Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
เจ้าคณะอำเภอซีอีโอ พระครูวรคุณประยุต เจ้าอาวาสวัดพิพัฒน์มงคล
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769
ตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:33 pm
เจ้าคณะอำเภอ ซีอีโอ
พระครูวรคุณประยุต เจ้าอาวาสวัดพิพัฒน์มงคล
เมื่อพูดถึง
ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ
ส่วนใหญ่เราจะนึกถึงภาพพระแก่ๆ ซึ่งไม่ค่อยจะทำงานด้านปกครองสมกับตำแหน่งที่ได้รับมากนัก บางรูปไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าหน้าที่ที่แท้จริงมีอะไรบ้าง ยิ่งเป็นวัดในต่างจังหวัดแล้ว บริเวณวัดคงรกด้วยต้นหญ้าใบไม้ ขี้หมาเกลื่อนวัด ยิ่งถ้ามีธุระต้องใช้ห้องน้ำ ก็ไม่ต้องพูดถึง แต่ก็มีวัดอยู่จำนวนไม่น้อยที่พัฒนาปรับปรุง รักษาความสะอาดได้ดีมาก หนึ่งในจำนวนวัดที่ต้องพูดถึงคือ
วัดพิพัฒน์มงคล ต.ทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ซึ่งมีพระครูวรคุณประยุต (พระอาจารย์พิพัฒน์มงคล คุณยุตฺโต) เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะอำเภอทุ่งเสลี่ยม
โดยท่านมีนโยบายในการบริหารจัดการวัดที่ว่า
เจ้าอาวาส หรือเจ้าสำนักที่พักสงฆ์ จำต้องมีสภาวะเป็นผู้นำที่สูงส่ง เสียสละเป็นเบื้องต้น วัดจึงจะพัฒนาไปได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว เจ้าอาวาส หรือเจ้าสำนักที่พักสงฆ์ จะต้องเป็นพระ ของชาวบ้าน จริงๆ เป็นที่พึ่งพิง ทั้งในทางโลกและทางธรรม เป็นผู้นำจิตวิญญาณ เข้ากับชาวบ้านได้ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างวัดกับบ้านได้ สร้างศรัทธาให้ชาวบ้าน เพราะถ้าหากชาวบ้านเกิดศรัทธาแล้วจะทำสิ่งใดก็จะง่ายขึ้น
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล้าพูดอย่างเต็มปากว่า อาตมาเป็นเจ้าคณะอำเภอ ซีอีโอ ส่วนจะเป็นอย่างที่ท่านกล่าวไว้หรือไม่นั้น ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์แบบ คม ชัด ลึก
ทำไมหลวงพ่อจึงบอกว่าเป็นเจ้าคณะอำเภอ ซีอีโอ ครับ ?
- ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อาตมาได้สร้าง พัฒนาวัด รวมทั้งจัดฝึกอบรมปฏิบัติธรรมให้กับญาติโยมเรื่อยมา จนได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติมากมาย เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอ จึงมีความคิดว่าทำอย่างไรให้วัดต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองยึดหลักการปฏิบัติตาม อาตมาจึงเขียนวิสัยทัศน์ออกมาแจกจ่ายให้พุทธศาสนิกชน และพระที่อยู่ใต้ปกครอง
ท่านได้ทำอะไรไปแล้วบ้างครับ ?
- เมื่อได้รับตำแหน่งแล้วก็เรียกปกระชุมแจกแจงนโยบาย จากนั้นก็ออกไปเยี่ยมเยียนวัดต่างๆ ซึ่งได้ตั้งเป้าว่าภายใน ๓ เดือน ต้องไปให้ครบทุกวัด โดยไปมอบนโยบายพร้อมทั้งคำชี้แนะเรื่องการปรับปรุงพัฒนาวัดเพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมอย่าแท้จริง
วัดส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายของท่านหรือเปล่าครับ ?
- ยิ่งกว่าเห็นด้วยอีก โดยเฉพาะนโยบายจัดให้มีการส่งเสริมพัฒนาบริเวณวัด จัดสวนหย่อม พัฒนาพื้นที่ให้เหมาะสม เป็นที่เจริญศรัทธาต่อผู้เข้ามาทำบุญ ทั้งนี้ต้องทำโครงการมายังอาตมาเพื่อสนับสนุนในการพัฒนา และมีการประกวดมอบรางวัล เพื่อเป็นกำลังใจสำหรับวัดที่พัฒนาสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย
อีกหน่อยวัดในทุ่งเสลี่ยมก็จะสวยงามเหมือนวัดท่านสิครับ ?
- ถ้าทำตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของอาตมาก็น่าสวยงามเหมือนกันหมด และอาตมาก็เชื่อว่าทำได้ เพราะอาตมาเป็นคนจี้และคอยติดตามงาน นโยบายที่เร่งด่วนของอาตมาในขณะนี้คือ
(๑) กระจายอำนาจไปสู่บุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ทั่วถึง สามารถตรวจสอบความโปร่งใสได้ทุกกรณี (๒) จัดการบริการแก่พระสังฆาธิการ ในกรณีที่จำเป็นต้องการใช้พาหนะ (๓) ไม่มีการเรี่ยไรเงิน หากมีการขอความร่วมมือจากหน่วยงานหรือคณะสงฆ์ในกรณีที่ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (๔) จัดตั้งกองทุนพระสังฆาธิการ
มีนโยบายอะไรเร่งด่วนบ้างครับ ?
- ตอนนี้นโยบายสวนหย่อมออกมาแล้ว โดยให้แต่ละวัดเขียนโครงการมาของบประมาณไม่เกินวัดละ ๕,๐๐๐ บาท ถ้าพัฒนาปรับปรุงของเก่าให้ดูดีคงพอ แต่ถ้าสร้างใหม่วัดต้องหาเงินที่อื่นมาสนับสนุนด้วย ซึ่งตั้งใจว่าปีนี้น่าจะทำได้ ๒๐ วัด ส่วนที่เหลือก็จะทำในปีต่อๆ ไป
แล้วนโยบายเรื่องความสะอาดของวัดเป็นอย่างไรครับ ?
- จริงๆ แล้วเรื่องความสะอาดของวัดเป็นสิ่งที่เจ้าอาวาสต้องให้ความสำคัญอันดับต้นๆ ความสะอาดของวัดไม่ต้องใช้ปัจจัย เพียงแต่พระลูกวัดช่วยกันปัดกวาดเช็ดถูก็เพียงพอแล้ว ซึ่งขณะนี้มีเพียง ๓ วัด จาก ๔๐ วัด ที่จัดได้ว่ามีความสะอาดเป็นที่น่าพอใจ
นโยบายทั้งหมดมาจากไหนครับ ?
- วัดพิพัฒน์มงคล เป็นวัดนำร่องของจังหวัด ซึ่งพระชั้นผู้ใหญ่ที่เหนือกว่าอยากให้วัดทั้งจังหวัดใช้แบบอย่างวัดของอาตมา โดยเฉพาะในส่วนของความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งต้องมีการไปตรวจก่อนหลังจากนั้นก็มีการดำเนินการ
หลวงพ่อวางเป้าหมายไว้ขนาดไหนครับ ?
- ตั้งใจว่าแต่ละตำบลต้องมีวัดพัฒนาตัวอย่าง ๑ วัด ซึ่งอาจจะเรียกว่า หนึ่งตำบล หนึ่งวัด คล้ายๆ กับหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอท็อป) โดยใช้คำย่อว่า โอท็อป ซึ่งหมายถึง หนึ่งตำบล หนึ่งวัด เน้นที่ความสะอาด เป็นระเบียบเรียบง่าย ประหยัดได้ประโยชน์
ทราบว่าท่านสร้างวัดโดยไม่ได้สร้างวัตถุมงคลเลยใช่หรือเปล่าครับ ?
- การสร้างวัด พัฒนาวัดไม่จำเป็นต้องหาเงินจากการสร้างวัตถุมงคลให้ญาติโยมเช่าบูชา สิ่งที่จะดึงดูดศรัทธาของญาติโยมประการแรก คือ ความสะอาด ซึ่งเป็นที่มาของความศรัทธา จากนั้นลาภสักการะก็ตามมาเอง ไม่ต้องแจกซองผ้าป่า เรี่ยไรมากถ้าต้องการใช้ปัจจัยจำนวนมากๆ วัดต้องสร้างจุดขายขึ้นมา
ประการแรกพระสงฆ์ต้องสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นก่อน อาตมาสร้างวัดแห่งนี้โดยอาศัยพลังศรัทธาล้วนๆ อาศัยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นหลัก ส่วนญาติโยมจะมองเห็นหรือไม่นั้นเป็นเรื่องของญาติโยม อย่าหวังว่าโยมที่เข้าวัดร้อยคนจะศรัทธาทั้งร้อยคน ศรัทธาเพียงครึ่งหนึ่งก็ถือว่าดีมากแล้ว จากนั้นค่อยพึ่งการสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล
วัดนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไรครับ ?
- เริ่มมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ นี้เอง เดิมทีเป็นที่รกร้าง จากนั้นก็มาสร้างเป็นที่พักสงฆ์ก่อน ปีถัดมา (พ.ศ. ๒๕๒๗) ก็สร้างเป็นวัด แต่ได้นิมนต์พระซึ่งเป็นเพื่อนกันมาเป็นเจ้าอาวาส (พระครูพิพิธธรรมมงคล) ส่วนตัวอาตมานั้นเป็นเพียงพระลูกวัดเท่านั้น แต่มีคนรู้จักมากกว่าในฐานะผู้บุกเบิกและสร้างวัด จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้เป็นเจ้าอาวาส ขณะเดียวกันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอทุ่งเสลี่ยม เมื่อดือนกุมภาพันธ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗
ตอนก่อนสร้างวัดท่านคิดอะไรหรือเปล่าครับ ?
- ตอนนั้นอาตมาก็มีวัดในฝัน คือ สะอาด ร่มรื่น สงบ และเจริญหูเจริญตา จากนั้นก็เริ่มสร้าง เริ่มพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน เดิมทีนั้นอาตมาได้มาพักปักกลดเพื่อทำสมาธิ ระหว่างนี้เองเกิดนิมิตเห็นเจ้าที่ โดยบอกว่าให้มาสร้างวัดที่นี่เพื่อปลดปล่อยวิญญาณซึ่งทำหน้าที่ปกป้องรักษาป่าพืนนี้มาเป็นเวลากว่า ๖๐๐ ปีแล้ว เจ้าที่สององค์นั้นมีนามว่า "ขุนงามเมือง และขุนเรืองอำนาจ" ซึ่งเป็นทหารคู่บารมีของพ่อขุนรามคำแหง
อาตมาก็ย้อนถามไปว่า จะสร้างได้อย่างไร เจ้าที่ทั้งสองก็ตอบว่า เพียงแต่ท่านรับปากก็จะมีคนมาช่วยสร้างวัดเอง คนที่จะมาช่วยสร้างวัดนั้นก็จะเป็นบริวารเก่า โดยไม่ต้องไปเรี่ยไร ถึงเวลาเขาก็จะมาช่วยทำช่วยสร้างเอง พร้อมกับบอกด้วยว่าห่างจากนี้ไป ๖ กิโลเมตร จะมีกำแพงเมืองเก่าปรากฏอยู่ และก็มีอยู่จริงๆ
หลังจากนั้นหลวงพ่อทำอะไรต่อครับ ?
- อาตมาก็ลงมือถางป่าด้วยมือตัวเอง ต่อมาก็มีชาวบ้านมาช่วยโดยสร้างเป็นเพิงหมาแหงน เดิมทีนั้นมีพื้นที่เพียง ๑๑ ไร่เท่านั้น ซึ่งเป็นหัวไร่ปลายนาของชาวบ้าน ไม่มีเอกสารสิทธิ ต่อมามีชาวบ้านถวายที่ดินเพิ่มขึ้นตามลำดับเพื่อให้เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม ขณะเดียวกันก็มีการสร้างศาสนสถาน หลังจากสร้างวัดได้ประมาณ ๖ ปี ก็ซื้อที่ดินจากชาวบ้านเพิ่ม โดยชาวบ้านมีจิตศรัทธาในลักษณะซื้อครึ่งถวายครึ่ง จนปัจจุบันนี้มีพื้นที่ ๙๙ ไร่
ท่านมีอะไรฝากถึงวัดอื่นๆ บ้างหรือเปล่าครับ ?
- ประการแรก วัดต้องสะอาด สวยงาม และร่มรื่น ส่วนพระต้องปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก่อนที่จะเป็นผู้รับต้องเป็นผู้ให้ก่อน เมื่อญาติโยมเข้ามาหาพระแสดงว่าเขาต้องการพระเป็นที่พึ่ง พระก็ควรเป็นที่พึ่งจริงๆ คือให้ธรรมะและให้กำลังใจ มีเมตตาจิต เมตตาธรรมกับทุกคนที่เข้ามาหา
หลวงพ่อกลัวตายหรือเปล่าครับ ?
- ความตายเป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิต ระหว่างการดำเนินไปของชีวิตอาจจะแตกต่างกันออกไป แต่สุดท้ายแล้วทุกคนก็ต้องตายเหมือนกัน ตายนั้นต้องตายแน่ๆ ขึ้นอยู่ว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองอาตมาจึงเตรียมพร้อมที่จะเดินสู่ความตายตลอดเวลา
ที่ว่าเตรียมพร้อมรับความตายนั้นหมายความว่าอย่างไรครับ ?
- แม้ว่าทุกสิ่งจะเปลี่ยนไปตามเวลาที่ผันแปร แต่ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ที่ผ่านมาเมื่อพระเกจิหรือเจ้าอาวาสวัดหนึ่งวัดใดมรณภาพลง วัดที่เคยมีความรุ่งเรืองทั้งศาสนสถานและการปฏิบัติธรรม ดังนั้นอาตมาจึงหาเงินตั้งมูลนิธิขึ้นมา โดยนำดอกผลมาดูแลรักษาวัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพราะอาตมาไม่อยากให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอย่างกับวัดหลายแห่งในภาคเหนือ เมื่อพระเกจิมรณภาพทุกอย่างก็ตายตามท่านไปด้วย
วิสัยทัศน์ของหลวงพ่อพิพัฒน์
การบริหารจัดการจะดำเนินการให้แต่ละวัดมีศักยภาพช่วยเหลือตัวเองได้ ส่งเสริมในสิ่งที่ควรส่งเสริม ไม่มีการรวมอำนาจ การบริหารไว้ ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง การบริหารโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกกรณี หากผู้ใดมีความสงสัยในกิจอันใดก็สามารถสอบถาม หรือตั้งประเด็นคำถามได้ พระภิกษุ เจ้าคณะ พระสังฆาธิการรูปใดมีผลงาน สมควรแก่การ ยกย่องสรรเสริญ จะได้รับการยกย่องไม่ปิดกั้น ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก ทุกท่านเป็นผู้ควรแก่การเคารพสักการะ และพร้อมเสียสละ เพื่อพระศาสนาทุกท่าน
๑. จัดตั้งทำเนียบวัด สำนักสงฆ์ ทำเนียบ พระสังฆาธิการของอำเภอทุ่งเสลี่ยม และจัดทำเป็นรูปเล่มแจกเจ้าคณะพระสังฆาธิการ เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานในการค้นหาสะดวกในการใช้
๒. ที่พักสงฆ์ หรือสำนักสงฆ์ที่ยังไม่ได้รับการยกเป็นวัด จำต้องรีบ ดำเนินการให้ โดยขอทราบรายละเอียดว่าติดขัดตรงไหน หลังจากการ ประชุมประจำเดือนครั้งแรก จะรีบดำเนินการ ให้โดยให้เจ้าสำนัก หรือคณะกรรมการ วัดประสานงานทางเจ้าคณะอำเภอ
๓. จัดตั้งกองทุนกุศลนิธิพระสังฆาธิการ โดยวัดพิพัฒน์มงคล ถวายปัจจัยเป็น กองทุนครั้งแรก ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) และ ๑๐,๐๐๐ (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เป็น ๒ กองทุน
๔. จะร่วมกันแก้ไขปัญหา กรณีวัด หรือสำนักสงฆ์ที่มีปัญหาระหว่างวัดกับชาวบ้าน หรือกิจการของสถานที่นั้น ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ให้ได้รับข้อมูลตกลงและการยอมรับทุกฝ่าย
๕. วัดใดจะจัดทำหนึ่งวัด หนึ่งตำบล เช่นปรับปรุงพัฒนาหน้าวัด จัดสวนสมุนไพร สวนหย่อม ให้จัดทำโครงการเสนอมาที่วัดพิพัฒน์มงคล โดยทางวัดจะมอบทุนในการจัดทำเบื้องต้นวัดละ ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน) และทำแผนผัง จัดบอร์ด แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ ติดรูปคณะผู้บริหารวัด เพื่อให้ชัดเจนในการบริหารงาน และความเรียบร้อยในการทำงานร่วมกัน
๖. เจ้าคณะอำเภอจะออกตรวจเยี่ยมทุกวัดในเขตปกครอง เพื่อรับทราบปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการพัฒนาของวัด และผู้บริหารของวัด ภายในระยะเวลา ๓ เดือน
ชาติภูมิหลวงพ่อพิพัฒน์
พระครูวรคุณประยุต (พระอาจารย์พิพัฒน์มงคล) มีนามเดิมว่า พิพัฒน์ ฉายา คุณยุตฺโต เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๑ ณ จังหวัดเชียงใหม่ บรรพชาเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยมีพระครูบุญศรี สีลวิสุทฺโธ วัดทุ่งตม เป็นพระอุปัชฌาย์
ปี ๒๕๑๖ ออกมาศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ จ.ลำพูน วัดพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง วัดหนองเจดีย์
ปี ๒๕๑๙ ได้มาศึกษาต่อมัธยมที่วัดศรีบุญยืน จบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เรียนต่อบาลีที่วัดพระธาตุหิริภุญไชย ศึกษาบาลีไวยากรณ์ ๓ ปี บรรพชาเป็นสามเณร ๘ ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดพระดงฤาษี อ.เมือง จ.ลำพูน โดยท่านเจ้าคุณพระราชสุตาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดลำพูน (สมัยนั้น) วัดจามเทวี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูโสภณธีรคุณ (ปัจจุบันเป็นพระเทพญาณเวที รองเจ้าคณะภาค ๗) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสาทสุตานุคม (ปัจจุบันเป็นพระราชมหาเจติยาบาล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า คุณยุตฺโต
ปี ๒๕๒๒-๒๔๒๖ ออกปฏิบัติธรรมทั้ง ๔ ภาค
ปี ๒๕๒๖ ได้รับอาราธนาสร้างวัดในปัจจุบันนี้ จำนวนเนื้อที่ ๙๙ ไร่
ปี ๒๕๒๗ ได้รับอนุญาตสร้างวัด ปี ๒๕๒๘ ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดในนามว่า วัดพิพัฒน์มงคล และได้รักษาการเจ้าอาวาสรูปแรก
ปี ๒๕๓๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพิพัฒน์มงคล รูปที่ ๒
สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ปี ๒๕๔๐ ได้เข้ารับพระราชทานเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สาขาสงเคราะห์ประชาชน และเข้ารับพระราชทานโล่วัดพัฒนาตัวอย่างจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร
ปี ๒๕๔๑ ได้เข้ารับเกียรติบัตรอุทยานการศึกษาในวัด จากพระหัตถ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร
ปี ๒๕๔๒ ได้รับเกียรติบัตรวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่นจาก สมเด็จพระพุฒาจารย์ และในปีเดียวกันได้รับพระราชทานตั้งเป็นวัดปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติครบรอบ ๗๒ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
ปี ๒๕๔๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรในราชทินนามที่ พระครูวรคุณประยุต
ผลงานที่มีต่อสังคมและบ้านเมือง
- ได้รับเกียรติบัตรจากสภาวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย ในฐานะบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม
- ได้รับโล่ส่งเสริมการศึกษาของชาติระดับอำเภอ ๒๐ โล่ ระดับจังหวัด ๓ โล่
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก - 12/05/2547
_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th