ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
19 พ.ย.2007, 4:29 pm |
  |
[พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประทับหน้าใบเสมาพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร]
พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
ในโอกาสนี้ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เพื่อให้คนไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชน
และมีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้น้อมเกล้าฯไปประพฤติปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดความเจริญอย่างยั่งยืนมั่นคงแก่ตัวเองและประเทศชาติ
ชาวพุทธที่แท้
ชาวพุทธที่แท้เป็นผู้คิดชอบ ปฏิบัติชอบเป็นอยู่อย่างปกติ
อยู่ ณ ที่ใดก็ทำให้ที่นั้นสงบร่มเย็น มีแต่ความปรองดองและสร้างสรรค์
จึงเป็นที่โชคดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยของเรามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
ทำให้คนไทยทุกเชื้อชาติศาสนาอยู่ร่วมกันด้วยความสุข
มีความรักความปรารถนาดีต่อกัน มีการสงเคราะห์อนุเคราะห์ซึ่งกัน
และมีความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอย่างดี
การที่ยุวพุทธิกสมาคมได้ตั้งใจพยายาม
ในอันที่จะปลุกจิตสำนึกของชาวพุทธ ให้หนักแน่นมั่นคงในพระศาสนายิ่งขึ้น
จึงเป็นสิ่งที่ดีมีคุณประโยชน์ ทั้งแก่การจรรโลงพระพุทธศาสนา
และแก่ส่วนรวมคือประเทศชาติอันเป็นที่เกิดที่อาศัย
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ : ที่ประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๙,
๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๗ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 พ.ย.2007, 4:26 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
19 พ.ย.2007, 4:33 pm |
  |
หน้าที่ของพุทธศาสนิกชน
พระพุทธศาสนานั้น
ถ้าหมายถึงคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้ๆ แล้ว
ก็หาภัยอันตรายมิได้
ไม่มีผู้ใดหรือเหตุใดจะเบียนบ่อนทำลายได้เลย
เพราะคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาเป็นธรรมะ
คือหลักความจริงที่คงเจริญอยู่ตลอดกาล ทุกเมื่อไม่แปรผัน
ดังนั้นการป้องกันภัยให้แก่พระพุทธศาสนาก็ดี
การทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาก็ดี
พูดให้ตรงจึงน่าจะหมายถึงการป้องกันภัยให้แก่พุทธบริษัท
และการทำนุบำรุงพุทธบริษัทยิ่งกว่าอื่น
ทุกคนที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนิกชนจะต้องศึกษาพระพุทธศาสนา
ตามภูมิปัญญาความสามารถ และโอกาสของตนๆ ที่มีอยู่
ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง กระจ่างชัดขึ้นในหลักธรรม
เมื่อศึกษาเข้าใจแล้ว เห็นประโยชน์แล้ว
ก็น้อมนำมาปฏิบัติทั้งในชีวิตประจำวัน และการงานของตน
เพื่อให้เกิดความสุข ความสงบร่มเย็น
และความเจริญงอกงามเพิ่มพูนในชีวิตขึ้นเป็นลำดับ
ตามขีดความประพฤติของแต่ละคน
ถ้าชาวพุทธรู้ธรรมะ ปฏิบัติธรรมะกันอย่างถูกต้องทั่วถึงกันมากขึ้น
ปฏิบัติการบ่อนเบียนพระศาสนาให้เศร้าหมองก็ลดน้อยลง
เพราะทุกวันนี้ ที่เกิดความเสื่อมก็มิใช่ผู้ใดใครอื่นทำให้
เป็นเรื่องที่ชาวพุทธผู้ไม่รู้ไม่เข้าใจ และไม่ปฏิบัติตามธรรมะทำขึ้นทั้งนั้น
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ : การสัมมนาของสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติฯ
ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี, ๑๓ มีนาคม ๒๕๒๕ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 พ.ย.2007, 4:25 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
19 พ.ย.2007, 5:30 pm |
  |
พระพุทธศาสนามีธรรมะมากมายหลายชั้น
พระพุทธศาสนามีธรรมะอยู่มากมายหลายชั้น
อันพอเหมาะพอดีกับอัธยาศัยจิตใจของบุคคลประเภทต่างๆ
สำหรับเลือกเฟ้นมาแนะนำสั่งสอนขัดเกลาความประพฤติปฏิบัติของบุคคล
ให้ดีขึ้นเจริญขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวโดยหลักใหญ่แล้วคือสอนให้เป็นคนดี
ให้ประพฤติประโยชน์ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้ลำบากเสียหาย
สอนให้รู้จักตนเอง รู้จักฐานะของตน
พร้อมทั้งรู้จักหน้าที่ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติในฐานะนั้นๆ
ซึ่งเมื่อปฏิบัติโดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ย่อมจะนำความสุข นำความเจริญสวัสดีมาให้ได้ทั่วถึงกันหมด
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ความสุข ความร่มเย็น
และความวัฒนาถาวรให้เกิดแก่สังคมมนุษย์
หน้าที่ของท่านทั้งหลายอยู่ที่
จะต้องพยายามศึกษาพิจารณาธรรมะแต่ละข้อแต่ละหมวด
ด้วยความละเอียดรอบคอบ ด้วยความเที่ยงตรง เป็นกลาง
ให้เกิดความกระจ่างแจ้งลึก ซึ้งถึงเหตุผล ถึงวัตถุประสงค์
แล้วนำไปปฏิบัติเผยแพร่ให้พอเหมาะพอดี โดยอุบายที่แยบคาย
ธรรมะในพระพุทธศาสนาจะสามารถคุ้มครองรักษา
และอุ้มชูประคับประคองสังคมให้ผาสุกร่มเย็นได้สมดังที่ต้องการ
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ : ที่ประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๖,
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๔ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 พ.ย.2007, 4:24 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
19 พ.ย.2007, 5:40 pm |
  |
การทำสิ่งที่ดีงามไม่ใช่ที่พ้นสมัย
การแก้ไขปัญหาเยาวชนที่ยุวพุทธิกสมาคมจะทำได้อย่างดี
ควรจะได้แก่การปลูกฝังความคิดจิตใจที่สุจริต
และส่งเสริมความประพฤติที่ดีงามต่างๆ
ในการนี้มีจุดสำคัญที่เป็นหลักปฏิบัติอยู่ ที่จะต้องพิสูจน์ว่า
การทำสิ่งที่ดีงามนั้นไม่ใช่ของที่พ้นสมัยหรือที่น่ากระดากอาย
หากเป็นของที่ทุกคนทำได้ไม่ยาก และให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
เพราะความดีนั้นทรงค่าดี และทรงผลดีอยู่ตลอดกาลมิได้เปลี่ยนแปลง
มีแต่ค่านิยมในความดีเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลง
ท่านทั้งหลายควรสำรวจความคิดความเข้าใจของท่านในเรื่องเหล่านี้
ด้วยความสุจริตใจให้กระจ่าง
แล้วหาทางอธิบายผู้อื่นด้วยเหตุผลอย่างเหมาะสม
ทั้งต้องเพียรพยายามทำอยู่ตลอดไปโดยไม่ท้อถอย
เชื่อว่าถ้าได้ร่วมมือพร้อมเพรียงกันจริงๆ แล้ว
จะสามารถแก้ปัญหาน่าวิตกนี้ได้อย่างมากที่สุด
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ : ที่ประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๓,
๑๓ เมษายน ๒๕๑๖ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 พ.ย.2007, 4:24 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
    |
 |
I am
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
|
ตอบเมื่อ:
20 พ.ย.2007, 7:57 am |
  |
ชาวพุทธที่แท้เป็นผู้คิดชอบ
ปฏิบัติชอบเป็นอยู่อย่างปกติ
อยู่ ณ ที่ใดก็ทำให้ที่นั้นสงบร่มเย็น
มีแต่ความปรองดองและสร้างสรรค์
สาธุครับ.. |
|
_________________ ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก |
|
     |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
21 พ.ย.2007, 12:27 am |
  |
การสร้างสรรค์แผ่นดินไทยให้เป็นแผ่นดินทอง
การสร้างสรรค์แผ่นดินไทยให้เป็นแผ่นดินทอง
หรือการช่วยตัวเองในปัจจุบันนี้
เห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความสงบให้เกิดขึ้นก่อนโดยเร็ว
เพราะถ้าความสงบยังไม่เกิด
เราจะคิดอ่านแก้ปัญหาหรือจะรวมกำลังกันทำการงานช่วยตัวเองไม่ได้
ความสงบนั้น ภายนอกได้แก่
สภาวะอันเรียบร้อยเป็นปกติไม่มีความวุ่นวายขัดแย้ง
ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบเบียดเบียนหรือมุ่งร้ายทำลายกัน
ภายในได้แก่
ความคิดจิตใจที่ไม่ฟุ้งซ่าน หวั่นไหว
หรือเดือดร้อนกระวนกระวาย
ด้วยอำนาจความมักได้เห็นแก่ตัว
ความร้ายกาจเพ่งโทษ
ความหลงใหลเห่อเหิมอันเป็นต้นเหตุของอกุศลทุจริตทั้งหมด
การทำความสงบนั้นต้องเริ่มที่ภายในตัวในใจก่อน
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ : ที่ประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๘,
๓๑ มกราคม ๒๕๓๐ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 พ.ย.2007, 4:23 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
22 พ.ย.2007, 6:17 pm |
  |
ความคิดจิตใจของคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อม
ในบ้านเมืองเราทุกวันนี้ มีเสียงกล่าวกันว่า
ความคิดจิตใจของคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อม
ความประพฤติที่เป็นความทุจริตหลายอย่าง
มีท่าทีที่จะกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปพากันยอมรับ
และสมยอมให้กระทำกันได้เป็นธรรมดา
สภาพการณ์เช่นนี้ย่อมทำให้วิถีชีวิตของแต่ละคนมืดมัวลงไป
เป็นปัญหาใหญ่ที่เหมือนกระแสคลื่นอันไหลบ่าเข้ามาท่วมทั่วไปหมด
จำเป็นต้องแก้ไขด้วยการฝืนคลื่นที่กล่าวนั้น
ในการดำเนินชีวิตเรา
เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วหรือเสื่อม
เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ
เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี
เป็นความถูกต้องและเป็นธรรม
ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากๆ ขึ้น
ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีได้เป็นลำดับ
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ : ที่ประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๒,
๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๓ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 พ.ย.2007, 4:23 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
    |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
23 พ.ย.2007, 2:56 pm |
  |
สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณกุหลาบสีชา
ขอบคุณมากนะคะ...สำหรับบทความดีดีที่นำมาฝากญาติธรรมเสมอ
ธรรมใดๆก็ไร้ค่า...ถ้าไม่ทำ
เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะคะ
ธรรมะสวัสดีค่ะ
 |
|
|
|
   |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ย.2007, 4:03 pm |
  |
ยินดีเสมอค่า
:
และขอธรรมะสวัสดีกับทั้งคุณลูกโป่ง
และคุณ I am ด้วยเช่นกันค่ะ
ขอต่ออีกนิดนะคะ...เพิ่งมาได้ครึ่งทางเองค่ะ  |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 26 พ.ย.2007, 4:18 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ย.2007, 4:07 pm |
  |
การมีศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
พระพุทธศาสนาบริบูรณ์ด้วยสัจจธรรมที่เป็นสาระ
และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ
และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่สภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาถูกต้องจึงจะเกิดประโยชน์ขึ้นได้
บัดนี้ ประเทศชาติกำลังพัฒนาในทุกด้าน
และต้องการความสามัคคี ความสงบเรียบร้อย
ผลดีทั้งปวงดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้
ด้วยประชาชนมีหลักของใจมั่นคง
มีศรัทธาและปัญญาอันถูกต้อง
และปฏิบัติตนอยู่ในทางที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม
กรณียกิจอันสำคัญของท่านทั้งหลาย
คือการส่งเสริมประชาชนให้มีพระรัตนตรัย
และธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นหลักของใจ
และความประพฤติ ด้วยศรัทธา และปัญญาที่ถูกต้อง
แต่ทั้งนี้ท่านทั้งหลายจะต้องเจริญศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
คือความเชื่อในเหตุที่แท้ผลที่แท้ ไม่สับปลับ
และปัญญาสามารถรู้ตามความเป็นจริง
อันเกิดจากความสงบแน่วแน่ของจิตให้เกิดขึ้นในตนเองก่อน
จึงสามารถพิจารณาเห็นวิธีการปฏิบัติ
เพื่อรักษาส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เป็นประโยชน์
แก่ประชาชนและประเทศชาติได้
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ : ที่ประชุมสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ ๑๗,
๑๗ ธันวาคม ๒๕๑๒ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 พ.ย.2007, 4:22 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
27 พ.ย.2007, 5:35 pm |
  |
ศาสนาชี้ทางดำเนินชีวิตที่ปราศจากโทษ
ศาสนาชี้ทางดำเนินชีวิตที่ปราศจากโทษ
ทำให้มีความเจริญร่มเย็น
คนจึงเชื่อถือ ประพฤติปฏิบัติตาม
ทั้งอุดหนุนค้ำชูศาสนาเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุข ความสวัสดีของตน
พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะพิเศษประเสริฐ
ในประการที่อาศัยเหตุที่แท้ตามความเป็นจริงเป็นพื้นฐาน
แสดงคำสั่งสอนที่บุคคลสามารถใช้ปัญญาไตร่ตรองตาม
และหยิบยกขึ้นปฏิบัติ
เพื่อความสุขความเจริญและความบริสุทธิ์ได้ตามวิสัยตน
จึงเป็นหลักศาสนาที่เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์ ง่ายที่จะส่งเสริม
การที่ท่านทั้งหลายจะทำนุบำรุงเผยแผ่ให้แพร่หลายมั่นคง
ควรได้ยึดเหตุผลเป็นหลักการนำข้อธรรมะ
ที่เหมาะสมแก่เหตุการณ์ เหมาะแก่บริษัท
และเหมาะแก่บุคคลมาชี้แจงให้ถูกต้อง
ตรงตามเนื้อแท้ของธรรมะนั้นๆ
พร้อมทั้งแสดงการกระทำที่มีเหตุผล
และมีความบริสุทธิใจให้เป็นตัวอย่างแก่ตนเอง
การบำรุงพระพุทธศาสนา
ตลอดจนงานสร้างเสริมศีลธรรมจริยธรรม
ทั้งในผู้ใหญ่ผู้เยาว์ของท่านจะบรรลุผล
ที่น่าพึงพอใจได้ไม่ยากนัก
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ : ที่ประชุมสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ ๒๐,
๒๗ ตุลาคม ๒๕๑๔ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 พ.ย.2007, 4:22 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2007, 5:56 pm |
  |
การส่งเสริมการศึกษาและปฏิบัติธรรมะพื้นฐาน
เราจำเป็นต้องส่งเสริมการศึกษาและปฏิบัติธรรมขั้นพื้นฐานให้มาก
ทั้งนี้เพราะธรรมะขั้นพื้นฐานนั้น
คนทั่วไปเรียนรู้ได้ง่าย เข้าใจได้ชัดและปฏิบัติได้ผล
ซึ่งย่อมทำให้เขาเหล่านั้นเห็นประโยชน์ของพระศาสนาว่า
เมื่อได้เรียนรู้และปฏิบัติตามธรรมบัญญัติแม้เพียงเบื้องต้นเท่านี้
ก็ยังได้รับประโยชน์ คือมีความสุข ความเจริญ
ความร่มเย็นขึ้นมาทั้งในกาย ในใจ ในการครองชีวิต
ตลอดจนถึงกิจการงาน
ดังนี้ ก็จะพอใจเรียนรู้และปฏิบัติธรรมกันหนักแน่นยิ่งขึ้น
และแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น
เมื่อชาวพุทธรู้ธรรมะ
ปฏิบัติธรรมะกันอย่างถูกต้องทั่วถึงมากขึ้น
การปฏิบัติบ่อนเบียนพระศาสนาให้เศร้าหมองก็จะลดน้อยลง
และศาสนาก็จะเจริญมั่นคงขึ้น
เพราะชาวพุทธเราร่วมกันทำนุบำรุงโดยประการดังกล่าวนี้
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ : ที่ประชุมสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ ๓๒,
๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๗ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 พ.ย.2007, 4:21 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
29 พ.ย.2007, 4:03 pm |
  |
ปัญหายุ่งยากในสังคม
ปัญหายุ่งยากในสังคมทุกในนี้ เกิดจากเหตุหลายอย่าง
แต่เหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาให้มาก คือ
ความขาด หรือความบกพร่องในความเป็นระเบียบ
และความสะอาดมั่นคงในความประพฤติและความคิดจิตใจของบุคคล
องค์กรศาสนาทุกศาสนามีจุดมุ่งหมาย
และภารกิจในการขัดเกลาความประพฤติและจิตใจ
ให้บุคคลถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรมตามหลักศาสนาอยู่แล้ว
จึงน่าจะทำหน้าที่แก้ปัญหาสังคมได้เป็นอย่างดีโดยไม่ลำบาก
ในการนี้ทุกฝ่ายควรจะได้ร่วมมือกันและส่งเสริมกันอย่างจริงจังโดยประสานสอดคล้อง
และควรมีหลักมีแผนการที่แน่นอนเหมาะสมในการสั่งสอนเผยแพร่ธรรม
สำคัญที่สุด
ควรจะได้พยายามปลูกฝังความเชื่อความเลื่อมใสในคุณธรรมความดี
ให้เกิดขึ้นด้วยการประพฤติปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้คนทั้งหลายได้เห็นประโยชน์
และความดีจากแบบแผนการปฏิบัติ
และการอธิบายแนะนำที่ประกอบด้วยความเมตตากรุณา
และควรระมัดระวังอย่างที่สุดที่จะไม่ประกาศสั่งสอน
โดยวิธีการที่จะก่อให้เกิดความคิดโต้แย้งหรือต่อต้านขึ้นในตัวผู้ฟัง
เพราะการกระทำดังนั้นจะ
ไม่ช่วยให้เกิดบังเกิดผลดีขึ้นได้เลย
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ : การสัมมนาผู้นำศาสนาในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี,
๑๐ เมษายน ๒๕๒๕ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 พ.ย.2007, 4:20 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
29 พ.ย.2007, 4:09 pm |
  |
รากฐานทางจิตใจ
รากฐานที่นับว่าสำคัญ คือ รากฐานทางจิตใจ
อันได้แก่ความหนักแน่นความมั่นคงในสุจริตธรรมอย่างหนึ่ง
ในความมุ่งมั่นที่จะประกอบกิจการงานให้ดีจนสำเร็จอย่างหนึ่ง
เหตุใดจึงต้องมีความสุจริตหนักแน่นมุ่งมั่น
ก็เพราะความสุจริตนั้นย่อมกีดกั้นบุคคล
ออกจากความชั่วและความเสื่อมเสียทั้งหมดได้
จึงช่วยให้บุคคลมีโอกาสใช้ความรู้
ความสามารถแต่ในทางที่ถูกที่เจริญแต่เพียงถ่ายเดียว
ส่วนความมุ่งมั่นในการทำงานนั้นถ้าขาดไป
ก็ทำให้ย่อท้อเหนื่อยหน่ายหรือไม่ก็มักง่ายหยาบคาย
ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ก็มักไม่สำเร็จเด็ดขาดหรือบกพร่องเสียหาย
ที่สุดก็จะไม่มีโอกาสสร้างสรรค์ประโยชน์
และความเจริญก้าวหน้าอันใดให้แก่ตัวเองหรือแก่ใครๆ ได้
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ : ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง,
๑๑ มีนาคม ๒๕๒๔ |
|
|
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
29 พ.ย.2007, 4:14 pm |
  |
ชาวไทยซึ่งเป็นพุทธะมามกะมีจิตสำนึกมั่นคงอยู่ในกุศลจิต
การที่ประเทศไทยและชาวไทยยินดีต้อนรับผู้เผยแผ่ศาสนาต่างๆ
ด้วยไมตรีและความจริงใจฉันมิตรทุกสมัยมานั้น
เพราะชาวไทยซึ่งเป็นพุทธมามกะชน
มีจิตสำนึกมั่นคงอยู่ในกุศลจิตและในความเมตตากรุณา
เห็นว่าศาสนาทั้งปวงย่อมสั่งสอนความดี
ให้บุคคลประพฤติปฏิบัติแต่ในทางที่ถูกที่ชอบ ที่เป็นประโยชน์
ให้ใฝ่หาความสงบสุขความผ่องใสให้แก่ชีวิต
ทั้งเรายังมีเนติแบบธรรมเนียม
ให้ต้อนรับนับถือชาวต่างศาสนาด้วยความเป็นมิตร
แผ่ไมตรีให้กันด้วยเมตตาจิต และด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์
มิให้ดูแคลนเบียดเบียนผู้ถือสัญชาติและศาสนาอื่น
ด้วยจะเป็นเหตุนำความแตกร้าวและความรุนแรงเดือดร้อนมาให้
ดังนี้ คริสตศาสนาจึงเจริญงอกงามขึ้นได้ในประเทศนี้
ความเป็นมิตร ความมีเมตตาปรารถนาดีต่อกัน
ความเอื้ออารีเกื้อกูลกันโดยจริงใจระหว่างศาสนิกชนทั้งมวลนั้น
จะเป็นปัจจัยสำคัญอันมีกำลังศักดิ์สิทธิ์
ที่จะยังสันติสุขกับทั้งอิสรภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาค
ให้บังเกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์ได้เป็นแน่แท้
พระราชดำรัส :
ในโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ ๒ เข้าเฝ้า
ในโอกาสที่เสด็จมาเยือนประเทศไทย ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระบรมมหาราชวัง, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๗
(คัดลอกบางตอนมาจาก : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ พระพุทธศาสนา,
เรียบเรียงโดย สมพร เทพสิทธา ประธานสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ และ
นายกสมาคมส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗๕ พรรษา, พ.ศ. ๒๕๔๖, หน้า ๑๐-๑๗) |
|
|
|
    |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2008, 1:13 pm |
  |
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
|