ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
kh
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
05 ม.ค. 2006, 11:19 am |
  |
ดิฉันมีลูก 2 คนเป็นฝาแฝดค่ะ ตอนนี้ลูกอายุได้ 3 ปีแล้วค่ะ ตั้งแต่ดิฉันจำความได้ก็ไม่เคยทำบาปหรือแม้แต่คิดก็ยังไม่เคยเลย เมื่อลูกของดิฉันได้ 7 เดือน สามีของดิฉันก็ไปจากดิฉันและลูก ไปโดยไม่บอกไม่กล่าวซักคำเลย หายไปเฉยๆ เลยค่ะ ดิฉันก็ไปสืบรู้มาว่าเค้าหนีไปกับผู้หญิงที่ทำงานด้วยกัน ทั้ง ๆ ที่เค้าเป็นคนรักลูกรักเมียมากเปลี่ยนไปเป็นคนละคนเลยค่ะ ดิฉันเคยไปตามเค้านะค่ะแต่เค้าบอกให้กลับไปบ้านก่อนแล้วเค้าจะตามมาทีหลัง ไม่ถามถึงลูกเลยซักคำดิฉันเสียใจมากเก็บความโกรธเอาไว้แล้วจำใจกลับบ้านมาอยู่กับลูก จนปัจจุบันนี้ลูกได้ 3 ปี แล้วค่ะที่ดิฉันเลี้ยงลูกคนเดียวมาโดยตลอดทำงานด้วย แต่ก็ยังไม่เห็นวี่แววว่าเค้าจะกลับมาเลย ไม่เคยแม้แต่จะโทรศัพท์มาถามสารทุกข์สุกดิบ ดิฉันเองก็ไม่ติดต่อหาเค้าเลยเหมือนกัน ดิฉันเป็นคนใจแข็งค่ะ จนปัจจุบันนี้ดิฉันไม่มีความสุขเลยค่ะหลับตาไม่ลงทุกคืนเลย นึกแต่ว่าตัวเองเคยทำกรรมอะไรไว้เหรอถึงได้ประสบกับปัญหาชีวิตอย่างนี้ ทำยังไงถึงจะแก้กรรมนี้ได้ค่ะอยากให้ลูกมีพ่อเหมือนลูกคนอื่นค่ะ ต้องทำบุญวิธีไหนค่ะ อยากให้ผู้รู้ตอบคำถามนี้ให้ทีค่ะขอบคุณค่ะ |
|
|
|
|
 |
linling
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 22 ธ.ค. 2005
ตอบ: 3
|
ตอบเมื่อ:
05 ม.ค. 2006, 11:50 am |
  |
อาจเป็นเพราะกรรมในอดีตชาติ คุณอาจจะไปแย่งหรือพรากเค้ามาจากบุคคลอันเป็นที่รักหรือคู่รัก จงอย่าไปสร้างเวรสร้างกรรมแก่กันเลย หมั่นทำความดี อย่างน้อยชีวิตนี้คุณก็มีลูกอยู่
พยายามเลี้ยงลูกด้วยความอบอุ่น ให้ความรัก ชดเชยในสิ่งที่ขาด ให้พวกเค้าเติบโตด้วยความอบอุ่น ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้เที่ยงแท้ จงมองชีวิตอื่นๆที่ทนทุกข์ทรมานทั้งกายทั้งใจที่เกิดมามีปัญหามากกว่าคุณ ต่างคนต่างมีเวรกรรมเป็นของตัวเอง แล้วเวลาจะเยียวยาจิตใจคุณด้วยผลการทำความดีค่ะ |
|
|
|
   |
 |
ฝ้าย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
05 ม.ค. 2006, 3:30 pm |
  |
สวัสดีค่ะ ขอเสนอแนะตามที่คิดออกตอนนี้นะค่ะ
ทุกคนทำกรรมดีและกรรมไม่ดีมาแล้ว ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ชาตินี้ไม่เคยทำความไม่ดีเลย แต่ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ก็เพราะว่ากรรมไม่ดีที่ทำไว้ในอดีตกำลังให้ผล หากเชื่อผลของกรรมก็ไม่เป็นเหตุที่จะมาสงสัยในสิ่งที่เกิดขึ้นนี้
เราทุกคนเป็นหนี้กรรมทั้งสิ้น เมื่อเขามาทวงคืนก็ต้องคืนเขาไปทั้งต้นทั้งดอก เขาจะเอาอะไรก็ต้องให้ เช่น เอาทรัพย์สิน เอาอวัยวะร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเอาชีวิต ก็ต้องจ่าย การหลีกเลี่ยงมีแต่ทำให้เกิดทุกข์ อย่างที่คุณคิดต่อต้านอยู่นี่ ถ้ายอมรับเสีย ก้มหน้ารับกรรมนี้โดยดี และไม่สร้างกรรมไม่ดีขึ้นใหม่ จะเป็นการก่อเวรขึ้นมาอีก
ต้องยอมรับ ต้องมีขันติ ต้องสร้างกรรมดีใหม่ให้มากกว่ากรรมไม่ดีทั้งหลาย เริ่มใช้หนี้แล้ว ก็เริ่มจะเป็นไทกับตัวเอง ยิ่งมืดท่านว่ายิ่งใกล้สว่าง
มีบทความธรรมของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
มาให้อ่านให้พินิจพิจารณาโดย น้อมเข้ามาหาตนให้ได้ว่า ตนเป็นทุกข์ต้องการแก้ทุกข์จริง
=======
(ลอก คุณดอกหญ้ามาค่ะ )
ความพลัดพรากจากเป็น
ความพลัดพรากจากตาย
อันความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากตายนั้นแม้จะมากเพียงใด แต่เมื่อเปรียบเทียบกับความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากเป็นแล้ว บางที่ความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากตายก็เหมือนเล็กน้อยนัก ความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากเป็นนั้น เมื่อเกิดถึงขีดสุดก็ทำให้เกิดความเศร้าสะเทือนใจอย่างยิ่งอยู่เนื่อง ๆ
ดังที่ปรากฎเป็นข่าวมิได้ว่างเว้นตลอดมา การกระทำอัตวินิบาตกรรมก็ตาม การฆาตกรรมก็ตามเกิดขึ้นเพราะความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากเป็นอยู่เป็นอันมาก โทษของการปล่อยใจให้อยู่ใต้อำนาจความทุกข์นี้จึงมหันต์นัก น่าจะได้พากันระมัดระวังอย่างยิ่ง
จากการพลัดพรากจากเป็น ที่เป็นเหตุแห่งความทุกข์หนักนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า คือการพลัดพรากที่เกิดจากการเปลี่ยนใจในเรื่องรักชอบของฝ่ายหนึ่ง ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปรารถนาให้เป็นเช่นนั้น อัตวินิบาตกรรมและฆาตกรรมเกิดขึ้นนักต่อนักเพราะเหตุนี้ ในขณะเดียวกันผู้เสียสติเพราะเหตุนี้ก็มีเป็นจำนวนมาก
จึงเห็นชัดได้ชัดว่าอิทธิพลของความทุกข์ในเรื่องนี้รุนแรงนัก ควรที่ทุกคนผู้ที่เป็นปุถุชนคนสามัญจะพยายามยับยั้งอิทธิพลร้ายนี้ อย่างน้อยก็มิให้มีเหนือจิตใจตนเองอย่างรุนแรง และการจะทำได้สำเร็จพอสมควรก็จำเป็นต้องค่อยทำค่อยไป
คือ แม้จะยังไม่ทันต้องประสบกับความพลัดพรากดังกล่าว ก็ให้ไม่ประมาท ให้มีสติระลึกถึงความจริง ๓ อย่าง ที่มีอยู่เป็นธรรมประจำโลก คือ
อนิจจัง ความไม่เที่ยง
ทุกขัง ความเป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป
อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนของเรา คือไม่อยู่ใต้อำนาจความปรารถนาต้องการของเรา
ลักษณะสามนี้ ไม่มียกเว้นแก่ผู้ใดหรือสิ่งใด ทุกคนทุกสิ่งต้องมี มิได้เป็นความผิดความไม่ดีของผู้ใด แต่เป็นเรื่องธรรมดาโลก อนิจจัง ความไม่เที่ยง มีอยู่ทุกเวลา ทุกขัง ความเป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปก็มีอยู่ทุกเวลา และอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนของเรา คือไม่อยู่ใต้อำนาจความปรารถนาต้องการใด ๆ ของเราก็มีอยู่ทุกเวลา
นำลักษณะทั้งสามหรือไตรลักษณ์นี้มาเทียบเข้ากับทุกคน ทุกสิ่งไว้ให้เสมอ เพราะดังกล่าวแล้ว ลักษณะทั้งสามมีอยู่ในทุกคนทุกสิ่งไม่มียกเว้น ถ้าพยายามทำสติระลึกถึงความจริงอันเป็นสัจธรรมอันยิ่งใหญ่นี้ไว้เสมอ ๆ
เมื่อประสบความพลัดพรากจากตายหรือจากเป็นก็ตาม ก็จะมีปัญญาคือความรู้ทันความจริงว่า เป็นธรรมดาของโลก ไม่ใช่ความผิดความร้ายของใคร ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใดจะบังคับให้เป็นไปตามความปรารถนาต้องการได้
ความรักก็ตาม ความชังก็ตาม ความไม่รักไม่ชังก็ตาม ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ใครฝืนไม่ได้ ใครบังคับไม่ได้ คนอื่นก็ฝืนไม่ได้บังคับไม่ได้ เจ้าตัวก็ฝืนไม่ได้บังคับไม่ได้
ดังนั้นจะไปโกรธแค้นอาฆาตใครก็ไม่ถูก จะเศร้าโศกเสียใจหนักหนาก็ผิด ก็ไม่ฉลาด เมื่อรู้ความจริงแท้มีอยู่อย่างหนึ่งจะไปหวังให้เป็นไปในทางตรงกันข้าม จะเรียกว่าฉลาดก็ไม่ได้ จึงเรียกว่าไม่ฉลาด ไม่มีปัญญา ไม่มีวิชชาคือความรู้ถูกตามเป็นจริง แต่มีอวิชชาคือความรู้ไม่ถูกครอบงำอยู่
ความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งหลายเกิดขึ้นก็เพราะอวิชชานี้แหละเป็นเหตุ และอวิชชาก็มีอยู่ในใจตนเองของผู้มีความทุกข์ความเดือดร้อนนี้แหละ ดังนั้นจะไปโทษใครอื่นว่าเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนก็ผิดอีก ยิ่งไปแก้แค้นคนอื่นในฐานะเป็นเหตุก็จะยิ่งผิดหนักเข้าไปอีก
อวิชชาความรู้ไม่ถูกตามความจริงมีอยู่ในใจที่เป็นทุกข์ที่เดือดร้อน แก้ที่ใจอันเป็นทุกข์เดือดร้อนด้วยความเศร้าโศกเสียใจหรือโกรธแค้นอาฆาตพยาบาทนั่นแหละ แก้ด้วยการเพิ่มพูนปัญญาให้รู้ให้เห็นทุกสิ่งถูกต้องตามความจริงนั่นแหละ จะสามารถทำความทุกข์ให้ลดน้อยลงได้มาก แม้ต้องประสบความพลัดพรากจากตายหรือจากเป็นก็ตาม ของผู้เป็นที่รักที่ชอบใจแม้มากเพียงไรก็ตาม
ไตรลักษณ์ ลักษณะสามที่มีคุณ
สำหรับผู้หมั่นพิจารณาลักษณะสาม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เสมอ การพลัดพรากจากตายหรือจากเป็นย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ความเศร้าโศกเสียใจหรือความอาฆาตพยาบาทรุนแรง เพราะการพิจารณาดังกล่าวเป็นการทำให้เกิดปัญญา และปัญญานั่นเองที่จะพาให้พ้นทุกข์ ตั้งแต่ทุกข์เล็กทุกข์น้อยจนถึงทุกข์หนัก ตั้งแต่พ้นได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราวจนถึงพ้นอย่างสิ้นเชิง
อันที่จริง การพิจารณาลักษณะสามดังกล่าวมา ไม่เพียงแต่จะแก้ทุกข์เพราะการพลัดพรากเท่านั้น แต่สามารถแก้ทุกข์ทั้งหลายได้สิ้น การพิจารณาไตรลักษณ์นี้ จึงเป็นสิ่งที่บรรดาผู้มาบริหารจิตควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง พิจารณามากเพียงใดก็จะสามารถช่วยใจตัวเองให้ห่างไกลจากความทุกข์ทั้งหลายได้มากเพียงนั้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประสบความพลัดพรากอยู่แล้ว ความทุกข์เพราะความพลัดพรากเกิดขึ้นแล้ว สติเป็นสิ่งจำเป็นขณะนั้น ก่อนอื่นต้องมีสติ คือต้องพยายามนึกให้ได้ถึงไตรลักษณ์ว่าเป็นสิ่งมีอยู่จริง ไม่มีผู้ใดสิ่งใดพ้นไปได้ ความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป และความไม่เป็นไปตามอำนาจความปรารถนาต้องการของผู้ใดทั้งสิ้น
ทั้งสามประการนี้มีอยู่จริง ไม่มีผู้ใดหนีพ้นได้จริง แม้พยายามนึกอยู่เพียงเท่านี้ในขณะที่กำลังเป็นทุกข์ ไม่ต้องนึกอะไรให้มากกว่านี้ ความทุกข์ก็จะคลายได้ สำคัญดังกล่าวแล้วต้องมีสติ ต้องนึกให้ได้ถ้านึกได้เท่านั้น ก็ได้ผลพอสมควรแล้ว แต่ผลกับเหตุนั้นเป็นสิ่งเนื่องกันอยู่เสมอ ผลกับเหตุจะไม่เกี่ยวเนื่องกันไม่มีเลย
ทำเหตุเช่นใดจะได้ผลเช่นนั้น ทำเหตุน้อยผลก็ได้น้อย ทำเหตุมากจึงจะได้มาก ทำเหตุดีผลจึงจะดี ทำเหตุแห่งความสุขจึงจะได้รับผลเป็นความสุข การพิจารณาไตรลักษณ์เป็นเหตุแห่งความสุข แต่พิจารณาน้อยก็เป็นความสุขน้อย
ต้องพิจารณาให้มาก พิจารณาให้เสมอจึงจะเป็นสุขมาก เป็นสุขเสมอ ม่ว่าจะประสบกับความพลัดพรากจากเป็นหรือจากตาย ของผู้เป็นที่รักที่ชอบใจเพียงใดก็ตาม เมื่อไรก็ตาม
ขอแนะนำผู้บริหารจิตทั้งหลาย ว่าอย่างน้อยก็ควรรู้จัก ควรจำไว้ว่าลักษณะสามหรือไตรลักษณ์มีอะไรบ้าง มีความหมายที่ถูกต้องอย่างไร จำไว้ให้ขึ้นใจให้รู้จักให้ดี เพียงเท่านี้ก็เป็นประโยชน์บ้างเล็กน้อยแล้ว ดีกว่าไม่รู้จักเสียเลย ต่อจากนั้นถ้าจะให้เป็นประโยชน์ให้ยิ่งขึ้นก็ต้องนึกทบทวนสักวันละเล็กละน้อย ไม่ใช่นึกอย่างที่กล่าวกันว่าแบบนกแก้วนกขุนทอง ต้องนึกอย่างเข้าใจความหมายด้วยจึงจะใช้ได้ จึงจะมีประโยชน์
ผู้ขาดสติย่อมทำลายตัวเอง
ทุกคนต้องประสบความพลัดพรากจากเป็นและจากตายเป็นธรรมดา จึงควรพิจารณาไตรลักษณ์กันไว้เสมอ ให้เป็นพื้นของจิตใจ เป็นพื้นฐานสำคัญของวิธีแก้ทุกข์ทั้งปวง แล้วจะใช้วิธีคิดอื่นๆ อีกมาประกอบเพื่อช่วยคลายทุกข์เป็นบางกรณีก็ได้ แล้วแต่ว่าคิดเช่นใดได้ผลแก่กรณีใด ช่วยให้คลายทุกข์ได้ในกรณีใด
ในกรณีที่ผู้พลัดพรากจากเป็น เป็นผู้ขาดเมตตาต่อเรา ไม่เห็นใจไม่ปราณีสงสาร แม้ว่าเราจะต้องเป็นทุกข์เพราะเขาเพียงใด เช่นนี้ นอกจากจะพิจารณาไตรลักษณ์ให้เป็นพื้นของใจแล้ว ก็อาจคิดประกอบไปด้วยได้ว่า เมื่อเขาเป็นเหตุให้เราเป็นทุกข์ ต้องพลัดพรากจากกันไปเสียความทุกข์ของเราก็จะสิ้นสุด
แม้ใหม่ ๆ จะต้องเป็นทุกข์อยู่แต่นานไปก็จะคลายทุกข์และจะหายทุกข์เกี่ยวกับเขาในที่สุด เมื่อเป็นทุกข์ทุกคนก็คิดว่ามีกรรม เมื่อเหตุแห่งทุกข์พ้นไปก็ควรคิดว่าหมดกรรมแล้ว จะได้เป็นสุขสบายใจแล้ว เวลาประสบกับการพลัดพรากจากผู้เป็นเหตุให้เราเป็นทุกข์ ก็ควรคิดเช่นนั้น คิดว่าเราหมดกรรมที่ให้เป็นทุกข์เช่นนั้นแล้ว จึงต้องพลัดพรากจากไป
อย่าคิดว่าการพลัดพรากจะทำให้เป็นทุกข์อยู่ยั่งยืนจนทนไม่ได้ แต่ต้องมีสติคิดให้ถูกตามสัจธรรม ทุกสิ่งไม่เที่ยง ความสุขและความทุกข์ก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความสุขความทุกข์ที่เกิดจากเหตุใดก็ตาม ก็ไม่เที่ยง ก็ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง และต้องสิ้นสุดลง ตรงตามสัจธรรมที่ว่าทุกสิ่งมีเกิดต้องมีดับ มีสุขได้ก็ต้องหมดสุข มีทุกข์ได้ก็ต้องมีหมดทุกข์ได้ ทุกข์อันเกิดจากการพลัดพรากก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับ
ฉะนั้นเมื่อความทุกข์เกิดขึ้น แทนที่จะปล่อยใจให้หมกหมุ่นอยู่ในความทุกข์ ต้องทำสติให้ได้ บังคับใจให้คิดว่า แล้วก็จะดับ แล้วก็จะหายทุกข์ แล้วก็จะลืมเหตุแห่งความทุกข์ แล้วก็จะกลับสบาย
อย่าขาดสติแล้วปล่อยใจให้เป็นทุกข์ จนตกอยู่ใต้อิทธิพลของความทุกข์ ยอมให้ความทุกข์พาไปก่อกรรมทำเข็ญ ไม่ว่าจะแก่ตัวเองหรือว่าผู้อื่น ขาดสติถึงเช่นนั้นเมื่อใด เรียกว่าทำลายตัวเอง ไม่ใช่ถูกใครทำลาย เราทำลายตัวเราเองจริง ๆ จะโทษใครไม่ได้ ต้องโทษตัวเองเท่านั้น
ฉะนั้นจึงควรมีสติไว้เสมอ ให้พอสามารถช่วยตนเองให้พ้นจากอิทธิพลของความทุกข์ อันเกิดจากการพลัดพรากให้ได้
อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คลายทุกข์ได้อย่างดี เมื่อต้องประสบกับการพลัดพรากจากความเป็นของผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ ก็คือพยายามไม่ไปคิดถึงความรู้สึกหรือจิตใจของคนอื่น ให้ดูใจตัวเอง ดูความรู้สึกของตนเองเท่านั้น
มีอธิบายเกี่ยวกับที่กล่าวว่าอย่าไปคิดถึงความรู้สึกหรือจิตใจคนอื่น ให้ดูความรู้สึกของตนเองเท่านั้น ดังนี้
อย่าไปคิดว่าเขามีจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
เขารู้สึกเช่นนั้นต่อเราแล้ว
เขารู้สึกเช่นนั้นต่อคนนั้นต่อคนนี้แล้ว
เขาไม่เหมือนเดิมแล้ว
เช่นนี้เป็นต้น
การคิดเช่นนั้นจะเป็นการเพิ่มทุกข์แก่จิตใจโดยถ่ายเดียว เป็นโทษโดยถ่ายเดียว ไม่เป็นคุณอย่างใด ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น ไม่ทำให้เหตุการณ์ดีขึ้น ไม่ทำให้จิตใจสบายขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรคิดเช่นนั้นอย่างเด็ดขาด
คือไม่ควรไปดูความคิดหรือไปดูจิตใจของคนอื่นอย่างเด็ดขาด ให้ดูความคิดหรือจิตใจของตัวเองเท่านั้น คิดอย่างไรรู้สึกอย่างไรก็ให้ติดตามดูของตัวเองไป ระวังอย่าให้ไปเกี่ยวกับคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืออย่าไปเกี่ยวกับจิตใจหรือความรู้สึกนึกคิดของผู้พลัดพรากไปทั้งเป็นผู้นั้นเป็นอันขาด
แล้วจะได้รู้สึกด้วยตัวเองว่าความทุกข์แม้หนักเพียงใดอันเกิดจากการพลัดพรากจากเป็น จะกลายเป็นความเบาสบายขึ้นในช่วงระยะที่สามารถรักษาสติ ไม่ปล่อยความคิดให้ไปเกี่ยวกับจิตของผู้อื่นดังกล่าวนั้น
นี้เป็นการบริหารจิตโดยตรงที่จะช่วยให้เกิดผลทันทีที่ปฏิบัติ และจะเกิดยั่งยืนตลอดไปได้แม้ปฏิบัติสม่ำเสมอ ไม่ไปดูใจคนอื่น ดูแต่ใจตนเอง ไม่ไปดูความคิดคนอื่น ดูแต่ความคิดของตนเอง ดังกล่าวแล้ว
“การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่”
..โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก..
|
|
|
|
|
 |
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
06 ม.ค. 2006, 3:21 am |
  |
ความทุกข์เกิดจาก การกระทำหรือ สรรพอาชีพ ประพฤติ สองข้อนี้เป็นของคู่กัน
ซึ่งอาจจะเกิดจากการกระทำของตัวเราเอง โดยที่เราไม่รู้ตัว หรืออาจจะเกิดจากการกระทำของผู้อื่น
คนเราประพฤติอย่างไรไปบ้างบางครั้งก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าดีหรือไม่ดี หรือบางครั้ง ก็เพราะความมีความปรารถนาให้ได้ดีพบสุขของผู้อื่นที่มีมากจนเกินไป จนทำให้เราต้องประพฤติหรือกระทำการในสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ต่อตัวเรา หรืออาจเป็นทุกข์ต่อตัวเขาเอง
ความทุกข์เกิดจาก ความคิด และการนึกถึงอดีตหรืออนาคต (ไม่ขออธิบายในรายละเอียด)
ความดับทุกข์ก็ย่อมมาจาก ความคิด และการนึกถึงอดีตหรืออนาคตเช่นกัน
คุณอยากให้ลูกๆของคุณมีพ่อเหมือนคนอื่นเขา คุณก็ลองคิดพิจารณาดูว่าควรทำอย่างไร
ข้าพเจ้าเอง ก็ไม่มี พ่อ ไม่มี แม่แล้ว เสียชีวิตไปหมดแล้ว ข้าพเจ้าก็ต้องยึดเอา ภรรยาเป็นแม่แทน เพราะ ข้าพเจ้ารักแม่ ส่วนคุณจะทำอย่างไรก็แล้วแต่ความคิดของคุณ แต่อย่าคิดในสิ่งที่ผิดกฏหมายหรือสิ่งที่ทำให้คุณเกิดความทุกข์เพิ่มขึ้นก็แล้วกัน |
|
|
|
|
 |
คนเข้าใจ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
06 ม.ค. 2006, 8:14 am |
  |
ดิฉันก็เคยเป็นทุกข์แบบคุณมาก่อน เพราะสามีมีเมียน้อย ทั้ง ๆ ที่เพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ดิฉันเคยทุกข์ เสียใจ แค้นใจ โกรธมาก คุณเชื่อไหมว่าดิฉันกว่าจะยอมรับเรื่องที่มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก ก็ใช้เวลาเกือบ 5 ปี สิ่งที่ดิฉันยึดเหนี่ยวก็คือ ธรรมะ ดิฉันใช้กฎของพระไตรลักษณ์ที่แหละค่ะ ที่ช่วยได้ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา จนทุกวันก็เกือบ 15 ปีแล้ว ที่ดิฉัน สามี เมียน้อย และลูก ๆ อยู่บ้านติดกัน ดิฉันก็ให้ความเมตตาเด็ก ๆ และเมียน้อย ไปไหนก็ไปด้วยกัน มีอะไรก็ช่วยเหลือกัน ดิฉันคิดว่าชีวิตคนเราสั้นนัก การที่จะมีเพื่อนอีกสักคน เพื่อช่วยเหลือกันยามแก่หรือยามเจ็บไข้ ก็มีคนดูแล และคงเป็นเวรเป็นกรรมกัน ก็ชดใช้เสีย อย่าสร้างเวรสร้างกรรมอีกเลย เมื่อดิฉันคิดได้อย่างนี้ ดิฉันมีความสุขมาก ไม่เป็นทุกข์ (ก็มีบ้างที่คิดมาก แต่สามารถกำจัดความคิดไม่ดีออกไปได้ เพราะไม่อยากมีเวรกรรมติดกันอีก) สิ่งสำคัญที่ดิฉัน สามี เมียน้อย และลูก ๆ อยู่ด้วยกันแบบสันติ (สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ร้ายแรง) คือ ดิฉันคิดว่าเป็นเพราะเวรกรรม, ไม่ยึดมั่นถือมั่น และใช้กฎพระไตรลักษณ์ ดิฉันขอเอาใจช่วยคุณน่ะคะ ดิฉันรู้ว่ามันทุกข์แค่ไหน แต่คนเราก็อยู่ได้ด้วยตัวของเราเอง |
|
|
|
|
 |
|