Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ความตายกับชีวิตที่เหลืออยู่
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 10:42 pm
โดย...ปรีดา เรืองวิชาธร
ข้อคิดและประสบการณ์จากการอบรมเผชิญความตายอย่างสงบ
จัดโดยเครือข่ายชาวพุทธฯและเสมสิกขาลัย
คนที่มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคงตระหนักได้ดีว่า
ช่วงเวลาแห่งการดูแลเป็นช่วงที่เราไม่คุ้นเคยอย่างยิ่ง
หลายคนเต็มไปด้วยความรู้สึกเศร้าเสียใจ
และหวาดกลัวต่อการพลัดพรากที่กำลังจะมาถึง
หลายคนอาจรู้สึกสับสนหรือเคว้งคว้างว่า
ทางข้างหน้าของชีวิตจะเป็นอย่างไร
หลังจากไม่มีเธอหรือเขาผู้นั้นอีกแล้ว
ขณะเดียวกันต้องเหน็ดเหนื่อยไม่น้อยในการเฝ้าดูแล
และบางครั้งยังต้องเผชิญกับอารมณ์ของตน
ที่ยากจะยับยั้งเมื่อต้องปะทะกับอารมณ์ อันปรวนแปรของผู้ป่วย
ช่วงเวลาเช่นนี้จึงยากที่จะรักษาใจให้สงบมั่นคงได้
แต่ก็มีไม่น้อยเลยที่หลายคนสามารถเปลี่ยนแปลงภายใน
จากการสัมผัสความจริงของชีวิตอย่างลึกซึ้ง
เขาเหล่านั้นต่างประจักษ์ว่า ไม่ใช่เราผู้ดูแลเท่านั้นที่เป็นฝ่ายให้
แต่ผู้ป่วยก็เป็นฝ่ายให้โอกาสเราได้เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณ
ช่วงเวลาเช่นนี้เป็นโอกาสให้เราได้สัมผัสรับรู้ความดีงามภายใน
ที่เหมือนถูกเก็บซ่อนไว้ในส่วนลึก
และสามารถผลิบานงอกงามได้อย่างน่าอัศจรรย์
เพราะช่วงเวลาดังกล่าวหากเราดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง
เราย่อมสัมผัสรับรู้ถึงความทุกข์ของเขา
ทั้งความเจ็บปวดทรมานทางกาย ความหวาดกลัว
ความสับสนและห่วงกังวลในเรื่องคนใกล้ชิดที่ยังต้องอยู่ต่อไป
ความรู้สึกผิดบาปที่คั่งค้างในใจ
ที่สำคัญก็คือรับรู้ถึงความรู้สึกโหยหาความรักและความเข้าใจจากคนที่เขารัก
ซึ่งเมื่อเวลานั้นมาถึงเราบ้าง เราคงรู้สึกไม่แตกต่างไปจากนี้มากนัก
ดังนั้น ในระหว่างการดูแลหากเราตระหนักรู้ในข้อนี้มากขึ้นเท่าใด
ความดีงามภายในอย่างเช่น ความเห็นอกเห็นใจ ความรู้สึกที่ให้อภัย
ใจที่สามารถยอมรับอย่างที่เขาเป็น
โดยเฉพาะยอมรับอย่างใจกว้างต่อความผิดพลาดของมนุษย์ เป็นต้น
ก็จะผลิบานออกมาจากใจ ซึ่งเราอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
เป็นธรรมดาอย่างยิ่งที่เมื่อจิตใจของเราเริ่มรู้สึกอยากเห็นเขาเป็นสุข
หรือพ้นจากความทุกข์ทรมาน (แม้เขาจะดีหรือร้ายเพียงใด)
ผู้ป่วยย่อมสามารถสัมผัสรับรู้ถึงความรัก
และพร้อมที่จะอ้าแขนรับการปฏิบัติดูแลด้วยดี
ทั้งยังทำให้เขาไว้วางใจเพื่อระบายความในใจออกมา
ให้เราได้รับรู้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นกุญแจดอกสำคัญ
ที่จะไขไปสู่ความชัดเจนในการปฏิบัติดูแล
หรือช่วยจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง
จึงเต็มไปด้วยคุณภาพ ซึ่งรวมเอาความรักและมิตรภาพอันลึกซึ้ง
ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นไว้ด้วย
นอกจากสัมผัสรับรู้ถึงความดีงามที่เกิดขึ้นภายในแล้ว
ผู้มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลายคนได้ถ่ายทอด
เสียงสะท้อนจากภายในอันเป็นข้อคิดคำนึงดีๆ สำหรับชีวิตและสังคม
ที่อยากจะแบ่งปันให้เราทั้งหลายที่ยังต้องอยู่ต่อไปดังนี้
เสียงแรก ฉันโชคดีมากที่มีโอกาสได้ดูแลลูกที่เพิ่งจากไปไม่นาน
แม้ช่วงเวลานั้นจะขมขื่นที่สุดเท่าที่ฉันเคยประสบมา
การได้อยู่กับเขาในช่วงเวลานั้น
มันเหมือนกับเรียกความรู้สึกผูกพันอันลึกซึ้งคืนกลับมาอีกครั้ง
ซึ่งได้ห่างหายไปนาน
นับตั้งแต่ตอนที่เขายังเป็นเด็กเล็กๆ
แต่ต่างกันมากอย่างหนึ่งก็คือ
การดูแลช่วงที่เขาป่วยหนักจนถึงวันที่เขาจากไป
มันทำให้ฉันเข้าใจความจริงของชีวิตและยอมรับได้มากขึ้น
การเกิดและจากไปของชีวิตซึ่งกินช่วงเวลาไม่นานนัก
ทำให้ฉันได้ใคร่ครวญภายในมากขึ้นว่า
วันเวลาที่เหลืออยู่ฉันจะตั้งหน้าตั้งตาแสวงหา
เงินทองทรัพย์สินไปมากมายล้นพ้นทำไมกัน
ถึงจะมีอยู่มากเพียงใดก็ยังไม่สามารถแบ่งเบาความขมขื่น
จากการพลัดพรากได้แม้สักนิด
ชีวิตที่เหลืออยู่นี้ฉันอยากจะให้ชีวิตได้สัมผัสความสุขเย็นภายในมากขึ้น
อยากจะหยุดแสวงหาวัตถุทั้งหลายลงบ้าง
ทุกวันนี้การทำจิตใจให้สงบด้วยสมาธิช่วยให้ชีวิตสงบนิ่ง
มีความมั่นคงภายในมากขึ้น
ช่างแปลกดีนะที่จิตใจอันสงบมั่นคงนี้
ทำให้เรามองเห็นรอยยิ้มและความสุขของคนอื่นได้ชัดเจนขึ้น
และมันทำให้ฉันพลอยรู้สึกปลื้มไปด้วย
เพราะที่ผ่านมาฉันแทบไม่เคยใส่ใจรับรู้
คงเป็นเพราะชีวิตวุ่นวายสับสนเกินไป
อีกอย่างหนึ่งที่ฉันรู้สึกดีกับตัวเองมากคือ
การได้รับฟังเสียงความทุกข์ภายในจากคนรู้จักหลายคน
ที่หาใครปรับทุกข์ไม่ได้
เขาก็เลือกฉันนี่แหละ คงคิดว่าฉันปลงตกกับชีวิตได้
แต่ฉันว่าเป็นเพราะใจมันเปิดกว้าง
พร้อมที่จะรับฟังเรื่องราวได้มากขึ้นต่างหาก
ฉันไม่ได้ให้ข้อคิดกับเขามากมายหรอก
เพียงแค่รับฟังและให้กำลังใจเล็กน้อยเท่านั้น
รอยยิ้มน้อยๆ ของเขาที่บ่งบอกถึงความรู้สึกดีเป็นสิ่งตอบแทน
ที่ทำให้ฉันมีความสุขในอีกด้านหนึ่ง
ซึ่งแม้ว่าฉันจะไม่มีความสามารถอื่นใดมากมาย
เพียงเป็นส่วนหนึ่งของความสุขผู้อื่นฉันก็พอใจแล้ว
เสียงที่สอง ฉันกับเพื่อนที่อยู่ห้องดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ได้เห็นมาตลอดว่า ความทุกข์ทรมานจากความตายนั้นมีมากมายเหลือเกิน
แต่ทุกวันนี้ทำไมทั้งในบ้านเราและที่อื่นกลับเต็มไปด้วยการใช้ความรุนแรง
เข่นฆ่ากันมากขนาดนี้
ทำเหมือนกับความตายของคนไม่มีความหมายอะไร
เหตุการณ์การใช้ความรุนแรงต่างๆ ในขณะนี้
มันช่วยกระตุ้นเตือนให้พวกเราที่ทำงานใกล้ชิดกับความตาย
ได้ตระหนักมากขึ้นว่า จะพยายามหลีกเลี่ยงการเป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรง
หากเป็นไปได้อยากจะร่วมมือเพื่อหยุดยั้งการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
อาจเริ่มที่การใคร่ครวญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมีวิจารณญาณ
จะได้ไม่ตกไปสู่หลุมพรางของความรุนแรง
และอยากให้ช่วยกันสะกิดเตือนกันให้ใจกว้างต่อความแตกต่างหลากหลาย
ที่แม้เขาจะคิดและเป็นไม่เหมือนคนส่วนใหญ่
และช่วยกันสนับสนุนทางเลือกออกจากปัญหาต่างๆด้วยสันติวิธี
เสียงสุดท้าย การร่วมเผชิญความตายของคนที่เรารักหรือผูกพันใกล้ชิดนั้น
เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยให้เราฉุกคิดและทบทวนย่างก้าวของชีวิตที่เหลืออยู่ว่า
ชีวิตที่มีคุณค่าความหมายที่ดีงามควรเป็นอย่างไร
และเราจะใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทได้อย่างไร
เราจำต้องเตือนสติตัวเองอยู่เสมอว่าชีวิตนั้น
อีกไม่นานก็ต้องกลับคืนสู่ธรรมชาติ
ดังนั้นหากมีกิจสิ่งใดที่จะนำไปสู่ความสุขกายสบายใจ
เราจะไม่ผัดผ่อนแต่จะขวนขวายทำไปอย่างต่อเนื่อง
แม้จะทำได้ทีละเล็กทีละน้อยก็ตาม
โดยเฉพาะการฝึกฝนเพื่อเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณ
ด้วยการหมั่นทำจิตใจให้สงบตั้งมั่น จะเป็นการทำสมาธิแบบไหนก็ได้
ที่เหมาะสมกับเรา รวมถึงฝึกฝนจิตใจให้คลายจากความรู้สึกว่ามีตัวเรา
มีของของเรา ซึ่งใจที่รู้สึกยึดมั่นถือมั่นนี้มีอยู่ในทุกเรื่อง
ทั้งในเรื่องทรัพย์สินเงินทอง อาชีพการงาน ครอบครัว
คุณงามความดี หรือแม้แต่ยึดตัวเองไว้
ดังนั้นชีวิตที่เหลืออยู่หากได้ฝึกคลายความยึดมั่นไปทีละเล็กละน้อย
ก็เท่ากับเราเริ่มเตรียมตัวที่จะเผชิญความตาย
ด้วยใจที่สงบแล้ว เพราะเมื่อเวลานั้นมาถึง
เราย่อมพร้อมมากขึ้นในการเผชิญความจริงชีวิตที่เราเคยหวาดกลัวกันมาตลอด
http://budnet.info/alive/alive_exper/ex01.htm
สายลม
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
ตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2005, 2:32 pm
สาธุ ๆ ๆ
เป็นบทความที่ดีมากครับ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th