจ้าโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าผู้สอนฉลาดในการสอน หรือว่าผู้ปฏิบัติฉลาดในการปฏิบัติก็ควรที่จะเริ่มตั้งแต่หมวดนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าการปฏิบัติ เราหวังผล นั่นคือ พระนิพพานหรืออย่างน้อยเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้น
ที่บรรดาท่านทั้งหลาย หลายท่าน จดหมายมาที่วัดบอกว่าปฏิบัติพระกรรมฐานมา 20 ปีเศษ ไม่มีอะไรคืบหน้า ก็เลยสงสัยเหมือนกันว่าการปฏิบัติของท่านปฏิบัติแบบไหน การจะเป็นพระอริยเจ้าหรือว่าการตัดกิเลส จะเป็นพระอริยะต้องตัดกิเลส 10 อย่าง หรือ ตัดกิเลสเพื่อความเป็นพระอริยะมี 10 อย่าง ท่านเรียกว่า สังโยชน์ คำว่าสังโยชน์แปลว่ากิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด รัดใจจนกระทั่งเราต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ มี 10 อย่างด้วยกันคือ
1. สักกายทิฏฐิ
2. วิจิกิจฉา
3. สีลัพพตปรามาส
ละสามข้อนี่เป็น พระโสดาบัน ก็ได้ พระสกิทาคามี ก็ได้
4. กามฉันทะ
5. ปฏิฆะ
ละสองข้อหลังนี่ต่อมาต้องได้ 1 2 3 ด้วยนะ แล้วต่อ 4 5 ถ้าได้ 4 5 มานี่ก็จะได้เป็น พระอนาคามี ต่อไปจะได้เป็นพระอรหันต์ ก็ต้องตัด
6. รูปราคะ
7. อรูปราคะ
8. มานะ
9. อุทธัจจะ
10. อวิชชา
ที่พูดอยู่นี่กำลังป่วย ก็จะเผลอไปบ้างผิดไปบ้างเป็นของธรรมดา เสียงก็ยังไม่ลงตัว กระแอมไอ ก็ขอนำสังโยชน์ 10 มาพูดกัน
คำว่า สักกายทิฏฐิ ในพระโสดาบัน สักกายทิฏฐินี่จริง ๆ เป็นตัวกิเลสที่ตัดโดยเฉพาะ ตามที่พระสารีบุตรท่านแนะนำพระสงฆ์ ที่พระสงฆ์ไปลาพระพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าทรงให้ไปลาพระสารีบุตรเพื่อจะเข้าป่า
พระได้ถามพระสารีบุตรว่า พวกผมยังเป็นปุถุชน ถ้าต้องการปฏิบัติให้เป็นพระอริยเจ้าเพื่อเป็นพระโสดาบันจะทำยังไงขอรับ พระสารีบุตรก็บอกว่า เธอจงปฏิบัติตามนี้ คือ มีความรู้สึกว่าร่างกาย ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง 5 ประการนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ถ้าเธอคิดอย่างนี้ได้อันดับต่ำ มีความทรงตัวอันดับต่ำ เธอก็จะเป็นพระโสดาบัน
พระก็ถามต่อไปว่า ถ้าพวกผมเป็นพระโสดาบันแล้ว ต้องการเป็นพระสกิทาคามี จะมีความรู้สึกอย่างไร ต้องปฏิบัติแบบไหน พระสารีบุตรก็บอกว่า ข้อเดียวกันแหละ ถ้าเธอมีความรู้สึกว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา จิตละเอียดลง ปัญญาเกิดมากขึ้น เธอก็เป็นพระสกิทาคามี
พระก็ถามว่า ถ้าผมเป็นพระสกาทามีแล้ว ต้องการเป็นพระอนาคามีจะทำยังไง ท่านก็บอกเหมือนกัน จะทำยังไง ท่านก็บอกข้อเดียวกัน ก็รวมความว่าให้ พิจารณาขันธ์ 5 ว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา
ตอนนี้ถ้าพูดเร็วก็ขอโทษ มันป่วย ป่วยและคอไม่ดี บรรดาท่านทั้งหลายฟังข้อนี้แล้ว ท่านอาจจะคิดว่าความเป็นพระอริยเจ้านี่เป็นของไม่ยาก แต่ความจริงมันก็ไม่ยาก แต่ว่าทั้งนี้ก็อย่าไปนึกว่าคนพูดเป็นพระอริยเจ้าไปด้วยก็แล้วกัน ว่ากันตามตำราของท่าน ไม่ยากจริง ๆ
ทีนี้เพื่อความเข้าใจง่ายไปกว่านั้น หวนกลับมาจับอารมณ์ ของพระโสดาบันใหม่ ว่า คนที่จะเป็นพระโสดาบันจริง ๆ จะต้องมีอารมณ์เยือกเย็นจริง ๆ สามารถตัดกิเลส ได้จะทำยังไง ก็ต้องไปดูบาลีจุดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี ทั้ง 2 ประการนี้มีศีลบริสุทธิ์ และก็มีปัญญาเล็กน้อย มีสมาธิเล็กน้อย
ถ้าว่ากันตามนี้ ก็จะเห็นว่าพระโสดาบันเป็นไม่ยากนัก ท่านบอกว่า ใช้สมาธิไม่มาก ไม่ต้องเครียด มีสมาธิเล็กน้อยขั้น ปฐมฌาน ก็พอ และมีปัญญาเล็กน้อยไม่มากนัก คำว่าปัญญาเล็กน้อยนี่มีความสำคัญ ต้องหวนกลับมาว่าปัญญาเล็กน้อยมีความรู้สึกยังไง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สักกายทิฏฐิ มีความสำคัญมาก สักกายทิฏฐิ ท่านแปลว่า มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา
ตอนนี้ก็มาตั้งจุดแค่เล็ก ๆ อันดับแรกที่เราจะทำ แรกที่สุดหาทางรู้จักหน้า นิวรณ์ 5 ประการเสียก่อน ว่านิวรณ์ 5 ประการนี่มีอะไรบ้าง อย่าให้มันกวนใจตลอดวัน ยังไง ๆ มันก็กวนใจแน่ ขั้นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี นี่หลีกนิวรณ์ไม่พ้น และก็หาทางยับยั้งมัน วิธีหาทางยับยั้งก็คือว่า ไม่ต้องรู้จักหน้ามันเลย ใช้เวลาประเดี๋ยวเดียวสักครู่เดียว นั่นคือ ว่าอันดับแรกก่อนจะทำอะไรทั้งหมด (หมวดนี้มีความสำคัญนะ) จิตนึกถึงพรหมวิหาร 4 ก่อน พรหมวิหาร 4 นี่ ถ้าท่านมีกันแล้วนะเป็นประจำทานก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ตาม ทรงตัวหมด การตัดกิเลสก็เป็นของง่าย
พรหมวิหาร 4 มีอะไรบ้าง คือ
1.เมตตา ความรัก มีความรู้สึกจากการตื่นนอน ก็ตั้งใจเสียทีเดียวว่า วันนี้เราจะรักตัวเดียว คำว่าเกลียด ไม่มีในใจของเรา เราจะมีความรักในตัวเราเองด้วย มีความรักในบุคคลอื่นด้วย มีความรักในวัตถุด้วย ความรักในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกามารมณ์ หมายถึง เมตตา ตัวรักในฐานะเป็นเพื่อน ในฐานะเป็นมิตรที่ดี เรารักตัวเราคือเราไม่ทำลายตัวเรา เรารักคนอื่นคือ เราไม่ทำลายคนอื่น เรารักสัตว์ เราไม่ทำลายสัตว์ เรารักวัตถุ เราไม่ทำลายวัตถุ ทำจิตรักเป็นอันดับแรกว่า เราจะเป็นมิตรที่ดีหรือรักคนทั้งโลก รักสัตว์ทั้งโลกเหมือนกัน รักวัตถุที่เขาใช้ ของใช้ของหวงแหนของแต่ละบุคคล ของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี เราจะรัก ไม่ทำลายไม่ยื้อแย่งของเขา ตั้งใจตามนี้นะ เช้ามืดเริ่มตอนนี้เลย และต่อมาเมื่ออารมณ์ทรงตัวดีแล้ว เราก็คิดว่าความรักก็ดี กฎ 4 ข้อก็ตาม จะประจำใจเราตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกว่าจะหลับ
2. อารมณ์สงสาร เราไม่ทำร้ายใคร ไม่ทำร้ายร่างกายเรา ไม่ทำร้ายบุคคลอื่น ไม่ทำร้ายสัตว์ ไม่ทำร้ายวัตถู ไม่ทำอันตรายกับเขาเพราะความสงสาร มีความปรารถนา จะเกื้อกูลให้ทุกคนมีความสุข เห็นใครมีทุกข์ อยากจะมีสุข ถ้าช่วยได้ไม่เกินวิสัย เราจะช่วย และต่อมาคือ
3. มุทิตา จิตอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาใคร เห็นคนอื่นได้ดี พลอยยินดีด้วย ตั้งใจไว้ตามนี้ อย่าไปแย่งความดีของเขา เขาทำความดีแบบไหน เราตั้งใจทำแบบนั้นเพื่อมีความดีเสมอเขาหรือดีกว่าเขา แต่ว่าอย่าให้เป็นมานะทิฏฐิ ถ้าเธอทำได้ดีแค่นี้นะรึ ฉันทำได้ดีกว่า กลายเป็นมานะทิฏฐิ นี่ไม่ถูกต้อง อย่างนี้ผิด ไปอบายภูมิจิตหมอง ต้องคิดว่าความดีมีอยู่ เราต้องทำความดีอย่างเขา แต่เผอิญมันจะดีกว่า เขาได้ก็เป็นปลื้มใจของเรา ไม่เหยียดหยามเขา
4. อุเบกขา วางเฉย นั่นหมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเกินวิสัยที่เราจะช่วยได้ จะเป็นคนก็ตาม จะเป็นสัตว์ก็ตาม เราจะไม่ซ้ำเติม เราจะช่วยเขาให้มีความสุข ถ้าเกินวิสัยที่เราจะพึงช่วยได้ ก็เฉยไว้ก่อน ไม่ซ้ำเติมเขา พร้อมที่จะช่วยเหลือ
อารมณ์อย่างนี้ต้องมีประจำใจของทุกท่าน ตั้งแต่ลืมตาใหม่ ๆ จนกว่าจะหลับตานอนหลับไปเลย นี่เป็นอันดับที่ 1 ที่เราจะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า และก็อันดับนี้คือ พรหมวิหาร 4 การกั้นนิวรณ์ เราจะทรงตลอดไป มันก็เผลอบ้างอะไรบ้างเป็นของธรรมดาใหม่ ๆ แต่ถ้าเป็นพระอริยะจริง ๆ ไม่มีคำว่าเผลอ พรหมวิหาร 4 นี่พระอริยเจ้าไม่เผลอ ยิ่งเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูงขึ้นไป พรหมวิหาร 4 ยิ่งหนักต้องประจำใจเพื่อประโยชน์ในความเป็นพระอนาคามี และพระอรหันต์
ต่อมาก็อารมณ์ ที่ต้องการ คือ อานาปานุสสติ การรู้ลมหายใจเข้าออก พอตื่นนอนปั๊บ จับลมหายใจเข้าออกทันที พร้อมกับคิดถึงเรื่องพรหมวิหาร 4 อย่าลืมว่าพระอริยเจ้ามีอารมณ์เยือกเย็น ถ้าพระโสดาบันมี 2 ขั้น สัตตักขัตตุง โกลังโกละ เอกพีชี มีความเย็นเหนือขึ้นไปเป็นลำดับ พระสกิทาคามีก็เย็นกว่าพระโสดาบัน อนาคามีก็เย็นกว่าพระสกิทาคามี อรหันต์เย็นที่สุด
ก็รวมความว่า เราต้องมีจิตเยือกเย็น อารมณ์เยือกเย็นจะมีได้ก็เพราะ พรหมวิหาร 4 พรหมวิหาร 4 จะทรงตัวได้ก็เพราะอานาปานุสสติ จำให้ดี เมื่อทรงอานาปานุสสติแล้ว จิตเราก็ยอมรับนับถือ นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็น พุทธานุสสติ นึกถึงพระธรรมด้วยความเคารพด้วยกันทั้งหมดนะ เป็น ธัมมานุสสติ นึกถึงพระอริยสงฆ์ด้วยความเคารพ เป็น สังฆานุสสติ อย่างนี้เป็นการละวิจิกิจฉา ตัดความสงสัยในคุณพระรัตนตรัย
มาถึงสักกายทิฏฐิ ทางด้านร่างกาย ขอย้อนกลับนิดหนึ่ง สักกายทิฏฐิ เห็นว่าร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อย่างนี้กำลังจะหนักเกินไปสำหรับพระโสดาบัน อารมณ์อย่างนี้ถ้าทรงตัว ละเอียดจริงๆ ต้องเป็นพระอรหันต์ แต่การมีความรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราต้องมีอาการทรงตัว ถ้าจะคิดให้ง่ายลงมา เพราะว่าท่านบอกว่าใช้ปัญญาเล็กน้อย พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ถ้าไปล่อขนาดไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราเข้าจะกลุ้ม แต่ว่าทำคล่องตัวก็ดี ทำ ถ้าถนัดควรทำ เพราะมีความสำคัญมาก
ถ้ากำลังจิตยังอ่อนอยู่ ก็คิดตามนี้ว่าร่างกายมันเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ มีความเสื่อมเป็นปกติ ไอ้เรื่องความเสื่อมเป็นยังไง หาเอาเองก็แล้วกันนะอย่าให้อธิบายเลยจะเกินพอดีไป การไม่รู้ว่าตัวแก่ ไม่รู้ว่าร่างกายทรุดโทรมนี่ไม่ควรจะเข้ามาเป็นพระอริยเจ้า ไม่ต้องปฏิบัติกับเขา เวียนว่ายตายเกิดไปตามเรื่องก็แล้วกัน ร่างกายมันเกิดมาแล้วก็มีความเสื่อม จากเด็กเล็กเป็นเด็กใหญ่ เป็นหนุ่มเป็นสาว จากหนุ่มสาวเป็นวัยกลางคน จากวัยกลางคนเป็นคนแก่ จากคนแก่เป็นคนตาย นี่มันไม่เที่ยง
