Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความอยากทางเพศ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
koko
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 1:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้าพเจ้าสงสัย และข้องใจมากเกี่ยวกับการจัดการปัญหา "ความอยากทางเพศ"

ข้าพเจ้าต้องขออภัยอย่างยิ่งนะครับ หากข้อสงสัยของข้าพเจ้าอาจไม่ค่อยเข้าหูผู้ชมwebsite บ้าง แต่กระนั้นปัญหาเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นจริงกับวัยรุ่นอย่างข้าพเจ้ากระนั้น ความอยากที่จะปฏิบัติกรรมฐานก็มีมาก พอๆ กับความอยากทางเพศ หลายๆครั้งมันกับทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดขึ้นมา ข้าพเจ้าอยากให้มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ ที่คนๆหนึ่งพึงอยากจะปรึกษาท่านผู้รู้ ท่านผู้เป็นกัลยาณมิตรด้วยใจจริง และตรงไปตรงมา

ข้าพเจ้าขอถามท่านผู้รู้ว่า

1. ความอยากทางเพศ และการปลดปล่อยทางเพศส่งผลต่อการได้ฌานจากการฝึกสมถกรรมฐาน หรือไม่ อย่างไร

2. การฝึกสมาธิถึงระดับหนึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติ ควบคุมพฤติกรรมได้ตามศีล? หรือการปฏิบัติตามศีล แล้วช่วยส่งเสริมการได้ฌาน จากสมาธิ ? เป็นอย่างไหนกันแน่

3. วิธีการผ่อนคลายความต้องการทางเพศทำได้อย่างไร อยากให้เป็นแนวทางที่ปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่เพียงทฤษฎีนะครับ อยากให้ผู้ตอบเป็นผู้รู้จริง และทำได้ตามคำที่ตนเองแนะนำจริงๆ นะครับ

background ผู้ถาม

- นับถือคาทอลิกทั้งตระกูล
- มีความสนใจในการพัฒนาจิต และญานปัญญา
- ศึกษาวิทยาศาสตร์
- ปูมหลังฝักใฝ่ทางกามารมณ์
 
สักกะ
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 ก.ค. 2004
ตอบ: 15

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 2:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอตอบตามความเข้าใจขอตัวเองนะครับ

1. ความอยากทางเพศ เป็นนิวรณ์อย่างหนึ่งซึ่งจะทำให้เราไม่มีสมาธิ มันจะคิดถึงแต่เความสุขทางเพศ ตามตำรา ให้แก่โดยใช้อสุภกรรมฐาน ลองเอาภาพศพน่าเกลียดน่ากลัวมาดู ก็จะรู้ว่าร่างกายคนนั้นล่วนสกปรก เพียงแค่เอาผิวหนังออก ก็จะเจอภาพสยองขวัญ

2. ศีลเป็นบาทของสมาธิ การที่เรารักษาศีลให้สมบูรณ์ จะทำให้ใจเราไม่มีความวิตกกังวลถึงความผิดที่เราล่วงศีลข้อต่างๆ เช่น หากเราไปผิดลูกเมียเขา ก็จะกังวลว่า พ่อเขา แฟนเขา จะตามมายิง มากระทีบ เป็นต้น

3. สำหรับวิธีผ่อนคลาย ก็โดยการเบนควาสนใจไปในเรื่องอื่น เช่น การออกกำลังกาย เล่นดนตรี การผ่อนอาหาร ก็อาจจะช่วยให้ความอยากทางเพศลดลงได้ ทำอะไรให้กายเหนื่อย ลำบาก เราก็จะไปพะวงเรื่องทุกข์อื่นๆ ของกาย และลืมเรื่องกามไปได้บางครับผม หรืออาจจะเพิ่มศรัทธาในความดี ทำให้เราอิมเอิบใจ ฝักใฝ่ในธรรมะมากขึ้น อาจจะเริ่มจากการสวดมนต์ ทำสมาธิ การทำวิปัสสนา

การทำวิปัสสนา เช่น การดูจิต ถ้าเราปฏิบัติไป ก็จะช่วยเห็นความอยากทางเพศที่เกิดขึ้นในจิตและสามารถละวางความอยากนี้ได้ สำหรับวิธีการก็ศึกษาได้จากคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ในเวปนี้ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ninja2000
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2004, 4:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามความเห็นของผม

ความอยากทางเพศ นั้น
หากเราเป็นปุถุชนคนธรรมดา มีอาชีพประกอบธุรกิจการงาน
ความอยากทางเพศ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นการดำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์ด้วยซ้ำ
การฝึกนั่งสมาธิ กลับมีประโยชน์ในการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

แต่ความอยากทางเพศ ไม่เหมาะสำหรับผู้ออกบวช
เพราะผู้ออกบวชต้องกำจัดกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงให้หมดไป
 
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2004, 5:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ กับคำตอบ คุณสักกะ และคุณนินจาครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
DEV
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 155

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2004, 8:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
koko
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2004, 1:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณมากนะครับสำหรับคำแนะนำ

ข้าพเจ้าคิดว่าคนหลายๆ คนมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองบางอย่าง........... แต่ในหลายๆ ครั้ง กลับไม่สามารถทำได้.............พฤติกรรมเหล่านั้นยังคงเป็นปัญหาสำหรับเขาอยู่เนื่องนิจ และเขาก็พยายามหาทางบำบัดพฤติกรรมเหล่านั้น อุปมาเหมือนมดเดินวนอยู่บนผลส้มเพื่อหาที่มันจะลงมาจากผลส้มนั้น...มีเพียงหนทางเดียวคือ.....มันต้องปล่อยตัวเองให้หล่นหลุดจากผล ....มดตัวนั้นไม่ยอมปล่อยตัวเอง

ข้าพเจ้ากำลังเป็นมดตัวนั้น ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาพื้นฐาน....แต่มันกลับเป็นปัญหาพฤติกรรมที่ซับซ้อน และเกี่ยวเนื่องกับการแก้ไขพฤติกรรมทุกเรื่อง ในชีวิตประจำวันของมนุษย์

ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า ตัวอย่างเรื่องความต้องการทางเพศเป็นปัญหาที่เห็นชัดที่สุด....ทว่าข้าพเจ้าเชื่อว่า มนุษย์ต้องการความสามารถในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองอย่างสมบูรณ์

ดังนั้นสิ่งที่ข้าพเจ้าคิด ก็คือว่า...จะมีท่านผู้รู้ท่านใด ช่วยแถลงไขถึงความสามารถนั้น ยืนกรานในความสำเร็จนั้นอย่างสมบูรณ์ด้วยการทดลองกับตนเอง แก้ไขพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ได้ และสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม และสอดคล้องกับชีวิตของตน

หนทางหนึ่งที่ข้าพเจ้ามองหา.....เพื่อมดจะปล่อยตัวเองจากผลส้มได้ก็คือ.......พุทธศาสนา..............

และเป็น....พุทธศาสนา....ที่ใช้ได้ผลจริง................

ที่ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนี้เพราะเบื่อที่จะได้ยินว่า.......ไม่มีใครหรอกในโลกนี้ ที่จะปรับพฤติกรรม หรือแก้ไขพฤติกรรมได้......พวกที่ยิ่งพยายามก็คือพวกที่ไม่มีอะไรจะทำ......ทำไมไม่ปล่อยไปตามธรรมชาติแห่งความต้องการล่ะ............... ข้าพเจ้าก็แทบบบบที่จะเชื่อเช่นนั้นจริงๆ แล้วเสียด้วย เพราะมันจริงอย่างที่ประสบอยู่กับตัวเอง ยังแก้ไม่ตกสักที.....
 
koko
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2004, 1:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สรุปก็คือว่า

- มนุษย์ต้องการความสามารถในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองอย่างสมบูรณ์
- มนุษย์จำนวนมหาศาลทำไม่ได้
- มนุษย์แสวงหาหนทางนั้นเสมอ

คำถาม

- มีมนุษย์คนใหนมีความสามารถในการแก้ปัญหานั้น

- มนุษย์ผู้นั้นยืนกรานในความสำเร็จนั้นอย่างสมบูรณ์ด้วย การทดลองกับตนเอง และแชร์ประสบการณ์นั้นแก่มนุษย์ที่ยังมีปัญหาอย่างข้าพเจ้า

- มีมนุษย์คนใหนมีความสามารถสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม และสอดคล้องกับชีวิต ของตน และแชร์ประสบการณ์นั้นแก่มนุษย์ที่ยังมีปัญหาอย่างข้าพเจ้า

หมายเหตุ ที่เน้นของตน หมายความว่าไม่ยกตำหรับตำรา ขึ้นอ้าง แต่ใช้ตัวเองเป็นตัวอย่าง

ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณอย่างสูง ไว้ ณ โอกาสนี้
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2004, 9:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

1. มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในการแก้ปัญหา แต่อยู่ที่ว่ามนุษย์มักจะข้อโต้แย้งขึ้นมากล่าวอ้าง เมื่อไม่สามารถลงมือฝึกปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองได้ในที่สุด

2. ตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์ ความสำเร็จอย่างสมบูรณ์นั้น ต้องหมั่นทบทวน ปรับปรุง ตามรู้ทันในสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด การอยู่ร่วมกันในสังคม ยากที่จะหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดกรรม แต่จะทำอย่างไร กรรมที่เกิดขึ้นทุกขณะจิตของมนุษย์นั้น จะพัฒนาไปในทางที่ดีและสร้างสรรค์

3. ทฤษฎีกับการปฏิบัติ เปรียบเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ผู้ลงมือปฏิบัติ ย่อมรู้ผลที่ชัดเจนกว่าผู้อ่านผลการทดลอง ความละเอียดลึกลับซับซ้อน มนุษย์เราจะค้นพบได้ตั้งแต่เริ่มฝึกปฏิบัติในการสวดมนต์

จะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่า จะกล้าเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือเปล่า.....

ธรรมะสวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
koko
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2004, 11:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนาสาธุ ปัญญาชน จากใจจริง
 
นกเอี้ยง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2004, 1:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ koko คะ

ขณะที่คุณอยากที่จะหยุดพฤติกรรมแบบนั้นมันจะมีแรงต้านใช่ไหมคะ แรงต้านแรงคัดค้านในความรู้สึกของคุณใช่ไหมคะ มันเหมือนคุณกำลังเสียดายพฤติกรรมแบบนั้นด้วยใช่ไหมคะ เอาว่าขอถามแค่นี้ก่อนแล้วกันค่ะ
 
koko
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2004, 6:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอาเป็นว่าอย่างนี้นะครับ คุณเคยหิวข้าวไหมครับ?
คุณเคยหิวข้าวไหม? รู้สึกอย่างไรเมื่อมันเกิดกับคุณ?

- อยากหยุดความหิวหรือไม่?
- คุณเสียดายความรู้สึกหิวหรือเปล่าถ้ามันหายไป?
บางทีเรื่องการกินอาจมีความจำเป็นสำหรับร่างกายของคุณ

แต่

เคยเห็น - คนอ้วน - หิวข้าวไหมครับ?
--อาหารสะสมอยู่ในรูปไขมันเต็มตัวพอกพูนเหมือนอยู่ได้เป็นปีๆ แม้ไม่ได้รับอาหาร
- คนอ้วนอยากหยุดความหิวหรือไม่?
- เขาเสียดายความรู้สึกหิวหรือเปล่าถ้ามันหายไป?
- เขาคิดว่าบางที่เรื่องการกินอาจมีความจำเป็นสำหรับร่างกายของเขาหรือไม่?
- แล้วความหิวจำเป็นสำหรับตัวเขาหรือเปล่า?

เชื่อไหมว่าคำถามเหล่านั้นมันเป็นคำถามพื้นฐานที่ธรรมดาสามัญ คนทั่วไปย่อมรู้ตัวดี

หากถามว่า ---เราเสียดายหรือไม่ ---เราเกิดความขัดแย้งระหว่าง "ความอยากให้มันหายไป " กับ "ความอยากให้มันคงอยู่" ของพฤติกรรมนั้น หรือ-----

คำตอบคือ ข้าพเจ้าไม่ได้คิดสักนิดเลย...........

----ทว่าประเด็นมันอยู่ที่ว่า
จะทำอย่างไรจึงควบคุมพฤติกรรมนั้นได้ล่ะ -----

หากควบคุมพฤติกรรมนั้นได้
คนผอมอยากอ้วน ---- อ้วนได้
คนอ้วนอยากผอม ---- ผอมได้

มาถึงคราวนี้................

คนอ้วนควรผอมลงเพื่อให้สุขภาพดี - คนอ้วนรู้
คนอ้วน- ควร- ระงับความหิว และ- อยาก- ระงับความหิว แรงขับดันจากไฮโปทาลามัสกระตุ้นความหิว คนอ้วนไม่พอใจนัก

คนอ้วนนั้นคิดว่า

-- "จะเป็นการดีมากเลยนะ หากมนุษย์มีความสามรถควบคุมพฤติกรรมทั้งมวลของตนเองได้ดั่งใจ"-- แต่พยายามใช้เทคนิคต่างๆมาแล้ว ความหิวก็ไม่ระงับสักที

พฤติกรรมหลายอย่างมันเป็นผลพลวงจากแรงขับภายใน เหมือนสิ่งมีชีวิตทั่วๆไป มันขับดัน มันกระตุ้น จนเราลงมือทำไปแทบจะไม่ได้คิด เหมือนเป็นกิจวัตร แม้นบางทีมันเกินพอดี แต่ความหิวมันก็ไม่เคยปราณี

คนอ้วนจึงถามว่า

ข้าพเจ้าอยากควบคุมพฤติกรรมการกินของข้าพเจ้า จากรากเหง้าแห่งความหิว

- มีมนุษย์คนใหนมีความสามารถในการแก้ปัญหานั้น

- มนุษย์ผู้นั้นยืนกรานในความสำเร็จนั้นอย่างสมบูรณ์ด้วย การทดลองกับตนเอง และแชร์ประสบการณ์นั้นแก่มนุษย์ที่ยังมีปัญหาอย่างข้าพเจ้า

- มีมนุษย์คนใหนมีความสามารถสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม และสอดคล้องกับชีวิต ของตน และแชร์ประสบการณ์นั้นแก่มนุษย์ที่ยังมีปัญหาอย่างข้าพเจ้า

----- มนุษย์แต่ละผู้แต่ละนาม ย่อมมีวิถีที่แตกต่างกันไป จุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิตก็แตกต่างกันไป พระอรหันต์แต่ละรูปก็ไม่ได้เหมือนกัน มีหน้าที่ ความรับผิดชอบต่างๆ กัน -----

ทว่า ส่วนตัวข้าพเจ้าคิดว่า ศักยภาพในการควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์
เป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญยิ่ง รวมทั้งปรับพฤติกรรมสู่การพัฒนาปัญญาอย่างสมบูรณ์ เมื่อมนุษย์ทำได้ถึงจุดนั้น มนุษย์จะยกระดับภูมิปัญญาของมนุษย์
 
นกเอี้ยง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2004, 9:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2004, 1:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทุกอย่างมันอยู่ที่จิตใจของคุณเองเป็นหลักสำคัญค่ะ

จิตนี้ถ้าฝึกดีแล้ว ให้คุณอย่างมหาศาล
ถ้าคุณลองฝึกลงตรงที่ใจเลยล้วนๆ ดูว่ามันเกิดอะไรเป็นสิ่งสำคัญภายใน
สิ่งต่างๆ ที่เราทำนั้น เกิดจากแรงผลักดันภายใน ความอยาก ความต้องการ

คุณลองอดอาหารดูซิคะ เอาเป็นมื้อเย็นสักมื้อนึง ทุกวันตลอดพรรษาก็ได้
สิ่งที่คุณจะได้พบ คือ คุณจะต้องพยายามดูว่า การอยากกับความต้องการ
มันแตกต่างกันอย่างไร

เรามีชีวิตอยู่ด้วยความอยาก (ตัณหา) อย่างมากมายจนจับไม่ได้เลยว่ามันคือ
ความอยาก แต่ความต้องการของร่างกายจริงๆ นั้น มันสามารถดำเนินของ
มันไปเองโดยธรรมชาติ เมื่อคุณเห็นว่าหิวจริงๆ คุณก็ทานอาหารเสีย แต่
การอดมื้อเย็นนั้น ร่างกายเราไม่ได้ต้องการอาหารจริงๆ หรอก เพราะเรา
จะต้องนอนแล้ว แต่เราต้องการด้วยความอยากซะมากกว่า

เช่นเดียวกับเรื่องกาม ถ้าคุณระวังรักษา อาการอยากที่ผุดขึ้นมาเฉยๆ ในใจ
เห็นมันได้ทัน และมีความเป็นกลางกับความรู้สึกนั้น คือไม่รังเกียจ ไม่ตามมันไป คุณจะสามารถเห็นการเกิดและดับของมันได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละค่ะที่

พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ คือให้รู้จักตัวตัณหา เมื่อรู้ทันมันมากขึ้น สิ่งที่คุณได้
พบคืออารมณ์ที่ถูกคุณรู้เท่าทันได้ แม้จะไม่สามารถวางมันได้ทันที แต่หนทางนี้เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้คุณรู้จักมันชัดเจนขึ้น และไม่ต้องตกเป็นทาสของมันเพียงฝ่ายเดียว โอกาสที่คุณจะชนะมันมีแน่นอน

ตอนนี้ที่คุณลงกระทู้นี้มานั้น คุณได้รู้สึกถึงทุกข์ของตัณหาขึ้นมา การรู้ทุกข์นั้นเท่ากับได้เจริญอริยสัจแล้ว ซึ่งเมื่อคุณรู้ทุกข์อย่างถูกต้อง จิตของคุณสามารถเข้าใจได้จริงว่าทุกข์มันเป็นอย่างไร (โดยไม่ไหลไปกับมัน) คุณก็จะสามารถเห็นตัวที่เป็นสมุทัย คือตัวความอยาก คุณก็จะวางมันได้เอง โดยไม่ต้องไปพากษ์บอกเลยว่าเถอะ มันเป็นทุกข์นะ

นี่คือวิถีทางการดำเนินของจิตที่จะละวางในเรื่องกามฉันทะได้จริงค่ะ และเป็นแบบปฏิบัติด้วย แต่ขอบอกตรงที่ว่า กามฉันทะนั้น เป็นสังโยชน์ตัวที่พระอานาคามีเท่านั้นที่จะวางได้จริง

แต่ถ้าคุณลองปฏิบัติดูแล้ว คุณก็จะทราบเองค่ะว่า ความต้องการ ความอยาก (ตัณหา) ต่างๆ มันลดลงได้ เพราะเรารู้เท่าทันมัน และละวางได้โดยตัวของมันเองค่ะ ขอให้เจริญในธรรมนะคะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
new
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 532

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2004, 4:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

s.smileycentral.com/cat/23/23_28_100.gif"> ตอบได้ยอดเยี่ยมกันทุกคนเลยครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
DJ.Phong
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 03 ก.ค. 2004
ตอบ: 14

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2004, 4:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เยี่ยมครับ..... ได้อ่านบทความกระทู้นี้ ผมคนหนึ่งแหละที่กำลังฝึกจิตดับตัณหานี้อยู่....น่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กวนอู
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 17 ต.ค.2006, 8:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก่อนที่ผมจะตอบปัญหา ผมอยากจะทราบว่า คุณ อายุ เท่าไร และที่คุณบอกว่ามีความต้องการมากนั้น มันบ่อยแค่ไหน เพื่อที่จะเป็นข้อมูลในการเเก้ไขปัญหาของคุณ ในที่นี้ผมจะขอตอบเพียงข้อเดียวนะครับ คืออย่างแรก เราควรมีสติ สัมปชัญญะ ก่อน เพราะว่าเมื่อเรารู้ว่าเรามีความต้องการมากหรือน้อยนั้นเราจะรู้ตัวเอง แล้วใช้สติ ตัวนี้แหละครับเป็นตัวรับรู้อารมณ์ เมื่อฝึกได้บ่อยๆ เราจะรู้ว่าความต้องการ (สาเหตุ) ของเรานั้นเกิดมาจากอะไร ศาสนาเราสอนให้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เมื่อเราทราบว่าความต้องการเกิดจากไหนก็ไปแก้ทีนั้น เช่น ชอบดูเว็ปโป้ ก็พยายามหลีกเลี่ยงเสีย เป็นต้น หรือว่าชอบดูหนังโป้ ก็พยายามหลีกเลี่ยงเสีย มันจะทำให้เรานั้นผ่อนคลายลงได้บ้างครับ แต่ว่าถ้าเรามีความต้องการขึ้นมาเมื่อใด เราก็ไม่ควรปฎิเสธความต้องการนั้น เพียงแต่ต้องใช้สติ คอยตามครับ เพราะเมื่อเราสนองความต้องการนั้นแล้ว เราก็จะรู้ว่า มันก็แค่นั้นเอง ใช่ไหมครับ นี่แหละคับ คือ จุดไคลเเม็กซ์ คือเรากำลังสร้างทุกให้กับตัวเองต่างหาก (วิ่งไปหาความทุกข์เอง) เราสนองแล้ว เราก็กลับมาสบายเหมือนเดิม (ปกติ) ใช่ไหมครับ แต่ต้องค่อยๆ ฝึกนะครับ อาจจะฝึกยากหน่อย แต่ผู้ที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 18 ต.ค.2006, 3:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับคุณ koko

ก่อนที่จะตอบกระทู้ของคุณkoko ผมใคร่จะขอนำเสนอหลักการทางวิชาการสักนิด เพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารณาเรื่องต่างๆ และเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ขอบคุณครับ

ความต้องการของมนุษย์
พจนานุกรมในไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (2526 :323) กล่าวถึง "ความต้องการ" ว่าหมายถึง ความอยากได้ ใคร่ได้หรือประสงค์จะได้ และเมื่อเกิดความรู้สึกดังกล่าวจะทำให้ร่างกายเกิดการความขาดสมดุลเนื่องมาจากมีสิ่งเร้ามากระตุ้น มีแรงขับภายในเกิดขึ้น ทำให้ร่างกายไม่อาจอยู่นิ่งต้องพยายามดิ้นรน และแสวงหาเพื่อตอบสนองความต้องการนั้นๆ เมื่อร่างกายได้รับตอบสนองแล้ว ร่างกายมนุษย์ก็กลับสู่ภาวะสมดุลย์อีกครั้งหนึ่ง และก็จะเกิดความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้นมา ทดแทนวนเวียนอยู่ไม่มีที่สิ้นสุด
ดังที่ Samuelson (1917 อ้างใน กฤษณา ศักด์ศรี , 2534 : 159) กล่าวว่า มนุษย์นั้น เพียรพยายามทุกวิถีทางในอันที่จะให้บรรลุความต้องการทีละขั้น เมื่อความต้องการขั้นแรกได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการขั้นนั้นก็จะลดความสำคัญลงจนหมดความสำคัญไป ไม่เป็นแรงกระตุ้นอีกต่อไป แต่จะเกิดความสนใจและความต้องการสิ่งใหม่อีกต่อไป แต่ความต้องการขั้นต้นๆ ที่ได้รับการตอบสนองไปเรียบร้อยแล้วนั้น อาจกลับมาเป็นความจำเป็นหรือความต้องการครั้งใหม่อีกได้ เมื่อการตอบสนองความต้องการครั้งแรกได้สูญเสียหรือขาดหายไป และความต้องการที่เคยมีความสำคัญจะลดความสำคัญลง เมื่อมีความต้องการใหม่ๆเข้ามาแทนที่ นอกจากนั้นแล้ว Gilmer กล่าวว่า "มนุษย์มีความต้องการหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น อาหาร อากาศ น้ำ ที่อยู่อาศัยรวมทั้งสิ่งอื่นๆ ด้วย เช่น การยอมรับนับถือ สถานภาพ การเป็นเจ้าของ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปความต้องการเหล่านี้ยากที่จะได้รับการตอบสนองจนอิ่มและพอใจทั้งๆ ที่ก็ได้รับอยู่แล้ว"

ความต้องการของมนุษย์ มีอยู่ 3 ประการ (เสถียร เหลืองอร่าม , 2525 : 10- 18 และนิพนธ์ คันธเสวี, 2528 : 71)
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย หรือความต้องการทางสรีระ ( Physical or Physiological Needs) หรือ ความต้องการปฐมภูมิ (Primary Needs) หรือ ความต้องการทางด้าน ชีววิทยา (Biological Needs) หรือความต้องการปฐมภูมิ (Primary) เป็นความต้องการทางชีววิทยา หรือ ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานอันดับแรกหรือขั้นต่ำสุดของมนุษย์ซึ่งจำเป็นในการ ดำรงชีวิต เป็นความต้องการที่จำเป็นสำหรับชีวิต เป็นความต้องการเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ เพื่อการมีชีวิตอยู่ เป็นความต้องการที่มีมาตั้งแต่กำเนิด ในฐานะที่เป็นอินทรีย์ทาง กายภาพ เป็นแรงขับ (Drive) ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นแรงขับดันทางกายภาพ เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตเพื่อความอยู่รอด จึงเป็นความต้องการพื้นฐานที่จะขาดเสียมิได้ ความต้องการชนิดนี้หากไม่ได้รับการตอบสนองจะมีความรู้สึกตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา และมีความกระวนกระวาย เช่น ความต้องการอากาศหายใจ อาหาร ความอบอุ่น น้ำ ยารักษาโรค อุณหภูมิที่เหมาะสม เครื่องนุ่งห่ม การเคลื่อนไหวทางร่างกาย การขับถ่าย ความต้องการเรื่องเพศ การพักผ่อนนอนหลับ ที่อยู่อาศัย ถ้าขาดความต้องการประเภทนี้เพียงประการใดประการหนึ่งชีวิตจะต้องมีอันเป็นไป เพราะความต้องการนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับมนุษย์ทุกคนจะขาดเสียมิได้ การแสวงหาสิ่งต่างๆมาเพื่อตอบสนองความต้องการในทางกายของมนุษย์ นี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสังคม วัฒนธรรม การฝึกอบรม สิ่งแวดล้อม ศาสนา เศรษฐกิจ ฯลฯ
2. ความต้องการทางด้านจิตใจ หรือ ความต้องการในระดับสูง หรือ ความต้องการทางด้านจิตวิทยา หรือความต้องการทุติยภูมิ หรือความต้องการที่เกิดใหม่ (Psychological Needs or Secondary Needs or Acquired Needs) เป็นความต้องการที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลัง หลังจากความต้องการทางร่างกายได้รับการตอบสนองแล้ว บางครั้งจึงเรียกความต้องการทางจิตใจว่า "ความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่" (Acquired Needs) เพราะเป็นความต้องการที่เกิดจากความรู้ และ การเรียนรู้ประสบการณ์ การสนองตอบต่างๆ ก็เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ เป็นแรงขับ (Drive) ชนิดหนึ่งที่ไม่หยุดอยู่กับที่ (Dynamic) ไม่มีรากฐานจากความต้องการทางร่างกาย แต่อาศัยกลไกทางสมอง ที่สั่งสมจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละบุคคลอาจเหมือนกันหรือต่างกันได้ เนื่องจากแต่ละคนมีระดับความต้องการแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ และประสบการณ์ ความต้องการทางจิตใจเป็นความต้องการที่สลับซับซ้อน และมีความแตกต่างกันมากระหว่างบุคคล
3. ความต้องการทางสังคม เป็นความต้องการทางจิตใจนั่นเอง แต่เน้นหนักในด้านความต้องการที่จะดำรงชีวิตให้เป็นที่ยอมรับนับถือของคนอื่น หรือมีความเป็นอยู่ดีกว่าบุคคลอื่น เช่น ต้องการความปลอดภัย ต้องการได้รับการยกย่องนับถือ ต้องการความยอมรับในสังคม ต้องการความก้าวหน้า เป็นต้น
ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์มีความต้องการมากมายหลายอย่าง จนไม่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งทั้งความต้องการที่เกิดจากความคิดคำนึง หรือความต้องการด้านจิตใจ หรือความต้องการทางกาย ซึ่งเป็นความต้องการที่ขาดมิได้ และในบรรดาความต้องการต่างๆ ของมนุษย์นั้นยากที่จะได้รับการสนองตอบจนเป็นที่พอใจ เพราะเป็นเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล

ความต้องการทางเพศนั้นอาจจะอยู่ในความต้องการด้านร่างกายได้ แต่ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกับ ความต้องการอาหารได้ เพราะว่าความต้องการอาหารขอร่างกายนั้น จะขาดเสียไม่ได้ ขาดอาหาร ขาดน้ำ ขาดอากาศ เราตายแน่นอน ส่วน ความต้องการทางเพศ และด้านอื่นๆนอกเหนือจาก อาหาร อากาศ และน้ำ นั้นถ้าขาดแล้วเราไม่ตาย ผู้ที่ดำเนินชีวิตตามหลักพุทธศาสนาแล้วย่อม สามารถละสิ่งที่นอกเหนือความจำเป็นนั้นได้ แล้วสิ่งเหล่านั้นยังก่อให้เกิดความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด
ในทางพุทธศานาแล้วการบริโภคอาหารนั้นก็ยังบริโภคเพื่อประทังชีวิตเท่านั้น มิใช่เพื่อสนองความต้องการด้านอื่น

สำหรับตัวคุณ koko นั้น ผมคิดว่าเป็นผู้เข้าใจ อะไรต่างๆได้ดี และสามารถทำความเข้าใจอะไรได้ง่าย คุณจึงสามารถอธิบายอะไรได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล แต่บางครั้งเหตุผลก็ไม่สามารถนำมาซึ่งทางออกได้ ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ยากที่จะเข้าใจ ยากที่จะตรึกเอาตามตรรกะ ถ้าคุณอยากเข้าใจคุณต้องลงมือปฏิบัติครับ ถ้าจะพูดอะไรมากกว่านี้ มันคงจะนอกปะเด็น

ครับ ผมไม่มีอะไรเสริมอีก เพราะคำตอบขอทุกท่านเป็นคำตอบที่ดี และ ถ้าปฏิบัติแล้วก็จะเห็นผลได้จริง ขอบพระคุณทุกท่านครับ สาธุ
 
เด็กเมื่อวานซืน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 22 ต.ค. 2006
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบรี

ตอบตอบเมื่อ: 22 ต.ค.2006, 3:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมเป็นกระเทย เลยไปให้หมอ ตัดลูกอัณฑะ ทิ้งใส่ชักโครกซะ หมดความรู้สึกไปเลย หึหึหึหึ

ในทางธรรมแล้วไม่ควรตัดครับ ถือว่าผิด ต้องใช้ ใจ ละให้ได้เท่านั้น ต่อเมื่อ ต้องสละอวัยวะเพื่อรักษาธรรมแล้ว จึงค่อยตัดทิ้ง จึงถือได้ว่าไม่ผิด

ขำ อิอิ ตัดไปแล้ว ดี หรือ ไม่ดีหว่า
 

_________________
กินเหมือนสุกร อยู่เหมือนสุนัข ฝักใฝ่เสพกิเลสร่ำไป
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชัย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 26
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 25 ต.ค.2006, 4:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาสาธุกับทุกท่านที่ได้ไขข้อข้องใจของคุณ KOKO ทุกท่านครับ
ประเด็นที่คุณ KOKO มีปัญหานั้น น่าจะเป็นเช่นที่ผมเป็นมาแล้ว และก็ยังเป็นอยู่ในขณะนี้ ก็อยากพูดว่าเป็นปัญหาลักษณะเดียวกันกับผมด้วย ความอยากหรือความต้องการทางเพศนั้นมันเป็นเหมือนสิ่งเร้าใจบางอย่างที่มีอำนาจแฝง คอยบังคับให้ใจมันพยายามที่จะกระทำมโนกรรมคือคิดที่จะทำ แล้วพยายามบังคับให้ร่างกายปฏิบัติตามที่ใจคิดด้วย ถ้าไม่ได้ทำเหมือนใจคิดจะหงุดหงิด แต่ถ้าทำได้หรือได้ทำจะสดชื่นเบิกบาน
สิ่งที่ผมใช้ในการทำใจไม่ให้หมกมุ่นในสิ่งเหล่านั้นคือ การสวดมนต์ การผ่อนอาหาร การระลึกถึงอสุภะ คือซากศพเป็นต้น ถ้ายังไม่หายคิดถึงสิ่งนั้นก็จะพยายามไม่อยู่คนเดียว โดยปกติถ้าผมคิดถึงกามารมณ์ถ้าอยู่คนเดียวผมจะต้องบังคับไม่ให้คิด แล้วรีบไปสู่ที่ชุมชน คุณจำไว้นะครับ ถึงอยากไปตามใจอย่างไร ก็ยังน้อยกว่าอาย เพราะฉะนั้นถ้าอยู่ในที่ชุมชนเราจะไม่กล้าทำอะไรที่น่าอาย
คุณ KOKO ผมแนะนำนะครับ
1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด
2. พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจที่จะเจริ ญภาวนา
3. พยายามสวดมนต์โดยไม่ให้จิตวอกแวก คือตาดูคำสวด ปากเปล่งเสียง หูฟังเสียงสวด ไม่ไช่ปากสวด แต่หูฟังเสียงไก่ เสียงนก เสียงรถอยู่ข้างนอก
4. สวดมนต์เสร็จ นั่งสมาธิ โดยกำหนดอารมณ์อยู่ที่ใดที่หนึ่ง ภายในร่างกายของเราอย่าส่งไปภายนอก ให้กระจ่างคือถ้าคิดให้คิดถึงอวัยวะในร่างกายเรา จับเอามาเป็นอารมณ์เดียว ถ้าคิดถึงลมหายใจก็ให้รู้ว่านี่ลมเข้า นี่ลมออก นี่ลมยาว นี่ลมสั้น
5. เวลาจะนอนก็พยายามทำอารมณ์เช่นเดียวกันกับการทำสมาธิจนกว่าจะหลับ
นี่เป็นข้อแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ถ้าผลเป็นประการใดคงจะนำมาบอกให้รู้บ้างนะครับ
ขออนุโมทนาบุญและขอขอบคุณทุกท่านครับ
 

_________________
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
รักษาจิต
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 03 พ.ย. 2006
ตอบ: 8
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ย.2006, 8:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การรักษาศีลเป็นเครื่องร้อยเรียงจิตให้เป็นระเบียบ อยู่ในกติกาที่จะเข้าถึงความดี อดทนอดกลั้น จนเป็นปกติ จะเห็นว่าจิตมีเป้า มีกำลังขึ้น การละความอยากในกามเป็นขั้นตอนที่สูงขึ้นมา ผู้อยากละกามต้องเห็นโทษของกาม และต้องการต่อสู้ ต้องถือศีล8 เพื่อตัดทอนกำลังกายที่เกิน และองค์ประกอปที่สนับสนุนให้เกิดกาม จึงมาทำสมาธิ ถ้าทำสมาธิได้ผลได้ลิ้มรสแห่งความสงบย่อมเกิดการเปรียบเทียบว่าสิ่งใหนดีกว่า เหมือนได้กินอาหารอร่อยติดในอาหารนั้น แต่ได้กินอาหารอีกจานที่อร่อยกว่า ก็ย่อมทิ้งอาหารจานเดิมฉนั้นในขั้นแรกต้องรักษาศีลก่อน ต้องเลือกเอา ถ้ายังอยากเสพกาม อย่าหวังเลยจะทำสมาธิได้ มีแรงก็ไปลงกับกามหมด การทำสมาธิต้องใช้สติที่แข็งแรง จิตที่ไม่อ่อนเปลี้ย
 

_________________
รักษาจิต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง