Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทำอย่างไรที่จะให้เพื่อนหันมาสนใจธรรมะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Supanikar
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ย.2005, 11:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดิฉันอายุ 30 แล้วชอบอ่านหนังสือธรรมะมีเวลาก็ไปทำบุญที่วัด อ่านหนังสือธรรมะทำให้จิตใจสงบขึ้นมาก เพื่อนร่วมงานรวมทั้งหัวหน้างานเองมักหาว่าดิฉันทำตัวแก่ เคยชวนเพื่อนหันมาอ่านหนังสือธรรมะด้วยกันแต่เขากลับปฎิเสฐแล้วบอกว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทุกคนคิดว่าดิฉันเป็นคนที่ไม่รักความก้าวหน้า เพราะดิฉันไม่จบปริญญา เงินเดือนน้อยก็ไม่เดือดร้อนเพราะกินอยู่อย่างง่ายๆ ไม่ฟุ่มเฟือยแต่ก็มีความสุข ดิฉันไม่เข้าใจว่าทำไมพวกเพื่อนๆถึงไม่ค่อยชอบศึกษาธรรมะกัน พวกเขาคิดว่าถ้าพวกเขามีเงิน มีรถขับ แลัวก็มีเงินเดือนและตำแหน่งหน้าที่ดีๆนั่นคือความสุขของพวกเขา แต่สำหรับดิฉันแล้วมันไม่ใช่เลย ดิฉันจะทำอย่างไรดีคะที่จะให้คนรอบข้างเขาหันมาทำความดีกัน ใครที่มีคำแนะนำช่วยบอกทีเถอะค่ะ
 
วรากร
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ย.2005, 12:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การที่จะทำให้ใครสักคนมาสนใจธรรมะนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะมันเป็นปัจจัตตัง แปลว่าเป็นเรื่องเฉพาะคน



หากเราต้องการจริง ก็ต้องอาศัยเวลาและความอดทน การสอนธรรมะนั้นเป็นเรื่องที่ยาก ไม่ใช่ว่าอ่านหนังสือมากคือมีธรรมะมาก มันเป็นคนละเรื่อง คนที่จะสอนธรรมะได้ต้องรู้และเขาใจในคนที่เราจะสอนด้วย ว่าเขาควรศึกษาธรรมะแบบใดถึงจะเหมาะกับเขา



ผู้สอน สอนเป็นรู้ในสิ่งที่สอน ผู้ถูกสอนก็รู้ว่าสอนอะไร



ก่อนอื่นเราต้องโปรดตัวเราเองก่อน แล้วค่อยไปโปรดคนอื่น เมื่อเราเข้าใจธรรมะแท้จริงแล้ว เมื่อเขาสงสัยในธรรมใด เราก็สามารถที่จะอธิบายให้เขาเข้าใจได้โดยง่าย หากเรายังไม่รู้เลยแล้วเขาจะมาเชื่อตามเราได้อย่างไร แถมยังเป็นเหตุให้เขาดูถูกพระธรรมคำสอนโดยไม่เจตนาก็มี



ธรรมเป็นเรื่องใกล้ตัว หายใจเข้า หายใจออก ก็ธรรมะแล้ว ก็ธรรมชาติงัย



ตราบใดเรายังตัองอาศัยโลกแห่งสมมุติ ก็ต้องเข้าใจมัน แต่เมื่อใดโลกแห่งความจริงปรากฏ (นิพพาน) ก็จะไม่มีอะไรให้แตกต่างไป

 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ย.2005, 12:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดีSupanikar



ในทางศาสนาถือว่าเมตตาเป็นหลักธรรมที่สำคัญ ไม่ว่าเราจะอยู่ในสังคมมนุษย์ไหนๆก็ตาม จะทำอะไรก็ต้องประกอบด้วยเมตตา ไม่ว่าเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม อีกทั้งความประพฤติให้อยู่ในกรอบของศีล ประการสุดท้ายความเห็นต้องเสมอกัน



เรื่องเมตตานี่ ต้องทั้งต่อหน้าและลับหลัง ตัวเราสำคัญที่สุดไม่ต้องไปมองคนอื่น หากเราประพฤติไม่ดีแล้ว ตนเองก็เป็นทุกข์เองไม่ใช่ใคร ความเห็นเสมอกันก็เช่นเดียวกันหมายถึงมีสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบเหมือนกัน ก็จะเป็นการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ในสังคมที่เราอยู่นั้นๆ



พิสูจน์ตนเอง ว่าการศึกษาธรรมะพร้อมลงมือปฏิบัติให้เข้าใจในแก่นแท้ของศาสนานั้นเป็นทรัพย์แสนประเสริฐเหนือกว่าทรัพย์สินเงินทอง ความสุขแบบโลกๆแทบจะเปรียบเทียบกันไม่ได้ เป็นทรัพย์ที่หาค่าประมาณมิได้ ปฏิบัติให้ทราบถึงผลที่แท้จริงจะช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้เช่นกัน



เจริญในธรรม



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
PR
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ย.2005, 12:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชวนเพื่อนไปฟังบรรยายนี้สิคะ รับรองติดใจธรรมะแน่นอนค่ะ

ขอเชิญร่วมกิจกรรม ฟังการบรรยายพิเศษ

หัวข้อ “การบริหารชีวิต”

โดย ดร. สนอง วรอุไร

ขอเชิญร่วมกิจกรรม ฟังการบรรยายพิเศษ

หัวข้อ “การบริหารชีวิต”

โดย ดร. สนอง วรอุไร

วันที่ 7 ธันวาคม 2548 เวลา 13.00 - 16.00 น.

ณ หอประชุมธรรมศาสตร์ (หอเล็ก) ท่าพระจันทร์

**ไม่เสียค่าใช้จ่าย**

กรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้าผ่าน website : www.amarinpocketbook.com

หรือ โทร . 02- 422-9999 ต่อ 4141 ถึง 7

"ทำชีวิตให้ได้ดี และมีสุข"

โดย ดร. สนอง วรอุไร



เราสามารถกำหนดสเป็คให้กับชีวิตได้

ไม่ว่าจะเป็นคู่ครอง ลูก เพื่อน งาน หรือการเลือกเกิด

ขอเพียงแค่สร้างเหตุให้ตรงกับสิ่งที่เราปรารถนา

 
แป้ง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ย.2005, 7:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การที่คนคนหนึ่งจะมาทำอะไรเกี่ยวกับธรรมะขึ้นอยู่กับพื้นฐานของจิตใจของแต่ละบุคคลหรือคนคนนั้นมากกว่า เพราะการจะบังคับให้เค้าปฏิบัติธรรมต้องพร้อมทางกายและใจและน่าจะพูดได้ว่าวาสนาธรรมของแต่ละคนมากกว่า /ถ้าหากใครไม่มีวาสนาธรรมคงไม่เข้าถึงพุทธศาสนาได้แน่นอนพวกเราเป็นคนที่จะดีได้นั้นก็จริงแต่จะมีสักกี่คนที่จะรักษาความดีให้คงทนถาวรตลอดจนไปวาระสุดท้ายหรือว่าไม่จริง/ไม่มีใครหนีการกระทำหรือหนีกรรมของตัวเองหลุดพ้นได้ต่างหาก/เพียงแต่ถ้าหากเราไปบังคับเค้ามันก็ไม่ต่างจากการที่เราไปยะยั้นขะยอให้เค้าไม่ทำเพราะด้วยใจน๊ะ
 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ย.2005, 8:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูก่อนมนุษย์ผู้เจริญ



คนที่เราสามารถชักชวนให้เขาสนใจธรรมมะให้ส่องกระจกแล้วก็ชวนคนที่มีภาพอยู่ในกระจกนั่นแหล่ะบอกให้เขาสนใจธรรมมะมาก ๆ เมื่อชวนคนนั้นได้แล้ว ก็ทำคนที่เราเห็นในกระจกนั้น เข้าใจว่าธรรมมะคืออะไร



คนที่คิดว่าการสนใจธรรมมะแล้วได้เพียงความสงบของจิตใจเพียงอย่างเดียว เหมือนคนที่ไปกินข้าวมันไก่แล้วตักกินแต่น้ำจิ้ม เพราะนัยของธรรมมะให้เราได้มากกว่าความสงบหลายร้อยหลายพันเท่านัก



อย่างแรกถ้าทำให้เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมได้ ถ้าเราต้องตายตามกรรมนั้นเราก็ไม่ต้องตายตามกรรมนั้นอีกเพราะเจ้ากรรมนายเวรที่จะทำให้เราต้องตายตามกรรมนั้นอโหสิกรรมให้เราแล้ว ไม่บาดเจ็บสาหัส ชีวิตครอบครัวเป็นสุข นี่เป็นเรื่องจริงจากผู้ที่ปฏิบัติสมาธิภาวนากับผม เพียงไม่กี่เดือนทุกอย่างที่เลวร้ายในครอบครัวของบางคนกลับแปรเปลี่ยนในวิถีทางที่ดีขึ้นจนเจ้าตัวสามารถเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกับเมื่อครึ่งปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด



เมื่อเรารู้ซึ้งอย่างถ่องแท้แล้วว่าธรรมมะให้อะไรเรา เราไม่ต้องไปชวนคนอื่นให้มาปฏิบัติธรรมกับเราเลย คนอื่นจะมาหาเราและเรียกร้องะรรมมะจากเราเอง ถ้าคนรอบข้างที่อยู่ใกล้ชิดเราเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชีวิตเรา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง