Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เข้าใจชีวิต จะได้ไม่คิดฆ่าตัวตาย อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
พระมหาสุรศักดิ์ สุรเมธี
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2006, 11:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เข้าใจชีวิต จะได้ไม่คิดฆ่าตัวตาย
โดย พระมหาสุรศักดิ์ สุรเมธี (ชะมารัมย์)
นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
3 rd Year Student of Dhammakaya Open University, California, USA

..........................................

ท่ามกลางกระแสของความเปลี่ยนแปลงแทบทุกด้านในสังคมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องประสบและต้องเผชิญหน้า ยอมรับผลของกระแสของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ชีวิตของเราต้องได้รับการท้าทายกับสิ่งที่เราไม่เคยประสบพบเจอและสิ่งเหล่านั้นก็จะคอยบีบบังคับเราให้ปรับตัวตาม หรือไล่ตามให้ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ปัญหาต่างๆ ก็ย่อมเกิดขึ้นกับเรา คนที่สามารถปรับตัวไล่ตามทันกระแสความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ก็ย่อมมีชีวิตที่ดีงาม อาศัยอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีความสะดวกสบายต่างๆ โดยเฉพาะความสะดวกสบายทางกายที่ตนเองสามารถกระทำได้ ส่วนทางใจนั้นก็หนักหนาสาหัสพอสมควร เพราะจะต้องมีเรื่องให้คิดมากอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะทำให้ตนไล่ตามกระแสนั้นๆ ได้ ส่วนคนที่ไม่สามารถปรับตัวตามกระแสความเปลี่ยนแปลงนี้ ก็ย่อมเป็นคนที่ล้าหลัง หรือที่เรียกว่า เต๋าล้านปี ย่อมประสบกับความทุกขเวทนานาๆประการ ชีวิตของเขาย่อมไม่มีความสุขเลยทำให้เขาต้องคิดมากและได้รับทุกขเวทนาเป็นอย่างยิ่งในผลของกระแสความเปลี่ยนแปลงนั้นในที่สุด

คนทั้งสองกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่สามารถไล่ตามหรือรู้เท่าทันกระแสความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและกลุ่มคนที่ไล่ตามไม่ทันกระแสความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ต่างก็มีชีวิตความเป็นอยู่ไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งหากจะพิจารณาโดยผิวเผินแล้วนั้น กลุ่มคนที่รู้เท่าทันกระแสความเปลี่ยนแปลงดูเหมือนว่าจะได้เปรียบ แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะต่างก็จะต้องมาบรรจบอยู่ที่เดียวกันนั้น คือ ปัญหา (ทุกข์) เมื่อความทุกข์เกิดขึ้น คนเราแต่ละคนย่อมมีวิธีการแก้ที่แตกต่างกัน บางคนใช้สติแก้ แต่บางคนก็ใช้การจบชีวิตตนเองแก้ปัญหา ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ อย่างแรกก็พอที่จะสามารถแก้ปัญหาได้อยู่บ้าง แต่อย่างที่สองนี่ซิแก่ปัญหาลำบากหรือไม่ได้เลย แถมซ้ำยิ่งเพิ่มปัญหามากขึ้นอีกด้วย ในที่นี้จะขอนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับชีวิตโดยภาพรวมๆ เพื่อให้เรานั้นได้เข้าใจและตระเห็นคุณค่าความสำคัญของชีวิตได้อย่างถูกต้องและสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากชีวิตของเราให้คุ้มค่ามากที่สุด เพื่อไม่ให้มีความคิดโน้มเอี้ยงไปในการคิดสั้นฆ่าตัวตายเวลาที่ต้องประสบพบเจอกับปัญหาต่างๆที่เข้ามารุมเร้า

ในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านกล่าวว่า ชีวิตของคนเราประกอบด้วยขันธ์ห้า อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งหากจะกล่าวโดยย่อนั้นชีวิตของเราประกอบด้วย รูป กับ นาม ชีวิตของคนเรานั้นสามารถแยกอธิบายตามหลักขันธ์ห้าได้ดังนี้ คือ

1. รูป คือ ส่วนประกอบต่างๆของร่างกายของเรา อันเกิดขึ้นมาจากการรวมตัวกันของธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ มาประชุมกัน หรือรวมกันเป็นร่างกาย ธาตุดิน (ของแข็ง) ในร่างกายของเรานั้นได้แก่ของแข็งคือ กระดูก เล็บ เส้นผม ขน เป็นต้น ธาตุน้ำ (ของเหลว) ในร่างกายของเรานั้นได้แก่ของเหลวคือ เลือด น้ำตา น้ำนอง น้ำลาย เป็นต้น ธาตุไฟ (อุณหภูมิ) ในร่างกายของเรานั้นได้แก่ความร้อนหรืออุณหภูมิ และธาตุลม (อากาศ) ในร่างกายของเรานั้นได้แก่อากาศ หรือลมหายใจ

2. เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้อารมณ์ต่างๆ ผ่านทาง อายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความทุกข์ หรือไม่สุข ไม่ทุกข์ ตามแต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้อารมณ์ผ่านทางอายตนะนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ตา ของเราไปกระทบกับ รูป เกิดความรู้สึกขึ้น อาจเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ก็ได้ เช่น หากว่ารูปที่เราเห็นนั้น เป็นรูปสวย รูปงาม และเราเองก็ชื่นชอบและยินดี ก็จะทำให้ความรู้สึกขณะนั้นของเราเป็นสุข แต่ถ้าหากว่ารูปที่เราเห็นนั้น เป็นรูปไม่สวย รูปไม่งาม น่าเกลียด หรือขี้เหร่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ชื่นชอบและไม่ยินดี ก็จะทำให้ความรู้สึกขณะนั้นของเรา เป็นทุกข์ไป เป็นต้น

3. สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ เราเห็นรูปผ่านทางตา ได้ยินเสียงผ่านทางหู รับกลิ่นผ่านทางจมูก รับรสผ่านทางลิ้น แตะต้องหรือสัมผัสผ่านทางกาย และรับรู้อารมณ์ต่างๆผ่านทางใจ เมื่อเรารับรู้ข้อมูลต่างๆ ผ่านทางอายตนะต่างๆนี้ ก็จะทำให้เราจำได้หมายรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร? มีลักษณะอย่างไร? ทุกข์หรือว่าสุข? เช่น สีดำ สีขาว สวย ขี้เหร่ ผอม อ้วน เป็นต้น

4. สังขาร คือ การนึกคิดที่เกิดขึ้นทางจิต หรือ การปรุงแต่งทางจิตนั้นเอง ซึ่งมีทั้งส่วนดี (กุศล) ส่วนไม่ดี (อกุศล) หรือส่วนไม่ดีไม่ชั่ว (อัพยากฤต) เช่น เราได้ยินเสียง จิตของเราก็เกิดการปรุงแต่งขึ้น หากเป็นเสียงที่เราชื่นชอบ จิตก็จะปรุงแต่งไปในทางที่ดี ทำให้ใจเรามีความสุข เพลิดเพลินอยู่กับเสียงนั้น และหากเป็นเสียงที่เราไม่ชอบ จิตก็จะปรุงแต่งไปในทางที่ไม่ดี ทำให้เราไม่อยากได้ยินเสียงนั้นไปในที่สุด เป็นต้น

5. วิญญาณ คือ การรู้แจ้งอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นผ่านทาง อายตนะภายใน กับอายตนะภายนอกมากระทบกัน คือ
ตา กระทบกับ รูป เกิดความรู้ขึ้นทางตา เรียกว่า จักขุวิญญาณ
หู กระทบกับ เสียง เกิดความรู้สึกขึ้นทางหู เรียกว่า โสตวิญญาณ
จมูก กระทบกับ กลิ่น เกิดความรู้สึกขึ้นทางจมูก เรียกว่า ฆานวิญญาณ
ลิ้น กระทบกับ รส เกิดความรู้สึกขึ้นทางลิ้น เรียกว่าชิวหาวิญญาณ
กาย กระทบกับ โผฏฐัพพะ(สัมผัส) เกิดความรู้สึกขึ้นทางกาย เรียกว่า กายวิญญาณ
ยกตัวอย่างเช่น ตาของเราไปกระทบ หรือ เห็นรูปเข้า เกิดความรู้ขึ้นว่ารูปที่เห็นนั้นว่า
คือรูปอะไร? มีลักษณะเช่นไร? สวยหรือว่าขี้เหร่? เป็นต้น อาการรับรู้เช่นนี้เองท่านเรียกว่า วิญญาณ

จะเห็นได้ว่าชีวิตของคนเรานั้นประกอบไปด้วยขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ ไม่มีตัวไม่มีตน ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับสลายไปทั้งสิ้น ไม่จำเพาะแต่ชีวิตของคนเราเท่านั้นที่เป็นเช่นนี้ แต่ยังรวมถึงสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ พืช สสาร ฯลฯ ในโลกนี้อีกด้วย ต่างก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับสลายไปด้วยกันทั้งนั้น จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกัน แล้วประโยชน์อะไรเล่า ที่เราจะเลือกตายเร็ว เพราะเรายังไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าเลย ยังไม่ทันสร้างความดีทิ้งไว้ให้เป็นที่ประจักษ์แก่โลกนี้เลย และกว่าการที่เราจะเกิดมาและมีชีวิตรอดอยู่บนโลกนี้นั้นสุดแสนยากยิ่งนัก ดังพุทธสุภาษิตที่ตรัสไว้ว่า “กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ” แปลความว่า การเกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นของยากเพราะการเกิดเป็นมนุษย์นั้นจะต้องบำเพ็ญคุณงามความดีไว้หลายประการด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถือปฏิบัติตามศีล 5 อย่างเคร่งครัด เพราะศีล 5 เป็นเสมือนกับบันไดที่จะส่งเรากลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า เราปฏิบัติตามศีลทั้ง 5 ข้อครบบริบูรณ์แล้วหรือยัง? เมื่อยัง แล้วเราจะเลือกเอาความตายไปทำไม? การจบชีวิตเร็วช่วยให้เรามีความสุขหรือ? แล้วเราเคยคิดไหมว่าหากเราตายเร็วเราจะไปเกิดในดินแดนที่มีความสุขตามที่เราคิดเอาไว้หรือไม่? แล้วเราจะหนีปัญหาได้จริงหรือหากว่าเราเลือกการตาย? หากว่าเราตายแล้วญาติๆ ลูกๆ มีจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร? มันคุ้มกันแล้วหรือที่เราเลือกที่จะตาย เวลาที่เราต้องเผชิญกับปัญหา จึงอยากฝากไว้เป็นข้อคิดสำหรับผู้ที่จะคิดฆ่าตัวตาย


..........................................
 
ออบ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2006, 9:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่มีคำว่าอยากฆ่าตัวตายอะครับเเต่มีเเต่คนอื่นจะมาฆ่าเราอะดิครับ พี่ อิอิอิ
อิอิ
 
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2006, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุท่านมหา ครับ สาธุ
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง