Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การปฏิบัติธรรมตอนที่ 3 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2005, 5:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในสองตอนแรกว่า ก่อนที่เราจะฝึกปฏิบัติธรรมเราควรได้ทำความเข้าใจและควรได้รู้ว่า ความคิดและพฤติกรรมของสิ่งที่มีชีวิตเป็นอย่างไร อีกทั้งยังต้องรู้จักและเข้าใจในเรื่องของธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งทั้งหลายว่าเป็นอย่างไร มีอย่างไร สิ่งเหล่านั้นเป็นญาณ เป็นความรู้อันนับเข้าในวิปัสสนาขั้นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง ผู้ที่สนใจในเรื่องของอภิญญาและการหลุดพ้นจากอาสวะควรได้รู้และทำความเข้าใจเป็นอันดับแรก ซึ่งเมื่อรู้และทำความเข้าใจแล้ว ก็ยังต้องรู้และทำความเข้าใจในเรื่องของการทำสมาธิ เหตุเพราะว่าการที่เราจะทำสิ่งใดเราควรได้รู้และเข้าใจจุดมุ่งหมายของวิธีการเหล่านั้น

การทำสมาธิ เป็นวิธีการปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่ควรได้ฝึกควบคู่ไปพร้อมๆกับการศึกษาหาความรู้และทำความเข้าใจในเรื่องของความคิดและพฤติกรรม อีกทั้งย่อมต้องฝึกควบคู่ไปพร้อมๆกับการศึกษาหาความรู้และทำความเข้าใจในเรื่องของธรรมชาติ ในเรื่องของธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งนั้น ควรได้คิดอย่างละเอียดถี่ถ้วนเหตุเพราะอาจคิดและเข้าใจในทางที่ผิดๆได้ ดังเช่นที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "ธรรมะมิได้มีไว้เพื่อฝืนธรรมชาติ" แต่ให้รู้เท่าทันในธรรมชาติ ในข้อนี้ ควรได้คิดถึงธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งอย่างละเอียด เพราะอาจคิดไปว่า การบวช การกินอาหาร 1 มื้อ หรือ เพียง 2 มื้อ หรือกินอาหารมังสวิรัติ เป็นการฝืนธรรมชาติ หากคิดเยี่ยงนั้นย่อมเป็นการคิดที่ผิดๆ เหตุเพราะในธรรมชาติก็มีการปฏิบัติเยี่ยงนั้นอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นการฝืนธรรมชาติ เพียงแต่ใครหรือบุคคลใดจะมีความคิดความเข้าใจเรียนแบบธรรมชาติก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งนวัตกรรมที่มีอยู่ส่วนใหญ่ก็เรียนแบบธรรมชาติมาทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงได้เขียนตอนที่ 1 ความคิดและพฤติกรรมเพื่อสร้างพื้นฐานให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความคิดเกิดความเข้าใจ รวมไปถึงตอนที่ 2 คือเรื่องของธรรมชาติ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ทดสอบสมองสติปัญญาของตัวเอง ทดสอบความรู้ความเข้าใจของตัวเอง เพราะการคิดพิจารณาเพื่อให้เกิดปรีชาหยั่งรู้หรือเกิดญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา ต้องละเอียด ไม่มีการคิดผิด หากคิดพิจารณาผิดย่อมเกี่ยวโยงสัมพันธ์ไปถึงสภาพอารมณ์และจิตใจ ดังนั้นเขาจึงได้มีเครื่องช่วยควบคุมสภาพอารมณ์และจิตใจมิให้แปรเปลี่ยนหากยามใดเกิดคิดพิจารณาผิดพลาดคือคิดไม่ถูกต้องขึ้นมา นั้นก็คือ การทำสมาธิ

ดังนั้นการทำสมาธิ คือการฝึกควบคุมสภาพอารมณ์และจิตใจ หากจะกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้น การทำสมาธิคือการควบคุมความคิด ความคุมความรู้สึก ไม่ให้อ่อนไหว ควบคุมให้อยู่ในสภาพปกติ เมื่อยามใดได้กระทบหรือสัมผัส หรือเกิดสภาพอารมณ์ จิตใจ ความคิด ความรู้สึก ที่ผิดแผกไปจากปกติวิสัย อันเกิดจากสาเหตุ แห่งการคิดพิจารณาผิดพลาดหรือคิดพิจารณาไม่ถูกต้อง มาถึงตรงนี้หากท่านทั้งหลายได้อ่านและคิดพิจารณาตามคงจะเกิดความรู้ความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ในเรื่องของสมาธิขึ้นบ้าง ส่วนวิธีการฝึกสมาธินั้น ข้าพเจ้าจะเขียนในตอนต่อไป

 
อินเตอร์เน็ตชน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 มิ.ย.2005, 9:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน







^_^ มาโมทนา * * *



"....เพื่อให้ท่านทั้งหลาย ได้ทดสอบสมองสติปัญญาของตัวเอง ทดสอบความรู้ความเข้าใจของตนเอง

เพราะการคิดพิาจาณาเพื่อให้เกิดปรีชาหยั่งรู้หรือเกิดญาณอันนับเข้าในวิปัสนา ต้องละเอียด ไม่มีการคิดผิด หากคิดพิจารณาผิด ย่อมเกี่ยวโยงสัมพันธ์ไปถึงสภาพอารมณ์และจิตใจ"



<<หลักธรรมนี้จับคู่เปรียบอุปมาได้กับ กระจกหกด้าน>>พิจารณาความจริงในสิ่งใดควรใช้ปัญญาของตนเองพิจารณาให้ถูกต้องตามความเป็นจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

เพื่อพัฒนาผู้รู้ในจิต เมื่อพิจารณาได้แล้วต้องตรวจสอบข้อพิจารณานั้นให้รอบคอบด้วยเหตุผลทุกแง่ทุกมุม...เหมือนเมื่อเราไปซื้อกางเกงสักตัวหนึ่งในห้าง

...ในห้องลองจะมีกระจกหกด้านให้ตรวจสอบ ความพอดีโดยรอบ...มีตัวอย่างที่เคยเจอมา คือ ที่วัดใหญ่แห่งหนึ่งแถวชานกทม ด้าน ต.อ.

มีชีพราหมณ์และชีศีรษะโล้นมาบวชตลอดปี จำนวนมาก ชีสองพวกนี้ จะมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง ได้ยินชีศีรษะโล้นจับกลุ่มวิจารณ์ชีพราหมณ์ ต่างๆนานาด้วยความ

ไม่พอใจ ชีโล้นกล่าวขึ้นว่า "จะไปเอาอะไรกับพวกนั้น ยังยึดติดอยู่เลย สู้พวกเราก็ไม่ได้ สละแล้ว ผมยังโกนทิ้งออกจากหัวได้" เราได้ยินอยู่ก็นึกว่า เราเห็นผู้ ญ โกนหัว

กันทั่วไป พวกคนไข้เป็นมะเร็ง หรือพวก ญ ฝรั่ง ทั่วโลก เค้าก็โกนหัวกัน ไม่เห็นเค้าจะยกตนข่มท่านว่า เค้าดีกว่าใคร เค้าไม่ยึดติด สละแล้วซึ่งผมบนหัว

....มองกระจกเพียงด้านเดียว ก็ทำให้หลงได้....



ธรรมะดีๆ อย่างนี้ ย่อมคู่ควรกับเว็ปธรรมะดีดี อย่าง dhammajak.net แห่งนี้ คนดีหายาก เว็ปดีดี อย่างนี้ก็หายาก มีค่ายิ่งนัก





~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~



มีตาก็ดูเอาก็แล้วกันสหายธรรมที่เคารพ ในเว็ปบอร์ดธรรมะ ทั่วๆไป

พวกมันรวมตัวกันเหมือนกำไม้ไผ่ องค์กรเป็นปึกแผ่น แต่ศิษย์วัดอื่นๆ(รวมวัดป่าด้วย) จะมีเครือข่ายดีดีกับเค้ามั่ง ดันถูกแทรกถูกป่วน

ไม่เป็นขบวน พวกพาลบุกเวปบอร์ดและควบคุมทิศทางการสื่อธรรมะในเวบบอร์ดของทุกเวปธรรมะไว้ได้ให้เป็นแบบdinosaur ไดโนเสาเล่นเน็ท



คนมีใจ มีไม่ถึงสิบท่านที่กล้าตอบคำถามแบบผู้รู้ผู้มีปัญญา เป็นสัมมาทิฐิ เต็มใจมีส่วนร่วมในการรักษาพระพุทธศาสนา นอกนั้น โง่กระบือเรียกพี่ เพราะ....

ญ ไม่มีใจ ช ก็เดี้ยง ชาวพุทธะไอที ไม่มีใจที่จะ สนับสนุนกะทู้ ดีดี พระพุทธศาสนา ก็อาจตกต่ำ เริ่มจากในเว้ปนั่นแหละ

พิมพ์ชีทธรรมะพระพุทธองค์ไปเดินแจกฟรีแถวตลาดสีมุมเมือง ได้กุศลเป็นเครดิตที่สวรรค์ต้องบันทืกฉันใด เห็นกะทู้ดีดีความเห็นดีดี ถูกดิสเครดิตอย่างหน้าด้านๆแล้ว

ผู้อ่านไม่นิ่งดูดายส่งความเห็นมาช่วยหนับหนุน ก็ได้กุศล เช่นนั้นไม่น้อยกว่ากันเลย แต่ง่ายกว่า แค่ปลายนิ้วคลิ๊ก ไม่ต้องไปเดินเหนื่อยตามตลาด

เทพแห่งสวรรค์เค้าส่งตากล้องเทวดา มาบันทีกภาพการตอบกระทุ้ธรรมะอย่างกล้าหาญตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือน ของท่านไว้หมดแล้ว ได้เครดิตไปเต็มๆ

พลังเงียบอ่านอย่างเดียว เท่ากับเป็นการนิ่งดูดายทอดธุระ เหล่าพาลก็ฉวยโอกาสทำงานกันอย่างเต็มที่

การปล่อยปละละเลย กับการปล่อยวาง เป็นคนละเรื่อง....การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่สุจริตใจ เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมส่วนรวมแล้ว ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร ก็ปล่อยวางกันไป

เช่นนั้น คือ การปล่อยวาง (ไม่ต้องเข้ามาตอบ ค.ห.นี้ ก.ท .นี้ ก็ได้ เพราะยังไงๆเท่าที่เห็น กระทู้นี้ก็เหมือนกะเป็นแตงเถาตายอยู่แล้ว)



เล่าไปเรื่อยยย ...นะเรา ...แล้วจะมีใครเห็นด้วยมั่งมั๊ยเนี่ย อิ อิๆๆๆ เอิ๊กกก!!
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง