ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
new
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 532
|
ตอบเมื่อ:
07 ธ.ค.2005, 6:46 pm |
  |
ขอถามครับ คือ ผม มักจะใช้รถใช้ถนนเป็นประจำ คิดเหมือนกันว่า ต้องเซฟตี้ตัวเองที่ สุด เพราะกลัวอุบัติเหตุ กลัวความทรมาน กลัวความเจ็บ เพราะเห็นข่าว เกี่ยวกะอุบัติเหตุแล้วกลัวครับ ก็เลยมีคำถามครับ ว่า ปุถุชนอย่างเรา เวลา ได้รับอุบัติเหตุ มีความทรมาน เจ็บปวด จากพระอริยะ ได้รับ อุบัติเหตุอย่างไร ความเจ็บ ความทรมาน หรือ ทุกขเวทนา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ๆ ใช่ไหมครับ ถ้าเป็นสภาพธรรมจริง ความเจ็บ ของปุถุชนไม่น่าจะต่างกัน และเคยได้ยินว่า พระอริยะ เกิดทุขเวทนาเพียงกาย แต่ ไม่กระทบใจ นั้นเป็นไง อย่างปุถุชน เมื่อทุขกายแล้ว ใจทุกข์อีก การที่ใจทุกข์ด้วยนี้ เป็นการทำให้ความเจ็บความทรมาน ยกกำลังสองหรือเปล่า อยากรู้ครับ ตอบหน่อยนะ  |
|
|
|
  |
 |
tanawat30
บัวบาน

เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256
|
ตอบเมื่อ:
07 ธ.ค.2005, 7:27 pm |
  |
ดูก่อนคำถามของ new ผู้เจริญ
ความเจ็บเป็นธรรมดา เป็นสภาวะทุกข์ตัวหนึ่ง เราไม่ต้องกลัวความเจ็บที่จะเกิดขึ้น เพราะความเจ็บเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ที่เราสนใจ คือเมือเกิดความเจ็บขึ้นแล้ว ควรทำอย่างไรมากกว่า
ความเจ็บทางด้านร่างกายของพระอรหันต์กับปุถุชนไม่ได้ต่างกัน เพียงแต่พระอรหันต์เข้าใจเรื่องพวกนี้ว่ามีเกิดได้ มีดับได้ มองเรื่องพวกนี้เป็นธรรมดา เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มานั่งคิด มานั่งเสียใจก็ไม่อาจทำให้เราหายได้ แต่ยิ่งคิด ยิ่งสนใจ ยิ่งเจ็บ ส่วนความเจ็บทางใจนั้นไม่มีผลกระทบเลย มีผลกระทบในทางที่ดีขึ้นเสียอีก เนื่องจากความเจ็บทำให้เกิดความลำบากในการบำเพ็ญเพียร ทำให้ช่วงเวลาที่เราเจ็บกับทำให้การบำเพ็ญเพียรด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนาได้รับอานิสงฆ์มากกว่าตอนที่ร่างกายปกติเสียอีก ให้เปรียบเทียบง่าย ๆ พระธุดงค์อาศัยอยู่ตามป่า บำเพ็ญเพียรยากลำบากกว่า พระที่จำวัดอยู่ในเมือง เมื่อความลำบาก ทุกข์ยาก ความเจ็บป่วย เป็นอุปสรรคในการบำเพ็ญเพียรมีมากเพียงใด การบำเพ็ญเพียรจะทำให้สำเร็จได้โดยเร็ว และง่ายกว่าพระหรือฆราวาสที่มีอุปสรรคน้อย
ส่วนความเจ็บทางกายของพระอรหันต์ ถึงแม้ว่าจะเจ็บเท่ากับปุถุชน แต่ด้วยบุญกุศล ทำให้พระอรหันต์สามารถหายจากอาการเจ็บปวดได้เร็วกว่ามนุษย์ปุถุชนหลายเท่า ขึ้นอยู่กับบารมีของพระอรหันต์แต่ละพระองค์เป็นหลัก
ความเจ็บป่วยทางใจ กระตุ้นให้เกิดความเจ็บป่วยทางกายเกิดเพิ่มขึ้นได้ แต่ถ้าเราเจ็บกายอยู่แล้ว แล้วกายนั้นทำให้ใจเจ็บไปด้วย ย่อมมีผลทำให้เจ็บเพิ่มขึ้นได้ แต่ประเมินไม่ได้ว่าจะกี่เท่า ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งหรือความอ่อนแอของจิตใจ
แม้เราไม่มีอาการเจ็บป่วยทางกาย มีแต่ความเจ็บป่วยทางใจ เช่นคนที่อาฆาตมาตรร้ายผู้อื่นด้วยความ ริษยา ความโกรธ และความพยาบาทผู้อื่นออยู่เป็นนิจ ความคิดเช่นนั้นยังส่งผลทำให้ร่างกายเจ็บป่วย เช่น โรคหัวใจ เส้นเลือดตีบ และความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้น กายป่วยพึงรักษาใจไว้อย่าได้ป่วย หรือตกเป็นทาสแห่งอารมณ์ขุ่นมัว จนเป็นเหตุให้ร่างกายป่วยได้ |
|
|
|
    |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
07 ธ.ค.2005, 7:30 pm |
  |
กราบสวัสดีคุณnew
.....ปุถุชนอย่างเรา เวลา ได้รับอุบัติเหตุ มีความทรมาน เจ็บปวด จากพระอริยะ ได้รับ อุบัติเหตุอย่างไร ความเจ็บ ความทรมาน หรือ ทุกขเวทนา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ๆ ใช่ไหมครับ ถ้าเป็นสภาพธรรมจริง ความเจ็บ ของปุถุชนไม่น่าจะต่างกัน และเคยได้ยินว่า พระอริยะ เกิดทุขเวทนาเพียงกาย แต่ ไม่กระทบใจ นั้นเป็นไง อย่างปุถุชน เมื่อทุขกายแล้ว ใจทุกข์อีก การที่ใจทุกข์ด้วยนี้ เป็นการทำให้ความเจ็บความทรมาน ยกกำลังสองหรือเปล่า.....
หากจะกล่าวไป ปุถุชนเมื่อได้รับความเจ็บ ความทรมาน จากอุบัติเหตุก็มักจะทุกข์ทั้งกายและทรมานทั้งใจ หากทรมานใจมากๆอาจทำให้สุขภาพกายทรุดโทรมลงไปอย่างแทบไม่น่าเชื่อเหมือนกัน แต่ในลักษณะเดียวกัน ท่านผู้ปฏิบัติที่ได้ชื่อว่าพระอริยะ หากได้รับอุบัติเหตุ ความเจ็บ ความทรมาน หรือทุกขเวทนาทางกายและใจ แทบไม่เกิดขึ้นเลย ถึงได้รับบาดแผลก็เป็นเพียงบาดแผล แต่ไม่สามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดทางกายและใจตามมาได้ เพราะท่านพิจารณาตลอด
กรรมใดจึงพาให้ต้องชดใช้ และประสบอุบัติเหตุเช่นนี้ น้อมได้ ระลึกได้ ดับสลายหายไปพร้อมกับกรรมที่ต้องชดใช้นั้น เดี๋ยวนั้น เวลานั้น วินาทีนั้น เพราะฉะนั้นก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
เจริญในธรรม
มณี ปัทมะ ตารา  |
|
|
|
   |
 |
เขม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
07 ธ.ค.2005, 7:46 pm |
  |
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าได้รับการพอกยาอย่างแรง จากหมอชีวก ฯ หลังจากพอกแล้วหมอชีวก ฯ ได้ขอตัวไปรักษาคนไข้ในเมือง กลับออกมาแก้แผลไม่ได้ เพราะประตูเมืองปิดเสียก่อน
หมอชีวก ฯ นอนไม่หลับทั้งคืน เพราะห่วงพระพุทธเจ้าว่า ถ้าไม่แก้ผ้าซึ่งพันแผลออกจะได้รับการทรมานมาก
พระพุทธเจ้าทราบวาระจิตของหมอชีวก ฯ จึงให้พระอานนท์แก้ผ้าพันแผลออก
รุ่งเช้าหมอชีวก ฯ รีบออกจากเมืองเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พร้อมกับถามว่า เมือคืนได้รับความเจ็บปวดไหม ?
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ความเจ็บปวดทรมานนั้น ตถาคตละได้แล้วที่โคนต้นโพธิ
(หมายถึงว่า ความเจ็บทางใจความทรุนทุรายทางใจของพระองค์น่ะไม่มีแล้ว กายเจ็บ แต่ใจไม่เจ็บด้วย)
|
|
|
|
|
 |
new
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 532
|
ตอบเมื่อ:
07 ธ.ค.2005, 8:19 pm |
  |
ขอบคุณสำหรบคำตอบครับ |
|
|
|
  |
 |
|