Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ทำไงดีเมื่อพ่อกับแม่ทะเลาะกัน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
แพรวา
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2005, 7:00 pm
พ่อเห็นแก่ตัว ทำอะไรไม่ค่อยคิดถึงคนอื่น ขอให้ตัวเองสุขสบายก็พอ คนอื่นจะเป็นยังไงไม่เคยสนใจ ชอบยุ่งเรื่องคนอื่น ไม่ว่านอกบ้านหรือในบ้าน พูดเหตุผลให้ฟัง ก็หาว่าไปว่า แม่หงุดหงิด อารมณ์เสียกับพ่อทุกวัน แทบจะทั้งวัน เพราะพ่อจะทำให้เป็นเรื่องได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไร้สาระต่างๆ ก็ตามที พูดอะไรไม่เคยฟัง ไม่เคยมีเหตุผลแม่จะมาระบายเรื่องราวต่างๆ ที่พ่อทำให้ฟังเป็นประจำ ทุกครั้งที่เห็นหน้า สงสารแม่มาก แต่ไม่รู้จะช่วยยังไง พยามพูดให้พ่อฟังและมีเหตุผล แต่พ่อไม่เคยยอมฟัง แล้วนี่จะทำยังไงดี ความรู้สืกดีๆ ที่ลูกควรมีให้พ่อมันกำลังจะเปลี่ยน ไม่อยากเป็นบาปเลย รักแม่มาก
สายลม
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
ตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2005, 9:36 pm
วิธีดับทุกข์ เพราะ..พ่อ-แม่
..........
โดย ธรรมรักษา
พ่อ-แม่ จัดว่าเป็น "ปูชนียบุคคล" ของลูกทุกคน พระพุทธเจ้า ทรงเทียบฐานะของพ่อแม่ เท่ากับเป็น "พระ" ของลูก แม้บวชอยู่บิณฑบาตมาเลี้ยง ก็ยังไม่มีโทษ แถมยังได้รับการยกย่องสรรเสริญ จากพระพุทธองค์อีกด้วย
ด้วยเหตุที่พ่อแม่ เป็นผู้มีพระคุณมากล้นเช่นนี้ ผู้ที่ปฏิบัติต่อพ่อแม่อย่างถูกต้อง จึงมีแต่ "สิริมงคล" เป็นที่ยกย่องสรรเสริญของคนดีโดยทั่วไป ในทางตรงกันข้าม
ถ้าปฏิบัติกับพ่อแม่ไม่ถูกต้อง ก็ย่อมจะเกิด "อัปมงคล" หาความเจริญทางจิตใจมิได้ และจะได้รับกรรมอันนี้สนองในชาตินี้เป็นส่วนมาก กล่าวคือลูกของเรา ก็จะทำต่อเราเช่นนี้เหมือนกัน
ดังนั้น ในฐานะลูกที่ดี จึงควรมีความกตัญญูและกตเวทีต่อพ่อแม่ของตน สนองคุณด้วยการเลี้ยงดูตามธรรม อย่าให้ท่านได้รับความทุกข์ทั้งกายและใจ และผลแห่งกุศลกรรมนี้ ก็ย่อมจะสนองเราทันตาเห็น เช่นเดียวกัน ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
วิธีดับทุกข์ เพราะพ่อแม่เป็นเหตุนี้ หมายเอาเฉพาะพ่อแม่ที่ขาดศีลและธรรม เป็นมิจฉาทิฐิ ตกเป็นทาสของสุรา การพนัน นารี หรืออบายมุขประเภทต่าง ๆ เป็นต้น