ขณะที่ทรงร่างกายอยู่ก็ทุกข์ ทุกข์อะไรบ้าง ย้อนกลับฟังอนุสสติ และในที่สุดเป็นอนัตตา คือ สลายตัว
ไหวมั๊ย ถ้าจะคิดว่าไม่ไหว จะให้ต่ำลงมาอีกนิดหนึ่งเป็นพระโสดาบันขั้นต้นคือ สัตตักขัตตุง มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันต้องตาย ตายกับอนัตตานี่มันตัวเดียวกัน อาจจะมีบางคนบอก คำว่าตายนี่มันเป็นมรณานุสสติเป็นสมถภาวนา ก็ต้องขอตอบว่า ถ้าไม่โง่ซะอย่าง มันก็เหมือนกัน
อย่าติดในศัพท์มากเกินไป ใช้ปัญญาด้วย ปัญญามีอยู่ ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ รู้จักใช้จะเบา ให้มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตายก็ได้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ได้ ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเราก็ได้ ให้นึกเอาตามชอบ มีความรู้สึกอย่างนี้ตั้งแต่เช้ามืด ต่อไปก็ยึดอารมณ์ให้มันแน่นอน จริง ๆ และอย่าปล่อยนะ นึกแต่เช้าจนหลับ
และต่อไปก็นั่งดศีล 5 ก็ดี กรรมบถ 10 ก็ดี เราครบถ้วนมั้ย พระโสดาบันนี้จะมีแต่ศีล 5 ไม่ได้ สังเกตดูปาก ปากพระโสดาบันไม่ใช่ปากชั่ว เป็นปากดี จะเห็นว่าท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ดี นางวิสาขาก็ดี ทุกท่านก็ตามที่เป็นพระโสดาบัน ท่านรักษาปากด้วยกรรมบถ 10 (ปากดีไม่ใช่ปากเลว ปากเลวถือว่าเป็นปากหมาก็ไม่ได้ ปากเลวกว่าปากหมา เพราะ หมาด่าคนไม่ได้ คนไม่รู้เรื่อง ไม่กลุ้ม ถ้าคนด่าคนนี่คนมันรู้เรื่อง มันกลุ้มในด้านปาก ) ก็คือว่า
หนึ่งไม่พูดปด สองไม่พูดคำหยาบ สามไม่นินทาชาวบ้าน พูดส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกัน สี่เพ้อเจ้อ เหลวไหล นี่ทางวาจา ทางใจก็ หนึ่ง ไม่นึกอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของใครมาครอบครองโดยไม่ชอบธรรม สอง ไม่คิดประทุษร้ายใคร คือ ความโกรธยังมีอยู่ แต่การจองล้างจองผลาญไม่มีแล้ว สาม ทางใจมีความไม่ค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ คือพระพุทธเจ้าตรัสมา ใช้ปัญญา พิจารณาตามแล้วปฏิบัติตามด้วย ในที่สุดก็เห็นว่าพระพุทธเจ้าตรัสถูก มีความสุข หลังจากนั้นถ้าหากปฏิบัติ นี่เป็นอันว่าครบแล้ว ครบการเป็นพระโสดาบัน ขอย่ออีกครั้งหนึ่ง
อันดับแรก ตั้งอารมณ์ไว้ในด้านกัน เรียกว่า นิวรณ์ 5 ประการ นิวรณ์ 5 ประการจะกันได้ชั่วคราว ประเดี๋ยวเดียว แล้วก็เข้ามาทับใหม่ก็ช่างมัน มันเผลอเราก็เอาใหม่
ประการที่สอง ทรงพรหมวิหาร 4
ประการที่สาม เห็นว่าร่างกายนี้ตาย เห็นว่าร่างกายเป็นอนิจจัง อนัตตา เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง นี่ใช้ได้และ
ประการต่อไป ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ตัดวิจิกิจฉา
และก็ต่อมา รักษาศีล 5 กรรมบถ 10 ครบ ได้แก่ หนึ่ง ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม เอาศีล 5 เข้ามาบวก ไม่ดื่มสุราและเมรัย ไม่พูดปด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดนินทาชาวบ้าน ไม่เพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ และก็ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สินของใคร ไม่คิดจองล้างจองผลาญใคร มีความเห็นตรงที่พระพุทธเจ้าสอน เราไม่ฝืน
 
นิน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ค.2006, 5:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จปรินิพาน ไปนานแล้ว
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ จะไปพบพระพุทธองค์ได้อย่างไรครับ

พุทธศาสนา ไม่มี " แดนนิพพาน " ครับ
หลักสำคัญของพุทธศาสนา คือ
" สิ่งใดมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีความดับ เป็นธรรมดา "
สรรพสิ่งมีเกิด ย่อมมีดับ ไม่มีสิ่งใดคงทนตลอดไป
 
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2006, 7:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นด้วยกับความเห็นของผู้ตอบกระทู้ที่ ๑ สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จเข้าสู่มหาปรินิพพานไปแล้ว ตัวแทนของพระพุทธองค์คือ พระธรรม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Arahan
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2006, 2:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดินแดนพระนิพพานเป็นอุปสมานุสสติกรรมฐานครับ เป็นหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ เป็นธรรมที่เมื่อกระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อพระนิพพานครับ
 
ปัจจัย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2006, 8:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ นิพพานเป็นขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์

คำว่า ขันธ์ หมายถึงสภาพธรรมที่จำแนกเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน ภายนอก

หยาบ ละเอียด ทราม ประณีต ไกล ใกล้ ฉะนั้น ขันธ์จึงได้แก่สังขตธรรมซึ่งเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุง

แต่งเกิดดับ จึงเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นต้น

ส่วนอสังขตธรรม คือ นิพพานนั้นเป็นธรรมที่ไม่เกิด ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง จะกล่าวว่าเป็น

ธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ จะกล่าวว่า

เป็นอดีตก็ไม่ได้ ว่าเป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่าเป็นปัจจุบันก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น วิสังขารธรรม คือ

นิพพาน จึงไม่ใช่ขันธ์ เป็นขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์
 
Arahan
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2006, 11:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ:-พระนิพพานไม่สูญ ที่สูญนาะคือขันธ์ห้า
 
ไลลารินทร์
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 14 ก.ค. 2006
ตอบ: 64

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2006, 2:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอกราบเบื้องพระบาทของพระพุทธองค์ สาธุ
ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะประเสริฐเทียบเท่ากับคุณพระศรีรัตนตรัยได้
 

_________________
เชื่อ ศรัทธา และเคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วยหัวใจอย่างไม่มีข้อกังขาใดๆ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวYahoo Messenger
อ่าง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2006, 4:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บังเอิญอ่านกระทู้ board pantip เลยเอามาฝากค่ะ เรื่องแดนนิพพาน มีพระสงฆ์ผู้ประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตั้งหลายองค์ ตอบคำถามได้ชัดแจ๋ว หาอ่านจาก web นี้ค่ะ
http://www.geocities.com/pranipan/

อัศจรรย์ดีนะคะ
 
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2006, 4:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิพพานเป็น อกาลิโก คือพ้นจากกาลทั้งสาม คือ อดีต อนาคต ปัจจุบัน

พระพุทธเจ้า ท่านนิพพาน คือ ขันธ์ ๕ สูญไปแล้ว กลับสู่ธรรมชาติเดิมแท้ แต่พุทธบารมีท่านยังอยู่

ดุจดวงอาทิตย์ที่ลับขอบ ฟ้า ยังคงไออุ่นแห่งแสงสุริยาฉะนั้น สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2006, 6:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้ม นิพพานธาตุ 2 ประการของพระอรหันต์ ลองอ่านกระทู้เก่า

ปรินิพพานคืออะไร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6091

มีพระพุทธภาษิตอื่นที่ตรัสถึงนิพพาน เช่น ........
ที่ทรงตรัสว่า "อายตนะนั้นมีอยู่" ซึ่งหมายถึงว่านิพพานสามารถประจักษ์ได้ (จึงตรัสว่าเป็นอายตนะ)

นิพพานเป็นอนัตตา....หมายถึงพ้นไปจากอัตตา

คำว่าสุญญตา หรือ มหาสุญญตา ก็มีการเรียก..... แต่ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า โลกว่าง (สุญญตา) นั้น เพราะว่างจากอัตตาและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยอัตตา......

บางท่านไปเข้าใจคำว่า "อนัตตา" ว่า มีความหมายเดียวกับ "นัตถิตา" ...... ซึ่งทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปมากว่า นิพพานนั้นต้องสูญสิ้นแบบที่ชาวโลกเข้าใจ..... คำว่า "นัตถิตา" นั้นต่างหากที่แปลว่า ไม่มีอะไรเลย ในความหมายที่ชาวโลกเข้าใจกัน

พระอรหันต์ท่านประจักษ์ (อายตนะ) นิพพาน ตั้งแต่วินาทีที่ท่านหมดอุปาทาน (ตรงกับที่ตรัสว่า สิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ ในธาตุสูตร)...... ทุกข์ใจท่านดับสนิท นับตั้งแต่วินาทีนั้นเลย ที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ธาตุนี้หมายถึงภาวะ ซึ่งก็คือจุดที่พระพุทธองค์ใช้นิรุติภาษากล่าวบอกนำทางให้ผู้เดินตาม)..... สิ่งที่ดับสนิทคือทุกข์ทางใจต่างหาก เบญจขันธ์หรือชีวิตยังคงดำเนินอยู่ ก็มีวิบากประจำธาตุขันธ์ แต่ไม่เหลือทุกข์ทางใจแล้ว

ส่วนอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หรือการดับสนิทของภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง นั้น.......ก็คือดับขันธปรินิพพาน ซึ่งชื่อก็บอกอีกว่าขันธ์ดับสนิท โดยจะไม่เกิดอีกในภพไหนๆ ทั้งสิ้น......จึงเหลือแต่ "นิโรโธ นิพพานัง"

ขออัญเชิญเถรภาษิต ของ หลวงปู่ บุดดา ถาวโร สาธุ สาธุ สาธุ มาลง


“เป็นคนเป็นสัตว์ มันก็มีเกิดมีตาย
ธรรมะไม่เกิด-ไม่ตาย มีแต่เกิด-ดับ
กิเลสตายไปแล้ว ไม่มาอีก
เหลือแต่ นิโรโธ นิพพานัง”
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง