Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
นรก-สวรรค์ มีจริงหรือไม่ ?
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
สายลม
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
ตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2006, 8:23 pm
พระพุทธศาสนา พูดเรื่องนี้ไว้เป็น ๓ ระดับ :-
ระดับที่ ๑. นรก-สวรรค์ ภายหลังการตาย
สำหรับประเด็นนี้ตามพระไตรปิฎก "เมื่อตีความตามตัวอักษรแล้ว ก็ต้องบอกว่า มี"
วิธีลงโทษในนรกด้วยประการต่างๆ มีใน พาลบัณฑิตสูตร และ เทวทูตสูตร... โดยมากพูดถึงนรก ไม่ค่อยพูดถึงสวรรค์.. นอกจากนี้ยังมีบางแห่งพูดถึงอายุเทวดาในชั้นต่างๆ เช่น ชั้นจาตุมหาราช หรือชั้นโลกบาล ๔ ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ยังมีอายุมนุษย์ ถึงรูปพรหม แสดงไว้ในฝ่ายพระอภิธรรม
ระดับที่ ๒. นรก-สวรรค์ ที่อยู่ในใจ
"สวรรค์ในอก นรกในใจ" เป็นเรื่องที่มีในชาตินี้ นรก-สวรรค์แม้ในชาติหน้า มันก็สืบไปจากที่มีในชาตินี้..."
"ระดับจิตของเราอยู่แค่ไหน เวลาตายโดยทั่วไปถ้าไม่ใช่กรณียกเว้น มันก็อยู่ในระดับนั้นแหละ ส่วนในกรณียกเว้น ถ้าเวลาตายนึกถึงอารมณ์ที่ดี เช่นทำกรรมชั่วมามาก แต่เวลาตายนึกถึงสิ่งที่ดี ก็ไปเกิดดีได้ ถ้าหากเวลอยู่ ทำกรรมดี แต่เวลาตายเกิดจิตเศร้าหมอง ระดับจิตตกลงไป ก็ไปเกิดในที่ต่ำ"
ระดับที่ ๓. นรก-สวรรค์ แต่ละขณะจิต
"ตามหลักวิชาการ คือ การที่เราปรุงแต่งสร้างนรก-สวรรค์ของเราเองตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน.. คือปรุงแต่งด้วยกิเลส มีความดี -ความชั่ว มีกุศล - อกุศลในจิตของเราเอง"
"หากว่าจิตใจของเรามีภูมิธรรมดี สร้างกุศลไว้มาก ทำจิตใจให้อิ่มเอิบเป็นสุข พยายามมองในแง่ดี ก็รับอารมณ์ที่เป็นสุขไว้ได้มาก"
"ปัจจุบันที่เป็นอยู่ กลายเป็นเรื่องที่เราควรจะเอาใจใส่มากกว่า เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเราได้รับผลอยู่ตลอดเวลา... ฉะนั้น ท่านจึงให้เอาใจใส่นรก-สวรรค์ที่มีอยู่ตลอดเวลาที่เราปรุงแต่งอยู่เรื่อยๆ สอนให้เรายกระดับจิตขึ้นไป... "
"การมีปัญญารู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ทำให้เราเข้าใจโลกและชีวิตดี ทำให้วางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายถูกต้อง ในกรณีอย่างนี้ท่านว่า มันพ้นเลย จากเรื่องนรก-สวรรค์ไปแล้ว คือมีจิตใจปลอดโปร่ง แจ่มใสตลอดเวลา มีความสบายทันตาในปัจจุบัน ไม่ต้องพูดถึงข้างหน้า"
ในพระไตรปิฎก (มหาปริฬาหนรก)
บอกว่า ...นรก-สวรรค์ที่ว่านั้นไม่สำคัญเท่านรก-สวรรค์ที่เราได้รับอยู่ในปัจจุบัน ที่เราปรุงแต่งด้วยอายตนะทั้ง ๖ โดยพื้นจิตของเราสร้างขึ้นมา"
"แก่นแท้ของ นรก-สวรรค์ อยู่ที่ระดับที่ ๓ นี้ ... อย่าลืมว่า!!!
การสร้างนรก-สวรรค์ใหญ่ๆ มันก็มาจากสร้างเล็กๆ น้อยๆ นี้เอง.. สร้างจิตใจของเราให้ดี ทำอารมณ์ให้ดี ค่อยเป็นค่อยไป"
ท่าทีของพุทธศาสนาต่อเรื่อง นรก-สวรรค์
"...การวางท่าทีเป็นหัวข้อที่อาตมาบอกแล้วว่าสำคัญ การวางท่าทีสำคัญกว่าความมีจริงหรือไม่ ... แต่มันจะไปเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับนรก-สวรรค์ระดับที่ ๓"
"ท่าที" ที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ :-
ท่าทีที่ ๑ ต้องมีศรัทธา
พุทธศาสนานั้น บอกว่าให้เชื่ออย่างมีเหตุผล สำหรับสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ ในเมื่อจะต้องเอาทาง "ศรัทธา" ก็ให้ได้หลักก่อน....
ศรัทธา คือ การไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น หรือพูดในแง่หนึ่งคือ เราฝากปัญญาไว้กับคนอื่น
การที่จะวางใจปัญญาของผู้อื่นได้ต้องพิจารณาในขั้นแรกที่ "ตัวปัญญา" นั้น เราคิดว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสมานั้น เท่าที่เรามองเห็น ก็เป็นความจริง เราจึงเห็นว่าพระองค์มีปัญญาพอที่เราจะฝากปัญญาของเราไว้กับท่านได้ เราจึงเกิดศรัทธาขึ้นเป็นขั้นแรก
ขั้นที่สอง คือ "ความปรารถนาดี" พระพุทธเจ้ามีความปรารถนาดี มีเมตตากรุณา สอนเราด้วยใจบริสุทธิ์
พระองค์สอนเรื่อง นรก-สวรรค์ว่าชาติหน้ามีจริงหรือเปล่า ถ้าเรามีศรัทธา เราก็น้อมไปทางเชื่อ เรื่องก็เป็นอย่างนั้น...
ท่าทีที่ ๒ ถือตามเหตุผล
เป็นท่าทีที่ "ยังไม่มีศรัทธา" พระพุทธเจ้าได้ตรัสกาลามสูตร และได้ยกตัวอย่างซึ่งมาเข้าเรื่องนรก-สวรรค์ กรรมดี-กรรมชั่ว ทรงสอนให้พิจารณาในปัจจุบันนี้ว่าสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นกุศล ทำแล้วมันเกื้อกูลแก่ชีวิตของตนเองในปัจจุบันไหม มันดีแก่ตัวเราไหม ดีต่อผู้อื่นไหม ทำแล้วถ้านรก-สวรรค์มีจริง เราก็ไม่ต้องไปตกนรก ได้ไปสวรรค์
สรุปในแง่นี้ได้ว่า ถึงแม้ไม่ต้องใช้ศรัทธา เอาตามเหตุผล ก็ควรทำกรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว นี้เป็นแนวทางกาลามสูตร
ท่าทีที่ ๓ มั่นใจตน -ไม่อ้อนวอน
ในทางพุทธศาสนา คนทำดี ไม่ต้องอ้อนวอนขอไปสวรรค์ เพราะมันเป็นไปตามกฎธรรมดา เพียงแต่รู้ไว้ และมั่นใจเท่านั้น พุทธศาสนิกชนเรามีความรู้ไว้สำหรับให้เกิดความมั่นใจตนเอง
ท่าทีที่ ๔ ไม่หวังผลตอบแทน
พุทธศาสนาสอนต่อไปอีกระดับหนึ่งว่า ุถ้าเรายังทำดีเพราะหวังผลอยู่ก็เรียกว่าเป็นโลกียปุถุชน คนของพุทธศาสนาที่แท้จริง ต้องเป็นคนทำความดีโดยไม่ต้องห่วงผล
เมื่อเราทำจิตของเราให้ประณีตขึ้น พอมันละเอียดอ่อนขึ้น สิ่งที่กระทำไว้แม้เป็นเรื่องเล็กน้อย มันก็ปรากฎผลได้ง่าย...
..............................
บทความจาก
http://www.geocities.com/sakyaputto/article1.htm
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 13 ก.พ.2006, 12:13 am
อนุโมทนาบุญค่ะ...คุณสายลม
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th