อันเป็นผลพวง ที่ลูก ๆ พลอยเดือดร้อนไปด้วย ลูก ๆ ที่ตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ จะต้อง "ทำใจ" ให้ถูกต้อง และปฏิบัติตนให้สมกับเป็นลูกที่ดี อย่าได้เอา "น้ำเน่าไปล้างน้ำเปล่า" เป็นอันขาด มิฉะนั้นจะได้ชื่อว่า "ลูกอกตัญญู" หรือ "ลูกเนรคุณ" ไป จะมีแต่เสนียดจัญไร เมื่อตายก็ไปนรกแน่นอน
หลักความจริงมีอยู่ว่า ในชาตินี้เราไม่อาจจะเลือกเกิดเป็นลูกของคนนั้นคนนี้ได้ เพราะมันได้เกิดมาเสียแล้ว แต่เราก็สามารถเลือกเกิดในอนาคตได้
การที่ทุกคนได้เกิดมาแล้ว เป็นผลจากกรรมเก่า ที่เราได้ทำเอาไว้เองก่อน ส่งผลให้มาเกิดในฐานะเช่นนี้ เราจึงควรยินดี และพอใจในพ่อแม่ของตน แม้จะอยู่ในภาวะเช่นใดก็ตาม
ถ้าเราไม่ยินดี ไม่พอใจต่อพ่อแม่ ผู้ให้กำเนิดเรา เราก็ไม่อาจจะเลือกได้ การไม่ยินดีไม่พอใจ จึงเป็นความทุกข์ประการหนึ่ง
นอกจากนั้น การคิดนึกเช่นนี้ ย่อมจะเป็น "เชื้อ" ให้เกิด "อกตัญญู" และเมื่ออกตัญญูเกิด อกตเวทีและ "เนรคุณ" ก็อาจจะตามมาอีกด้วย จึงควรรีบกำจัดความคิดเช่นนี้เสียโดยเร็ว
แม้ว่าพ่อแม่ จะเป็นคนแสนเลวประการใด โหดร้ายเพียงใด ก็จะต้องถือว่าเป็น "บุคคลต้องห้าม" สำหรับลูก ที่จะเข้าไปแตะต้องด้วย "อกุศลจิต" มิได้เลย
ธรรมดาของที่มีคุณทุกชนิด ถ้าปฏิบัติถูกก็เกิดคุณอนันต์ ถ้าปฏิบัติผิดก็เกิดโทษมหันต์
พ่อแม่เปรียบประดุจพระอรหันต์ของลูก เพราะรักลูกด้วยความบริสุทธิ์ใจ ลูกที่มีสัมมาทิฐิ ต้องให้ความเคารพนับถือ เชื่อฟัง และตอบแทนคุณ ถ้าไม่ปฏิบัติก็จะเกิดมลทินไปชั่วชีวิต
การที่พ่อแม่ทำผิดทำชั่ว อันเป็นผลพวง ที่ตกมาถึงเรา ก็เป็นเพราะอกุศลกรรมของเรา ดลจิตให้ท่านทำเช่นนั้น เราอย่าได้เอาความชั่ว ไปตอบแทนพระคุณที่ท่านให้กำเนิดแก่เรา
การที่เราได้มาเกิดเป็นลูกของท่าน ก็เป็นผลแห่งบาปกรรม ที่เราทำเอาไว้เองให้เป็นไป ถ้าเราไม่ต้องการมาเกิดเช่นนี้อีก ก็ควรเร่งทำความดีให้มากขึ้น ในชาติต่อไป เราก็ย่อมพ้นสภาพเช่นนี้
มีสีกาคนหนึ่ง บ้านอยู่ห่างถ้ำสติ มาเที่ยวแล้วถามว่ามีพ่อขี้เหล้า มักด่าและตบตีเป็นประจำ ส่วนแม่ก็เอาแต่เล่นไพ่ เล่นได้ก็หน้าบานใจดี วันไหนเล่นเสีย ก็พาลด่าจนเข้าหน้าไม่ติด
เขาได้แนะนำให้พ่อเลิกเหล้า ให้แม่เลิกเล่นไพ่ ก็ถูกด่าเปิง แถมจะลงมือลงไม้เอาด้วย หาว่าอวดดีมาสอนพ่อแม่
xxx
เป็นลูกอย่าเสือกมาสอนกู กูไม่ดีก็เลี้ยง
xxx
มาไม่ได้ ขอให้หลวงตาช่วยแนะนำ จะทำอย่างไร พ่อแม่จึงจะเลิกอบายมุขได้ ? ได้ให้คำแนะนำเขาไปว่า
การที่ลูกจะแนะนำพ่อแม่ได้ พ่อแม่นั้นจะต้องมีความนับถือหรือเกรงใจลูกอยู่บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้ว การสอนพ่อแม่ เป็นเรื่องทำได้ยาก ทั้งนี้เพราะ
พ่อแม่มีสำนึกอยู่ว่า "กูเป็นพ่อ กูเป็นแม่ กูอาบน้ำร้อนมาก่อน มีหน้าที่ต้องสอนลูก เลี้ยงลูก ลูกมีหน้าที่เชื่อฟัง และทำตามอย่างเดียว จะมาสอนพ่อแม่ไม่ได้ แม้พ่อแม่จะทำผิดทำชั่วก็ตาม"
คำแนะนำของลูกที่ถูกต้อง จึงไม่มีน้ำหนักที่จะเรียกร้องให้ยอมรับฟังหรือทำตามได้ ยกเว้นแต่พ่อแม่ ที่มีสัมมาทิฐิ แต่ได้หลงผิดไปชั่วคราว อาจยอมรับและกลับตัวได้ง่าย
ถ้าเป็นเช่นนี้ ทางปฏิบัติก็มีอยู่ ๒ ประการ คือ วางอุเบกขา ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมของท่านเอง หรือ หาผู้ที่พ่อแม่เคารพนับถือ ช่วยแนะนำตักเตือนให้ อาจจะเลิกได้ถ้าหมดเวร ขอแต่ว่าให้เราพยายามทำหน้าที่ของลูก ให้ดีที่สุดก็แล้วกัน ถ้าท่านไม่รีบตายจากเราไปเสียก่อนหมดเวรกรรมท่านก็ต้องเลิกเอง
ทางแก้
๑. ศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรม ให้เห็นความจริงว่า ที่เรามาเกิดกับพ่อแม่ ที่ไม่ดีนั้น "เป็นผลของอกุศลกรรมของเราเอง" ถ้าไม่อยากมาเกิดกับพ่อแม่เช่นนี้ ก็ต้องเร่งทำความดีให้มาก ชาติหน้าก็ไม่มาพบกันอีก
๒. ต้องปฏิบัติหน้าที่ ระหว่างลูกกับพ่อแม่ให้ถูกต้อง คือ มีความกตัญญูและกตเวที พยายามให้พ่อแม่มีศีลธรรมให้ได้ อย่าได้เอาความชั่ว ไปต่อความชั่ว มิฉะนั้นในชาติหน้า เราจะต้องไปเกิด และชดใช้บาปกรรมร่วมกันอีก
๓. การทำให้พ่อแม่ทุกข์กายและใจ บ่น ด่า ทุบตี หรือ ฆ่า เป็นการปิดทางสวรรค์และนิพพานของลูก พร้อมกันนั้นก็เปิดทางอบาย ทุคติ วินิบาต และนรกไว้รอด้วย
๔. การที่เราอยู่กับพ่อแม่ ที่ขี้บ่น หรือ ด่า นั้น ถ้าเจาะให้ลึกซึ้ง "ก้นบึ้งหัวใจ" ก็จะพบความจริงว่า เกิดจากความ "หวังดี" คืออยากให้ลูกดี
ถ้าท่านไม่รักเราจริง ท่านจะบ่นจะด่าทำไม่ ? ให้มันเมื่อยปาก ? ปล่อยให้เรา "ขึ้นช้าง ลงม้า"คอหักตายไป มิดีกว่าหรือ ?
คำด่าของพ่อแม่ จึงเป็นพรอันประเสริฐ ที่ลูกควรรับฟัง และพิจารณาด้วยใจเป็นกลาง คือ
ก. ถ้าท่านด่าหรือบ่น โดยเราไม่ผิดหรือไม่จริง ก็อย่าได้สวนขึ้นในขณะนั้น รอให้ท่านอารมณ์ดี แล้วค่อยชี้แจงเหตุผลให้ฟังภายหลัง
ข. ถ้าท่านด่าหรือบ่น โดยเราเป็นฝ่ายผิด ก็ต้องรีบแก้ไขปรับปรุงตน อย่าได้ทำเช่นนั้นอีก ท่านก็จะเลิกบ่นไปเอง
ค. ถ้าท่านบ่นหรือด่า โดยหาสาระมิได้ ก็ควรสงบใจ วางอุเบกขาเสีย มันเป็นการระบายอารมณ์ ของคนที่มีภาระมาก และวางไม่ลง ได้บ่นหรือด่าใครนิดหน่อย อารมณ์ก็จะดีขึ้น เป็นธรรมดาของคนที่ห่างวัด ขาดธรรมะ จะต้องเป็น "เช่นนั้นเอง"
๕. คำบ่นหรือด่าของพ่อแม่ ไม่มีพิษภัยเท่ากับคำเยินยอของหนุ่มหรือสาว ถ้าเราทนได้ ปล่อยวางอุเบกขาได้ ก็เป็นการบำเพ็ญ "ขันติบารมี" ไปในตัว ควรหัดทำให้ได้.
........................
หนังสือ
บันทึกธรรม ฉบับดับทุกข์
เรียบเรียง โดย ธรรมรักษา
http://www.dhammajak.net/book/dukkha/dukkha.php
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2005, 10:18 pm
ไม่อยากแนะนำให้แก้ปัญหาโดยตรงอย่างวิธีการของคนสมัยใหม่ แต่อยากแนะนำเช่นนี้ให้คุณลูกกับคุณแม่ได้ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล และถ้าปฏิบัติสวดมนต์ภาวนาได้ให้สวดมนต์ภาวนาด้วย และให้แผ่เมตตาให้คุณพ่อผู้เอาเปรียบด้วย ใหทำเป็นประจำ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวนั้นมีเหตุมีผล มิใช่ไม่มีเหตุไม่มีผล และเหตุผลนั้นไกลลึกกว่าที่จะมองเห็นจากปัจจุบันเพียงอย่างเดียว ทำไปสักห้าหกเดือนคิดว่าทุกอย่างก็จะคลี่คลายลงได้ และทำให้ชีวิตในครอบครัวมีความสงบสุขเกิดขึ้นได้
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 31 พ.ค.2005, 12:31 pm
ดังที่คุณสายลม กับคุณโอ่ แนะนำมาแหละครับ หรือ พาท่านไปวัดไปวา ฟังธรรมปฏิบัติธรรมให้สงบจิตสงบใจขึ้นมาบ้างน่าจะดีขึ้น โดยถ้าท่านชอบไปวัดอยู่แล้ว ก็ชวนตรงๆ เลย แต่ถ้าท่านไม่ชอบ เราก็อาจจะบอกว่า จะชวนไปเที่ยวไปเปลี่ยนบรรยากาศ ทำนองนี้แหละครับ
เปิ้ล
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2005, 10:06 am
ดิฉันก็เคยอยู่ในบ้านที่ทะเลาะกันทุกวัน รู้สึกสุขภาพจิตเสียมากและไม่รู้จะแก้ไขยังไงดี ได้แต่ทำเฉย แต่บางครั้งก็รู้สึกเฉยไม่ได้จนต้องทะเลาะกับเขาไปด้วย สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้คือ พยายามเข้าใจเขาว่าเขาเป็นอย่างนี้แหล่ะ คงแก้ไขอะไรไม่ได้ ถ้าเขาดีเขาคงไม่ต้องเป็นอย่างนี้ วางอุเบกขา เลิกสนใจและพยายามอย่าให้อารมณ์มัวหมองจากสิ่งที่เขาทำ ป้องกันใจของเราไม่ให้กระทบกับสิ่งที่เขาทำหรือพูดจะดีกว่าที่เราจะเปลี่ยนเขาเพื่อป้องกันตัวเอง
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2005, 11:49 am
คงต้องแย้งคุณเปิ้ลนิดๆ แล้วล่ะครับว่า ถ้าคนในบ้านของคุณเป็นคนที่ไม่รู้จักกัน เช่น คนในหอพักเดียวกัน ทำเช่นนี้ย่อมไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้าเป็นบุพการีผู้มีพระคุณ พระท่านว่าไว้ชัดเจนครับว่า พ่อแม่มีพระคุณใหญ่มาก ต่อให้ลูกตอบแทนพระคุณโดยการอุทิศตนบริการตอบแทนพระคุณพ่อแม่ชั่วชีวิต ก็ไม่มีวันหมด แต่ถ้าลูกคนใด ชักชวนพ่อแม่ จากผู้ประมาทในชีวิต ให้มาตั้งใจทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เพื่อผลแห่งความดีนั้น จะได้นำความเจริญมาให้พ่อแม่ในภพชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพาน ถ้าลูกคนใดทำได้เช่นนี้ ท่านว่า ถือว่า ตอบแทนพระคุณพ่อแม่ได้หมดครับ
แต่ถึงแม้ไม่ใช่พ่อแม่เรา ถ้ามาเป็นญาติเรา เพื่อนเรา เกี่ยวข้องบางอย่างกับเรา มีโอกาสก็ต้องช่วยเขาอย่างถูกวิธี ด้วยการชักชวนให้เขาทำความดีครับ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ชัดเจนว่า หากเราทำทานเอง แต่ไม่ชวนใคร เราจะได้แต่ทรัพย์สมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ หากเราชวนคนอื่นทำ แต่ไม่ยอมทำเอง เราจะได้แต่บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้ทรัพย์สมบัติ แต่หากเราทำเองด้วย ชวนคนอื่นทำด้วย จะได้ทั้งทรัพย์และบริวารสมบัติ
บริวารสมบัติ นี่ไม่ได้หมายถึง แค่มีบริวารเยอะๆ นะครับ แต่จะมีผลทำให้เราไปเกิดในสิ่งแวดล้อมที่ดีๆ แวดล้อมไปด้วยบัณฑิต สนับสนุนกันทำความดียิ่งๆ ขึ้นไป แต่หากไม่สั่งสมบริวารสมบัติ จะไปเกิดในแดนคนพาลครับ จะทำความดีอะไรโดนขัดขวางตลอด บางทีเราอาจจะคิดว่า ไม่มีปัญหา เพราะเราพื้นฐานจิตใจดีอยู่แล้ว อะไรก็มาทำให้หวั่นไหวไม่ได้ ก็ต้องศึกษาครับว่า ขนาดพระพุทธเจ้า ตอนเป็นพระโพธิสัตว์ ไปเกิดในสิ่งแวดล้อมไม่ดี ยังพลาดพลั้งทำบาปกรรมเสียเวลา ตั้งหลายต่อหลายภพชาติเชียวนะครับ
ชวนคนทำดีเถอะครับ ถ้าเขายังทะเลาะกัน ต้องชวนให้เขาเลิก ถ้าเป็นคนอื่น ลองแล้ว ไม่ได้ผล ค่อยวางอุเบกขา แต่ถ้าเป็นพ่อแม่ ต้องทำจนวินาทีสุดท้าย ดังที่พระสารีบุตร ท่านไปโปรดพ่อแม่ ในวาระสุดท้ายของท่านเลยทีเดียวครับ
อรนุช
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2005, 10:11 am
นี่เป็นวิธีของเรานะคะ
เมื่อพ่อแม่ทะเลาะกัน ไม่ว่าจะต่อหน้าเรา หรือเรามารู้ภายหลัง ให้ฟังโดยไม่คล้อยตามคำพูดต่าง ๆ ที่ได้ยิน รักษาใจของเราให้นิ่ง ไม่แกว่งหวั่นไหวกับคำพูดต่าง ๆ ที่ได้ยินมา
บางครั้งท่านเล่าเรื่องที่ทะเลาะกันให้เราฟัง ให้ฟังด้วยใจนิ่งสงบที่สุด และคิดถึงเหตุที่ทำให้ท่านมาเล่าให้เราฟัง บางครั้งท่านเพียงต้องการระบายความอึดอัดใจ อาจเนื่องมาจากท่านปล่อยวางไม่ได้ การที่ท่านพูดให้เราฟัง ฟังท่านเถิด ฟังท่านเพื่อให้ท่านคลายความทุกข์ของท่าน หากท่านพูดเพื่อให้เราช่วยแก้ไขปัญหาของท่าน เราก็อย่าได้แสดงความคิดเห็นนั้นเลย แม้ฝ่ายท่านจะถูกต้องก็ตาม เพราะอาจเป็นเหตุยั่วยุให้ท่านนำคำพูดที่เราแนะนำไปหาเหตุทะเลาะกับอีกฝ่ายได้ อาจทำให้อีกฝ่ายเกิดความไม่สบายใจ และเรื่องต่าง ๆ ก็ยังไม่จบ
โดยธรรมชาติของมนุษย์มักรักการมีพวกพ้อง และด้วยความยึดติดกับ คำว่าต้องการชนะ ความคิดเราถูก ความคิดเรามีเหตุผลกว่า โดยอาจหาคนที่ยอมรับว่าเหตุผลของเรานั้นถูกต้องกว่าอีกฝ่าย ทั้งที่ทุกฝ่ายล้วนมีเหตุผลของตัวเอง ไม่ว่าเหตุผลจะข้าง ๆ คู ๆ แต่นั่นก็คือเหตุผลของเขา
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น การเป็นลูกที่อยู่ตรงกลางระหว่างพ่อ และแม่ที่ทะเลาะกัน เราจึงควรไม่เพิ่มความลำบากใจ ไม่เพิ่มโทษให้ทางฝ่ายไหน จะดีแก่ทุกฝ่ายค่ะ
ทิดเอก
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2005, 2:14 pm
ผมแก้โดยการพูดประโยคสั้น ๆ ครับ
พอดีว่าผมได้บวชพอดี ก่อนออกจากโบส์ โยมพ่แยมแม่ก็จะเข้ามาทำบุญพระใหม่
ผมเลยบอกไปสั้น ๆ ว่า
"หยุดก่อนโยม ก่อนที่โยมจะเอาปัจจัยใส่มานั้นน่ะ เอาความทิธฐิ ความอาฆาต ความบาดหมางใด ๆ ก็ตามในอดีตให้ฉันเสียก่อนเถิด ฉันขอบิณฑบาตรจากโยม"
เท่านั้นน้ำตาร่วงเลย จากนั้นก็คุยกันดีตลอดมา
เปิ้ล
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 06 มิ.ย.2005, 9:43 am
ต้องขอขอบคุณ คุณเกียรติค่ะ นี่เป็นความรู้ใหม่นะคะว่าการชักชวนคนอื่นทำบุญจะทำให้เราไปเกิดในที่ที่สิ่งแวดล้อมดี แวดล้อมไปด้วยบัณฑิต ต่อไปเมื่อมีงานบุญหรือสิ่งที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ทำเองและต่อส่วนรวมจะพยายามชักชวนให้ทุกคนทำค่ะ แต่ที่ดิฉันแนะนำคุณแพรวาให้วางเฉยนั้น คือการวางเฉยทางด้านอารมณ์ค่ะ เพราะจากการที่ดิฉันสังเกตถ้อยคำของคุณแพรวาที่เขียนมานั้น บ่งบอกได้ถึงความทุกข์ ความไม่สบายใจ ความหนักใจ ถ้าคุณแพรวานำเอาอารมณ์ที่ไม่ดีของคนอื่น ถึงแม้จะเป็นพ่อแม่ของตนเองมาใส่ไว้กับตัวเองด้วยก็จะทำให้สุขภาพจิตคุณแพรวาเสีย อีกทั้งไม่ช่วยเหลือพ่อแม่อีกด้วย ถ้าหากคุณแพรวาเสียชีวิตในขณะนั้นก็จะทำให้ไปเกิดในอบายภูมิได้ทันที ดิฉันมิได้หมายความว่าถ้าท่านอยากทะเลาะกันก็ทะเลาะกันไปไม่เห็นเกี่ยวกับดิฉันเลย ดิฉันเห็นด้วยกับคุณอรนุชที่ว่าให้เป็นผู้ฟังที่ดี เปรียบเหมือนกับการให้ทานอย่างหนึ่ง ทำให้ผู้อื่นสบายใจหรือเย็นลงได้ และสุดท้ายต้องขออนุโมทนากับทิดเอกด้วยนะคะ เป็นคำพูดเพียงสั้นๆ แต่มีความหมายมากคะ ทำให้คนมีสติมากขึ้น
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th