Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากทราบเรื่องกฎแห่งกรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
คนสับสน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2005, 6:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดิฉันไม่แน่ใจในความคิดของตนเองเกี่ยวกับเรื่องเวรกรรมคะ เพราะทุกวันนี้ดิฉันรู้สึกว่าจิตใจชักจะคิดไม่ดีทุกวัน ดิฉันขอถามผู้รู้ดังนี้

1. การที่ดิฉันต้องอยู่กับลูก ๆ (ซึ่งไม่ใช่ลูกของดิฉัน เป็นลูกของเมียน้อย แต่เมียน้อยก็ยังอยู่ อยู่ใกล้ ๆ กัน) โดยที่เด็ก ๆ จะเจอกันอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง (บางครั้งใจก็คิดว่าเด็ก ๆ ไม่ใช่ลูกดิฉัน บางครั้งก็อยากให้อยู่ด้วยนาน ๆ) จนทำให้รู้สึกไม่ค่อยจะผูกพันกัน แต่จะต้องอยู่ในสภาพนี้อีกนาน คือ ดิฉัน สามี เมียน้อย และลุก ๆ ดิฉันอยากทราบว่าดิฉันทำกรรมอะไรไว้ และเด็ก ๆ จะรับสภาพที่จะต้องรับว่ามีแม่ 2 คน อย่างนี้ได้ไหม และเด็กจะมีปัญหาไหมคะ (เด็กอายุ 10 ปีและ 8 ปี) ดิฉันควรเป็นคนเลิกกับสามีดีไหม แต่ก็ยังผูกพันกับสามีอยู่

2. การที่คนเรามีเพื่อนน้อย เป็นเพราะเราไม่ได้สร้างบุญบารมีหรือเปล่าคะ ดิฉันคิดเสมอการที่เราอยากจะหxxxรรมกับใครก็ตาม ก็อย่าไม่ยุ่งกับเขามาก เพราะคนเราเกิดมามีความโลภ โกรธ หลง ถ้ายิ่งสร้างเราก็ยิ่งมีเวรมีกรรมกันมากขั้น (เพราะว่าคิดอย่างนี้ ก็เลยทำให้เด็ก ๆ ไม่ค่อยจะสนิทเท่าที่ควร)

ขอรบกวนด้วยนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าคะ
 
khanchit
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ย. 2005
ตอบ: 10

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2005, 5:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่มีใครที่จะตอบคำถามแทนคุณได้หรอกครับว่าคุณทำกรรมอะไรไว้มีแต่สติที่อยู่ในตัวคุณจะเป็นผู้บอก อยากให้คุณปรารภความเพียรเริ่มปฏิบัติพระกรรมฐานหากคุณไม่เคยเข้าใจว่าพระกรรมฐานคืออะไร ลองศึกษาแนวทางปฏิบัติจากพระเดชพระคุณเจ้าหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโมครับ หรือจะลองเดินทางไปรับคำแนะนำจากท่านเองก็ได้ครับ ที่วัด อัมพวัน สิงห์บุรี ขอยืนยันครับพระกรรมฐานแก้ปัญหาชีวิตได้ อย่าจมอยู่กับความคิดความฟุ้งซ่านของตัวเองครับเพราะภายใต้อารมภ์ที่ขาดการกำกับดูแลจากสติและสัมปฌันญะอาจทำให้เราพลั้งเผลอทำอะไรที่ไม่ควรทำลงไปก็ได้ครับ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2005, 1:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดีคุณคนสับสน



กระทู้ทำนองเดียวกับที่คุณถามมานี้ มีการตั้งคำถามซ้ำๆกันไว้หลายกระทู้ หากคุณย้อนอ่านดูคงจะเป็นประโยชน์นะคะ ทุกคนเกิดมาเรียนรู้ทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น ทุกคนเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ซึ่งเป็นทุกข์ที่ใหญ่หลวงในชีวิตไม่ว่าชีวิตใด แต่ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้ใครสามารถจะดับให้แก่เราได้ ใครจะสามารถปลดเปลื้องทุกข์ที่เราจะต้องเผชิญต่อไปได้ เป็นความทุกข์มากมายเหลือเกิน



เรื่องทุกข์เหล่านี้เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ที่เราจะต้องปฏิบัติด้วยตัวของตนเองจึงดับทุกข์นั้นได้ ความทุกข์ไม่ว่าจะเกิดจากความพลัดพรากจากของที่รัก หรือการที่เราได้ประสบในสิ่งที่เราไม่รักไม่ปรารถนา หรือหวังสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นแล้วก็เป็นทุกข์ดังที่คุณกล่าวมา ถือเป็นความทุกข์เล็กๆน้อยๆ แต่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องดับด้วยตัวเราเองเช่นกัน และเป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษาหาเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องความทุกข์เล็กๆน้อยๆเหล่านั้นให้หมดไป



จริงอยู่เรื่องของทุกข์แม้จะเป็นทุกข์เล็กน้อยแต่ก็เป็นเรื่องที่ทนได้ยาก เด็กๆเปรียบเสมือนผ้าขาว การมีแม่ 2 คน ความไร้เดียงสาของเด็กก็คงคิดได้เพียงแค่มีคนเอาใจใส่ดูแลให้ความอบอุ่นมากขึ้นเท่านั้น จะเลิกก็เลิกไม่ได้เพราะใจยังผูกพันกับสามีอยู่ ก็คิดเสียว่าสละความสุขส่วนตนทำประโยชน์ให้กับคนที่คุณรักและผูกพัน มันก็จะเป็นบุญเป็นกุศลมากขึ้น ทำจิตใจให้สบาย มีเวลาก็สวดมนต์ไหว้พระ ไปวัดฝึกปฏิบัติสมาธิ ฟังเทศน์ฟังธรรม คุณงามความดีของคุณจะเป็นผลสะท้อนมาสู่ตัวคุณเอง อาจทำให้ความทุกข์ที่ได้รับจากความโทมนัสใจต่างๆเหล่านั้นเบาบางหรือสิ้นสุดลงได้



สมปรารถนาในสิ่งที่ปรารถนา



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
b_smooka
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2005, 2:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=dhammajak&No=3321
 
ปิงปอง ม.ราม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2005, 12:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญหาข้อแรกผมตอบไม่ได้นะ แต่ในข้อที่2 ผมคิดว่าไม่เกี่ยวกับเวรกรรมในอดีตหรอกครับมันขึ้นอยุ่กับระดับของมนุษยสัมพันธ์ของแต่ละคนมากกว่า หากอยากมีเพื่อนมากขึ้นก็ต้องเริ่มทักทายคนอื่นก่อน ถ้าหากเราคิดว่าคนทั่วไปล้วนมีไมตรีจิตกับเราเราก็จะเจอแต่ประสบการณ์อย่างนั้น หากเราคิดว่าคนทั่วไปไม่เป็นมิตรเราก็จะเจอแต่เหตุการณ์นี้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับการกำหนดจิตใจ เมื่อก่อนผมไม่มีเพื่อนเลยแต่พอได้ศึกษาตำรามนุษย์สัมพันธ์แล้วทำตามก็เริ่มมีความสุขกับความสัมพันธ์พอสมควร ลองซื้อมาศึกษาดู อีกอย่างควรจะทำจิตใจให้สะอาดคนที่มีจิตใจดีจะผูกมิตรได้ง่ายกว่านะครับ
 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2005, 8:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำตอบข้อแรกนะครับ ตอบว่าบุคคลจะอยู่ด้วยกันได้ต้องเคยทำกรรมร่วมกันมาในอดีตชาติ เมื่อพรหมลิขิตให้ต้องมาพบกันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เราต้องอยู่กับคน ๆ นั้นในช่วงเวลานั้น ๆ เมื่อเราชดใช้กรรมกับคน ๆ นั้นหมดหรืออยู่ในช่วงที่ไม่ต้องชดใชข้กรรมกับคน ๆ นั้นเราก็ไม่ได้อยู่ร่วมกับคน ๆ นั้นในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนคุณทำกรรมอะไรเอาไว้ตอบไม่ได้เช่นกัน แต่การเลิกกับสามีไม่ใช่ทางออกที่ดี แต่ทางออกที่ดีน่าจะค่อย ๆ สอนให้เด็กยอมรับความจริงมากกว่า เพราะไหน ๆ ก็เกิดเหตุแล้วก็ขอให้ยอมรับและทำใจให้ได้ทั้งแม่ทั้งลูกเลี้ยงในโอกาสต่อไป เพราะการที่เราหย่ากับสามีทำให้เด็กไม่เข้าใจและเป็นปมด้อยแก่เด็ก



ข้อที่ 2 การมีเพื่อนมากอาจจะดีในบางแง่และมีแง่ไม่ดีในบางแง่ ถ้ามองในแง่ของการปฏิบัติธรรม การมีเพื่อนมากเป็นสิ่งที่ไม่ดีและเป็นอุปสรรคในการบำเพ็ญเพียร แต่ในแง่ของสังคมชีวิตปกติการมีเพื่อนน้อยอาจจะไม่ดี เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องอาศัยซึ่งกันแกน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง