Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
กรรมของพระพุทธเจ้าสมณโคดม
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
กฎแห่งกรรม
ผู้ตั้ง
ข้อความ
poivang
บัวตูม
เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
ตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2005, 6:29 pm
กรรมของพระพุทธเจ้าสมณโคดม
พระพุทธเจ้าของเราทรงเผยพระประวัติกรรมและผลของกรรมของพระองค์ กับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ขณะประทับเหนือพระศิลาอันน่ารื่นรมย์ใกล้สระอโนดาด ทรงกล่าวว่าครั้งหนึ่ง เห็นภิกษุผู้อยู่ป่ารูปหนึ่งจึงได้ถวายผ้าท่อนเก่า โดยตั้งปารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ผลแห่งกรรมอันเนื่องด้วยผ้าท่อนเก่านั้น ได้สำเร็จในความเป็นพระพุทธเจ้า
ครั้งหนึ่งเคยเป็นนายโคบาล ต้อนแม่โคไปสู่ที่หากิน เห็นแม่โคดื่มน้ำขุ่นจึงห้ามไว้ ด้วยผลแห่งกรรมนั้นในภพสุดท้ายนี้ พระองค์กระหายน้ำ จึงไม่ได้ดื่มตามต้องการ เพราะเคยให้พระอานนท์ไปตักน้ำมาถวาย พระอานนท์ไปแล้วไม่ตักมาบอกว่าน้ำขุ่น ต้องตรัสย้ำให้ไปตักใหม่เป็นครั้งที่สอง จึงได้น้ำใสกลับมาเพราะน้ำขุ่นนั้นกลับใส
ชาติหนึ่งเคยเป็นนักเลงชื่อปุนาลี ได้กล่าวใส่ความพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าสุรภิผู้มิได้ประทุษร้าย ด้วยผลแห่งกรรมนั้นต้องไปท่องนรกสิ้นกาลนาน เสวยทุกขเวทนาสิ้นพันปี ด้วยกรรมที่เหลือในภพสุดท้ายก็ถูกใส่ความ เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา ซึ่งเป็นนักบวชหญิงถูกพวกเดียรถีย์ใช้ให้ทำเป็นไปค้างคืนกับพระสมณโคดม ให้ใครต่อใครหลงผิดทั้งที่นางค้างที่อื่น แต่รุ่งเช้าก็ทำท่าโผเผมาจากเชตวนาราม อีกสองสามวันที่มีคนโจษจันกัน พวกเดียรถีย์ก็จ้างนักเลงไปฆ่านาง ป้ายความผิดว่านางถูกฆ่าปิดปาก คนสงสัยว่าอาจจะจริง ร้อนถึงพระราชาส่งราชบุรุษไปสืบดูตามร้านสุรา ก็จับนักเลงที่ฆ่ากับเดียรถีย์ที่จ้างฆ่ามาลงโทษทั้งหมด
อีกชาติหนึ่งเป็นพราหมณ์ผู้มีความรู้ มีผู้เคารพสักการะ สอนมนต์แก่มานพ 500 ได้ใส่ความภีมฤษีผู้มีอภิญญา มีฤทธิ์มาก หาว่าฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม มานพทั้งหลายก็พลอยชื่นชม เมื่อไปภิกขาจารในสกุลก็เที่ยวกล่าวแก่มหาชนว่าฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม ผลของกรรมนั้นภิกษุ 500 เหล่านี้ทั้งหมดก็พลอยถูกใส่ความด้วย เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกาทีถูกนักเลงฆ่าป้ายความผิดให้พระพุทธองค์ ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในเชตวนาราม พลอยถูกหาว่าร่วมกันฆ่าปิดปากนางสุนทริกา และถูกด่าว่า กระทั่งพระราชาจับนักเลงและเดียรถีย์ที่ร่วมกันฆ่านาง จึงสงบ
อีกชาติหนึ่งไปกล่าวใส่ความพระสาวกของพระสัพพาภิภูพุทธเจ้า มีนามว่านันทะ จึงต้องท่องไปในนรกหลายหมื่นปี เมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ถูกใส่ความมาก และด้วยกรรมที่เหลือ ชาติสุดท้ายนี้จึงถูกนางจิณจมาณวิกา ใส่ความว่าพระองค์ทำให้นางตั้งครรภ์
ชาติหนึ่งเคยฆ่าน้องชายต่างมารดาเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ผลักลงในซอกเขา เอาหินทุ่ม ด้วยผลแห่งกรรมนั้นจึงถูกพระเทวทัตเอาหินทุ่มที่เขาคิชกูฏ จนสะเก็ดหินกระเด็นถูกหัวแม่เท้า ห้อพระโลหิตในชาติสุดท้าย
อีกชาติหนึ่งเป็นเด็กเล่นอยู่ในทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเผาสิ่งต่างๆ ขวางทางไว้ ผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายจึงถูกพระเทวทัตส่งคนตามล่า
ชาติหนึ่งเป็นนายควาญช้าง ไสช้างไล่กวดพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ผลแห่งกรรมนั้น ชาติสุดท้ายถูกช้างนาฬาคิรีดุร้ายเมามัน วิ่งเข้ามาเพื่อทำร้ายในนครอันประเสริฐมีภูเขาเป็นคอกคือกรุงราชคฤห์ ซึ่งมีภูเขาห้าลูกแวดล้อม
อีกชาติหนึ่งเป็นพระราชา เป็นหัวหน้าทหารเดินเท้า ฆ่าบุรุษหลายคนด้วยหอก ผลแห่งกรรมนั้นต้องหมกไหม้อย่างหนักในนรก ด้วยผลที่เหลือแห่งกรรมนั้น ในชาติสุดท้าย สะเก็ดแผลที่เท้ากลับกำเริบ กรรมยังไม่หมด
ชาติหนึ่งเคยเป็นเด็กชาวประมง ในหมู่บ้านชาวประมง เห็นชาวประมงฆ่าปลาก็มีความชื่นชม ด้วยผลของกรรมนั้นจึงเกิดเจ็บที่ศรีษะ ในขณะที่วิทูฑภะฆ่าพวกศากยะในกรุงกบิลพัสด์
อีกชาติหนึ่งเคยเป็นบริภาษพระสาวกในพระธรรมวินัยของพระผุสสพุทธเจ้า ว่าท่านจงเคี้ยว จงกินข้าวเหนียวเถิด อย่ากินข้าวสาลีเลย ผลแห่งกรรมนั้นในชาติสุดท้ายนี้ ต้องบริโภคข้าวเหนียวอยู่สามเดือน เมื่อพราหมณ์นิมนต์ไปอยู่เมืองเนรัญชา แล้วลืมถวายอาหาร ได้อาศัยพ่อค้ามาถวายข้าวเหนียวแดงที่มีไว้ให้ม้ากิน
ชาติหนึ่งสมัยที่ไม่มีพระพุทธเจ้า เคยทำร้ายบุตรนักมวยปล้ำ ด้วยผลแห่งกรรมนั้นจึงเจ็บที่หลังเรื่อย ชาติหนึ่งเคยเป็นหมอ แกล้งให้ยาถ่ายแก่บุตรเศรษฐี เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถึงแก่ชีวิต ผลแห่งกรรมนั้น ในชาติสุดท้ายนี้ จึงเป็นโรคปักขันทิกะลงพระโลหิต
อีกชาติหนึ่งได้ชื่อว่า โชติปาละ เคยกล่าวกับพระสุคตพระนามกัสสปะว่า การตรัสรู้เป็นของได้โดยยาก ท่านจะได้จากควงไม้โพธิ์ที่ไหนกัน ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ในชาติสุดท้ายนี้ต้องบำเพ็ญทุกกรกริยาเป็นอันมาก สิ้นเวลาถึงหกปี ต่อจากนั้นจึงได้บรรลุการตรัสรู้
เรามิได้บรรลุการตรัสรู้โดยทางนั้น ได้แสวงหาโดยทางที่ผิด เพราะถูกกรรมเก่าทวงเอา พระองค์ทรงหมายถึง มิได้ปฏิบัติธรรมบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในทันทีเลย ต้องไปหลงผิดปฏิบัติทางอื่นอยู่หกปี อดอาหารจนแทบสิ้นชีวิตเมื่อบำเพ็ญทุกกรกริยา เปลี่ยนมาฉันอาหารอีก ทำให้ปัญจวัคคีย์โกรธเลิกนับถือหาว่าไม่มั่นคง แต่ภายหลังเมื่อพระองค์ทรงปฏิบัติถูกทางจนบรรลุธรรม ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วจึงไปโปรดปัญจวัคคีย์ ให้หายโกรธ หายเข้าใจผิด พระพุทธองค์ทรงสรุปการแสดงกรรมอันเกิดจากอดีตชาติทั้งหลายดังกล่าว เราสิ้นบุญและบาปแล้ว เว้นแล้วจากความเดือดร้อนทั้งปวง ไม่มีความโศก ไม่มีความคับแค้นปราศจากอาสวะ จักปรินิพพาน
กรรมและผลของกรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้ประจักษ์ มีเนื้อหาให้เห็นว่า กรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก แม้แค่แสดงความชื่นชมกับผู้หลงผิดคิดผิด ยังต้องรับกรรมเช่นภิกษุห้าร้อยรูป ที่พลอยรับกรรมถูกตำหนิด่าว่าเป็นผู้ร่วมกันฆ่านางสุนทริกาเพื่อปิดปาก ไปกล่าวร้ายพระพุทธเจ้าว่าเสพกามกับนาง ซึ่งมาจากกรรมสมัยมานพห้าร้อยคน สมัยพระองค์เป็นพราหมณ์สอน โดยชื่นชมกับคำกล่าวหาใส่ความของพราหมณ์อาจารย์ที่ว่าฤษีบริโภคกาม
หรือสมัยพระพุทธองค์เป็นเด็กชาวประมง ชื่นชมกับชาวประมงที่ฆ่าปลา ยังรับกรรมเจ็บที่ศีรษะเป็นต้น
การที่เราได้รับรู้เรื่องกรรมเก่า ไม่ว่าจะเป็นอดีตชาติหรือชาติปัจจุบันก็ตาม มีผลทำให้เราเข้าใจในเรื่องเหตุและผลของกรรม ที่ส่งผลมาเป็นปัจจุบัน แม่ชีท่านได้อภิญญามีเจตนาดี
สงสารผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องของกรรม และกำลังได้รับผลของกรรมนั้นซึ่งเป็นทุกข์อยู่ให้เข้าใจเหตุแห่งความทุกข์นั้นมาจากไหนจะได้ไม่กระทำการซึ่งก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นอีก
การแจกแจงเรื่องของวิบากกรรมนั้นให้รับรู้จะได้เตือนและสอนให้รู้ว่า ทุกอย่างมีเหตุและมีผล ทำอไรก็ได้อย่างนั้น เหตุปลูกข้าวส่งผลให้ได้ข้าว เหตุปลูกมะม่วงส่งผลให้ได้มะม่วง เหตุหยิกมือตัวเอง ส่งผลก็เจ็บเองมีรอยแดง รอยเจ็บ
ช่องทางที่ใช้ก่อกรรม ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กรรมที่สร้างทาง กาย วาจา ใจ บางทีเราก็ค่อนข้างมองข้ามกรรมทางมโนกรรมไป เช่นชอบตำหนิ มองคนอื่นในแง่ลบในแง่ร้าย นินทาในใจ อิจฉาริษยา ใส่ร้ายป้ายสีในใจ มีอคติ เข้าใจผู้อื่นผิด เป็นต้น แม้ว่าจะคิดอยู่ในใจเพียงลำพังก็ตาม ไม่ได้ไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ได้ทำให้ผู้อื่นรู้เห็นเพราะมันอยู่ในใจ ไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดชักดิ้นชักงอต่อหน้าต่อตาก็ตาม แต่นั่นก็เป็นการสร้างกรรมทางใจ เป็นตราบาปเก็บไว้ในใจของเราเอง
สิ่งเหล่านี้เราอาจคิดว่าไม่ได้เป็นกรรมอะไรมากมายนักหนาคงไม่มีผลอะไร เพราะเพียงแค่คิดไม่ได้ลงมือกระทำ หรือบางคนอาจคิดว่าไม่เป็นกรรมด้วยซ้ำไป เพราะเข้าใจว่ากรรมนั้นจะต้องกระทำด้วยกายหรือวาจา ส่วนกรรมทางใจนั้นมีผลน้อย แต่จริงๆแล้วกรรมทางใจนั้น มีผลร้ายแรงไม่แพ้กรรมทางกายกับทางวาจาเลยทีเดียว โดยเฉพาะถ้าได้ทำกับผู้ที่มีศีลสูง ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อย่างพระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น และผู้มีพระคุณเช่น พ่อแม่ เป็นต้น และเพียงแค่เราเห็นผิดไป เช่น ไปเห็นชอบเข้าข้างคนทำผิด ชื่นชมยินดีกับคนกระทำผิด เป็นต้น ก็ทำให้เรามีส่วนที่จะต้องรับผลของกรรมนั้นไปด้วย ความที่เราไม่รู้เท่าทันการก่อกรรมทางใจนี้จึงมีผลทำให้เกิดวิบากกรรมกับเรา
แต่เมื่อเราได้มีโอกาสรับรู้เช่นนี้แล้ว เราควรต้องระมัดระวัง กาย วาจา ใจ ของเราอย่างมีสติ การฝึกสติจึงมีผลช่วยในเรื่องการมีสติในการระงับยับยั้งการก่อกรรมไม่ดีทาง กาย วาจา ใจ นี้มากทีเดียว
poivang
บัวตูม
เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
ตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2005, 11:45 am
ที่ได้กล่าวถึงแม่ชีที่ได้อภิญญานั้น มาจากกระทู้กระเทาะชีวิตแม่ชีธนพร ผู้หยั่งรู้เกิดแต่กรรม (ต้องขอโทษค่ะ ที่พลาดติดมาในกระทู้นี้ด้วย)
I am
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2005, 7:48 am
สาธุ .. โมทนาด้วยครับ
สายลม
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
ตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2005, 10:17 am
สาธุด้วยครับ
poivang
บัวตูม
เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
ตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2005, 11:20 am
ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมนะค่ะ
katib
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2007
ตอบ: 52
ที่อยู่ (จังหวัด): Bangkok
ตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2007, 10:52 am
แม้ แต่พระพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
จะนับภาษาอะไรกับเราคนธรรมดา
จงทำความดีนับเสียแต่บัดนี้ เถอะค่ะ สาธุๆ
suvitjak
บัวบาน
เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen
ตอบเมื่อ: 27 พ.ค.2008, 4:25 pm
หมั่นทำความดีเข้าไว้ดีที่สุดครับ
_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
บัวหิมะ
บัวเงิน
เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
ตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 5:04 pm
แต่เมื่อเราได้มีโอกาสรับรู้เช่นนี้แล้ว เราควรต้องระมัดระวัง กาย วาจา ใจ ของเราอย่างมีสติ การฝึกสติจึงมีผลช่วยในเรื่องการมีสติในการระงับยับยั้งการก่อกรรมไม่ดีทาง กาย วาจา ใจ นี้มากทีเดียว
โมทนาสาธุ สาธุ
_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
กฎแห่งกรรม
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th