Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ถกเถียงเรื่อง ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามให้ร่างกายของพระอรหันต์เหือดแ
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65
ตอบเมื่อ: 24 ธ.ค.2005, 12:22 pm
เขาล่ำลือกันมาว่า เวลาที่พระโคตมะเทศนาสอนธรรมจะมีแสงออร่าสีขาวแผ่ออกมาจากร่างกายของพระองค์เป็นรัศมีกว้างมาก เป็นเรื่องที่น่าแปลกและน่าอัศจรรย์ แสงออร่านี้ในทางวิทยาศาสตร์แล้วต้องใช้กล้องชนิดหนึ่งถ่ายภาพออกมา เราจึงจะเห็นออร่าของแต่ละคน ซึ่งแสงนี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นเรื่องโชคดีของคนในสมัยพุทธกาลที่ได้ฟังธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าเองโดยตรง ไม่ต้องไปฟังพระเทศที่วัดหรือต้องศึกษากันเอาเองเหมือนกับคนในสมัยปัจจุบัน
ห้ามฆ่าสัตว์ ถ้าไม่ฆ่าสัตว์แล้วจะเอาอะไรกิน ตามหลักโภชนาการแล้วเนื้อสัตว์มีโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะในเด็กวัยกำลังโต บางคนกลัวผิดศีลข้อนี้ถึงกับเปลี่ยนไปรับประทานอาหารเจเลยก็มี ผมอ่านข้อเขียนเกี่ยวกับศีลเรื่องห้ามฆ่าสัตว์มาพอสมควร เกิดนึกสงสัยจึงอยากได้คำแนะนำจากผู้ที่มีความรู้
คนกินเนื้อ กับ คนฆ่าสัตว์ เขาถกเถียงกันว่า ถ้าคนกินไม่ไปอุดหนุนคนขาย คนขายเขาก็ไม่ฆ่าสัตว์ คนที่ไปซื้อเนื้อจึงเหมือนเป็นต้นเหตุ เหมือนกับเป็นผู้จ้างวานให้คนขายฆ่าสัตว์แทน ดูแล้วเหมือนผิดด้วยกันทั้งคู่ แล้วการทำบุญล่ะ เราซื้อเนื้อสัตว์มาทำกับข้าวถวายใส่บาตรให้พระ ถ้าไม่มีพระเราก็ไม่ซื้อเนื้อ ถ้าไม่ซื้อเนื้อคนขายก็ไม่ฆ่าสัตว์ สัตว์ก็ไม่ตาย กรณีนี้ดูเหมือนว่า พระ เป็นเหตุให้สัตว์ตาย ถ้าไม่มีพระสัตว์ก็ไม่ตาย ผมงงอยู่นานจนได้มาอ่านข้อความที่ว่า ห้ามให้ร่างกายของพระอรหันต์เหือดแห้ง จึงลองนำมาคิดดูได้ว่า พระอรหันต์คือผู้สิ้นกิเลสแล้วโดยสิ้นเชิง รอเพียงวันดับขันธ์ปรินิพพาน ไม่จำเป็นต้องมาวุ่นวายใดๆกับพวกเราเลย เหตุที่ท่านอยู่นั้นคงเป็นเพียงการเผยแพร่พระธรรม ชี้ทางให้ผู้อื่นหลุดพ้นบ้าง หากไม่มีท่านเราก็ไม่รู้ทางพ้นทุกข์วิมุตติ ไม่รู้ธรรมอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ไม่ต้องการแล้วซึ่งร่างกาย การที่เรานำอาหารไปถวายท่านนั้นเหมือนกับว่าเราง้อให้ท่านอยู่มากกว่า ผมจึงคิดว่า พระอรหันต์ และ พระที่ปฏิบัติตนเพื่อรอวันบรรลุอรหันต์ จึงไม่ผิดในข้อ ห้ามฆ่าสัตว์ และสัตว์ที่ตายไปนั้นคงเหมือนกับว่า ได้อุทิศร่างกายเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตของพระอรหันต์ คงถือได้ว่าเป็นบุญที่ยิ่งใหญ่ เป็นอานิสงส์ที่สูงล้ำ พระจะได้ใช้ร่างกายซึ่งเป็นที่รวมของกองทุกข์นี้เผยแพร่พระธรรม ประกอบคุณงามความดีที่ยิ่งใหญ่ต่อไป
ในเมื่อพระไม่ผิดข้อ ห้ามฆ่าสัตว์ แล้ว เราฆราวาสที่กินเนื้อสัตว์ล่ะ ผิดรึเปล่า ผิดมากผิดน้อยแค่ไหน ผมว่าการกินแต่เพียงเพื่อยังชีพอยู่ ยังชีพเพื่อประกอบกรรมดี คงผิดน้อยกว่าการกินด้วยกิเลสที่มากเกินไป ผิดน้อยกว่าพวกที่มีชีวิตอยู่เพียงเพื่อสนองกิเลสตนเองในทางไม่ดี เผาผลาญชีวิตสัตว์อื่นไปวันๆ คนที่บอกว่ารักสัตว์นั้น รักสัตว์ประเภทไหน รักหมดทุกชนิดเลยรึเปล่า หรือว่ารักแต่ หมา แมว จึง ฆ่าหมู ฆ่าวัว มาเป็นอาหารให้มันกิน แสดงว่าเขาไม่ รักวัว รักหมู รักแต่เพียงหมากับแมว ในข้อที่ห้ามฆ่าสัตว์นี้ ใครมีคำแนะนำที่ถูกต้อง ดูเข้าที โปรดช่วยชี้แจงด้วย
การฆ่าสัตว์เพื่อเป็นทานให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่พระ ถือว่าเราทำทานบนความทุกข์ของผู้อื่นได้ไหม หากเขากินเพื่อยังชีพแต่เพียงสนองกิเลสในทางล่มจม ?
การฆ่าสัตว์นำไปทำบุญจะถือว่าเราได้บุญได้อย่างไร เพราะทานของเราอยู่บนความทุกข์ของสัตว์ที่ตายไป สัตว์ควรจะได้บุญมากกว่าเรา ถูกไหม ?
( ต่อคับ )
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65
ตอบเมื่อ: 24 ธ.ค.2005, 12:56 pm
มีคนเขาแนะนำมาว่า ยังไงซะเราก็เป็นสิ่งมีชีวิต เป็นสัตว์โลกเหมือนกัน จงกินแต่พอแก้หิวเหมือนเสือ อย่ากินมากมูมมามเหมือนหมู ท่านผู้ถือศีลท่านว่าควรทำอย่างไรดี ในเมื่อเนื้อก็จำเป็น ผักก็เป็นสิ่งมีชีวิตเติบโตได้เพียงแต่ไม่มีปากส่งเสียงให้เราได้ยิน ดูเหมือนจะผิดไปหมด ช่างสร้างความงงเต๊ก เก๊กซิม จริงๆ
เมื่อก่อนนี้ผมยกแต่มือไหว้พุทธรูปเพียงอย่างเดียว แต่ไม่เคยคิดสนใจเรื่องอื่นใดเลยจากองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเห็นว่าเป็นยุคอวกาศแล้ว จึงสนใจศึกษาแต่บุคคลผู้มีปัญญาชื่อเสียงโด่งดังจากที่อื่น เช่น นักปรัชญาจีน นักปรัชญากรีก และท่านอื่นๆอีก วันหนึ่งมีโอกาสได้อ่านคู่มือมนุษย์ของท่านพุทธทาส เห็นว่ามันเล่มเล็กดีจึงเปิดอ่าน รู้สึกติดใจกับคำสอนจึงค่อยๆศึกษาเจาะลึกไปทีละเรื่อง จนในที่สุดก็พบว่า ผู้มีปัญญาอันเป็นที่สุดตั้งแต่ได้ศึกษามา อยู่บนหิ้งในบ้านนี่เอง มัวไปมองหาอยู่ที่อื่นเสียตั้งนาน ทั้งเรื่องความประพฤติอันเป็นที่น่าชมเชย ความฉลาดแตกฉานในทุกแขนงวิชา การมองปัญหาเรื่องทุกข์ของมนุษย์ การสละราชสมบัติความสุขในพระราชวังไปครองเพศบรรพชิต ทนร้อนทนหนาว ตากแดดตากฝน นั่งคิดหาหนทางอยู่คนเดียวในป่าเปลี่ยว การค้นพบตรัสรู้ธรรม อริยสัจ 4 โยนิโสมนสิการวิธีคิดแบบต่างๆ(ท่าน ป.ปยุตโตเป็นผู้เขียน) สมาธิวิมุตติ และอื่นๆอีกมากมายที่ยังไม่ได้ศึกษา สิ่งทั้งหมดนี้บอกได้เพียงอย่างเดียวว่า หากท่านเป็นคนรักปัญญาระบบวิธีคิดแบบต่างๆเพื่อใช้ควบคู่กับความรู้ในการคิดวิเคราะห์ ท่านไม่ต้องไปหาที่ไหนให้ไกลเลย พระโคตมะ นี่แหละปัญญาเลิศสุดยอด
ธรรมเองก็เป็นของแปลก
ธรรมไปอยู่บางที่เขาก็ว่าสูงส่ง น่ายกย่อง
ธรรมไปอยู่บางที่เขาก็ว่าต่ำต้อย น่าขบขัน
ธรรมเองยังเอาแน่นอนเสมอไปไม่ได้เลย
ยึดถือด้วยความไม่รู้อาจหลงทางได้
เป็นเพียงแผนที่ให้ถึงเป้าหมาย
สาธยายให้รู้ได้แค่เลือนลาง
ไม่เริ่มเดินทางก็ไม่มีวันเข้าใจ
สวัสดีท่านผู้อ่าน
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 25 ธ.ค.2005, 2:15 am
กราบสวัสดีคุณเบ๊
คนทั่วๆไปทานเนื้อสัตว์ก็คงไม่คิดอะไรกันมาก นอกจาก "อร่อย" แต่หากเป็นผู้ปฏิบัติท่านก็จะทราบได้ด้วยตนเองว่า การไม่รับประทานเนื้อสัตว์มีผลต่อการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง บาปก็คงอยู่กับคนฆ่าคงไม่ได้อยู่ที่คนกิน แต่การทานเนื้อสัตว์ของผู้ปฏิบัติบางท่านก็ส่งผลทางอารมณ์ด้วยเช่นกัน บางท่านทานเข้าไปแล้วก็สามารถเข้าไปรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของสัตว์ที่ทานเข้าไปนั้นว่า ก่อนตายเจ็บป่วยทรมานทุกขเวทนาขนาดไหน ก็จะส่งผลออกมาทางการเจ็บป่วยของผู้ปฏิบัตินั้นได้เช่นกัน ...ปล.อันนี้แล้วแต่บุคคลไม่ใช่ทุกคน
แต่สำหรับพระผู้ปฏิบัติดี ควร ชอบ จะฉันหรือไม่ฉัน ท่านก็คงไม่มีปัญหา ศีล วินัย และการปฏิบัติด้วยความพากเพียร ตั้งมั่นของท่าน จะส่งผลให้สรรพชีวิตที่เป็นอาหารเหล่านั้นได้ไปเกิดในภพในภูมิในชาติที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องของการปฏิบัติล้วนๆ
ชีวิตใดก็เหมือนกันหมด ก็ชีวิตหนึ่งเหมือนกัน ไม่ว่ามนุษย์ หมู หมา กา ไก่ วัว ควาย ฯลฯ ชีวิตทั้งนั้น เราก็ชีวิต เขาก็ชีวิต ไม่แตกต่าง บาปหรือไม่บาป ผิดศีลหรือไม่ผิด ก็ว่ากันไป ก็ยังกินกันอยู่นี่นา
เจริญในธรรม
มณี ปัทมะ ตารา
มรดก
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 29 ธ.ค.2005, 4:09 pm
เข้าใจว่าผู้ตั้ง กระทู้ ยังจะต้องศึกษาธรรมะและทำความเข้าใจ อีกพอสมควร
อย่าลืมมองถีงกฎความจริงของโลกอีกหลายๆ ประการสิครับ
ถ้าเอาธรรมล้วนๆ ไปคิดผสมกันกับแบบโลกๆ มันจบได้ยาก
ถ้าถามว่าให้โลกนี้ มีแต่คนดี จะเป็นไปได้ไหม?
ให้คนบวชกันทั้งโลก จะเป็นไปได้ไหม?
ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีหลายระดับชั้น ให้เลือกปฏิบัติให้เหมาะกับชั้นของตน กลุ่มบุคคลมากมายที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ เขาก็ยังมีเนื้อสัตว์กิน โลกมันต้องเป็นของมันอย่างนี้เอง การที่เราคิดว่า เราซื้อเนื้อสัตว์มากิน มันเป็นการส่งเสริมให้เขาฆ่า ถามว่าเจตนาคนที่ซื้อ(รักษาศีล)เขาต้องการให้เป็นอย่างนั้นไหม? ถ้าพวกคนที่รักษาศีล ไม่ซื้อเนื้อสัตว์ เขายังจะฆ่าสัตว์ขายกันอยู่ไหม? เราต้องทำความเขาใจ ว่าโลกเขาเป็นของเขาอย่างนั้น (นั่นเป็นความจริงของโลก) สิ่งสำคัญของการรักษาศีล คือเจตนา และปัญญา (ปัญญามองโลกตามความเป็นจริง) ถามว่าในพระไตรปิฎก ที่เราศึกษา ท่านกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการที่ภิกษุฉันเนื้อสัตว์ ? ให้ภิกษุฉันได้ ในเนื้อที่เว้นจากการ ได้เห็น ได้รู้ ได้รังเกียจ ว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน
แล้วอีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสไว้ เกี่ยวกับ "กลิ่นดิบ" ในความหมายทางพระพุทธศาสนาว่าอย่างไร? พระองค์ทรงหมายถึง (กลิ่นดิบ) บาป และอกุล ที่ต้องละ
...เพราะฉะนั้น เราจงทำความเข้าใจในความหมายของคำว่า "รู้โลกตามความเป็นจริง"
อย่าไปติดอะไรที่มันเอนเอียงไปทาง "ศีลัพพตปรามาส" กิเลสทั้งหลายเกิดที่จิต ดับก็ดับที่จิต ถ้าเราไม่ฉลาดในจิตของผู้อื่น ก็จงฉลาดในจิตของเรา
...เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนานั่นแหละ คือกรรม...
ถามว่าคนประหารนักโทษที่มีความผิด บาปไหม? มันก็บาปอยู่นั่นเอง นั่นเขาทำหน้าที่ของเขาในทางของโลก เพราะเขายังต้องอยู่กับโลก เขาก็ต้องหาโอกาสทำบุญอยู่เรื่อยๆ เมื่อถึงคราวพ้นจากหน้าที่ ก็ต้องเร่งทำความดีให้มาก สั่งสมสิ่งดีให้กับจิตให้มาก
มีอีกมากที่อยากจะนำมากล่าว แต่ต้องขออภัยเวลามีน้อย ....สวัสดี
สราญ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 29 ธ.ค.2005, 4:17 pm
ไม่ขอถกเถียงดีกว่า เพราะเกรงจะเกิดความฟุ้งสร้าน
มรดก
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 29 ธ.ค.2005, 4:18 pm
แม้พระอรหันต์ที่อยู่ในป่า ถึงเวลาท่านก็ต้องออกบิณฑบาตร โปรดสัตว์ และแสวงหาอาหารมาหล่อเลี้ยงกาย ท่านพิจารณาอาหารทั้งหลายเป็นแต่เพียง "ธาตุ" ไม่ใช่ว่าจะมาคิดเล็ก คิดน้อยเกี่ยวกับการฉันเนื้อสัตว์ ว่าบาป ไม่บาป อย่างที่ได้กล่าวกันมา เพียงแต่ว่า เป็นเนื้อที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ก็ใช้ได้แล้ว (เรื่องเจตนาที่จะยินดีในการฆ่านั้นไม่มีอยู่แล้ว)
มรดก
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 29 ธ.ค.2005, 4:25 pm
การกล่าวธรรมมา มิได้มีเจตนาในการหักล้าง ด้วยโทสะ เป็นแต่เพียง เรื่องราว และแง่คิด ที่ได้รับรู้จากครูบาร์อาจารย์ ในสายวิปัสนากัมมัฏฐาน ข้อสำคัญ คือต้องเป็นคนที่เลี้ยงง่าย หากท่านผู้ใดปฏิบัติตนได้ ในการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ไม่ทำให้ใครผู้ใดเดือดร้อนแล้ว ก็เป็นการดี สำหรับท่านเอง (ข้อสำคัญอย่าได้มีอัคคติกับผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์ จักเป็นกิเลสตัวโตที่มองไม่เห็น)
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th