Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
อนิสงส์การสวดมนต์
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ภัทรภร
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2005, 9:46 am
ชอบฟังรายการธรรมทางวิทยุมากโดยเฉพาะการถามตอบเรื่องกฏแห่งกรรมจากพระที่ออกอากาศการฟังธรรม กับสวดมนต์เป็นประจำผลดีข้อใดมีผลมากที่สุด
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
ตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2005, 9:58 am
การฟังธรรม กับการสวดมนต์
ถ้าพูดถึงอานิสงส์ การฟังธรรมจะมีมากกว่าการสวดมนต์ เพราะการฟังธรรมเป็นการเพิ่มพูนปัญญา แล้วปัญญานี่เราสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อละวางกิเลสตัณหาได้ เมื่อละวางกิเลสตัณหาได้ ความทุกข์ก็น้อยลง ความสุขก็มากขึ้น
การสวดมนต์ เป็นการสาธยายคำสอนของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน แต่ถ้าเราสวดแต่ภาษาบาลี เราก็ไม่รู้ความหมาย ถ้าเราได้สวดมนต์แปลก็จะได้รู้ความหมายของคำสวดนั้นๆ ด้วย จะเหมือนกับการฟังธรรม แตกต่างเพียงเรานำคำสอนมาทำเป็นทำนองคำสวด
แต่ถ้าพูดถึงการปฏิบัติแล้ว อานิสงส์ก็จะแตกต่างไปตามแต่ละบุคคล บางคนอาจได้รับอานิสงส์ในการสวดมนต์มากกว่า บางคนที่ฟังธรรม ประเภทฟังเพียงผ่านๆ ไป เข้าหูซ้ายทะลุหูขวาทำนองนั้น
อานิสงส์ที่มีมากกว่าการฟังธรรม และการสวดมนต์ ก็คือการปฏิบัติธรรม หรือการปฏิบัติกรรมฐาน นั้นเองนะครับ
ถ้าเราเพียงแต่ฟังไม่นำมาปฏิบัติอานิสงส์ที่เราจะได้รับก็ไม่สมบูรณ์ เหมือนอย่างเราเรียนหนังสือแต่เราไม่นำความรู้ที่ได้เล่าเรียน ได้จำมาจากการอ่าน การฟังครูอาจารย์ มาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ประโยชน์ที่จะได้จากการลงทุนลงแรงศึกษาเล่าเรียนเป็นปีๆ ก็จะไม่เป็นเต็มร้อย
ฉะนั้นควรทำให้ครบทุกอย่างทั้งสวดมนต์ ฟังธรรม และลงมือปฏิบัติ อานิสงส์ก็จะเกิดกับผู้ปฏิบัติได้เต็มบริบูรณ์นะครับ
หนูฝิ่น
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2005, 10:29 am
ชอบฟังธรรมะมากกว่าการสวดมนต์เช่นกันคะ
การปฎิบัติกรรมฐานก็ชอบ แต่ชอบไปเข้าปฏิบัติที่สถานปฎิบัติมากกว่า อยู่บ้านมักไม่ค่อยได้ทำ
อย่างนี้จะได้อานิสงฆ์มากไหม ไม่รู้
max
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2005, 10:55 am
อานิสงส์ของการปฏิบัติวิปัสสนา
โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
นโม ตสสฺ ภ
xxx
ต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธัสฺส ฯ
ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้นั้น ศีล ก็มีอยู่แล้วในโลกนี้ ทาน ก็มีอยู่ สมาบัติ(ฤษีเข้าฌาน) เหาะเหินเดินอากาศก็มีก่อนอยู่แล้ว มีผู้ที่เขาทำกันอยู่แล้ว พระพุทธเจ้ายังมาสร้างบารมีอยู่กับเขา (ไปฝึกทำสมาธิกับดาบส ๒ องค์) สิ่งที่ยังไม่มีในเวลานั้น ก็คือ สติปัฏฐาน มรรค ๘ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้คือ ธรรมะอย่างเดียวกันนั่นเอง วิสุทธิ ๗ ไม่มี สติปัฏฐานไม่มี มรรค ๘ ไม่มี วิปัสสนาไม่มี (ถ้าทำถูกต้องแล้วธรรมเหล่านี้เข้าหมดเลย) ธรรมเหล่านี้ก็ยังไม่มีโอกาสเลย สัตว์โลกทั้งหลายไม่มีโอกาสที่จะได้สร้างกุศลอย่างนี้เลย
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วจึงได้ประกาศกุศลอย่างนี้ ทางไปนิพพานจึงได้ปรากฏขึ้นในโลก พุทธศาสนาสิ้นแล้วหนทางนี้ก็สิ้นด้วย ท่านจึงได้กล่าวว่า ผู้ใดเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วเป็นลาภอันประเสริฐมีอานิสงส์มากเหลือเกิน เป็นลาภอย่างไร เป็นลาภก็เพราะว่าจะได้สร้างกุศลอย่างนี้ เพื่อเป็นปัจจัยที่จะพ้นจากสังสารทุกข์ กุศลอย่างอื่นไม่มีพ้นได้เลย จึงได้กล่าวว่า เป็นลาภอันประเสริฐ เราทั้งหลายก็ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แต่ว่าเราไม่เคยรู้จักเลยกุศลอย่างนี้ ไม่เคยได้สร้างเลย เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว การพบพระพุทธศาสนาก็เป็นหมันหาประโยชน์ไม่ได้ เราก็มัวแต่จะมาสร้างทาน สร้างศีลอะไรต่อมิอะไรซึ่งนอกพระพุทธศาสนาก็สร้างได้เพราะว่าเขามีมาก่อนแล้วประจำโลก อันนี้น่ะซีไม่มี ที่กล่าวว่าเป็นลาภอันประเสริฐนั่นก็คือ ได้มีโอกาศสร้างกุศล อย่างนี้ถือว่าเป็นอานิสงส์มากนัก
เพราะฉะนั้น เราควรสร้าง เราจะได้หรือไม่ได้ก็ช่าง แต่กุศลวิปัสสนานี้เราต้องสร้างเพราะว่าเรามีโอกาสแล้วที่จะสร้างได้ เราก็สร้างเพื่อให้เป็นปัจจัยต่อไป เพราะว่าถ้าตายแล้วสูญ เราก็ไม่ต้องทำอะไรทั้งหมด แต่นี่เราเชื่อแล้วว่าตายแล้วไม่สูญสังสารวัฏมีอยู่ เพราะฉะนั้นเราก็สร้างไว้ให้เป็นปัจจัย อันนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้เคยเทศนาแก่พระอานนท์ว่า ตถาคตยังอยู่ก็ตาม หรือล่วงลับไปแล้วก็ตาม จะเป็นอุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ภิกษุณี คนใดคนหนึ่งก็ตาม ถ้าตั้งอยู่ในธรรมอันนี้แล้ว ตถาคตก็ยกย่องว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ประเสริฐ * อะไรตั้งอยู่ จิตตั้งอยู่ในธรรมอันนี้ คือพิจารณากาย เวทนา เป็นต้น ได้แก่ สติปัฏฐาน พระองค์ก็ทรงยกย่องว่าผู้นั้นเป็นผู้ประเสริฐและยังได้ทรงตรัสว่า อานนท์จงมีตนเป็นที่พึ่งของตน อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งจงเอาตนเป็นที่พึ่ง และเอาธรรมเป็นที่พึ่งด้วย เอาตนเป็นที่พึ่งอย่างไร ? ผู้ที่ชื่อว่ามีตนเป็นที่พึ่งของตน คือ ผู้ที่พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม สติปัฏฐานอันใดอันหนึ่ง ผู้ที่นำจิตของตนไปตั้งอยู่ในสติปัฏฐาน ได้ชื่อว่าผู้นั้น มีตนเป็นที่พึ่ง และมีธรรมเป็นที่พึ่งด้วย และผู้ที่จะนำจิตมาตั้งอยู่ในสติปัฏฐานได้ ถ้าเป็นผู้ที่ไม่มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับกิเลสจริง ๆ แล้ว คือผู้ที่ไม่มีตนเป็นที่พึ่งแล้วมาไม่ได้ มาไม่ได้จริง ๆ มีอุปสรรคต่าง ๆ ไปทั้งนั้น มาไม่ได้หรือก็มีอุปสรรคอย่างโน้นอย่างนี้ คนที่จะเอาจิตมาตั้งอยู่ในสติปัฏฐานได้ จะต้องเป็นคนที่ชนะกิเลสได้ ชนะกิเลสมาแล้ว ก็มีปัจจัยของกุศลที่จะให้โอกาสให้จิตมาตั้งอยู่ได้ จึงจะมาได้ จะต้องเอาชนะกิเลสมาชั้นหนึ่งแล้ว มิฉะนั้น มันไม่ยอม กิเลสมันจะลากไปทีเดียว นรกน่ะ ไม่มีกุศลลากไปเลยมีแต่กิเลสลากไปทั้งนั้น ถ้าไปสวรรค์ก็ต้องกุศลนั้นแหละเป็นผู้ลาก ถ้าคนที่เอาชนะกิเลสไม่ได้ ก็ไม่สามารถที่จะตั้งอยู่ในธรรมอันนี้ได้ เพราะฉะนั้นคนที่ตั้งอยู่ได้ชื่อว่า มีตนเป็นที่พึ่ง มีอำนาจสามารถจะทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ สามารถจะได้ธรรมเป็นที่พึ่ง
อีกประการหนึ่งในมหาปรินิพพานสูตรพระพุทธเจ้าใกล้จะปรินิพพานแล้ว ขณะนั้นเทวดาทั้งหลายก็รู้ว่า พระพุทธเจ้าประชวรมากวันนี้ บอกว่าเวลาเท่านั้นทีเดียวจะเข้าสู่ปรินิพพานแล้วก็พากันบอกกล่าวว่า เราจะพากันไปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียในวันนี้เถอะ ต่อไปจะไม่ได้บูชาอีกแล้ว ดังนั้นต่างก็พากันโปรยดอกมณฑารพ อันเป็นดอกไม้ทิพย์เพื่อเป็นพุทธบูชา ในป่านั้นเต็มไปด้วยดอกไม้ทิพย์ ที่เหล่าเทวดาพากันบูชาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสแก่พระอานนท์ว่า อานนท์ เทวดาเหล่านั้น บูชาตถาคตด้วยดอกไม้ อันเป็นทิพย์มากมายเหลือเกิน เต็มไปหมดทั้งป่า แต่ถึงเช่นนั้นก็ยังไม่ชื่อว่า ตถาคตรับบูชาของพวกเทวดาเหล่านั้น ถ้าเราเอาของไปให้ใคร แล้วเขาไม่รับจะชื่อว่าให้เขาไหม ? ก็ไม่ชื่อว่าให้ถูกไหม ? การที่เราบูชาก็เหมือนกัน ถ้าพระองค์ไม่รับก็ไม่ชื่อว่าบูชา ต่อเมื่อใด ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตามมาเห็นภัยในวัฏฏะ แล้วทำความเพียรเพื่อออกจากสังสารวัฏนั่นแหละ การกระทำของบุคคลเช่นนั้นชื่อว่า ตถาคตรับบูชา เห็นไหม ที่เรามาปฏิบัตินี้เป็นการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใดมาพิจารณาเพื่อตัวจะได้พ้นจากทุกข์ คือสังสารทุกข์ นี่แหละชื่อว่าตถาคตรับบูชา เราน่ะ เป็นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันทั้งนั้น ทำไมเราจะบูชาตถาคตสักเจ็ดวัน สิบห้าวันไม่ได้หรือ การบูชาของเรานี่แหละชื่อว่าตถาคตรับบูชาพระองค์ต้องการปฏิบัติบูชาทำไมไม่ถวายท่าน
เพราะฉะนั้น ขอให้รู้เถิดว่า การที่เรามาเข้าปฏิบัตินี้สมแล้วกับที่เราเคารพเลื่อมใสพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจึงมาบูชาเพื่อพระองค์และทุกครั้งที่เรามีสติรู้ รูปก้าว ก็เท่ากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสาธุทุกครั้ง สำรวมตาเห็นก็สักแต่ว่าเห็น รู้อยู่ที่เห็น แต่ว่า ไม่ออกไปข้างนอก เวลาเห็นเรามีสติรู้อยู่ที่ นามเห็น (จะไม่รู้เป็นคนเป็นสัตว์) นามได้ยิน ก็เหมือนกัน จกฺขุนา สํวโร สาธุ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ โสเตน สํวโร สาธุ พระองค์ทรงสาธุ เมื่อมีสติรู้ที่ได้ยิน กิเลสเข้าไม่ได้เพราะอารมณ์ปัจจุบันนี่ กิเลสเข้าไม่ได้ ทำลายอภิชฌา โทมนัส *
คิดดูซิว่า กุศลเท่าไรในการที่เรามาทำอยู่นี้ เว้นแต่ว่าผู้มีบาปหนา หรือมีกิเลสก็ไม่สามารถที่จะเอาชนะกิเลสมาตั้งอยู่ในธรรมอันนี้ได้ นอกจากนั้นยังได้กุศลทุกอิริยาบถไม่ว่าจะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดินทุกก้าวไปก็ได้กุศล จะเห็น จะได้ยิน กินข้าวก็ได้กุศล กินข้าวเพื่อสร้างสังสารวัฏก็ได้ กินเพื่อพ้นจากสังสารวัฏก็ได้ กินแล้วพิจารณาว่ากินเพื่ออะไร กินเพื่ออะไร กินเพื่อแก้ทุกข์ เบญจขันธ์นี้ต้องอาศัยอาหาร การมีเบญจขันธ์นี้ก็เป็นทุกข์เพราะต้องอาศัยอาหารเพื่อยังอัตตภาพให้อยู่ได้ แล้วก็พิจารณาต่อไปว่า อยู่เพื่ออะไร อยู่เพื่อมรรค ผล นิพพาน ธรรมที่ควรจะรู้ ยังไม่รู้ ธรรมที่ควรจะแจ้ง ยังไม่แจ้ง ทุกข์ที่ควรจะพ้น ยังไม่พ้น เพื่อจะเอาอัตตภาพไว้เพื่ออย่างนี้เท่านั้น
ทีนี้เราก็กินข้าวได้ถูกต้อง ไม่ได้กินเพื่ออร่อย ถ้าอร่อยก็โลภะ ถ้าไม่อร่อยก็โทสะอย่างนี้เรื่อยไปก็สร้างสังสารวัฏ กิเลสเป็นตัวสร้างสังสารวัฏก็สร้างสังสารวัฏเรื่อยไป กินข้าวหนหนึ่งก็ไม่รู้ว่า สังสารวัฏยาวเท่าไร จนไม่รู้เบื้องต้นและที่สุดนี่แหละ พิจารณาอย่างนี้ จะอาบน้ำก็อาบน้ำด้วยปัญญาเพื่อออกจากทุกข์ กินข้าวก็เพื่อออกจากทุกข์ การเห็น การได้ยิน การนั่ง นอน ยืน เดิน ก็เพื่อออกจากสังสารวัฏทั้งนั้น เดินก็ได้กุศล นั่งก็ได้กุศล นอนก็ได้กุศล ยืนก็ได้กุศล กินข้าวก็ได้กุศล อาบน้ำก็ได้กุศล ถ่ายอุจจาระก็ได้กุศล ถ่ายปัสสาวะก็ได้กุศล วันหนึ่งกุศลก็นับไม่ถ้วน ไม่รู้กี่ร้อยครั้งกี่พันครั้ง
เราจะไปสร้างกุศลอะไรที่ได้มากอย่างนี้นาน ๆ ทำบุญครั้งหนึ่ง นาน ๆ เลี้ยงพระครั้งหนึ่ง นาน ๆ จะทอดกฐินสักที แล้วอย่านึกว่าไปทอดกฐินเลี้ยงพระนั้น อกุศลจะเข้าไม่ได้ ไม่ได้โดยบริสุทธิ์เต็มที่แน่นอน เพราะระหว่างที่ทำนั้นไม่ได้ดังใจก็จะเอะอะไม่ชอบใจ แล้วบางคนไปทอดผ้าป่า ทอดกฐินทะเลาะกันกลับมาเป็นความกันก็มี มันไม่ได้บริสุทธิ์อย่างนี้เลย เพราะฉะนั้น อย่ามีความประมาทผลัดเวลาล่า เอาไว้ก่อนเถอะ วันหลังถึงจะมาอย่างนี้ก็เป็นความประมาทแล้ว เราเกิดมาทีหลังกุศลอย่างนี้ อาจจะไม่รู้ว่าเขาสร้างกันอย่างไรก็ได้ แม้ขณะนี้สับสนอลหม่านเต็มทีแล้ววิปัสสนาสติปัฏฐานเวลานี้ก็มีนับไม่ถ้วนหลายอย่างเหลือเกิน เพราะความไม่เข้าใจ
เพราะฉะนั้น ก็น่าปลื้มใจกันทุกคน ขอให้ตั้งใจให้ดี เพราะเป็นของนำมายากที่สุดเป็นธรรมอันประเสริฐที่สุด พระพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์จะให้เราได้รับกุศลอย่างนี้ ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ มัวไปทำทานถือศีลเสีย ซึ่งกุศลเหล่านี้จะทำเมื่อไรก็ได้ มีอยู่เสมอในโลก แต่นี้ถ้าหมดศาสนาแล้วจะไม่มีโอกาสทำเลย อีกประการหนึ่งเราจะเชื่อละหรือว่า เกิดมาอีกแล้วจะได้พบพระพุทธศาสนาอีกหรือเปล่า ถึงหากจะพบก็ไม่แน่ว่าจะเข้ามา เพราะว่าผู้ที่พบอีกตั้งเยอะแยะก็ไม่ได้เข้ามา
ดังนั้น เราจะได้หรือไม่ได้ก็ตาม ก็ยังได้สร้างบารมีเข้าไว้ ต่อไปเมื่อเกิดขึ้นมาอีก ก็ยังมีปัจจัยให้ได้มีโอกาสสร้างบารมีต่อไปอีก ทุกท่านที่เข้ามานี้ดิฉันเชื่อแน่ว่า ต้องมีบารมีมาแล้ว อยู่ถึงไหน ๆ ถึงเชียงรายก็ยังมา ถ้าไม่มีบารมีแล้วมาไม่ได้เลย แม้อยู่อ้อมน้อยนี่ ยังไม่เคยมีพวกใกล้ ๆ อ้อมน้อยมาเข้ากรรมฐานเลย เพราะฉะนั้นโอกาศที่เราเข้ามานี่เป็นโอกาสสร้างมหากุศลอย่างยิ่งทีเดียว โอกาสที่เราจะทำบาปนั้นหาง่ายเหลือเกิน และอันนี้หายากเหลือเกิน เมื่อเราได้โอกาสที่ประเสริฐแล้ว เราก็ต้องรู้ตัวว่า นี่เป็นของมีค่าเหลือเกิน และชื่อว่าเราบำรุงพระพุทธศาสนาด้วย เพราะว่า พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแก่เรา ก็ชื่อว่า บำรุงและรักษาพระพุทธศาสนาให้ยืนยงอยู่ด้วยตราบใดที่ยังคงมีคนเข้าใจแพร่หลายรับไว้ได้ จะต้องมีผู้รับไว้ด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่มีอยู่ในตำรา อยู่ในตำราก็ไม่มีประโยชน์ ต้องมีอยู่ที่เราเข้าใจแล้วก็เผยแพร่ไปถ่ายทอดไปให้คนอื่น พระพุทธศาสนาจะได้เจริญแพร่หลาย ถ้าคนที่รู้ตายไปไม่มีคนรับไว้ก็เป็นอันว่า หมดไป
ถ้าธุระทั้งสองยังมีอยู่ก็แสดงว่า พระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ พระพุทธศาสนาจะมีอยู่ได้ก็เพราะธุระการงานทั้งสองยังมีอยู่ ถ้าการงานอย่างนี้ไม่มีเสียแล้ว ก็เป็นอันว่าหมดไปเพราะฉะนั้น คนที่เข้ามานี้ ดิฉันถือว่า มีบุญมาแล้ว แต่ว่าอุปฆาตกรรมอะไรที่จะมาตัดรอนนั้นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่มีเรื่องอื่นหรอก มันจะไม่ให้เรามาก็เพราะกิเลส มันจะให้เราออกไปก็เพราะกิเลส ถ้าไม่ชนะกิเลสแล้ว เราก็หาไม่ได้ เราต่างอยู่ใต้อำนาจพญามารทั้งนั้น เหนือขึ้นไปสวรรค์ชั้นที่ ๖(ชั้นพรหม ๒๐ ภูมิ) ก็อยู่ใต้อำนาจเขาทั้งหมด พวกเดียวเท่านั้นที่จะไม่อยู่ใต้อำนาจคือ พวกพระอรหันต์ พญามารจะบังคับ จะทำอะไรไม่ได้ทั้งนั้นเหนืออำนาจของพญามาร คือ กิเลส คนมีกิเลสแล้วต้องอยู่ใต้อำนาจพญามารทั้งนั้น (มารในที่นี้ คือ กิเลสมาร)
เพราะฉะนั้น มันจึงได้มาอ้อนวอนพระพุทธเจ้าบอกให้นิพพานไปเถอะ นิพพานเสียเถอะ ถ้าขืนอยู่นานประเดี๋ยวก็จะสอนคนให้เป็นอิสระเสียหมด เพราะฉะนั้นคนที่จะชนะกิเลสมาร จะต้องมีบุญเหลือเกิน การที่ดิฉันเพียรพยายามแนะนำนี่ ก็เพื่ออยากได้กุศลเหมือนกัน ถ้าท่านเกิดกุศลขึ้นมาหรือได้สติปัญญาเกิดขึ้นแล้ว ดิฉันก็พลอยได้กุศลด้วย เพราะฉะนั้นดิฉันก็เคยพูดเสมอ ๆ ว่า ถ้าอยากตอบแทนบุญคุณอาจารย์ละก็ไม่ต้องการอะไรทั้งหมด ขอให้ทำวิปัสสนาให้เกิดปัญญาอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้นขอให้ทุกท่านตั้งใจอยู่ในกุศลนี้ ถ้าไม่มีความจำเป็นจริง ๆ ก็ขอให้อย่าออกไป ขอให้เอาชนะกิเลสให้ได้ถ้าชนะคราวนี้ได้ก็มีหวังที่จะชนะต่อไปได้ เพราะฉะนั้น ขอให้กุศลเจตนาที่ท่านได้ตั้งใจมาบำเพ็ญกุศลเพื่อพระพุทธศาสนา และตั้งอยู่ในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
ขออำนาจกุศลอันนี้ จงเป็นพลวปัจจัยให้ท่านมีกำลังกาย กำลังใจ สมบูรณ์ด้วยกำลังสติ กำลังปัญญา และสติปัญญานั้น จงเป็นปัจจัยให้ได้เข้าไปรู้ศีลธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามที่ต้องการมา และขออย่าได้มีอุปสรรคอันตรายอะไรมากีดขวางกางกั้นหนทางที่จะดำเนินไปสู่ มรรค ผล นิพพานเลย
ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน เทอญ.
-------------------------------------------------------
* มหาสติปัฏฐานสูตร ทีฆนิกาย
http://larndham.net/index.php?showtopic=15118&st=0
pj
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2005, 11:24 am
บุคคลที่ชอบทำตนพูดจาว่าร้ายคนอื่นไม่ดีเสมอๆจะได้รับผลของกรรมจัดอยู่ในกรรมสถานใด
ภัทรภร
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2005, 9:27 pm
ฟังรายการของอาจารย์แนบ มหานีรานนท์เป็นประจำช่วงเวลา 06.00น.ก่อนไปทำงาน/ได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมะมากๆ
รน
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2005, 10:42 pm
คนสวดจะเกิดอานิสงส์คือ จิตเป็นสมาธิไม่ฟุ้งซ่านไปในกามคุณ
รน
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2005, 10:45 pm
ฟังแล้วต้องนำไปปฏิบัติไม่ใช้แต่สักว่าฟัง
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th