ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
13 ธ.ค.2010, 3:41 pm |
  |
“อุโบสถแก้ว” หรือ “โบสถ์แก้ว” รูปแบบของอุโบสถ วัดสังฆทาน
ที่หลวงพ่อสนองดำริให้สร้างขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็น “รูปทรงแปดเหลี่ยม”
ทำด้วยกระจกทั้งหมด โดยท่านตั้งจุดประสงค์ว่าอุโบสถของวัดสังฆทาน
ต้องเป็นอุโบสถที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดและถูกต้องตามความเป็นจริง
ประวัติวัดสังฆทาน
“วัดสังฆทาน” ได้ลงทะเบียนไว้กับกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๐/๑ หมู่ที่ ๓ บ้านบางไผ่น้อย ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มแวดล้อมไปด้วยสวนของราษฎร มีปูชนียวัตถุสำคัญ คือ พระประธานในอุโบสถแก้ว นามว่า “หลวงพ่อโต” สำหรับความเป็นมาของหลวงพ่อโตนั้น เนื่องจากวัดสังฆทานเป็นวัดร้างนับเป็นร้อยๆ ปีขึ้นไป การจดบันทึกไว้จึงไม่มี มีเพียงการเล่าขานต่อถึงความศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ดังนั้น จึงได้มีการวิเคราะห์จากหลักฐานพระพุทธลักษณะจากองค์หลวงพ่อโต กระเบื้องเชิงชายหน้าอุดของหลังคาอุโบสถหลังเก่า และอิฐที่สร้างองค์พระกับฐานอุโบสถ กระเบื้องเชิงชายหรือกระเบื้องหน้าอุดเป็นหลักฐานอันสำคัญชิ้นหนึ่งที่ค้นพบและเก็บรักษาไว้ในวัดสังฆทาน หลักฐานชิ้นนี้ใช้เป็นกระเบื้องประดับตกแต่งเชิงชายบนหลังคาอุโบสถสืบทอดจนถึงปัจจุบัน จะพบเห็นทั่วไปตามพระอารามหลวง (วัดหลวง) ใช้ประกอบกับกระเบื้องกาบกล้วยเพื่ออุดรูไม่ให้นกหนูเข้าไปทำรัง ลักษณะกระเบื้องเชิงชายหน้าอุดของวัดสังฆทาน มีลวดลายดอกบัวที่คลี่คลายปรับเปลี่ยนมาเป็นลายกนก ท้ายที่สุดเป็นลายประเภทใบไม้ ๓ แฉก ซึ่งเป็นเค้าโครงดั้งเดิมของดอกบัว ทำด้วยดินเผา สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑๒๒
วัดสังฆทานจะมีประเพณีทำบุญวันสงกรานต์ และสรงน้ำพระในเดือนเมษายน (วันที่ ๑๓-๒๐ เมษายน) เป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งเปลี่ยนผ้าห่มองค์พระหลวงพ่อโต พระประธานในอุโบสถแก้ว ผ้าห่มที่ถูกเปลี่ยนจะนำมาฉีกแบ่งกันไปผูกข้อมือ-ผูกคอให้กับชาวบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ การบนหลวงพ่อโตมักโดยจะบนด้วยการจุดปะทัดเป็นเครื่องแก้บน “สังฆทาน” จึงกลายเป็นชื่อของวัดมาแต่เดิม
• กว่าจะมาเป็น “อุโบสถแก้ว” หรือ “โบสถ์แก้ว” •
ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ หลวงพ่อสนองพบวัดสังฆทานร้างอยู่กลางสวน มีเพียงหลวงพ่อโตกับศาลาไม้มุงสังกะสีเก่าๆ บนที่ไร่เศษ พิจารณาแล้วว่าที่นี่เหมาะแก่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตาม “แนวทางธุดงคกรรมฐาน” เนื่องด้วยอยู่ใกล้แหล่งของผู้มีกำลังและปัญญาที่สามารถช่วยศาสนาได้ดีในอนาคต ท่านจึงตัดสินใจที่จะอยู่ที่นี่ แต่ขณะนั้นท่านคิดว่าตนเองยังมีบารมีไม่เพียงพอที่จะเป็นผู้นำที่นี่ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าที่นี่ไม่เหมือนที่อื่นการจะเข้ามาทำอะไรนั้นทำได้ยาก จะต้องให้เขาเห็นดีให้เขาเข้าใจเพราะเป็นการเผยแผ่ธรรมะให้กับผู้มีปัญญา ท่านจึงตั้งใจกลับไปปฏิบัติธรรมในถ้ำหมีและถ้ำกระเปาะอีก ๖ ปี
ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ หลวงพ่อสนองกลับมาวัดสังฆทานอีกครั้งเพื่อจำพรรษา ร่วมกับพระสงฆ์อีก ๕ รูป ด้วยปฏิปทาตามหลักธุดงคกรรมฐาน ชาวบ้านบางคนตั้งข้อหาว่าเป็นพระคอมมิวนิสต์ ความเป็นอยู่จึงลำบาก ถูกข่มขู่ด้วยปืนและปาระเบิด บิณฑบาตเกือบไม่ได้ เมื่อนำอาหารมาเทรวมกันก็มีน้อยมากทุกรูปไม่ยอมตักอาหารใส่บาตร หลวงพ่อต้องเป็นผู้ตักใส่บาตรให้ น้ำดื่มต้องตักจากบ่อเก่ามาต้มฉัน ไม่มีน้ำปานะ ไม่มีไฟฟ้า
ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ หลวงพ่อสนองไปรับ พระอาจารย์พลอย เตชพโล แห่งวัดเขาภูคา ต.หัวหวาย อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ มาช่วยเป็นหัวหน้าช่างในการบูรณะ องค์หลวงพ่อโต พร้อมพระเณรประมาณ ๑๐ กว่ารูป รวมทั้งชาวบ้านญาติโยม การบูรณะที่แขนชำรุดมากต้องเอาแป๊บน้ำใส่แล้วโบกปูนทับ ส่วนที่ใดเนื้อปูนยุ่ยก็ขูดออกแล้วโบกปูนทับ นำปูนเก่ามาผสมปั้นเป็นหลวงพ่อสังกัจจายน์ (พระมหากัจจายนะ)
“องค์หลวงพ่อโต” พระประธานในอุโบสถแก้ว
รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก ขนาดเท่าองค์จริง
ประดิษฐาน ณ อุโบสถแก้ว วัดสังฆทาน
บริเวณรอบๆ อุโบสถแก้ว มีความสงบเงียบ
นักปฏิบัติธรรมมักใช้เป็นที่สำหรับเดินจงกรม
• การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของศาลาหลวงพ่อโต •
ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ หลวงพ่อสนองดำริให้รื้อถอนศาลาเพื่อจะสร้างอุโบสถใหม่ เนื่องด้วยศาลาหลวงพ่อโตมีความชำรุดทรุดโทรม และคับแคบไม่เพียงพอที่จะรองรับจำนวนพระภิกษุสามเณร และผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมได้ นอกจากนี้หลังคาสังกะสีเวลาฝนตกจะมีเสียงดังมาก หน้าร้อนก็จะร้อนมาก ดังนั้น พระภิกษุผ้าขาวและชาวบ้านจึงช่วยกันรื้อถอน แม้กระทั่งชาวอังกฤษที่เพิ่งเดินทางมาถึงก็ร่วมช่วยด้วย
• รูปแบบของอุโบสถหรือโบสถ์ •
“อุโบสถแก้ว” หรือ “โบสถ์แก้ว” รูปแบบของอุโบสถที่หลวงพ่อสนองดำริให้สร้างขึ้นใหม่นั้นเป็น “รูปทรงแปดเหลี่ยม” ทำด้วยกระจกทั้งหมด และกำหนดเวลาการก่อสร้างเป็นเวลา ๑ ปีครึ่ง โดยท่านตั้งจุดประสงค์ว่าอุโบสถของวัดสังฆทาน ต้องเป็นอุโบสถที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดและถูกต้องตามความเป็นจริง ขนาดของอุโบสถต้องจุคนได้ ๖๐๐ คน เมื่อแบบจำลองของอุโบสถออกมาก็ถูกวิจารณ์ว่าทำไมอุโบสถจึงเป็นแก้วแปดเหลี่ยม ไม่ใช่ทรงไทยที่มีช่อฟ้า ใบระกา หลวงพ่อสนองได้ให้เหตุผลว่า
(๑) หลวงพ่อโตองค์ใหญ่มาก มีความสูงหลายเมตร ถ้าสร้างอุโบสถเป็นแบบทรงไทยต้องสร้างให้เศียรหลวงพ่อโตต่ำกว่าขื่อต่ำกว่าอกไก่ อุโบสถต้องใหญ่มากต้องรับน้ำหนักมาก ทำ ๒ ชั้นก็ไม่เหมาะเพราะต้องการประหยัดพื้นที่ แต่ถ้าทำเป็นรูปเจดีย์แล้วสามารถให้หลวงพ่อโตอยู่ตรงกลางหรือตรงริมก็ได้ หลวงพ่อโตก็จะดูสวยสง่า และทรงแปดเหลี่ยมสมมุติเป็นมรรคองค์แปด
(๒) การสร้างอุโบสถทรงไทยต้องลงทุนมากกว่า ๑๐๐ ล้านบาทขึ้นไปจึงจะแล้วเสร็จ แต่อุโบสถแก้วใช้ประมาณ ๕๐ ล้านบาท สร้างได้ ๒ ชั้น และสามารถสร้างเสร็จได้เร็วกว่า เนื่องจากทางวัดจำเป็นต้องใช้อุโบสถในการอุปสมบทหมู่ โดยให้สามารถจุพระสงฆ์ได้เป็น ๑๐๐ รูป บรรพชาสามเณรปีละ ๓๐๐ รูป มีการประชุมพระสงฆ์ครั้งละ ๒๐๐-๓๐๐ รูป อุโบสถนี้สามารถจุคนได้ถึง ๖๐๐ คน ด้านล่างใช้เป็นสำนักงาน ห้องเทป ห้องมูลนิธิ ห้องสมุด ฯลฯ มีประโยชน์อเนกประสงค์
“การใช้ประโยชน์อย่างสุด” ภายใต้ชั้นล่างของอุโบสถแก้ว มีการใช้ประโยชน์ดังนี้
(๑) เป็นที่สำหรับรับสมัครนักบวชเนกขัมมะ
(๒) เป็นห้องสมุดมีหนังสือธรรมะของครูบาอาจารย์ที่สำคัญๆ มากมาย
(๓) เป็นที่จำหน่ายหนังสือธรรมะ ซีดีธรรมะ และเป็นสถานที่ให้ยืมเทปธรรมะ รวมทั้ง เมื่อมีญาติธรรมมาปฏิบัติธรรมจำนวนมากจนที่พักไม่เพียงพอ ชั้นล่างอุโบสถแก้วนี้ก็จะใช้เป็นที่พักได้อย่างดีทีเดียว
ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก วางศิลาฤกษ์อุโบสถแก้ว ตรงกับวันมาฆบูชาที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ เวลา ๐๒.๔๖ น. คณะพระภิกษุ-สามเณรจากวัดสังฆทาน, วัดทุ่งสามัคคีธรรม อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี และวัดสาขาของวัดสังฆทานทั้งหมด (ในขณะนั้น ๑๗ สาขา) เป็นจำนวนกว่า ๒๐๐ รูป รวมทั้งสาธุชนจำนวนมากได้พร้อมใจกันน้อมจิตอธิษฐาน ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ภาวนา เวียนเทียนรอบองค์หลวงพ่อโต
ถึงวันนี้อุโบสถแก้วได้ตั้งตระหง่านแซมพุ่มไม้ใบบัง ภายในเขตสีมาวัดสังฆทาน กำลังรอสายธารศรัทธาจากสาธุชนทั่วทุกสารทิศ ทั้งนี้ เพื่ออุโบสถแก้วหลังนี้จะได้เป็นศาสนสมบัติอันถาวรเป็นที่อุปสมบทแห่งกุลบุตรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาสืบไป
(มีต่อ) |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
13 ธ.ค.2010, 3:41 pm |
  |
• รายชื่อสาขาของวัดสังฆทาน ทั้งหมด ๔๗ สาขา •
(๑) วัดเขาถ้ำหมี (สำนักป่าพุทธอุทยานเขาถ้ำหมี)
ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ๗๒๑๘๐
(๒) วัดหนองบัว
หมู่ที่ ๔ ต.เกาะหลัก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๐๐๐
(๓) วัดหนองไผ่เจริญธรรม
ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ๗๒๑๓๐
(๔) วัดป่าผาตาดธารสวรรค์
ต.หินดาด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๘๐
(๕) วัดสองพี่น้องเจริญธรรม
ต.กฤษณา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ๓๐๑๔๐
(๖) วัดเขาแตงอ่อน
ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๑๑๐
(๗) วัดสองพี่น้อง
ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ๑๗๑๔๐
(๘) วัดต้นตาลโตน (วัดป่าอันธวันวิเวกอารมณ์)
ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๐๐
(๙) สำนักปฏิบัติธรรมสวนป่า
ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๑๑๐
(๑๐) วัดบ้านพลับ
ต.หนองปลาไหล อ.เมือง จ.สระบุรี ๑๘๐๐๐
(๑๑) วัดบุ่งมะแลงน้อย (ที่พักสงฆ์ป่าช้าบุ่งมะแลง)
ต.บุ่งมะแลง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ๓๔๑๙๐
(๑๒) วัดอุ้มผางธรรมาราม
ต.อุ้มผาง อ.อุ้มผาง จ.ตาก ๖๓๑๗๐
(๑๓) วัดถ้ำเขาวง (ธรรมสถานถ้ำเขาวง)
ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ๖๑๑๔๐
(๑๔) วัดธรรมชัยสิริมงคล
ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ๗๐๐๐๐
(๑๕) วัดเขาภูคา
ต.หัวหวาย อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ๖๐๑๔๐
(๑๖) วัดเขายายเที่ยงใต้
หมู่ที่ ๑๐ ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ๓๐๓๔๐
(๑๗) วัดป่าภาวนาวิเวก
ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ๗๐๑๕๐
(๑๘) วัดสันติวงศาราม (เดิมชื่อ วัดสังฆทาน)
Wat Santiwongsaram (ex Wat Sanghathan)
107 Handsworth Wood Rd. Handsworth Wood,
Birmingham City, England B20 2PH
(๑๙) ที่พักสงฆ์ศาลาธรรม
เลขที่ ๗ หมู่ที่ ๑๑ แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐
(๒๐) ที่พักสงฆ์ถ้ำเวฬุวัน (ถ้ำลม-ถ้ำวัง)
หมู่ที่ ๘ บ้านลุเตา ต.นาขุนไกร อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ๖๔๑๒๐
(๒๑) สำนักสงฆ์เกาะผาสุข
ต.มะขาม อ.มะขาม จ.จันทบุรี ๒๒๑๕๐
(๒๒) ที่พักสงฆ์ดอยโตน
หมู่ที่ ๖ ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย ๕๗๑๑๐
(๒๓) วัดป่าจำกู่
ต.ศรีบัวบาน อ.เมือง จ.ลำพูน ๕๑๐๐๐
(๒๔) ที่พักสงฆ์หาดแตง
เลขที่ ๒๐ หมู่ที่ ๕ ต.ด่านแม่แฉลบ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๕๐
(๒๕) ที่พักสงฆ์เขื่อนบางลาง
ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา ๙๕๑๓๐
(๒๖) วัดหนองโบสถ์
หมู่ที่ ๑ บ้านหนองโบสถ์ ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ๒๑๑๓๐
(๒๗) วัดหลวงขุนวิน (ดอยหลวง)
หมู่ที่ ๗ ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ๕๐๓๖๐
(๒๘) ที่พักสงฆ์ดอยปภัสสร (ดอยแม่เกิ๋น)
บ้านปงทอง ต.วังทอง อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ๕๒๑๔๐
(๒๙) วัดป่าพุทธะนิกาย
บ้านกุดไกรสร ต.หนองหมี อ.กุดชุม จ.ยโสธร ๓๕๑๔๐
(๓๐) วัดถ้ำกฤษณาธรรมาราม
หมู่ที่ ๖ ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ๓๐๑๓๐
(๓๑) ที่พักสงฆ์สิชล
หมู่ที่ ๖ ต.เปลี่ยน อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ๘๐๑๒๐
(๓๒) ที่พักสงฆ์น้ำราดธารธรรม
หมู่ที่ ๙ ต.บ้านทำเนียบ อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๘๐
(๓๓) วัดเสาหิน
หมู่ที่ ๘ บ้านหางตลาดเหนือ ต.ท่าฉนวน อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ๖๔๑๗๐
(๓๔) วัดในขนอม
หมู่ที่ ๑๑ ต.ขนอม อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ๘๐๒๑๐
(๓๕) สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ
หมู่ที่ ๖ บ้านนา ต.เขาต่อ อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ๘๐๒๑๐
(๓๖) วัดสว่างโพธิ์ชัย
บ้านเมืองเพ็ง ต.กู่ทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม ๔๔๑๖๐
(๓๗) ที่พักสงฆ์ถ้ำทะลุ
ต.หินดาด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๘๐
(๓๘) ที่พักสงฆ์บ้านธรรมวารี
หมู่บ้านบางพุทรา ซอย ๑ ต.หัวไทร อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ๒๔๑๑๐
(๓๙) วัดเนื้อนาบุญ
หมู่ที่ ๑๔ บ้านทุ่งลานนา ต.ป่างิ้ว อ.เทิง จ.เชียงราย ๕๗๑๖๐
(๔๐) ที่พักสงฆ์ป่าช้าดงมะตาว
ต.กุดลาด อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ๓๔๐๐๐
(๔๑) วัดอนันทะวิหาร
ต.พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
(๔๒) วัดโภคัลพุทธวิหาร (Bhogal Buddha Vihara)
ถ.จังปุระ ออสปิตัลโรด เมืองนิวเดลี ประเทศอินเดีย
(๔๓) ที่พักสงฆ์เขารามโกฏิ
เมืองกาฐมัณฑุ ประเทศเนปาล
(๔๔) วัดศากยมุนี
อ.รุปันเดหิ เมืองลุมพินี ประเทศเนปาล
(๔๕) วัดสังฆทานไทย-เยอรมัน
Wat Sanghathan Thai-German
1556 Schoneiche Brandenburg Street 76A, Berlin Germany
(๔๖) ศูนย์ปฏิบัติธรรมกตปุญโญ
ต.ปากน้ำ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ๗๒๑๒๐
(๔๗) สำนักป่าปฏิบัติธรรมวังน้ำเขียว
ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ๓๐๓๗๐
บรรยากาศการปฏิบัติธรรมภายใน“อุโบสถแก้ว”
วัดสังฆทาน บ้านบางไผ่น้อย ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี
คณะสงฆ์, แม่ชี, อุบาสก และอุบาสิกา
วัดหลวงขุนวิน ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
.............................................................
รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
(๑) http://www.sanghathandhamma.com/
(๒) ถอดความจากซีดีอัตชีวประวัติหลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ
ดำเนินการโดย “คุณดุสิตธานี” แห่งลานธรรมจักร
ขอกราบขอบพระคุณที่มาของรูปภาพทุกแหล่ง |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
   |
 |
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065
|
ตอบเมื่อ:
15 มี.ค.2011, 1:25 pm |
  |
|
    |
 |
|