Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ถาม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
รับพร
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 11 มิ.ย. 2006
ตอบ: 1
ที่อยู่ (จังหวัด): นครปฐม/นครราชสีมา

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2006, 6:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การบนบานศาลกล่าว ผิดหลักในพุทธศาสนาหรือไม่??
และเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างไร???
 

_________________
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
1
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2006, 7:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าของเราสอนให้อยู่ในปัจจุบัน

เหตุแห่งการกระทำในอดีต....จะเป็นตัวกำหนดผลในปัจจุบัน

เหตุแห่งปัจจุบัน.......จะกำหนดผลในอนาคต

เพราะสิ่งนี้มี...................สิ่งนี้จึงมี

ดังนั้นการสาบานจึงไม่มีในหลักศาสนาพุทธ มีแต่สัจจาธิษฐาน หรือคำอธิฐานเพื่อให้เกิดความสำเร็จ เช่นตอนพระพุทธองค์ลอยถาดในแม่น้ำเนรัญชราก่อนตรัสรู้ครับ
 
ยุทธ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2006, 7:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การบนบานศาลกล่าว ผิดหลักในพุทธศาสนาหรือไม่??

ผิดครับ เพราะหลักการใหญ่ในพระพุทธศาสนาให้เชื่อเรื่องกรรม บุคคลใดกระทำความดีย่อมได้รับผลดี ทำความชั่วย่อมได้รับผลที่ไม่ดี เป็นต้น

และเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างไร???

เกี่ยวข้องโดยทางอ้อมคือ มีบุคคลบางกลุ่มบางคณะ ใช้หลักศาสนามาทำมาหากิน เช่น ชักชวนพุทธศาสนานิชน ( ที่มีความทุกข์ ) ว่าถ้ามากราบไหว้สิ่งศักดิ์ทั้งหลาย ที่บุคคลกลุ่มนั้นพยามยามจัดตั้งขึ้นหรือมีอยู่แล้ว ว่าสามารถขจัดทุกข์ได้ แต่จริง ๆ แล้วไม่สามารถทำได้
 
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2006, 8:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อภัยมาถึง มนุษย์มักจะยึดเอา ต้นไม้ บ้าง ภูเขาบ้าง จอมปลวกบ้าง มาเป็นที่พึ่ง
แต่ที่พึ่งเหล่านี้หาใช่ที่พึ่งที่ถาวรไม่
ที่พึ่งที่ถาวรที่ แท้จริงคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะที่พึ่งอื่น หาทำให้พ้นจากทุกข์ไม่ บุคคล ยึด พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ถึงซึ่งพระนิพพาน แล



จริงอยู่การบนบานศาลกล่าวบางทีก็ได้ผล แต่ไม่ใช่ที่พึ่งที่ถาวร คือ อาจจะพึ่งได้
ชั่วคราว เท่านั้น

แต่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่ พึ่งที่ถาวร คือ เป็นที่พึ่งทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
และบุคคลที่ยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งย่อมสามารถทำที่สุดแห่งทุกข์คือนิพพานได้
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2006, 2:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การบนบานศาลกล่าวเป็นการตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนปรารถนา พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้เราพึ่งตนเองให้ได้ก่อน (นาถกรณธรรม ๑๐) อย่างไรก็ตาม ได้ทรงแสดงถึงสัจจบารมี และอธิษฐานบารมี ซึ่งเรียกรวว่า สัตยาธิษฐาน ซึ่งจะปรากฏผลให้ได้ตามที่ตนปรารถนาเหมือนกัน หากคำอธิษฐานได้อ้างอิงสิ่งเป็นความจริง เช่น อ้างอิงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ซึ่งเป็นความจริง อ้างถึงบุญกิริยา เช่น ศีล ทาน ภาวนา ฯลฯ ซึ่งตนถือปฏิบัติอยู่เป็นประจำ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง