Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 คาวมเห็นบางประการสำหรับผู้ที่เปิดใจกว้างรับสิ่งใหม่ที่ไม่มีพ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 12 ธ.ค.2005, 12:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



สวัสดีทุกท่านผู้เคารพนับถือหลักคำสอนของมหาบุรุษผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง



ตามความเข้าใจของผมแล้วหลักธรรมของพระพุทธเจ้าแบ่งเป็นภาค ทฤษฎี และ ปฏิบัติ จะพูดไปแล้วทฤษฎีนั้นเปรียบได้กับแผนที่เดินทาง แต่ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติหรือเริ่มเดินทางก็ไม่มีวันที่จะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางได้ หลักธรรมก็เช่นเดียวกัน หากไม่นำมาปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติไม่ถูกทาง ก็ไม่อาจสำเร็จบรรลุได้ดั่งเป้าหมายที่กำหนด การ บรรลุ เข้าถึงธรรมด้วยการปฏิบัติจึงแตกต่างจากการศึกษาเพื่อ เข้าใจ จดจำธรรมแต่เพียงภาคทฤษฎี จึงอาจกล่าวได้ว่า



บุคคลผู้ บรรลุธรรม เข้าใจธรรม นำมาบอกกล่าวได้ก็มี

บุคคลผู้ บรรลุธรรม แต่ไม่เข้าใจธรรม นำมาบอกกล่าวไม่ได้ก็มี

บุคคลผู้ ไม่บรรลุธรรม แต่เข้าใจธรรม นำมาบอกกล่าวได้ก็มี

บุคคลผู้ ไม่บรรลุธรรม และไม่เข้าใจธรรม นำมาบอกกล่าวไม่ได้ก็มี



ความสำเร็จของผู้ศึกษาธรรมจึงอาจแบ่งได้ 4 ประเภท ดังว่านั้นแล



ผมได้เสนอมุมมองอีกด้านของพระพุทธศาสนา โดยตั้งเป็นกระทู้ไว้ให้พวกท่านเข้ามาอ่านแสดงคำวิจารณ์ตามความคิดเห็นที่แตกต่าง ได้แก่

1.โลกหลังความตายยังดูลี้ลับและไกลเกินไป
http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=dhammajak&No=3618



2.สุขทางโลกและสุขทางธรรม (วิมุตติ)ในอีกหนึ่งมุมมองhttp://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=dhammajak&No=3686



3.ขันธ์ 5 ที่ดูให้เชื่อมโยงสัมพันธ์http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=dhammajak&No=3693



โดยเฉพาะในข้อ 3 อยากให้พวกท่านอ่านคำสวด อะนัตตะลักขะณะสุตตัง (อ่านแล้วจะรู้สึก....) ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วในหนังสือมนต์พิธีแปลประกอบไปด้วย เมื่อทำความเข้าใจในขันธ์ 5 ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ท่านก็พอที่จะมีความเข้าใจใน "ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง" ไปเองพอสมควร ส่วนที่ว่าอริยสัจ 4 มีรอบ 3 อาการ 12 นี้ คงหมายถึง อริยสัจ 1 ข้อ ต้องคิด 3 ครั้ง (รอบ) คือ ค้นหา ตรวจสอบ กำหนดยืนยัน ตัวอย่างเช่น

ข้อ ทุกข์ จะได้เป็น

1. ค้นหาว่าอะไรเป็นทุกข์ในตอนนี้

2.ตรวจสอบพิจารณาว่าใช่หรือไม่

3.ถ้าแน่ใจว่าใช่แล้วจึงกำหนดยืนยันเป็นหัวข้อ ครบ 3 รอบพอดี



วิธีคิดเช่นนี้ดูแล้วละเอียดรอบคอบดีครับ



ข้อมูลทางพุทธศาสนาที่ได้เสนอไปให้พวกคุณอ่าน ส่วนใหญ่แล้วจะศึกษาเอง เข้าใจเอง แหล่งข้อมูลที่ได้โดยมากจะมาจากท่านพุทธทาส ศัพท์บางศัพท์ที่ใช้ก็คงได้มาจากการอ่านหนังสือของท่านพุทธทาส อาจมีข้อผิดพลาดไปบ้างก็ขออภัยด้วยว่ายังเป็นผู้รู้น้อยอยู่เหลือเกิน ไม่เกี่ยวข้องกับท่านพุทธทาสโดยประการใด



(มีต่อคับ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 12 ธ.ค.2005, 1:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำเทศบางส่วนของท่านเว่ยหลาง



ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ความว่างอันไม่มีสาเหตุจำกัดของสากลจักรวาล เป็นสิ่งที่มีความจุมากพอที่จะรวมเอาสิ่งต่างๆ ตั้งแสนๆสิ่ง ซึ่งมีรูปและสันฐานแปลกๆกันเข้าไว้ในตัวมันได้ สิ่งเหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวทั้งหลาย ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน น้ำพุ ลำธาร พุ่มไม้ ป่าไม้ คนดี คนชั่ว ธรรมมะฝ่ายดี ธรรมมะฝ่ายชั่ว เมืองสวรรค์ เมืองนรก มหาสมุทร ภูเขาทั้งหลายในเทือกเขาหิมาลัย อวกาศนั้น ซึมเข้าไปอยู่ทั่วในสิ่งต่างๆ อย่างเดียวกัน เรากล่าว จิตเดิมแท้ ว่าเป็นของใหญ่หลวง ก็เพราะว่ามันรวมสิ่งต่างๆไว้หมด โดยที่สิ่งทุกสิ่งนั้นมันอยู่ในตัวธรรมชาติแท้ของเรา(บริสุทธ์ ว่าง ไม่มีการปรุงแต่ง ธรรมชาติแห่งพุทธะ) เมื่อเราพบเห็นความดีหรือความชั่วก็ตามของบุคคลอื่น เราไม่ถูกดึงดูดให้ชอบ หรือไม่ถูกผลักดันให้ชัง หรือเราไม่เกาะเกี่ยวกับมัน เมื่อนั้นลักษณะแห่งจิตใจของเราเป็นของว่างเท่ากันกับอวกาศ ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ใจของเราใหญ่หลวง ไม่มีขอบเขตเหมือนอวกาศ เพราะฉะนั้นเราจึงเรียกมันว่า มหา

เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึง ตามวิถีปฏิบัติของท่านเว่ยหลาง ท่านบอกว่า ปัญญาดวงเดียวเท่านั้น จะสร้างความรอบรู้ขึ้นถึง 84000 วิถี (พระไตรปิฎก)



พวกท่านผู้อ่านเห็นว่าประการใดพิจารณาดูเองนะครับ

ถ้าเป็นของท่านพุทธทาสก็คงจะเป็นประโยคนี้



" (จิต) ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง "



ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่า ธรรมะเป็นเรื่องที่จะต้องนำมาพูด นำมาบอกกล่าวให้ฟัง อันนี้ผมว่าจริงคับ ถ้าไม่อย่างนั้นคนจะศรัทธาได้อย่างไรหากไม่รู้จักธรรมของพุทธศาสนาเลย เอาเป็นว่าใครมีธรรมอะไรมาชี้แจง บอกกล่าวให้ฟังก็ขอขอบคุณมาก ถือว่าเป็นทานบุญความรู้เล่าสู่กันฟังขยายความเข้าใจให้แจ้งแก่จิตใจ



ขอเป้าหมายจงสำเร็จแก่ผู้เดินทาง

ขอวิมุตติจงสำเร็จสถิตแก่ผู้ปฏิบัติ

ขอบคุณเหล่าผู้ศึกษาธรรมที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ไม่สับสน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 4:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อ ทุกข์ จะได้เป็น

1. ค้นหาว่าอะไรเป็นทุกข์ในตอนนี้

2.ตรวจสอบพิจารณาว่าใช่หรือไม่

3.ถ้าแน่ใจว่าใช่แล้วจึงกำหนดยืนยันเป็นหัวข้อ ครบ 3 รอบพอดี



วิธีที่จะตรวจสอบว่าวิธีคิดเช่นข้างบนนี้ถูกต้องหรือไม่ ก็ดูตรงว่า ข้อหนึ่งเป็น "สัจจญาณ"หรือไม่?

ข้อสองเป็น "กิจจญาณ" หรือไม่?

ข้อสามเป็น"กตญาณ"หรือไม่?



ส่วนการเอาข้อ "ทุกข์"มาทำความเข้าใจ ก็ดูว่ารอบทั้งสามนั้น เป็น "ปริญญากิจ"หรือไม่?

คือ ข้อ 1 เป็น ญาตปริญญาหรือไม่?

2 เป็นตีรณปริญญาหรือไม่?

3 ปหานปริญญาหรือไม่



แต่รอบสาม อาการสิบสองนี้ หมายถึงการสำเร็จความรู้ด้วยญาณ ที่บรรลุอรหันต์แล้วจึงรู้ได้
 
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2005, 12:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมคิมว่าเป็นรอบที่เขาเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ซาบู
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 ธ.ค.2005, 3:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แวะมาอ่านนะท่าน.............
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
 www.Stats.in.th