Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลับสบาย ปลายจมูก:นานาจิตตัง(ต่อ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2006, 12:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ส่วนที่โพสต่อจากนี้ เป็นเรื่องที่ต่อจากเรื่องหลับสบาย ปลายจมูก พอดี dt โพสต่อจากอันเดิมไม่เป็น มันไม่ขึ้น dt เลยขออนุญาติตั้งกระทู้ใหม่ก็แล้วกัน ฮะ ทันโทษด้วยฮะ ที่ทำให้อ่านแล้ววนไปเวียนมา ฮะ
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2006, 12:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนต่อไปความจริงจะเป็นหัวข้อเรื่อง ขันธ์ ที่ต่อจากหัวข้อเรื่อง อายตนะ แต่พอดี dt ยังไม่ได้เอาไปให้พระที่อยู่ในป่าซึ่งเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ Edit ให้ เลยไม่รู้ว่ามันผิดมากน้อยเพียงใด สำหรับท่านผู้อ่านที่อ่านแล้วไม่นำไปปฏิบัติก็คงไม่เป็นไร แต่สำหรับท่านผู้อ่านที่อ่านแล้วนำไปปฏิบัติ แล้วเอาสิ่งที่ dt บอกผิดๆไปปฏิบัติ มันก็คงเป็นบาปของ dt เป็นแน่ เหมือนกับเรื่อง ธรรมะของป้าที่ได้เล่ามาแล้ว อย่ากระนั้นเลย dt ขออนุญาตโพสตอนต่อไปก่อนก็แล้วกัน อาจข้ามไปข้ามมาหน่อย ขออภัยด้วยฮะ
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2006, 1:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลับสบายปลายจมูก: อานาปานสติ


คราวก่อนเราเล่าให้ข้าวฟ่างฟังแล้วว่าทำไมข้าวฟ่างจึงกินข้าวฟ่างแล้วอร่อย เลยทำให้ได้คำตอบว่า เหตุที่ข้าวฟ่างกินข้าวฟ่างแล้วอร่อยก็เพราะข้าวฟ่างขาดสติ


ของที่ขาดหายไป เราอาจสามารถหาใหม่เพิ่มเติมได้ สติก็เช่นกัน เมื่อขาดหายไปบ้าง เราก็หาใหม่เพิ่มเติมได้เช่นกัน วิธีการหาใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาก็คือ การฝึกสติ


การฝึกสติก็มีหลายแบบหลายวิธี อย่างที่เราคุ้นๆกันก็เช่น วิธีบริกรรมพุทโธ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ วิธียุบหนอพองหนอ หายใจเข้าพองที่ท้อง หายใจออกยุบที่ท้อง วิธีสัมมาอรหัง เพ่งลูกแก้วที่ศูนย์กลางกายเหนือสะดือ วิธีอานาปานสติ คือการดูลม หรือสังเกตลมที่ผ่านปลายจมูกก็ได้หรือดูลมยาวๆตามลมไปก็ได้ ดูไปดูมาดูตามลมจนเหนื่อย เราก็เลยดูมันที่จุดจุดเดียวคือที่ปลายจมูกอย่างนี้ก็ได้


ท่านบอกว่า เหมือนเราไกวเปลเด็ก ตอนแรกเรากลัวเด็กตกจากเปล เราก็เลยต้องดูเด็กในเปลที่แกว่งไปไกวมาซ้ายทีขวาที แต่พอดูไปดูมาหันไปหันมาจนเมื่อยคอ แล้วเห็นว่าเด็กไม่ตกจากแปลแน่แล้ว เราก็เลยดูมันที่จุดกลางเปลหรือจุดไหนก็ได้จุดเดียว เพราะเราดูจนรู้แน่อยู่แก่ใจแล้วว่าเด็กไม่ตกแน่ เลยดูมันอยู่ที่จุดๆเดียว อย่างนี้ก็ได้


เวลาดูลมของอานาปานสติที่จุดๆเดียวบางทีเขาก็ดูที่ปลายจมูก เพราะเป็นทางผ่านของลมหายใจจากนอกร่างกายเข้าสู่ในร่างกาย เขาบอกว่ามันเป็นต้นลม


ต้นลมมันก็ที่จมูก กลางลมมันก็ที่หน้าอก ปลายลมมันก็ที่ท้อง เขาบอกว่าอย่างนั้น แต่ถ้าพูดแบบนี้เดี๋ยวคนฝึกยุบหนอพองหนอจะน้อยใจเลิกอ่านเลย เพราะยุบหนอพองหนอเขาดูที่ท้อง ท้องมันก็ปลายลม


ถ้าอย่างนั้นขอพูดใหม่เอาใจคนฝึกแบบยุบหนอพองหนอก็ได้ว่า ท้องมันก็เป็นต้นลมเหมือนกัน เพราะตอนเราหายใจออกท้องมันก็เป็นต้นลม ลมออกทิ้งที่ปลายจมูก ปลายจมูกมันก็เป็นปลายลม
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2006, 1:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นี้มักมีอะไรแปลกๆ เสมอ ร้องไห้ท่ามกลางเสียงหัวเราะ หัวเราะท่ามกลางเสียงร้องไห้ โลกมันจึงชุลมุลชุลเก ยุ่งเหมือนยุงตีกันอยู่แบบนี้ ว่าแล้วเราก็กลับมาเข้าเรื่อง การกำหนดลมหายใจเข้าออกของเรากันต่อดีกว่า


เราจะกำหนดลมหายใจเข้าก่อนหรือกำหนดลมหายใจออกก่อน ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน แต่ในช่วงที่เริ่มฝึก เพื่อความสะดวกที่จะได้ทำไปพร้อมๆกันอย่างมีระบบระเบียบ เราอาจทำแบบง่ายๆตามแบบที่ครูบาอาจารย์หลายท่านแนะนำกันต่อๆมา นั่นก็คือการหายใจเข้าก่อนแล้วจึงหายใจออกก็แล้วกัน ง่ายดี พิสมัยแนะนำ


เอาละ ฝึกเลย ฝึกเลย ฝึกเดี๋ยวนี้เลย เอาที่ปัจจุบันนี้เลย ธรรมะเป็นเรื่องของปัจจุบัน ที่นี่และเดี๋ยวนี้ พิสูจน์ได้ทันทีเลย เพราะเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วก็ปกติเราก็ต้องหายใจอยู่แล้ว ไม่ต้องหาอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมอีก เราจะจัดการพิสูจน์เดี๋ยวนี้เลย เอาให้รู้เรื่องเดี๋ยวนี้เลย พิสมัยกระตุ้น


เอาตอนนั่งอ่านนี่แหละ นั่งตัวตรงตรง ยืดตัวตรงตรง ดำรงสติให้มั่น........แล้วหายใจเข้าให้ลึกกก.....ลึกกกกกก.......ลองทำดู


หายใจเข้าให้ลึกกก.........ลึกกกกก.......ให้เต็มปอดเลย......แล้วก็หายใจออกให้ ยาววว.....ยาวววว......ให้หมดปอดเลย...ออกทางจมูกก่อนนะ อย่าออกทางปาก เข้าก็ทางจมูก แล้วก็ออกก็ทางจมูก เข้าให้ลึกๆนี่ใช้เวลาเท่าไรก็ได้ ยิ่งนานยิ่งดี ออกให้ยาวๆ ก็เหมือนกัน นานเท่าไรก็ได้แต่ยิ่งนานก็ยิ่งดี ทำใหม่ ทำใหม่


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า ...เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงไหม...


ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย......


...อ้าว แล้วกัน...


ความจริงเราว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงนะ...แต่ข้าวฟ่างไม่รู้เอง..พิสมัยบอก...
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2006, 1:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คือตอนที่เราหายใจเข้า เรารู้สึกว่าเราหายใจเข้า ตอนที่เราหายใจออกเราก็รู้สึกว่าเราหายใจออก


ปกติเราจะรู้ว่าคนที่มีชีวิต ต้องหายใจ มันเป็นปราณ มันเป็นลมปราณ ที่ทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้


แต่เรา..ไม่รู้สึกว่าเราหายใจ..ใช่หรือไม่...เรารู้ว่าคนเราต้องหายใจ........แต่เราไม่รู้สึกว่าเรากำลังหายใจในช่วงเวลาปกติ


เอ..แปลกดีนิ..พูดไง..งง..งง..


เอาใหม่ หายใจเข้าใหม่....ทำเลย...ทำเลย..


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


ฮั่นแน่...เริ่มรู้สึกตอนเราหายใจเข้า หายใจออกแล้ว


แล้วไง....รู้ก็รู้ซิ.....


แต่ก่อนที่เราจะพูดคุยกันนั้น เราไม่รู้สึกเลยว่าเรากำลังหายใจ แสดงว่าตอนนี้เรามีความรู้เพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่งแล้ว ใช่ไหม


เรารู้ว่าเรามีการหายใจ เรารู้สึกได้ว่า เรามีการหายใจ เพราะเรารู้ได้จาก....ลมหายใจ.....ของเราเอง
การหายใจ กับลมหายใจมันคนละตัวกัน การหายใจเป็นกริยา เป็น Verb เป็นกริยาอาการ แต่ ลมหายใจ เป็น Noun หรือเป็นนาม ที่เราจับต้องได้ด้วยประสาทสัมผัสที่มันสัมผัสกับรูจมูกของเรา


ตัวลมหายใจนี่มันเป็นโผฏฐัพพะ คือสิ่งที่มากระทบผิวหนัง มันก็เป็นอายตนะภายนอก ตามที่เคยกล่าวมาแล้วในบทก่อน


อายตนะภายนอกก็มี 6 สิ่ง สิ่งที่มันมาสัมผัสทางกายเราเรียกมันว่าโผฏฐัพพะ ส่วนกายหรือในที่นี้ก็คือผิวหนังเป็นอายตนะภายใน โผฏฐัพพะเป็นอายตนะภายนอก สำหรับ 5 คู่ที่เหลือก็คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส และใจกับธรรมารมณ์


อายตนะภายนอกพวกนี้ ถ้าเรานั่งสมาธิแล้วเพ่งมัน มันก็จะกลายมาเป็นอารมณ์ (Object) ที่ถูกเราเพ่ง หรือพูดให้ง่ายที่สุดก็คือ ถ้าเราเพ่งที่ลมหายใจ ก็เป็นการนั่งสมาธิโดยมีลมหายใจเป็นอารมณ์


ทำไมจึงต้องมีลมหายใจเป็นอารมณ์ ก็เพราะลมหายใจตัวนี้สติของเราไปกำหนดไว้ ตามความหมายของวิธีการฝึกอานาปรานสติที่ว่า เอาสติไปกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก


เมื่อเราเอาสติไปกำหนดอยู่ที่ลมหายใจ สติมันก็ไม่หนีไปไหน มันก็อยู่กับลมหายใจเข้าลมหายใจออก ลมหายใจมันก็เลยเป็นสิ่งที่ยึดหน่วงสติไว้


คำว่าสิ่งที่ยึดหน่วง เราอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อารมณ์ก็ได้ เพราะในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานปี 2542 ให้ความหมายของคำว่าอารมณ์ไว้ว่า อารมณ์เป็นนาม แปลว่าสิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ของกาย เป็นต้น


เราจะต้องยึดหน่วงอะไรไว้สักอย่างหนึ่งเวลานั่งสมาธิ เพราะถ้าเราไม่ยึดหน่วงอะไรไว้เลยมันก็จะลอยไปลอยมา กลายเป็นนั่งใจลอยไม่ใช่การนั่งสมาธิเป็นแน่


ตัวที่เราจะยึดหน่วงเอาไว้ได้ดีที่สุดก็คือลมหายใจของเรานี่แหละ เพราะมันเป็นวัตถุ หรือเป็น Object ที่มันวิ่งเข้ามาชนโครมโครมเข้ากับรูจมูกของเราอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา ตอนเราสูดลมหายใจเข้า สูดลมหายใจออกขณะที่เรานั่งสมาธินี่แหละ


เห็นไหม เมื่อก่อนเราไม่รู้จักกับ...ลมหายใจ....แต่ตอนนี้เรารู้จักกับ...ลมหายใจ...ของเราแล้ว....โดยที่เราเพ่งที่ตัวลมหายใจ แล้วถ้าเราทำติดต่อกันไปเรื่อยเรื่อย..แบบกัดติดไม่ปล่อย...จนเรารู้จักกับลมหายใจของเรานานนานแล้ว ได้เรื่องเลย เราจะรู้จักกับสติ


แล้วถ้าเราทำต่อไปเรื่อยเรื่อย...เราจะรู้จักกับจิต...แต่ตอนนี้ชั่งมันก่อน...เอาเป็นว่าตอนนี้เรารู้จักแต่เพียง..ลมหายใจ...แค่นี้ก็เจ๋ง สุด สุด แล้ว


อ้าว...เฟ้ย..เฟ้ย.. ลมหายใจของข้าวฟ่างหายไปไหนแล้วเนี๊ยะ...พิสมัยหลอกให้ข้าวฟ่างอ่านเพลินไปหน่อย ลมหายใจมันเลยหายไปไหนแล้วก็ไม่รู้


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


อ๋อ อ๋อ ...ยังอยู่...อิ..อิ.. เผลอแป๊บเดียว ลืมลมหายใจ ไม่รู้ว่าลมหายใจหายไปไหนซะแล้ว


ลมหายใจนี่ก็ช่างกระไรเลย ชอบหนีข้าวฟ่างไปเที่ยวอยู่เรื่อยเลย....
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2006, 1:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้าว โพสเสร็จคนโพสยังอ่านไม่รู้เรื่องเลย แล้วจะว่าฝึกสติอย่างไง นี่ ฮือ ฮือ ฮือ ...dt ขออัมไพด้วยฮะ ขออนุญาติโพสใหม่ก็แล้วกันฮะ ขอประทานโทษร้อยครังพันครั้ง ฮะ
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2006, 1:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลับสบายปลายจมูก: อานาปานสติ


คราวก่อนเราเล่าให้ข้าวฟ่างฟังแล้วว่าทำไมข้าวฟ่างจึงกินข้าวฟ่างแล้วอร่อย เลยทำให้ได้คำตอบว่า เหตุที่ข้าวฟ่างกินข้าวฟ่างแล้วอร่อยก็เพราะข้าวฟ่างขาดสติ


ของที่ขาดหายไป เราอาจสามารถหาใหม่เพิ่มเติมได้ สติก็เช่นกัน เมื่อขาดหายไปบ้าง เราก็หาใหม่เพิ่มเติมได้เช่นกัน วิธีการหาใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาก็คือ การฝึกสติ


การฝึกสติก็มีหลายแบบหลายวิธี อย่างที่เราคุ้นๆกันก็เช่น วิธีบริกรรมพุทโธ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ วิธียุบหนอพองหนอ หายใจเข้าพองที่ท้อง หายใจออกยุบที่ท้อง วิธีสัมมาอรหัง เพ่งลูกแก้วที่ศูนย์กลางกายเหนือสะดือ วิธีอานาปานสติ คือการดูลม หรือสังเกตลมที่ผ่านปลายจมูกก็ได้หรือดูลมยาวๆตามลมไปก็ได้ ดูไปดูมาดูตามลมจนเหนื่อย เราก็เลยดูมันที่จุดจุดเดียวคือที่ปลายจมูกอย่างนี้ก็ได้


ท่านบอกว่า เหมือนเราไกวเปลเด็ก ตอนแรกเรากลัวเด็กตกจากเปล เราก็เลยต้องดูเด็กในเปลที่แกว่งไปไกวมาซ้ายทีขวาที แต่พอดูไปดูมาหันไปหันมาจนเมื่อยคอ แล้วเห็นว่าเด็กไม่ตกจากแปลแน่แล้ว เราก็เลยดูมันที่จุดกลางเปลหรือจุดไหนก็ได้จุดเดียว เพราะเราดูจนรู้แน่อยู่แก่ใจแล้วว่าเด็กไม่ตกแน่ เลยดูมันอยู่ที่จุดๆเดียว อย่างนี้ก็ได้


เวลาดูลมของอานาปานสติที่จุดๆเดียวบางทีเขาก็ดูที่ปลายจมูก เพราะเป็นทางผ่านของลมหายใจจากนอกร่างกายเข้าสู่ในร่างกาย เขาบอกว่ามันเป็นต้นลม


ต้นลมมันก็ที่จมูก กลางลมมันก็ที่หน้าอก ปลายลมมันก็ที่ท้อง เขาบอกว่าอย่างนั้น แต่ถ้าพูดแบบนี้เดี๋ยวคนฝึกยุบหนอพองหนอจะน้อยใจเลิกอ่านเลย เพราะยุบหนอพองหนอเขาดูที่ท้อง ท้องมันก็ปลายลม


ถ้าอย่างนั้นขอพูดใหม่เอาใจคนฝึกแบบยุบหนอพองหนอก็ได้ว่า ท้องมันก็เป็นต้นลมเหมือนกัน เพราะตอนเราหายใจออกท้องมันก็เป็นต้นลม ลมออกทิ้งที่ปลายจมูก ปลายจมูกมันก็เป็นปลายลม


ความจริงต้นลมกลางลมปลายลมมันก็ลมเส้นเดียวกัน วิธีไหนก็ได้ ฝึกให้ได้ที่แล้วมันก็จะเหลือจิตอยู่ตัวเดียว หรือจะสมมติชื่อให้เป็นอะไรก็ได้ ตัวรู้ก็ได้ ตัวรู้ตัวเดียวลอยอยู่ อย่างนี้ก็ได้


มันก็เหมือนกันกับตอนที่เราหิวอยากจะกินอาหาร เราจะใช้ตะเกียบกินก็ได้ ช้อนกินก็ได้ อิ่มเหมือนกัน อิ่มแล้วก็เอาเวลาที่เหลือไปทำการงานอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อ คงไม่มีใครมาเถียงกันว่า ต้องใช้แต่ช้อนกินหรือว่าต้องใช้แต่ตะเกียบกิน มันจึงกินอาหารได้


วิธีฝึกจิตให้เหลือตัวจิตดวงเดียวหรือจิตที่มีสมาธินี่ก็เหมือนกัน ป่วยการที่จะเถียงกันว่าวิธีไหนดีกว่ากัน พอฝึกได้วิธีใดวีธีหนึ่งจนถึงระดับหนึ่งแล้ว วิธีอื่นเราแอบไปทำแป๊บเดียวก็ได้แล้ว เหมือนเราฝึกกินช้อนเป็นได้ไม่นาน เราก็จะกินตะเกียบเป็นเหมือนกัน


เป็นอันว่าเราจะฝึกวิธีกินช้อนกันก่อนก็แล้วกัน สมมติว่าวิธีกินช้อนเป็นวิธีอานาปานสติ เพราะฉะนั้นเราก็เลยจะเล่าให้ข้าวฟ่างฟังถึงวิธีฝึกสติแบบที่เรียกว่า อานาปานสติ ก่อน


อานะ แปลว่า หายใจเข้า


อปานะ แปลว่า หายใจไม่เข้า ซึ่งก็คือ ออก อะ แปลว่าไม่ อปานะ แปลว่าหายใจไม่เข้า


ดังนั้น อานาปานะ ก็คือ การหายใจเข้าและหายใจออก บวกกับคำว่าสติ เลยกลายมาเป็นอานาปานสติ แปลว่า สติกำหนดลมหายใจเข้าออก นี่เป็นการแปลคัมภีร์แบบฝ่ายพระสูตร


ถ้าเป็นแบบคัมภีร์ของฝ่ายพระวินัย เขาแปลคำว่าอานะก็คือออก และอปานะก็คือเข้า ดังนั้นอานาปานสติ ก็คือสติกำหนดลมหายใจออกเข้า


เราก็เดาต่อเอาไปตามความเห็นของเราเลยว่า เพราะเด็กเกิดมาร้องไห้จ๊ากก่อนเลย แสดงว่าหายใจออกก่อน ขืนหายใจเข้าก่อนเด็กคงหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอดเป็นโรคปอดบวมแน่ อีกอย่างหนึ่ง เด็กคงต้องสั่งอะไรที่มันยังคั่งค้างอยู่ในรูจมูกออกมาก่อนกระมัง แล้วจึงหายใจเข้า


แปลกนิ เด็กเกิดมาพร้อมเสียงร้องไห้เลย แสดงว่าเศร้าใจที่ต้องเกิดมา เพราะเกิดมางวดนี้มีความทุกข์รออยู่เบื้องหน้าจมเลย แต่ผู้ใหญ่ที่อยู่รอบๆที่เป็นกองเชียร์กลับชอบใจ หัวเราะกันใหญ่คงดีใจมั้ง ที่มีเพื่อนมาร่วมแบกทุกข์อีกคนหนึ่ง ถ้าเด็กไม่ร้องไห้ผู้ใหญ่ก็ไปตีเด็กใหญ่ เพื่อให้เด็กร้องไห้ ถ้าเด็กไม่ยอมร้องไห้จริงๆเพราะขี้เกียจเกิดมาแบกทุกข์ ผู้ใหญ่ก็เลยต้องร้องห่มร้องไห้แทนเพราะเสียใจที่เด็กตายไปแล้ว


โลกนี้มักมีอะไรแปลกๆ เสมอ ร้องไห้ท่ามกลางเสียงหัวเราะ หัวเราะท่ามกลางเสียงร้องไห้ โลกมันจึงชุลมุลชุลเก ยุ่งเหมือนยุงตีกันอยู่แบบนี้ ว่าแล้วเราก็กลับมาเข้าเรื่อง การกำหนดลมหายใจเข้าออกของเรากันต่อดีกว่า


เราจะกำหนดลมหายใจเข้าก่อนหรือกำหนดลมหายใจออกก่อน ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน แต่ในช่วงที่เริ่มฝึก เพื่อความสะดวกที่จะได้ทำไปพร้อมๆกันอย่างมีระบบระเบียบ เราอาจทำแบบง่ายๆตามแบบที่ครูบาอาจารย์หลายท่านแนะนำกันต่อๆมา นั่นก็คือการหายใจเข้าก่อนแล้วจึงหายใจออกก็แล้วกัน ง่ายดี พิสมัยแนะนำ


เอาละ ฝึกเลย ฝึกเลย ฝึกเดี๋ยวนี้เลย เอาที่ปัจจุบันนี้เลย ธรรมะเป็นเรื่องของปัจจุบัน ที่นี่และเดี๋ยวนี้ พิสูจน์ได้ทันทีเลย เพราะเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วก็ปกติเราก็ต้องหายใจอยู่แล้ว ไม่ต้องหาอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมอีก เราจะจัดการพิสูจน์เดี๋ยวนี้เลย เอาให้รู้เรื่องเดี๋ยวนี้เลย พิสมัยกระตุ้น


เอาตอนนั่งอ่านนี่แหละ นั่งตัวตรงตรง ยืดตัวตรงตรง ดำรงสติให้มั่น........แล้วหายใจเข้าให้ลึกกก.....ลึกกกกกก.......ลองทำดู


หายใจเข้าให้ลึกกก.........ลึกกกกก.......ให้เต็มปอดเลย......แล้วก็หายใจออกให้ ยาววว.....ยาวววว......ให้หมดปอดเลย...ออกทางจมูกก่อนนะ อย่าออกทางปาก เข้าก็ทางจมูก แล้วก็ออกก็ทางจมูก เข้าให้ลึกๆนี่ใช้เวลาเท่าไรก็ได้ ยิ่งนานยิ่งดี ออกให้ยาวๆ ก็เหมือนกัน นานเท่าไรก็ได้แต่ยิ่งนานก็ยิ่งดี ทำใหม่ ทำใหม่


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า ...เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงไหม...


ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย......


...อ้าว แล้วกัน...


ความจริงเราว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงนะ...แต่ข้าวฟ่างไม่รู้เอง..พิสมัยบอก...


คือตอนที่เราหายใจเข้า เรารู้สึกว่าเราหายใจเข้า ตอนที่เราหายใจออกเราก็รู้สึกว่าเราหายใจออก


ปกติเราจะรู้ว่าคนที่มีชีวิต ต้องหายใจ มันเป็นปราณ มันเป็นลมปราณ ที่ทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้


แต่เรา..ไม่รู้สึกว่าเราหายใจ..ใช่หรือไม่...เรารู้ว่าคนเราต้องหายใจ........แต่เราไม่รู้สึกว่าเรากำลังหายใจในช่วงเวลาปกติ


เอ..แปลกดีนิ..พูดไง..งง..งง..


เอาใหม่ หายใจเข้าใหม่....ทำเลย...ทำเลย..


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


ฮั่นแน่...เริ่มรู้สึกตอนเราหายใจเข้า หายใจออกแล้ว


แล้วไง....รู้ก็รู้ซิ.....


แต่ก่อนที่เราจะพูดคุยกันนั้น เราไม่รู้สึกเลยว่าเรากำลังหายใจ แสดงว่าตอนนี้เรามีความรู้เพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่งแล้ว ใช่ไหม


เรารู้ว่าเรามีการหายใจ เรารู้สึกได้ว่า เรามีการหายใจ เพราะเรารู้ได้จาก....ลมหายใจ.....ของเราเอง


การหายใจ กับลมหายใจมันคนละตัวกัน การหายใจเป็นกริยา เป็น Verb เป็นกริยาอาการ แต่ ลมหายใจ เป็น Noun หรือเป็นนาม ที่เราจับต้องได้ด้วยประสาทสัมผัสที่มันสัมผัสกับรูจมูกของเรา


ตัวลมหายใจนี่มันเป็นโผฏฐัพพะ คือสิ่งที่มากระทบผิวหนัง มันก็เป็นอายตนะภายนอก ตามที่เคยกล่าวมาแล้วในบทก่อน


อายตนะภายนอกก็มี 6 สิ่ง สิ่งที่มันมาสัมผัสทางกายเราเรียกมันว่าโผฏฐัพพะ ส่วนกายหรือในที่นี้ก็คือผิวหนังเป็นอายตนะภายใน โผฏฐัพพะเป็นอายตนะภายนอก สำหรับ 5 คู่ที่เหลือก็คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส และใจกับธรรมารมณ์


อายตนะภายนอกพวกนี้ ถ้าเรานั่งสมาธิแล้วเพ่งมัน มันก็จะกลายมาเป็นอารมณ์ (Object) ที่ถูกเราเพ่ง หรือพูดให้ง่ายที่สุดก็คือ ถ้าเราเพ่งที่ลมหายใจ ก็เป็นการนั่งสมาธิโดยมีลมหายใจเป็นอารมณ์


ทำไมจึงต้องมีลมหายใจเป็นอารมณ์ ก็เพราะลมหายใจตัวนี้สติของเราไปกำหนดไว้ ตามความหมายของวิธีการฝึกอานาปรานสติที่ว่า เอาสติไปกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก


เมื่อเราเอาสติไปกำหนดอยู่ที่ลมหายใจ สติมันก็ไม่หนีไปไหน มันก็อยู่กับลมหายใจเข้าลมหายใจออก ลมหายใจมันก็เลยเป็นสิ่งที่ยึดหน่วงสติไว้


คำว่าสิ่งที่ยึดหน่วง เราอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อารมณ์ก็ได้ เพราะในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานปี 2542 ให้ความหมายของคำว่าอารมณ์ไว้ว่า อารมณ์เป็นนาม แปลว่าสิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ของกาย เป็นต้น


เราจะต้องยึดหน่วงอะไรไว้สักอย่างหนึ่งเวลานั่งสมาธิ เพราะถ้าเราไม่ยึดหน่วงอะไรไว้เลยมันก็จะลอยไปลอยมา กลายเป็นนั่งใจลอยไม่ใช่การนั่งสมาธิเป็นแน่


ตัวที่เราจะยึดหน่วงเอาไว้ได้ดีที่สุดก็คือลมหายใจของเรานี่แหละ เพราะมันเป็นวัตถุ หรือเป็น Object ที่มันวิ่งเข้ามาชนโครมโครมเข้ากับรูจมูกของเราอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา ตอนเราสูดลมหายใจเข้า สูดลมหายใจออกขณะที่เรานั่งสมาธินี่แหละ


เห็นไหม เมื่อก่อนเราไม่รู้จักกับ...ลมหายใจ....แต่ตอนนี้เรารู้จักกับ...ลมหายใจ...ของเราแล้ว....โดยที่เราเพ่งที่ตัวลมหายใจ แล้วถ้าเราทำติดต่อกันไปเรื่อยเรื่อย..แบบกัดติดไม่ปล่อย...จนเรารู้จักกับลมหายใจของเรานานนานแล้ว ได้เรื่องเลย เราจะรู้จักกับสติ


แล้วถ้าเราทำต่อไปเรื่อยเรื่อย...เราจะรู้จักกับจิต...แต่ตอนนี้ชั่งมันก่อน...เอาเป็นว่าตอนนี้เรารู้จักแต่เพียง..ลมหายใจ...แค่นี้ก็เจ๋ง สุด สุด แล้ว


อ้าว...เฟ้ย..เฟ้ย.. ลมหายใจของข้าวฟ่างหายไปไหนแล้วเนี๊ยะ...พิสมัยหลอกให้ข้าวฟ่างอ่านเพลินไปหน่อย ลมหายใจมันเลยหายไปไหนแล้วก็ไม่รู้


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........


อ๋อ อ๋อ ...ยังอยู่...อิ..อิ.. เผลอแป๊บเดียว ลืมลมหายใจ ไม่รู้ว่าลมหายใจหายไปไหนซะแล้ว


ลมหายใจนี่ก็ช่างกระไรเลย ชอบหนีข้าวฟ่างไปเที่ยวอยู่เรื่อยเลย....
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2006, 7:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

dt ขอปิดกระทู้นี้แล้วฮะ ที่โพสก็เพราะเมื่อกี๊โพสที่กระทู้ หลับสบายปลายจมูก : นานาจิตตัง ไม่เข้าฮะ เลยเปิดใหม่เพื่อโพสเรื่องที่ยังโพสไม่จบฮะ dt ขอทันโทษด้วยฮะ
 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2006, 8:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

สาธุ ๆ ๆ ด้วยครับ

ผีเสื้อ
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2006, 7:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาด้วยครับ คุณสายลม คุณ dt สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง