Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ........... ศีล จัดเป็นบารมี .....( จูฬโพธิจริยา ).... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ฟดกหฟ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 เม.ย.2006, 12:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศีล จัดเป็นบารมี




.......แม้เราจะเป็นเพียงชีวิตเล็กๆ ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง
นานับปการ แต่เราก็โชคดีที่สุด ที่ได้เป็นศิษย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ได้ชื่อว่า
เป็นยอดคน เพราะไม่อาจหาใครที่จะมีคุณสมบัติล้ำเลิศยิ่งไปกว่าพระองค์ได้เลย

การเข้าถึงฐานะอันเลิศของพระองค์ ย่อมมิใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน หากแต่เป็นสิ่งที่มีเหตุ
และผลอย่างครบถ้วนทุกประการ ฐานะอันเลิศของพระองค์ได้มาจากการสั่งสมบุญบารมีอย่างยิ่ง
ยวดและยาวนาน จนบารมีของพระองค์เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ และการสร้างบารมีด้วยการรักษาศีล ก็
เป็นพื้นฐานอันสำคัญยิ่ง ในการก้าวไปสู่ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

การรักษาศีล เกิดเป็นบารมีได้ เนื่องจากทุกครั้งที่รักษาศีลจะเกิดกระแสแห่งความดีขึ้น
ในใจ ที่เราเรียกว่า กระแสบุญ รู้สึกได้จากใจที่สบายและปลอดโปร่ง เมื่อรักษาศีลได้ดีขึ้น
บุญที่เกิดขึ้นนี้จะฟอกใจให้สะอาด จนกระทั่งปรากฏเป็นดวงกลมใส ที่เรียกว่า ดวงศีล เมื่อ
สั่งสมความบริสุทธิ์แห่งศีลให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ในที่สุดดวงศีลจะกลั่นเป็นบารมีซึ่งบารมีนี้ก็คือ วิถีทาง
เข้าถึงความเป็นเลิศนั่นเอง

สำหรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์นั้น การรักษาศีลของ
พระองค์ต้องใช้ความอดทน อดกลั้น บางครั้งต้องแลกด้วยชีวิต กว่าที่บารมีของพระองค์จะเต็มเปี่ยม
พระองค์จึงผ่านการรักษาศีลมาอย่างเข้มข้นที่สุด จนเกิดบารมีถึง ๓ ขั้น คือ


๑. ศีลบารมี คือการรักษาศีล ด้วยความรักศีลยิ่งกว่าสมบัติภายนอก เมื่อถึงคราวคับขัน ก็ยอม
เสียสละสมบัติภายนอกออกไป เพื่อรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ ชื่อว่าบำเพ็ญศีลบารมี

๒. ศีลอุปบารมี คือการรักษาศีล ด้วยความรักศีลยิ่งกว่าอวัยวะในร่างกายของตน เมื่อถึงคราว
คับขัน ก็ยอมเสียสละอวัยวะ เลือดเนื้อ เพื่อรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ชื่อว่า บำเพ็ญศีลอุปบารมี

๓. ศีลปรมัตถบารมี คือ การรักษาศีล ด้วยความรักศีลยิ่งกว่าชีวิตของตน เมื่อถึงคราวคับขัน
ก็ยอมเสียสละชีวิตเพื่อรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ ชื่อว่าบำเพ็ญศีลปรมัตถบารมี


หากได้ศึกษาถึงการสร้างบารมีแต่ละประการดังกล่าว เราจะไม่แปลกใจเลยว่า เหตุใด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสรู้ธรรม และทรงเป็นอัจฉริยบุคคลผู้เลิศในที่สุด...


ศีลบารมี


.......เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์จูฬโพธิถูกข่มเหงน้ำใจ คงพอจะบอกกับเราได้ว่า
พระโพธิสัตว์จะต้องใช้ความอดทนสักเพียงใด ในการบำเพ็ญศีลบารมี


จูฬโพธิจริยา


........ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์จุติจากพรหมโลก มาเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ บิดามารดาตั้งชื่อ
ให้ว่า จูฬโพธิกุมาร เมื่อจูฬโพธิกุมารเจริญวัยขึ้น ได้เดินทางไปศึกษาศิลปะ ณ เมืองตักกสิลา เมื่อ
เรียนจนครบทุกสาขากลับมา บิดามารดาได้จัดการให้เข้าสู่พิธีวิวาห์กับกุลสตรี ผู้มีชาติตระกูลเสมอกัน
ซึ่งสตรีผู้นี้เป็นผู้ที่มีความงดงามอย่างยิ่ง และจุติจากพรหมโลกเช่นเดียวกัน

แต่ทั้งสองมิได้มีความปรารถนายินดีในการแต่งงานที่มีขึ้น และมิได้เกิดความใคร่ต่อกันเลย ไม่
เคยแม้แต่มองดูกันด้วยอำนาจราคะ ต่างมองเห็นว่าการดำเนินชีวิตเช่นนั้นเป็นความประมาท จึงพา
กันรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์เสมอมา

จนกระทั่งบิดามารดาถึงแก่กรรม เมื่อทำพิธีศพเสร็จสิ้นแล้ว พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกับผู้เป็น
ภริยาว่า

" นางผู้เจริญ เธอจงครอบครองทรัพย์สินทั้ง ๘๐ โกฏินี้เลี้ยงชีวิตให้สุขสบายเถิด ส่วนเรานั้น
จะออกบวช " นางจึงถามว่า

" สตรีนั้นไม่สมควรจะบวชหรอกหรือ "

" ควรสิแม่นาง "

" ถ้าเช่นนั้น ฉันก็ไม่ต้องการทรัพย์ แต่จะออกบวชเช่นกัน "

ทั้งสองต่างสละสมบัติทั้งหมดออกทำการบริจาคให้ทานเป็นการใหญ่ ตัดขาดจากญาติพี่น้อง
พงศ์พันธุ์ ไม่มีความอาลัยในวงศ์ตระกูลและหมู่ชน ออกเดินทางไปตามหมู่บ้านและเมืองต่างๆ
จนกระทั่งถึงเมืองพาราณสี ได้บำเพ็ญภาวนาอยู่ในราชอุทยานอันเงียบสงัดปราศจากผู้คน


.......อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาได้เสด็จมาชมพระราชอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นนางพราหมณีผู้
มีความงดงาม ทรงเกิดความรักใคร่ จึงตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า " พราหมณีผู้นี้เป็นอะไรกับท่าน "

พระโพธิสัตว์จึงทูลว่า " เมื่อครั้งที่ยังเป็นคฤหัสถ์ นางเป็นภริยาของเรา แต่บัดนี้เป็นเพียงผู้
ประพฤติธรรมร่วมกันเท่านั้น "

พระราชาผู้มีความปรารถนาในตัวนางพราหมณี จึงมีรับสั่งให้ราชบุรุษฉุดคร่านางไปยังพระนคร
การกระทำเช่นนั้น ได้สร้างความโกรธให้เกิดขึ้นในใจของพระโพธิสัตว์ แต่ในทันทีที่ความโกรธ
บังเกิดขึ้น พระโพธิสัตว์ก็ระลึกถึงศีลของตน จึงข่มความโกรธลงไปทันใด และมิยอมให้เกิดขึ้นมา
อีก พระโพธิสัตว์สอนตนเองว่า

" แม้ใครทำร้ายนางพราหมณีด้วยหอกอันคมกล้า เราก็ไม่อาจทำลายศีลของเราได้ ใช่ว่าเรา
จะไม่รักนางพราหมณี ใช่ว่าเราจะไม่มีกำลังวังชา แต่เพื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณในวันข้างหน้า
เราจะต้องประคองรักษาศีลไว้ให้ได้ "

ฝ่ายพระราชา ให้นำตัวนางพราหมณีมาเข้าเฝ้า ทรงมอบยศถาบรรดาศักดิ์ให้กับนางมากมาย
แต่นางกลับกล่าวถึงแต่โทษของยศ แล้วสรรเสริญคุณของการออกบวช นางได้เล่าถึงการที่นาง
และพระโพธิสัตว์สละสมบัติอันมหาศาลออกบวช ด้วยความสังเวชใจ

เมื่อพระราชาไม่สามารถเปลี่ยนใจนางด้วยวิธีการใดๆได้ จึงทรงดำริว่า

" พราหมณีผู้นี้เป็นผู้มีศีลมีธรรม หรือแม้แต่พราหมณ์ผู้ข่มความโกรธได้ ไม่แสดงอาการใดๆเลย
เมื่อเราฉุดคร่านางพราหมณีจากมา ย่อมแสดงว่าเป็นผู้มีศีล รักษาศีลอย่างดียิ่ง การที่เรากระทำต่อผู้
มีคุณธรรมเช่นนี้ ช่างไม่สมควรเลยเอาเถิด เราจะพานางพราหมณีผู้นี้กลับไปยังพระราชอุทยาน
แล้วทำการขอขมา "

.......พระราชา จึงโปรดให้ราชบุรุษพานางพราหมณีกลับคืนสู่พระราชอุทยานส่วนพระองค์ก็ทรง
เข้าไปพบพระโพธิสัตว์แล้วตรัสถามว่า

" ท่านบรรพชิต เมื่อข้าพเจ้าเอาตัวนางพราหมณีไป ท่านโกรธหรือไม่ "

" ความโกรธได้เกิดขึ้นกับเรา แต่เราก็หักห้ามได้ ดุจดังสายฝนที่ห้ามฝุ่นละอองได้ในทันที "

พระราชาตรัสถามต่อไปว่า

" ท่านทำอย่างไร จึงหักห้ามความโกรธได้ ราวกับสายฝนห้ามฝุ่นละออง "

พระโพธิสัตว์ได้แสดงธรรมว่า

" ความโกรธนั้น เป็นอารมณ์ของผู้ไร้ปัญญา
บุคคลใดถูกความโกรธครอบงำ
ย่อมสละกุศลธรรม เข้าทำร้ายย่ำยีผู้อื่น
ความโกรธนั้น น่ากลัวเหมือนไฟ
เราย่อมไม่ปล่อยออกไป "


เมื่อพระราชาทรงสดับพระธรรมของพระโพธิสัตว์แล้วจึงทรงขอขมาต่อพระโพธิสัตว์และนาง
พราหมณี พร้อมทั้งตรัสว่า

" ขอให้ท่านทั้งสองเสวยสุขในการบรรพชาอยู่ ณ อุทยานแห่งนี้เถิด ข้าพเจ้าจะทำการคุ้มครอง
ป้องกันให้แก่ท่านทั้งสอง " พระราชาได้นมัสการ แล้วจึงเสด็จกลับ

พราหมณ์ทั้งสองได้อาศัยอยู่ในพระราชอุทยานแห่งนั้นเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อนางพราหมณี
ถึงแก่กรรม พระโพธิสัตว์จึงออกจากพระราชอุทยานแห่งนั้น ไปยังป่าหิมพานต์ ได้บำเพ็ญฌาน
และอภิญญาให้เกิดขึ้น ครั้นสิ้นอายุขัยได้ไปเกิดในพรหมโลก


สิ่งที่พระโพธิสัตว์รักและหวงแหนนั้น จึงมิใช่สมบัติพัสถานทั้งหลาย มิใช่แม้แต่สตรีผู้อยู่
เคียงข้างกาย แต่ท่านรักศีลเป็นชีวิตจิตใจ

การรักษาศีลของพระโพธิสัตว์ในครั้งนี้ คงมิอาจใช้เพียงแค่หิริ โอตตัปปะมาคอยกำกับเท่านั้น
เพราะในทันทีที่ความโกรธเกิดขึ้น ศีลอาจขาดได้อย่างง่ายดาย แต่ได้ใช้ความอดทน อดกลั้นร่วมด้วย
จึงช่วยป้องกันรักษาศีลไว้ได้ทันท่วงที

พระโพธิสัตว์ใช้ความอดทนเป็นพลังยับยั้งความโกรธไว้ได้ เสมือนสายฝนแห่งความอดทน
คอยชะล้างความหมองหม่น รุ่มร้อนแห่งจิตใจ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งศีลจะปรากฏเป็นบารมี
ในที่สุด


จากหนังสือ.....



ศีล....เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม

พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโก ป.ธ. ๙

ที่มา คุณ foox จาก พันทิพดอดคอม
 
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 14 เม.ย.2006, 2:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บุคคล ควร พิจารณา ก่อน แล้วจึงกระทำกรรม ทางกาย วาจา และใจ สาธุ
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง