|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65
|
ตอบเมื่อ:
13 ม.ค. 2006, 1:26 pm |
  |
คำถามของพระสารีบุตร
ที่ชื่อว่า หนึ่ง นั้นคืออะไร ? ใครทราบช่วยตอบทีเนอะ
วิธีศึกษาธรรมของท่านพุทธทาสภาคทฤษฎีแบบรวบรัดเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้ มีดังนี้
คู่มือมนุษย์ จากนั้นก็ - อิทัปปัจจยตา -ปฏิจจสมุปบาท -ขันธ์ 5 และไตรลักษณ์ -สุญญตาธรรม - ตถตา
แบบรวบรัดจริงๆมีดังนี้ คู่มือมนุษย์ ,ขันธ์ 5 และไตรลักษณ์ ,สุญญตาธรรม ,ตถตา
เท่านี้ก็ครอบคลุมใจความสำคัญของพระพุทธศาสนาแล้วล่ะครับ
1.คู่มือมนุษย์ ของท่านพุทธทาส มีตั้งแต่ฉบับย่อไปจนถึงฉบับสมบูรณ์
2.อิทัปปัจจยตา ของท่านพุทธทาส ของท่านอื่นผมยังไม่เคยอ่าน ถ้าท่านใดทราบโปรดแนะนำด้วย อิทัปปัจยตานี้ถ้าอ่าน โยนิโสมนสิการ ของท่าน ป.ปยุตโต ควบคู่ไปด้วยจะทำให้มีความเข้าใจในธรรมตัวนี้ได้กว้างขึ้น
3.ปฏิจจสมุปบาท ของท่านพุทธทาส ของท่านอื่นผมยังไม่เคยอ่าน ถ้าท่านใดทราบโปรดแนะนำด้วย
4.ขันธ์ 5 และ ไตรลักษณ์ ก่อนอ่านควรทราบดังนี้ ( ควรอ่าน อนัตตลักษขณะสุตตัง ประกอบด้วย จะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น )
ขันธ์ 5 คือ อัตตา (ตัวตน) อัตตาคือขันธ์ 5
อัตตา เป็น อนิจจัง ( อนิจจตา หรือ ความเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งไม่มีใดเลยจะหยุดอยู่ จึงมองเป็นได้เพียงเช่นนี้ )
อัตตา เป็น อนิจจัง อัตตาจึงเป็นทุกข์ขัง (ทุกขตา) เพราะอัตตาเป็นอนิจจังเสมอนั่นเอง
เพราะ อัตตา เป็น อนิจจัง อัตตา จึงเป็น อนัตตา ( ไม่มีตัวตน ความไม่มีตัวตนให้(จิต)นำมายึดถือ เพราะอยู่ภายใต้อำนาจของอนิจจัง มีความเปลี่ยนแปลงเป็นที่ตั้ง )
ธรรม ทั้งปวงคือ อัตตา ธรรม จึงเป็น อนัตตา ( ธรรมถือได้ว่าเป็นอรูป คือรูปที่มองไม่เห็นแต่เข้าใจรับรู้ได้ )
เมื่อ ขันธ์ 5 เป็น อนัตตา แล้ว จึงเข้าสู่ความเป็น สุญญตา (ความว่าง หรือ ความหลุดออก ) เช่น มีค่าก็เป็นสุญญตา ไร้ค่าก็เป็นสุญญตา ขันธ์ 5 ก็เป็นสุญญตา ธรรมทั้งปวงก็เป็นสุญญตา เป็นต้น
เมื่อ (จิต) เป็น สุญญตา แล้ว จิตจึงถือได้ว่าเป็น เช่นนี้ (ตถตา) เมื่อจิตมีความเป็น ตถตา การกระทำก็จะเป็น ตถตา ทุกสิ่งก็จะเป็น ตถตา เช่น มีค่าก็เป็นเช่นนี้ ไร้ค่าก็เช่นนี้ ขันธ์ 5 ก็เช่นนี้ ธรรมทั้งปวงก็เช่นนี้ สุญญตาก็เช่นนี้ ( หรือว่างก็ไม่เอา ว่างก็เช่นนี้นั่นเอง )
สุญญตา และ ตถตา ที่แนะนำก็มี วิมลเกียรตินิทเทสสูตร ,สูตรของเว่ยหลาง ,คำสอนของฮวงโป ,สุญญตาธรรมของท่านพุทธทาส ,เช่นนี้เองของท่านพุทธทาส เป็นต้น
ลองทุกท่านนำไปศึกษาดู แต่งานเขียนของท่านพุทธทาสจะสื่อมาเป็นแบบพุทธปรัชญา ท่านจึงควรอ่านด้วยความเป็น ปรัชญา คือ สามารถใช้เหตุผลหยั่งถึงได้ แม้จะไม่เคยเห็น หรือ มองไม่เห็นก็ตาม
หนังสือธรรมบางเล่มต้องใช้สมาธิในการอ่านถึงจะเข้าใจได้ ก่อนอ่านจึงควรนั่งอานาปานสติ สัก 20 นาที แล้วจึงเริ่มต้นอ่าน
ศัพท์ทางธรรม และ สำนวนของผู้เขียน อาจทำให้เข้าใจได้ยากในการอ่านครั้งแรก เป็นเพราะยังใหม่ ไม่คุ้นเคย ขอให้ท่าน อดทน อ่าน ผ่านๆไปสักรอบก่อนแล้วค่อยนำมาอ่านซ้ำอีกจะช่วยทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
นี่คือความรู้ทางธรรมของท่านพุทธทาส อาจขัดแย้งกับท่านอื่นบ้างก็อย่านำมาปนกันต้องเข้าใจว่า หนึ่งสิ่งนั้นอาจมองได้หลายมุม แต่ละคนจึงมีความเข้าใจแตกต่างกัน จึงควรอ่านทำความเข้าใจไว้ก็พอ ไม่ควรนำมายึดติดให้วุ่นวาย หรือ ถ้าจะเชื่อก็ขอให้ถือ กาลามสูตร 10 เป็นหลัก
ข้อความที่โพสไว้หากท่านผู้ใดมีความเห็นที่ ถูกต้อง หรือ แตกต่าง ออกไปก็ช่วยติเตียนแนะนำด้วย จะขอบคุณมากครับ
 |
|
|
|
   |
 |
ไม่เพ้อ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ม.ค. 2006, 5:57 pm |
  |
ใครเป็นศิษย์ท่านพุทธทาส จงออกมาอธิบายด้วยเถิดว่าท่านพุทธทาสมิได้อธิบายธรรมดังเช่นที่กล่าวข้างต้นนี้
ไม่มีในหนังสือที่ท่านแต่งเลย
ไม่มีที่อ้างได้เลย |
|
|
|
|
 |
สงสัย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2006, 6:51 am |
  |
งั้นถามหน่อยครับ
อรูปกับนิพพานต่างกันยังไง
หรือว่าเหมือนกัน |
|
|
|
|
 |
แก้ข้อสงสัย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2006, 6:52 am |
  |
ขอตอบ
อรูปเป็นอนิจจัง
นิพพานเป็นนิจจัง |
|
|
|
|
 |
แก้สงสัย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2006, 6:54 am |
  |
ขอตอบเพิ่มเติม
อรูปเป็น อนัตตา
นิพพานเป็นอนัตตา |
|
|
|
|
 |
ยังมีอีก
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2006, 6:59 am |
  |
แล้วขันธ์ห้าเป็นสุญญตา นี่ใครว่าเห็นเขียนที่ข้างบน
ขันธ์ห้าเป็นสุญญตาเป็นแบบไหนเอ่ย
|
|
|
|
|
 |
อิอิ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2006, 7:01 am |
  |
สงสัยจะอ่านมาจนเพี้ยนนะ อิอิ |
|
|
|
|
 |
ขาแจม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
15 ม.ค. 2006, 9:57 pm |
  |
งง ในหลายเรื่อง เอิ๊ก
ปล. งงจริงๆ |
|
|
|
|
 |
แค่อ่านมาบ้าง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 ม.ค. 2006, 6:58 am |
  |
ธรรมทั้งปวงเป็นสุญญตา ก็ยกมาผิดเพี้ยนอีก
อัตตาเป็นอนิจจัง ก็ผิดอีก เพราะอัตตาไม่มีอยู่จริง
ธรรมทั้งปวงเป็นอัตตานี่ยิ่งผิดเพี้ยนไปกันใหญ่เลย
ยิ่งว่าจิตเป็นสุญญตา ยิ่งไปกันใหญ่
แสดงว่าอ่านงานท่านพุทธทาสแล้วตีความผิดๆหมด |
|
|
|
|
 |
jj
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 21 ธ.ค. 2005
ตอบ: 6
|
ตอบเมื่อ:
18 ม.ค. 2006, 11:33 pm |
  |
บางคนอ่านเพียง ไม่กี่หน้าของที่ท่านแสดงไว้ก็เข้าใจในธรรมะ |
|
|
|
   |
 |
เห็นแย้ง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 ม.ค. 2006, 6:50 am |
  |
แสดงว่าคนอ่านเก่งกว่าท่านพุทธทาสกระมัง เพราะท่านเขียนไว้มาก ไม่เขียนไม่กี่หน้า |
|
|
|
|
 |
เบ๊ท่าน ฯ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ม.ค. 2006, 10:33 am |
  |
ยึดไว้เป็นจุดหมาย เมื่อถึงแล้วให้โยนทิ้ง ไม่รู้ต้น รู้ปลาย หมดการกำหนดทุกสิ่งเอย
คำสอนที่ท่านบรรยายไว้ต้องนำมาตีความเองคับ หากบอกหมดเปลือกเลยจริงๆ จะถูกกล่าวหาว่า เพี๊ยน น่ะครับ
คำตอบของท่าน สารีบุตร คือ ตถตา ครับ  |
|
|
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |