Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นรก-สวรรค์ มีจริงหรือไม่ ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2006, 8:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธศาสนา พูดเรื่องนี้ไว้เป็น ๓ ระดับ :-

ระดับที่ ๑. นรก-สวรรค์ ภายหลังการตาย สำหรับประเด็นนี้ตามพระไตรปิฎก "เมื่อตีความตามตัวอักษรแล้ว ก็ต้องบอกว่า มี"
วิธีลงโทษในนรกด้วยประการต่างๆ มีใน พาลบัณฑิตสูตร และ เทวทูตสูตร... โดยมากพูดถึงนรก ไม่ค่อยพูดถึงสวรรค์.. นอกจากนี้ยังมีบางแห่งพูดถึงอายุเทวดาในชั้นต่างๆ เช่น ชั้นจาตุมหาราช หรือชั้นโลกบาล ๔ ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ยังมีอายุมนุษย์ ถึงรูปพรหม แสดงไว้ในฝ่ายพระอภิธรรม


ระดับที่ ๒. นรก-สวรรค์ ที่อยู่ในใจ
"สวรรค์ในอก นรกในใจ" เป็นเรื่องที่มีในชาตินี้ นรก-สวรรค์แม้ในชาติหน้า มันก็สืบไปจากที่มีในชาตินี้..."
"ระดับจิตของเราอยู่แค่ไหน เวลาตายโดยทั่วไปถ้าไม่ใช่กรณียกเว้น มันก็อยู่ในระดับนั้นแหละ ส่วนในกรณียกเว้น ถ้าเวลาตายนึกถึงอารมณ์ที่ดี เช่นทำกรรมชั่วมามาก แต่เวลาตายนึกถึงสิ่งที่ดี ก็ไปเกิดดีได้ ถ้าหากเวลอยู่ ทำกรรมดี แต่เวลาตายเกิดจิตเศร้าหมอง ระดับจิตตกลงไป ก็ไปเกิดในที่ต่ำ"


ระดับที่ ๓. นรก-สวรรค์ แต่ละขณะจิต
"ตามหลักวิชาการ คือ การที่เราปรุงแต่งสร้างนรก-สวรรค์ของเราเองตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน.. คือปรุงแต่งด้วยกิเลส มีความดี -ความชั่ว มีกุศล - อกุศลในจิตของเราเอง"
"หากว่าจิตใจของเรามีภูมิธรรมดี สร้างกุศลไว้มาก ทำจิตใจให้อิ่มเอิบเป็นสุข พยายามมองในแง่ดี ก็รับอารมณ์ที่เป็นสุขไว้ได้มาก"


"ปัจจุบันที่เป็นอยู่ กลายเป็นเรื่องที่เราควรจะเอาใจใส่มากกว่า เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเราได้รับผลอยู่ตลอดเวลา... ฉะนั้น ท่านจึงให้เอาใจใส่นรก-สวรรค์ที่มีอยู่ตลอดเวลาที่เราปรุงแต่งอยู่เรื่อยๆ สอนให้เรายกระดับจิตขึ้นไป... "
"การมีปัญญารู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ทำให้เราเข้าใจโลกและชีวิตดี ทำให้วางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายถูกต้อง ในกรณีอย่างนี้ท่านว่า มันพ้นเลย จากเรื่องนรก-สวรรค์ไปแล้ว คือมีจิตใจปลอดโปร่ง แจ่มใสตลอดเวลา มีความสบายทันตาในปัจจุบัน ไม่ต้องพูดถึงข้างหน้า"


ในพระไตรปิฎก (มหาปริฬาหนรก) บอกว่า ...นรก-สวรรค์ที่ว่านั้นไม่สำคัญเท่านรก-สวรรค์ที่เราได้รับอยู่ในปัจจุบัน ที่เราปรุงแต่งด้วยอายตนะทั้ง ๖ โดยพื้นจิตของเราสร้างขึ้นมา"
"แก่นแท้ของ นรก-สวรรค์ อยู่ที่ระดับที่ ๓ นี้ ... อย่าลืมว่า!!!


การสร้างนรก-สวรรค์ใหญ่ๆ มันก็มาจากสร้างเล็กๆ น้อยๆ นี้เอง.. สร้างจิตใจของเราให้ดี ทำอารมณ์ให้ดี ค่อยเป็นค่อยไป"


ท่าทีของพุทธศาสนาต่อเรื่อง นรก-สวรรค์ "...การวางท่าทีเป็นหัวข้อที่อาตมาบอกแล้วว่าสำคัญ การวางท่าทีสำคัญกว่าความมีจริงหรือไม่ ... แต่มันจะไปเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับนรก-สวรรค์ระดับที่ ๓"
"ท่าที" ที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ :-

ท่าทีที่ ๑ ต้องมีศรัทธา
พุทธศาสนานั้น บอกว่าให้เชื่ออย่างมีเหตุผล สำหรับสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ ในเมื่อจะต้องเอาทาง "ศรัทธา" ก็ให้ได้หลักก่อน....
ศรัทธา คือ การไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น หรือพูดในแง่หนึ่งคือ เราฝากปัญญาไว้กับคนอื่น
การที่จะวางใจปัญญาของผู้อื่นได้ต้องพิจารณาในขั้นแรกที่ "ตัวปัญญา" นั้น เราคิดว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสมานั้น เท่าที่เรามองเห็น ก็เป็นความจริง เราจึงเห็นว่าพระองค์มีปัญญาพอที่เราจะฝากปัญญาของเราไว้กับท่านได้ เราจึงเกิดศรัทธาขึ้นเป็นขั้นแรก
ขั้นที่สอง คือ "ความปรารถนาดี" พระพุทธเจ้ามีความปรารถนาดี มีเมตตากรุณา สอนเราด้วยใจบริสุทธิ์
พระองค์สอนเรื่อง นรก-สวรรค์ว่าชาติหน้ามีจริงหรือเปล่า ถ้าเรามีศรัทธา เราก็น้อมไปทางเชื่อ เรื่องก็เป็นอย่างนั้น...

ท่าทีที่ ๒ ถือตามเหตุผล
เป็นท่าทีที่ "ยังไม่มีศรัทธา" พระพุทธเจ้าได้ตรัสกาลามสูตร และได้ยกตัวอย่างซึ่งมาเข้าเรื่องนรก-สวรรค์ กรรมดี-กรรมชั่ว ทรงสอนให้พิจารณาในปัจจุบันนี้ว่าสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นกุศล ทำแล้วมันเกื้อกูลแก่ชีวิตของตนเองในปัจจุบันไหม มันดีแก่ตัวเราไหม ดีต่อผู้อื่นไหม ทำแล้วถ้านรก-สวรรค์มีจริง เราก็ไม่ต้องไปตกนรก ได้ไปสวรรค์
สรุปในแง่นี้ได้ว่า ถึงแม้ไม่ต้องใช้ศรัทธา เอาตามเหตุผล ก็ควรทำกรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว นี้เป็นแนวทางกาลามสูตร

ท่าทีที่ ๓ มั่นใจตน -ไม่อ้อนวอน
ในทางพุทธศาสนา คนทำดี ไม่ต้องอ้อนวอนขอไปสวรรค์ เพราะมันเป็นไปตามกฎธรรมดา เพียงแต่รู้ไว้ และมั่นใจเท่านั้น พุทธศาสนิกชนเรามีความรู้ไว้สำหรับให้เกิดความมั่นใจตนเอง

ท่าทีที่ ๔ ไม่หวังผลตอบแทน
พุทธศาสนาสอนต่อไปอีกระดับหนึ่งว่า ุถ้าเรายังทำดีเพราะหวังผลอยู่ก็เรียกว่าเป็นโลกียปุถุชน คนของพุทธศาสนาที่แท้จริง ต้องเป็นคนทำความดีโดยไม่ต้องห่วงผล
เมื่อเราทำจิตของเราให้ประณีตขึ้น พอมันละเอียดอ่อนขึ้น สิ่งที่กระทำไว้แม้เป็นเรื่องเล็กน้อย มันก็ปรากฎผลได้ง่าย...


..............................
บทความจาก
http://www.geocities.com/sakyaputto/article1.htm

ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.พ.2006, 12:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญค่ะ...คุณสายลม

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง