ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
27 พ.ย.2005, 11:21 am |
  |
บุญ กับ กุศล เหมือนหรือต่างกันไหม?
แล้วสองประการนี้ ส่งเสริมหรือเกี่ยวพันกับพระนิพพานอย่างไร?
วอนผู้รู้ มาแลกเปลี่ยนกันครับ  |
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
27 พ.ย.2005, 9:08 pm |
  |
กราบสวัสดีคุณปูคุง
บุญ กับ กุศล
เมื่อใด มีการพิจารณากัน ให้ละเอียดถี่ถ้วน เมื่อนั้น จะพบความแตกต่าง ระหว่าง สิ่งที่เรียกกันว่า "บุญ" กับสิ่งที่เรียกว่า "กุศล" บ้างไม่มากก็น้อย แล้วแต่ ความสามารถ ในการพินิจพิจารณา แต่ว่า โดยเนื้อแท้แล้ว บุญ กับ กุศล ควรจะเป็น คนละอย่าง หรือ เรียกได้ว่า ตรงกันข้าม ตามความหมาย ของรูปศัพท์ แห่งคำสองคำ นี้ทีเดียว
คำว่า บุญ มีความหมายว่า ทำให้ฟู หรือ พองขึ้น บวมขึ้น นูนขึ้น, ส่วนคำว่า กุศล นั้น แปลว่า แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป โดยความหมาย เช่นนี้ เราย่อมเห็น ได้ว่า เป็นของ คนละอย่าง หรือ เดินคนละทาง
บุญ เป็นสิ่งที่ทำให้ฟูใจ พอใจ ชอบใจ เช่น ทำบุญ ให้ทาน หรือ รักษาศีล ก็ตาม แล้วก็ฟูใจ อิ่มเอิบ หรือ แม้ที่สุดแต่รู้สึกว่า ตัวได้ทำสิ่งที่ทำยาก ในกรณีที่ ทำบุญเอาหน้า เอาเกียรติ อย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่า ได้บุญ เหมือนกัน แม้จะเป็น บุญชนิดที่ไม่สู้จะแพ้ หรือ แม้ในกรณีที่ ทำบุญ ด้วยความ บริสุทธิ์ใจ เพื่อเอาบุญ กันจริงๆ ก็ยังอด ฟูใจไม่ได้ ว่า ตนจะได้เกิด ในสุคติ โลกสวรรค์ มีความปรารถนา อย่างนั้น อย่างนี้ ในภพนั้น ภพนี้ อันเป็น ภวตัณหา นำไปสู่การเกิด ในภพใหม่ เพื่อเป็น อย่างนั้น อย่างนี้ ตามแต่ ตนจะปรารถนา ไม่ออกไปจาก การเวียนว่าย ตายเกิด ในวัฎสงสาร ได้ แม้จะไปเกิด ในโลก ที่เป็นสุคติอย่างไร ก็ตาม ฉะนั้น ความหมาย ของคำว่า บุญ จึงหมายถึง สิ่งที่ทำให้ ฟูใจ และ เวียนไป เพื่อความเกิด อีก ไม่มีวัน ที่สิ้นสุดลงได้
ส่วนกุศลนั้น เป็นสิ่งที่ ทำหน้าที่ แผ้วถาง สิ่งกีดขวาง ผูกรัด หรือ รกรุงรัง ไม่ข้องแวะ กับความฟูใจ หรือ พอใจ เช่นนั้น แต่มี ความมุ่งหมาย จะกำจัด เสียซึ่ง สิ่งต่างๆ อันเป็นเหตุ ให้พัวพัน อยู่ใน กิเลสตัณหา อันเป็น เครื่องนำให้ เกิดแล้วเกิดอีก และมี จุดมุ่งหมาย กวาดล้าง สิ่งเหล่านั้น ออกไปจากตัว ในเมื่อบุญ ต้องการโอบรัด เข้ามาหาตัว ให้มีเป็น ของของตัว มากขึ้น ในเมื่อฝ่ายที่ถือข้างบุญ ยึดถืออะไร เอาไว้มากๆ และพอใจ ดีใจนั้น ฝ่ายที่ถือข้างกุศล ก็เห็นว่า การทำอย่างนั้น เป็นความโง่เขลา ขนาดเข้าไป กอดรัดงูเห่า ทีเดียว ฝ่ายข้างกุศล หรือ ที่เรียกว่า ฉลาด นั้น ต้องการจะ ปล่อยวาง หรือ ผ่านพ้นไป ทั้งช่วยผู้อื่น ให้ปล่อยวาง หรือ ผ่านพ้นไป ด้วยกัน ผ่ายข้างกุศล จึงถือว่า ฝ่ายข้างบุญ นั้น ยังเป็นความ มืดบอดอยู่
แต่ว่า บุญ กับ กุศล สองอย่างนี้ ทั้งที่มี เจตนารมณ์ แตกต่างกัน ก็ยังมี การกระทำ ทางภายนอก อย่างเดียวกัน ซึ่งทำให้เราหลงใหล ในคำสองนี้ อย่างฟั่นเฝือ เพื่อจะให้เข้าใจกันง่ายๆ เราต้องพิจารณา ดูที่ตัวอย่าง ต่างๆ ที่เรา กระทำกัน อยู่จริงๆ คือ
ในการให้ทาน ถ้าให้เพราะจะ เอาหน้า เอาเกียรติ หรือ เอาของตอบแทน เป็นกำไร หรือ เพื่อผูกมิตร หาพวกพ้อง หรือ แม้ที่สุดแต่ เพื่อให้บังเกิด ในสวรรค์ อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทาน เอาบุญ หรือ ได้บุญ แต่ถ้าให้ทาน อย่างเดียวกันนั่นเอง แต่ต้องการ เพื่อขูดความขี้เหนียว ของตัว ขูดความเห็นแก่ตัว หรือ ให้เพื่อค้ำจุนศาสนา เอาไว้ เพราะเห็นว่า ศาสนาเป็น เครื่องขูดทุกข์ ของโลก หรือ ให้เพราะ เมตตาล้วนๆ โดยบริสุทธิ์ใจ หรือ อำนาจเหตุผล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง ปัญญา เป็นผู้ชี้ขาดว่า ให้ไปเสีย มีประโยชน์ มากกว่า เอาไว้ อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทาน เอากุศล หรือ ได้กุศล ซึ่งมันแตกต่างๆ ไปคนละทิศ ละทาง กับการให้ทาน เอาบุญ เราจะเห็นได้ กันสืบไปอีกว่า การให้ทานเอาบุญ นั่นเอง ที่ทำให้เกิด การฟุ่มเฟือย ขึ้นในสังคม
ฝ่ายผู้รับทาน จนกลายเป็น ผลร้าย ขึ้นในวงพระศาสนาเอง หรือ ในวงสังคมรูปอื่นๆ เช่น มีคนขอทาน ในประเทศ มากเกินไป เป็นต้น การให้ทาน ถูกนักคิด พากันวิพากษ ์วิจารณ์ ในแง่เสื่อมเสีย ก็ได้แก่ การให้ทานเอาบุญ นี้เอง ส่วนการให้ทาน เอากุศลนั้น อยู่สูงพ้น การที่ถูกเหยียด อย่างนี้ เพราะว่า มีปัญญา หรือเหตุผล เข้าควบคุม แม้ว่า อยากจะให้ทาน เพื่อขูดเกลา ความขี้เหนียว ในจิตใจ ของเขา ก็ยังมีปัญญา รู้จักเหตุผล ว่า ควรให้ ไปในรูปไหน มิใช่เป็นการให้ ไปในรูป ละโมบบุญ หรือ เมาบุญ เพราะว่า กุศล ไม่ได้เป็น สิ่งที่หวาน เหมือนกับ บุญ จึงไม่มีใครเมา และไม่ทำให้ เกิดการเหลือเฟือ ผิดความสมดุล ขึ้นในวงสังคม ได้เลย นี่เราพอจะเห็นได้ว่า ให้ทานเอาบุญ กับ ให้ทานเอากุศลนั่น ผิดกันเป็นคนละอันอย่างไร
ในการรักษาศีล ก็เป็นทำนองเดียวกันอีก รักษาศีลเอาบุญ คือ รักษาไป ทั้งที่ไม่รู้จัก ความมุ่งหมาย ของศีล เป็นแต่ยึดถือ ในรูปร่าง ของการรักษาศีล แล้วรักษา เพื่ออวด เพื่อนฝูง หรือ เพื่อแลกเอาสวรรค์ ตามที่ นักพรรณนาอานิสงส์ เขาพรรณนา กันไว้ หรือ ทำอย่างละเมอไป ตามความนิยม ของคนที่ มีอายุ ล่วงมาถึง วัยนั้นวัยนี้ เป็นต้น ยิ่งเคร่งเท่าใด ยิ่งส่อความเห็นแก่ตัว และความยกตัว มากขึ้น เท่านั้น ยิ่งมีความยุ่งยาก ในครอบครัว หรือวงสังคม เกิดขึ้นใหม่ๆ แปลกๆ เพราะ ความเคร่งครัด ในศีล ของบุคคลประเภทนี้ อย่างนี้ เรียกว่า รักษาศีลเอาบุญ
ส่วนบุคคล อีกประเภทหนึ่ง รักษาศีล เพียงเพื่อ ให้เกิด การบังคับตัวเอง สำหรับ จะเป็นทาง ให้เกิด ความบริสุทธิ์ และ ความสงบสุข แก่ตัวเอง และเพื่อนมนุษย์ เพื่อใจสงบ สำหรับ เกิดปัญญาชั้นสูง นี้เรียกว่า รักษาศีลเอากุศล รักษามีจำนวน เท่ากัน ลักษณะเดียวกัน ในวัดเดียวกัน แต่กลับเดินไป คนละทิศละทาง อย่างนี้เป็นเครื่องชี้ ให้เห็นภาวะ แห่งความแตกต่าง ระหว่างคำว่า บุญ กับคำว่า กุศล คำว่า กุศลนั้น ทำอย่างไรเสีย ก็ไม่มีทาง ตกหล่ม จมปลักได้เลย ไม่เหมือนกับคำว่า บุญ และกินเข้าไป มากเท่าไร ก็ไม่มีเมา ไม่เกิดโทษ ไม่เป็นพิษ ในขณะที่ คำว่า บุญ แปลว่า เครื่องฟูใจนั้น คำว่า กุศล แปลว่า ความฉลาดหรือ เครื่องทำให้ฉลาด และ ปลอดภัย ร้อยเปอร์เซ็นต์
ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญ ก็ได้ เอากุศลก็ได้ สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับ คนโน้นคนนี้ ที่โลกอื่น ตามที่ ตนกระหาย จะทำให้ เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิ เพื่อการไปเกิด ในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่า สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมาย ของมันนั่นเอง ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตราย แก่เจ้าของ ถึงกับต้อง รับการรักษา เป็นพิเศษ หรือ รักษาไม่หาย จนตลอดชีวิต ก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่า สมาธิเช่นนี้ มีตัณหาและทิฎฐิ เป็นสมุฎฐาน แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุด ก็เพียงได้เกิด ในวัฏสงสาร ตามที่ตน ปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน ส่วนสมาธิ ที่มีความมุ่งหมาย เพื่อการบังคับใจตัวเอง ให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้าง กิเลส อันกลุ้มรุมจิต ให้ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฎฐิ อันจรมา ในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส เป็นทางเกิด ของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึงตรงกันข้าม จากสมาธิเอาบุญ
ครั้นมาถึงปัญญา นี้ไม่มีแยกเป็นสองฝ่าย คือไม่มีปัญญาเอาบุญ เพราะตัวปัญญานั้น เป็นตัวกุศล เสียเองแล้ว เป็นกุศลฝ่ายเดียว นำออกจากทุกข์ อย่างเดียว แม้ยังจะต้อง เกิดในโลกอีก เพราะยังไม่แก่ถึงขนาด ก็มีความรู้สึกตัว เดินออกนอก วัฎสงสาร มีทิศทาง ดิ่งไปยัง นิพพานเสมอ ไม่วนเวียน จนติดหล่ม จมเลน โดยความไม่รู้สึกตัว ถ้ายังไม่ถึงขนาดนี้ ก็ยังไม่เรียกว่า ปัญญา ในกองธรรม หรือ ธรรมขันธ์ ของพุทธศาสนา ดังเช่น ปัญญาในทางอาชีพ หาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เป็นต้น
ตามตัวอย่าง ที่เป็นอยู่ในเรื่องจริง ที่เกี่ยวกับ การกระทำ ของพวกเราเอง ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า การที่เราเผลอ หรือ ถึงกับหลง เอาบุญ กับ กุศล มาปนเป เป็นอันเดียวกันนั้น ได้ทำให้เกิด ความสับสน อลเวง เพียงไร และทำให้คว้าไม่ถูกตัว สิ่งที่เราต้องการ จนเกิด ความยุ่งยาก สับสน อลหม่าน ในวงพวกพุทธบริษัท เองเพียงไร ถ้าเรายังขืนทำ สุ่มสี่สุ่มห้า เอาของสองอย่างนี้ เป็นของอันเดียวกัน อย่างที่ เรียกกัน พล่อยๆ ติดปากชาวบ้านว่า "บุญกุศลๆ" เช่นนี้อยู่สืบไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถ แก้ปัญหา ต่างๆ อันเกี่ยวกับ การทำบุญกุศล นี้ ให้ลุล่วงไป ด้วยความดี จนตลอดกัลปาวสาน ก็ได้
ถ้ากล่าวให้ชัดๆ สั้นๆ บุญเป็นเครื่องหุ้มห่อ กีดกั้นบาป ไม่ให้ งอกงาม หรือ ปรากฏ หมดอำนาจบุญ เมื่อใด บาป ก็จะโผล่ออกมา และงอกงามสืบไปอีก ส่วนกุศลนั้น เป็นเครื่องตัด รากเหง้า ของบาป อยู่เรื่อยไป จนมันเxxx่ยวแห้ง สูญสิ้นไม่มีเหลือ ความต่างกัน อย่างยิ่ง ย่อมมีอยู่ ดังกล่าวนี้
คนปรารถนาบุญ จงได้บุญ คนปรารถนากุศล ก็จงได้กุศล และปลอดภัย ตามความปรารถนา แล้วแต่ใคร จะมองเห็น และจะสมัครใจ จะปรารถนา อย่างไร ได้เช่นนี้ เมื่อใด จึงจะชื่อว่า พวกเรารู้จัก บุญกุศล กันจริงๆ รู้ทิศทาง แห่งการก้าวหน้า และทิศทางที่วกเวียน ว่าเป็น ของที่ไม่อาจจะ เอามาเป็น อันเดียวกัน ได้เลย แม้จะเรียกว่า "ทางๆ" เหมือนกัน ทั้งสองฝ่าย
วัดธารน้ำไหล
๒๕ มิ.ย. ๒๔๙๓
http://www.pantip.com/~buddhadasa/freethinkbook/boonkusol.html |
|
|
|
   |
 |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 9:28 am |
  |
กราบสวัสดีคุณปุ๋ย
ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ แล้วจะท่านโดยละเอียด เมื่อมีเวลาครับ
|
|
|
|
|
 |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 9:33 am |
  |
งั้นผมก็คงเฉียดๆมีปัญญากับเขาแล้วซีเนี่ย เพราะเริ่มสงสัยความต่างของสองสิ่งนี้ อิอิ |
|
|
|
|
 |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 9:35 am |
  |
"บุญเป็นเครื่องหุ้มห่อ กีดกั้นบาป ไม่ให้ งอกงาม "
อย่างนี้นี่เอง ที่เราควรทำบุญเอาบุญ และทำบุญเอากุศลด้วย เพราะเป็นแพข้ามฟากสู่พระนิพพานได้อย่างนี้นี่เอง  |
|
|
|
|
 |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 9:38 am |
  |
กราบสวัสดีคุณปุ๋ย
อ้อ แล้วพวกที่ไม่คิดทำบุญเลย แต่อยากนิพพานนี่ ได้ยากหรือง่ายอย่างไรกันหรือครับ
คือ บุญที่สำเร็จ ด้วย ทาน ศีล ภาวนา เหล่านี้ หากมีใครอ้างว่าเว้นแต่ทาน ที่เหลือทำหมด อย่างนี้ เป็นสัมมาทิฏฐิไหมครับ |
|
|
|
|
 |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 9:48 am |
  |
กราบสวัสดีคุณปุ๋ย
โหย ทีแรกนึกว่าคุณปุ๋ยเขียนเองทั้งหมด ตกใจว่าเขียนบทความดีเยี่ยมและยาวๆขนาดนี้ได้ภายในหนึ่งวัน ยิ่งกว่าปรมาจารย์เสียอีก หลงตกใจอยู่ตั้งนานแนะ
แต่พอเห็น URL แล้ว ก็โล่งใจ ว่าไม่ใช่คุณปุ๋ย เพราะคุณปุ๋ยอยู่บ้าน มิได้เป็นนางชีสักครับ
|
|
|
|
|
 |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 9:53 am |
  |
บทความชั้นเลิศ ยอดเยี่ยมแบบนี้ มีแต่ปราชญ์ชาวพุทธเท่านั้นเขียนได้ ผมว่าอย่างนั้นนะ
รู้สึกอย่างนี้จริงๆอ่ะ |
|
|
|
|
 |
วรากร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 10:17 am |
  |
บุญ กับ กุศล เหมือนหรือต่างกันไหม?
ตอบ
เรามักเข้าใจว่าการทำบุญนั้นคือ ทำบุญกุศลแต่ว่าความจริง สองคำนี้ความหมายต่างกัน
ต่างกันตรง
บุญ คือ สิ่งที่กระทำแล้วทำให้ใจเบิกบานมีความสุข สบายใจ อิ่มใจ
กุศล คือ สิ่งที่กระทำโดยที่จิตไม่มีการยึดติดในสิ่งที่กระทำ อาจเรียกว่า ทำไปโดยที่จิตไม่มีการปรุงแต่ง กุศลเป็นการกระทำที่เข้าใกล้นิพพานมากที่สุด
เหมือนกันตรง
สองสิ่งนี้จะเหมือนกันเมื่อเราเข้าสู่นิพพาน คือ ว่างเปล่า
ตราบใดเรายังไม่เข้าสู่นิพพาน ก็ต้องอาศัย บุญเป็นปัจจัยให้เกิดในภพที่ดี ต้องอาศัยกุศลส่งผลให้ได้นิพพาน
(มาจาพระสูตรของท่านอาจารย์เหว่ยหลาง)
แล้วสองประการนี้ ส่งเสริมหรือเกี่ยวพันกับพระนิพพานอย่างไร?
ตอบ
ดังที่กล่าวไว้ด้านบน
|
|
|
|
|
 |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 10:42 am |
  |
อุปมาอย่างนี้ได้ไหมว่า...
เราตัองกินยาเพื่อให้หายจากโรค(เกิดแก่เจ็บตาย) แต่ยานี้ปกติรสขม(ฝืนทำ ฝืนกิน กินยาก ต้องทดทนมาก พยายามมาก)
แต่เราเจือรสหวานเพื่อให้กินยาง่ายขึ้น
รสขม คือ กุศล ให้ผลต่อการรักษาจริงๆ
รสหวาน คือ บุญ ทำให้เราอยากทานยา ทานยาง่ายขึ้น
อิอิ แต่บางคนหลงรสหวายของยา มากกว่าตัวยาเสียอีก หุหุ  |
|
|
|
|
 |
วรากร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 10:42 am |
  |
บุญ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดกิเลสในจิตฟูขึ้นจึงกลายเป็นความถือดีอวดดี ทำให้จิตหลงทางได้ง่ายที่สุด
กุศล เป็นเครื่องตัดกิเลสมิให้ฟูขึ้น เพราะฉะนั้นจึงแสวงหาได้จากธรรมญาณ ซึ่งเป็นเรื่องภายใน
ผู้สร้างบุญมิอาจตัดความยะโสโอหังได้เพราะเป็นสิ่งภายนอกที่ยั่วย้อมให้จิตหลงใหลลืมตัวและเป็นเรื่องที่สร้างได้ง่ายดายนัก
ส่วนกุศลเป็นเรื่องที่ต้องค้นพบธรรมญาณแห่งตนจึงเป็นเรื่องยาก
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"การเห็นแจ้งในธรรมญาณเรียกว่า "กง"ส่วนการที่สามารถกระทำให้คงที่สม่ำเสมอเรียกว่า "เต๋อ" และเมื่อใดจิตที่เคลื่อนไหวแคล่วคล่องตามภาวะที่แท้จริง พร้อมทั้งทำหน้าที่อย่างประหลาดลี้ลับของใจเราเอง เมื่อนั้นได้ชื่อว่าเข้าถึงซึ่ง กงเต๋อ" คำว่า "กงเต๋อ" มีความหมายว่า คุณธรรม หรือ กุศลกรรม เพราะการค้นพบธรรมญาณของตนเองเป็นการงานที่ต้องจัดการปัดกวาดกิเลสนานาประการออกไปให้หมดและสภาวะแห่งธรรรมญาณปรากฎจึงเรียกว่าคุณธรรม
การอธิบาย "กงเต๋อ" จึงมิใช่เรื่องยาก แต่การกระทำให้ปรากฏขึ้นมาจนเป็นธรรมชาติจึงเป็นเรื่องยากนัก
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"การระวังจิตภายในให้คงอยู่ในภาวะที่ปราศจากอหังการจึงเป็น "กง" แต่ที่เป็นภายนอกเกี่ยวกับการวางตัวไว้ในสภาพที่เหมาะสมทุกวิถีทางจึงเป็น "เต๋อ"
การที่ว่าทุกสิ่งที่แสดงออกจากธรรมญาณ จึงเรียกว่า "กง" และรู้ว่าส่วนที่เป็นประธานของจิตซึ่งเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงจึงเรียกว่า "เต๋อ"
การที่ไม่ปล่อยให้จิตวิ่งเตลิดไปจาก ธรรมญาณ จึงเรียกว่า "กง"
แต่การที่ใช้จิตให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่เผลอทำให้จิตมืดมัวเสียก่อนจึงเรียกว่า "เต๋อ"
สภาวะของจิตที่มีกุศลธรรรมจึงล้วนกระทำออกไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างแท้จริงเพราะยอมรับว่าทุกคนล้วนแต่มีสภาวะแห่งธรรมญาณเหมมือนกันหมด
และคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนจึงเปรียบได้เช่นน้ำพร่องแก้วสามารถเติมน้ำได้ตลอดเวลา แต่คนที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงเป็นเช่นน้ำล้นแก้ว ไม่อาจเพิ่มเติมน้ำได้อีก
ผู้ที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงไม่อาจสร้างบุญกุศลใดๆ ได้เลยเพราะมีแต่ยโสโอหังดูแคลนผู้อื่นว่าต่ำกว่าตนเสมอ
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"ถ้าแสวงหากุศลภายในธรรมกายและทำตามที่ได้กล่าวนี้จริงๆ กุศลที่ได้รับย่อมเป็นกุศลจริงผู้ปฏบัติเพื่อกุศลจะไม่หมิ่นผู้อื่นและในทุกที่ทุกโอกาสเขาปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความยำเกรงนับถือ ผู้ที่ดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปกตินิสัยย่อมไม่สามารถขจัดมานะอหังการออกไปได้แสดงให้เห็นว่าเขาขาดซึ่ง "กง" ดังนั้น เขาจึงไม่อาจแจ้งต่อธรรมญาณของตนเองส่อสำแดงให้เห็นว่าเขายังขาด "เต๋อ"
คำกล่าวของท่านฮุ่ยเหนิงย่อมชี้ให้เห็นชัดเจนถึงภาวะจิตของคนที่มีกุศลธรรมคือ "กงเต๋อ" ย่อมเป็นคนที่มีมารยาทยกย่องผู้อื่น คนเหล่านี้ย่อมได้รับการยกย่องนับถือตอบกลับคืนไป แต่คนที่เย่อหยิ่งจองหองล้วนได้รับความดูหมิ่นหรือตอบแทนด้วยความรังเกียจของชนทั้งปวง
คนสมัยนี้ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนเพราะเทคโนโลยีที่เจริญกลายเป็นกิเลสทำให้เขาลืมตัวว่าเก่งกาจกว่าใครๆ ที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ คนเหล่านี้จึงเจริญด้วย อหังการ
เพราะฉะนั้นคนในยุคที่เจริญด้วยเทคโนโลยีจึงเป็นผู้ที่อวดดีโดยปราศจากความดีและไร้มมารยาทและพร้อมที่จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและกลายเป็นผู้ที่ประจบสอพลอต่อผู้ที่มีความรู้เหนือกว่าเขา
โลกจึงตกต่ำและตกอยู่ในอันตรายเพราะ "คุณธรรม" มิได้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอีกต่อไป แต่อำนาจแห่ง "อหังการ" ครอบงำโลกเอาไว้
ผู้ที่บ้าคลั่งแต่เทคโนโลยีจึงกลายเป็นคนหลงอย่างแท้จริงเพราะเขาเกิดความเข้าใจผิดว่าการครอบครองเทคโนโลยีจึงกลายเป็นผู้ทที่มีอำนาจอันแท้จริงสามารถบงการชีวิตของผู้อื่นได้ ความจริงเขาเหล่านั้นแม้ชีวิตของตนเองยังไม่อาจบงการได้เลย
และวิทยาศาสตร์เจริญก้าวล้ำหน้าไปเท่าไรแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างต้นหญ้าจริงๆ หรือแม้แต่มดตัวน้อยสักตัวหนึ่งได้ มนุษย์ตกอยู่ในอำนาจของวิทยาศาสตร์จึงเป็นผู้ที่ตกอยู่ในภาวะแห่งความมืดมนอย่างแท้จริงและน่าสงสารนัก
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงสรุปเกี่ยวกับ "กงเต๋อ" ว่า
"เมื่อใดความเป็นไปแห่งจิตทำหน้าที่โดยไม่มีติดขัดเมื่อนั้นเรียกว่ามี "กง" เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่โดยตรงแน่ว เมื่อนั้นเรียกว่ามี "เต๋อ"
เพราะฉะนั้น กุศล จึงเป็นเรื่องของการแสวงหาภายในจิตเดิมแท้หรือธรรมญาณ และหาไม่ได้ด้วยการโปรยทาน ถวายภัตตาหารเจจึงต้องแยกแยะให้ออกระหว่างความปิติอิ่มใจกับกุศลกรรมอันแท้จริง"
การสร้างบุญกับ แสวงหากุศลจึงไม่เหมือนกันจริงๆ |
|
|
|
|
 |
กุศล
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 2:19 pm |
  |
ใครดูถูกบุญและเข้าใจบุญไปในความหมายที่ผิด ดูแปลกชอบกลนัก |
|
|
|
|
 |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 6:29 pm |
  |
พุทธธรรมมีความลาดลุ่มลึกเหมือนทะเล หากว่ามีผู้ที่ทำบุญหวังเอาผลบุญ เรียกว่าเป็น หน่อเนื้อเชื้อกุศลได้ไหม เพราะการทำบุญก็เป็นไปเพื่อชำระสันดาน ป้องกันบาป ดังนั้นการปฏิบัติธรรมระดับนี้ ก็สามารถทำให้ตนเองและสังคมเป็นสุขได้ แม้ว่ากุศลหรือฝ่ายปัญญาจะยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม(เอ หรือว่าเกิดแล้วแต่เจ้าตัวไม่รู้ตัว ก็ได้เพราะการให้ทานก็เป็นการฝึกฝนการละยึดมั่นในทรัพย์ของตน รู้จักสละ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลฝ่ายกุศล) อย่างน้อยการทำบุญก็เป็นอาการแห่งกรรมอันมีมูลฐานมาจากกุศลธรรม คือ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เว้นเสียแต่ว่าจะทำบุญด้วยอาการแห่งโลภ โกรธ หลง(หลงเข้าใจเพราะมิจฉาทิฏฐิว่า ทำบุญแล้วทำให้เกิดเป็นเทวดา พรหม ไม่มีวันตาย เที่ยง ฯลฯ) อย่างนี้ก็คงไม่อาจเรียกได้ว่าบุญ(กุศล?)ใช่ไหม เพราะการทำบุญด้วยอาการแห่งโลภ โกรธ หลง ย่อมเป็นมิจฉาทิฏฐิและอวิชชาในที่สุด
พระศาสดา ทรงสั่งสอนธรรมหลายวิธี ในจำนวนนี้มีแบบที่เรียกว่าจากง่ายสู่ยาก คือ อนุปุพพิกถา เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายากเพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ มี ๕ คือ ๑) ทานกถา พรรณนาทาน ๒) สีลกถา พรรณนาศีล ๓) สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือ ความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม ๔) กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม ๕) เนกขัมมานิสังสกถา พรรณาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม
พระองค์ทรงแสดงธรรมจากแบบที่ชาวบ้านเข้าใจได้ คือ ทาน ศีล บุญ เทวดา สวรรค์ แต่ที่สุดแล้วพระองค์ก็ทรงแสดงธรรมในระดับที่สูงขึ้น สู่โลกุตรธรราม คือ แนะนำฝ่ายกุศลหรือปัญญาทำลายกิเลสโดยสิ้นเชิง(ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา) อันเกิดจากการออกบวช
มาพิจารณา การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์
เพื่อบรรลุพระโพธิญาณนั้น ต้องสั่งสมบุญอันยิ่งยวดที่เรียกว่า บารมี เป็นการสะสมทั้งผลบุญและกุศลถูกต้องไหม? กล่าวคือ ในฝ่ายบุญนั้นด้วยผลแห่งทาน ศีล ภาวนา ทำให้ปิดกั้นอภายภูมิ (สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเดรัจฉาน)ทำให้พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูล ครอบครัวของพราหมณ์และกษัตริย์ ซึ่งมั่งคั่งบริบูรณ์ เป็นความพร้อมที่เกิดจากวิบากกรรมเดิม ที่ช่วยให้สามารถปฏิบัติธรรมด้วยการให้ทาน รักษาศีล และภาวนา ยิ่งๆขึ้นไปได้(ศาสนาพุทธไม่มีเรื่องบังเอิญ ทุกอย่างเกิดแต่เหตุปัจจัย)) ส่วนฝ่ายกุศลนั้น พระองค์ก็สั่งสม ศีล สมาธิ ปัญญามาโดยตลอด(แม้ว่ายังไม่บรรลุพระโพธิญาณก็ตาม) เพื่อบรรลุพระโพธิญาณอันเป็นที่สุดแห่งฝ่ายกุศล ดังนั้น ทาน ศีล ภาวนา อันเป็นที่มาแห่งบุญ กับ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นมูลฐานของพระนิพพานหรือปัญญารู้แจ้ง จึงต่างกันด้วยเหตุนี้ใช่ไหมครับ
 |
|
|
|
|
 |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ย.2005, 6:34 pm |
  |
คุณวรากรครับ
การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ เพื่อบรรลุพระโพธิญาณนั้น ต้องสั่งสมบุญอันยิ่งยวดที่เรียกว่า บารมี เป็นการสะสมทั้งผลบุญและกุศลถูกต้องไหม? กล่าวคือ ในฝ่ายบุญนั้นด้วยผลแห่งทาน ศีล ภาวนา ทำให้ปิดกั้นอภายภูมิ (สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเดรัจฉาน)ทำให้พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูล ครอบครัวของพราหมณ์และกษัตริย์ ซึ่งมั่งคั่งบริบูรณ์ เป็นความพร้อมที่เกิดจากวิบากกรรมเดิม ที่ช่วยให้สามารถปฏิบัติธรรมด้วยการให้ทาน รักษาศีล และภาวนา ยิ่งๆขึ้นไปได้(ศาสนาพุทธไม่มีเรื่องบังเอิญ ทุกอย่างเกิดแต่เหตุปัจจัย)) ส่วนฝ่ายกุศลนั้น พระองค์ก็สั่งสม ศีล สมาธิ ปัญญามาโดยตลอด(ยังฟอร์มไม่เต็มรูปแบบของไตรสิกขา แม้ว่าพระองค์ยังไม่ทรงบรรลุพระโพธิญาณก็ตาม) เพื่อบรรลุพระโพธิญาณอันเป็นที่สุดแห่งฝ่ายกุศล ดังนั้น ทาน ศีล ภาวนา อันเป็นที่มาแห่งบุญ กับ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นมูลฐานของพระนิพพานหรือปัญญารู้แจ้ง จึงต่างกันด้วยเหตุนี้?
ขอบคุณครับ |
|
|
|
|
 |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
29 พ.ย.2005, 8:33 am |
  |
กราบสวัสดี
อย่างนี้ได้ไหม...
ฟากนี้วุ่ยวายหนอ ทุกข์หนอ ฟากโน้นเกษม แต่มีแม่น้ำแห่งโอฆะกั้นกลาง
เร่งสร้างสะพาน แพ เรือ ฯลฯเพื่อข้ามฟาก...
สะพาน แพ เรือ เปรียบเหมือนบุญช่วยให้ข้ามฟากได้
แต่หากไร้ปัญญา หรือ กุศลจิต กุศลธรรม ก็อาจหลงทิศ ข้ามฟากไม่ถึงสักที เพราะจิตยังมีโลภ โกรธ หลง(อกุศลมูล/อวิชชา)
กุศลจึงเปรียบเหมือนนายหรือเข็มทิศของบุญ เพื่อยังประโยชน์ให้ข้ามโอฆะได้สำเร็จ นั่นเอง
 |
|
|
|
|
 |
วรากร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
29 พ.ย.2005, 10:34 am |
  |
ที่กล่าวมาทั้งหมดของปูคุงก็ไม่ผิดอะไรหายังไม่พบนิพพาน
เมื่อเราต้องเกิดก็ต้องมีบุญกับบาป ปนกันไปไม่หยุดหย่อน แม้แต่พระโพธิสัตว์ ก็เหมือนกัน เจอทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว แต่ท่านมองเห็นเป็นอย่างเดียวกันคือธรรมดา ด้วยว่าอาศัยกุศลจิตที่ปราศจากความปรุงแต่งในกรรมนั้นๆ จนเมื่อถึงเวลาและโอกาสพบทางนิพพานท่านก็ไม่ต้องติดในบุญที่ได้ทำมาเลย เพราะปราศจากความยึดติดแล้ว
แต่เราปถุชนธรรมดา ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ก็ต้องอาศัยบุญ ให้ปิดกั้นอภายภูมิ และอาศัยกุศลที่ได้ทำไว้ส่งผลให้พบทางนิพพาน แต่หากยังไม่พบก็ต้องอาศัยบุญอีกเหมื่อนเดิม
พระพุทธเจ้าจึงสอนให้มั่นทำบุญ แต่อย่าติดในผลของบุญนั้น อย่าได้ยึดติดในบุญ จงขยันมั่นฝึกจิตให้พบทางนิพพานโดยไว
อันว่า
ตราบใดยังไม่สามารถที่จะบรรลุนิพพานได้ ก็ต้องอาศัยบุญเป็นเหมือนเสบียงไว้ข้ามฟัง
อาศัยร่างกายเหมือนเรือ อาศัยกุศลเหมือนเข็มทิศ อาศัยพระธรรมเหมือนแผนที่ แต่เมือใดถึงฝัง บุญ ร่างกาย กุศล พระธรรม ก็ไม่มีความจำเป็นอะไร ที่จะแบกขึ้นฝังอีก
เมื่อสามารถข้ามฝังได้ก็ไม่มีอะไรให้มี กิเลส ก็กลายเป็น ความว่างอันไรขอบเขต (คว่ามว่างคือกิเลส และกิเลสก็คือความว่าง)
ไม่มีอะไรให้มีให้เป็น มันสมบุรณ์แล้ว
คงพอเข้าใจ |
|
|
|
|
 |
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
29 พ.ย.2005, 8:29 pm |
  |
กราบสวัสดี คุณวรากร
บุญ มีรส คือ ยินดี ปลาบปลื้ม มีผลคือ ประโยชน์และความสุขฝ่ายโลกียธรรม ปิดกั้นบาป และปิดกั้นอบาย สู่กระแสพระนิพพาน ตราบที่ยังท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ
กุศล มีรสคือ ว่าง ผลคือ ความสงบ(สุขปราณีตขั้นปรมัตถ์) เป็นสุขฝ่ายโลกุตตรธรรม
บุญ เป็น เครื่องช่วยชำระจิตให้ เกิดกุศล และนิพพานในที่สุด
กราบขอบพระคุณครับ
 |
|
|
|
|
 |
tanawat30
บัวบาน

เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256
|
ตอบเมื่อ:
30 พ.ย.2005, 9:00 pm |
  |
ดูก่อนมนุษย์ผู้เจริญ
เราจะแปลให้ง่ายกว่านั้นอีก เราสร้างกุศลเพื่อให้ได้รับบุญ แต่จะเอาบุญที่ได้ไปให้ใครนั้นขึ้นกับเรา ผู้ปฏิบัติอยู่ประจำจะเข้าใจเรื่องนี้ได้สั้นและง่าย คำแผ่เมตตามีว่า ขอแผ่เมตตาให้สรรพจิต สรรพวิญญาณให้ขึ้นสู่สุคติและแผ่เมตตาให้กับสรรพชีวิตและมนุษย์ เป็นการสร้างกุศล จึงเอากุศลไปอุทิศให้กับสรรพจิตสรรพชีวิต พอเราอุทิศใหจึงเป็นบุญไปให้ผู้รับ
ส่วนบุญและกุศล มีความเกี่ยวพันกับคำว่านิพพานหรือไม่ ต้องดูคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่าที่ว่า กรรม กิเลส วิบากเป็นเครื่องกันกางการตรัสรู้ ดังนั้นการใช้กำลังสมาธิขจัดอนุสัยที่ไม่ดี หรือสันดานที่ไม่ดีเป็นทางสะกัดกั้นกิเลสและวิบาก ส่วนการผ่เมตตาด้วยกำลังสมาธิได้บุญกรรมมาหักล้างกับบาปกรรม ก็จะเป็นการปิดประตูแห่งเครื่องกั้นกางการตรัสรู้ทั้งปวง และก่อนการตรัสรู้ก็ต้องเข้าถึงพระนิพพานกห่อน มันจึงเป็นประการชะนี้ |
|
|
|
    |
 |
|